พระที่นั่งวิมานเมฆ กรุงเทพฯ

พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ในปี พ.ศ.2443 โดยโปรดเกล้าฯ ให้รื้อย้ายพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ จากพระจุฑาธุชราชฐานที่เกาะสีชัง มาปลูกสร้างใหม่และ ทรงพระราชทานนามว่า “พระที่นั่งวิมานเมฆ” เนื่องจากในปี ร.ศ.112 หรือ พ.ศ. 2436 ไทยเราเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริว่า เป็นการไม่ปลอดภัยที่จะเสด็จไปเกาะสีชัง

พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นพระที่นั่งถาวรองค์แรกในพระราชวังดุสิต สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง และนับว่าเป็นอาคารไม้สัก ทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก ออกแบบการก่อสร้างโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ลักษณะ สถาปัตยกรรมขององค์พระที่นั่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรียนตัวอาคารเป็นรูปตัวอักษรตัว L ในภาษาอังกฤษ ตั้งฉากกัน 2 ปีก แต่ละปีกยาว 60 เมตร บริเวณหน้าจั่ว เชิงชาย และระเบียง ประดับด้วยไม้แกะสลักลวดลายขนมปังขิง พระที่นั่งวิมาน เมฆนั้นสูงจากพื้นดินถึงหลังคายอดโดมแปดเหลี่ยม 25 เมตร มีห้องใหญ่ทั้งหมดประมาณ 31 ห้อง และปัจจุบันเปิดให้เข้า ชมทั้ง 31 ห้อง ห้องต่างๆ แบ่งออกเป็น 5 หมู่สี คือ สีฟ้า เขียว ชมพู งาช้าง และสีลูกพีช แต่ละหมู่สีเจ้านายหรือพระบรม วงศานุวงศ์ฝ่ายในประทับเป็นส่วนๆ ไป

บริเวณโดม 8 เหลี่ยม ทางทิศตะวันตกเป็นที่ประทับ ส่วนพระองค์ในล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 พระที่นั่งวิมานเมฆ เปิดให้เข้าชมครั้งแรกในคราวพระราชพิธีฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี โดยพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งทรงสำรวจและพบว่า องค์พระที่นั่งยังอยู่ในสภาพดีและมีศิลป วัตถุบางชิ้นเก็บอยู่ พระองค์ท่านจึงทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อซ่อมแซมและเปิดเป็นครั้งแรกในวโรกาสดังกล่าว

 

วันและเวลาทำการ

เปิดทุกวันเวลา เปิดขายบัตรจนถึงเวลา 15.15 น.
มีการแสดงนาฏศิลป์วันละ 2 รอบ เวลา 10.30 - 14.00 น.
9.30-16.30 น. เปิดขายบัตรจนถึงเวลา 15.15 น.
มีการแสดงนาฏศิลป์วันละ 2 รอบ เวลา 10.30 - 14.00 น.

ที่อยู่

ถนนราชวิถี แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 Thailand

แผนที่

Google Maps

ค่าเข้าชม

ค่าเข้าชม
ค่าเข้าชม

ผู้ใหญ่ 75 บาท

เด็ก นิสิต นักศึกษา และพระสงฆ์ 20 บาท

ช่องทางติดต่อ

02-628-6300 ต่อ 5120-5121

พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ในปี พ.ศ.2443 โดยโปรดเกล้าฯ ให้รื้อย้ายพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ จากพระจุฑาธุชราชฐานที่เกาะสีชัง มาปลูกสร้างใหม่และ ทรงพระราชทานนามว่า “พระที่นั่งวิมานเมฆ” เนื่องจากในปี ร.ศ.112 หรือ พ.ศ. 2436 ไทยเราเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริว่า เป็นการไม่ปลอดภัยที่จะเสด็จไปเกาะสีชัง

พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นพระที่นั่งถาวรองค์แรกในพระราชวังดุสิต สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง และนับว่าเป็นอาคารไม้สัก ทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก ออกแบบการก่อสร้างโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ลักษณะ สถาปัตยกรรมขององค์พระที่นั่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรียนตัวอาคารเป็นรูปตัวอักษรตัว L ในภาษาอังกฤษ ตั้งฉากกัน 2 ปีก แต่ละปีกยาว 60 เมตร บริเวณหน้าจั่ว เชิงชาย และระเบียง ประดับด้วยไม้แกะสลักลวดลายขนมปังขิง พระที่นั่งวิมาน เมฆนั้นสูงจากพื้นดินถึงหลังคายอดโดมแปดเหลี่ยม 25 เมตร มีห้องใหญ่ทั้งหมดประมาณ 31 ห้อง และปัจจุบันเปิดให้เข้า ชมทั้ง 31 ห้อง ห้องต่างๆ แบ่งออกเป็น 5 หมู่สี คือ สีฟ้า เขียว ชมพู งาช้าง และสีลูกพีช แต่ละหมู่สีเจ้านายหรือพระบรม วงศานุวงศ์ฝ่ายในประทับเป็นส่วนๆ ไป

บริเวณโดม 8 เหลี่ยม ทางทิศตะวันตกเป็นที่ประทับ ส่วนพระองค์ในล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 พระที่นั่งวิมานเมฆ เปิดให้เข้าชมครั้งแรกในคราวพระราชพิธีฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี โดยพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งทรงสำรวจและพบว่า องค์พระที่นั่งยังอยู่ในสภาพดีและมีศิลป วัตถุบางชิ้นเก็บอยู่ พระองค์ท่านจึงทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อซ่อมแซมและเปิดเป็นครั้งแรกในวโรกาสดังกล่าว

 

วันและเวลาทำการ

เปิดทุกวันเวลา เปิดขายบัตรจนถึงเวลา 15.15 น.
มีการแสดงนาฏศิลป์วันละ 2 รอบ เวลา 10.30 - 14.00 น.
9.30-16.30 น. เปิดขายบัตรจนถึงเวลา 15.15 น.
มีการแสดงนาฏศิลป์วันละ 2 รอบ เวลา 10.30 - 14.00 น.

ที่อยู่

ถนนราชวิถี แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 Thailand

แผนที่

Google Maps

ค่าเข้าชม

ค่าเข้าชม
ค่าเข้าชม

ผู้ใหญ่ 75 บาท

เด็ก นิสิต นักศึกษา และพระสงฆ์ 20 บาท

ช่องทางติดต่อ

02-628-6300 ต่อ 5120-5121

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า