ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เมือง จ.สกลนคร

จารึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับต้นเหตุปัญหาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพะราชดำริ   จากเอกสารข้อมูลส่วนพระองค์  ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  พระราชทานแก่สำนักงาน        กปร. (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)  มีความตอนหนึ่งว่า
“…ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน  อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร  เดิมเป็นป่าโปร่ง  คนไปตัดไม้สำหรับ  จึงไม่มีน้ำในหน้าแล้ง   น้ำไหลแรงในหน้าฝน  ทำให้มีการชะล้าง (Erosion)หน้าดิน (Top Soil) บางลง  และเกลือที่อยู่ข้างใต้จะขึ้นเป็นหย่อมๆ…”      เป็นฟืนและใช้พื้นที่สำหรับทำการการเกษตรกรรม ป่าไม้ที่อยู่เหนือพื้นที่ถูกทำลายไปมาก พร้อมกันนี้  ได้พระราชทานข้อมูล        เกี่ยวกับปัญหาของดินบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ว่า
                   “…เป็นดินทราย  ดินเค็ม  ขาดน้ำ..”

เมื่อวันที่   25   พฤศจิกายน     2525   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน พระบรมราชวโรกาสให้ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ  จักรพันธุ์ องคมนตรี และนายสุนทร  เรียวเล็ก      อธิบดีกรม-ชลประทาน พร้อมด้วยนายเล็ก จินดาสวนเข้าเฝ้าละอองธุลีพระบาท ณ กรมราชองครักษ์  สวนจิตลดา ในการนี้ได้พระราชทานพระราชดำริ  ให้กรมชลประทานพิจารณา วางโครงการ     ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์  เพื่อการศึกษาและทดลองงานพัฒนาการเกษตรต่าง ๆ      ตามความเหมาะสมสำหรับเป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไป ใช้ปฏิบัติต่อไป

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2526  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไดเสด็จทอดพระเนตรตรวจสภาพพื้นที่บริเวณ บ้านนานกเค้า และเสด็จพระราชดำเนินเข้าไปถึงพื้นที่บริเวณที่จะก่อสร้างอ่างเก็บน้ำตาดไฮใหญ่         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริ   ให้พิจารณานำน้ำจากอ่างเก็บน้ำตาดไฮใหญ่มาสนับสนุนพื้นที่เกษตรกร บริเวณบ้านนานกเค้า และทรงคัดเลือกพื้นที่จัดตั้งศูนย์ ณ บริเวณบ้านนานกเค้า       ตำบลห้วยยาง  อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร  ด้วยพระองค์เอง  เพื่อเป็นพื้นที่  ตัวแทนของภูมิภาคทั้งหมด         ด้วยพื้นที่นี้มีลักษณะสภาพธรรมชาติแวดล้อม และวงจรชีวภาพที่คล้ายคลึงกับภูมิภาคโดยทั่วไป       ของภาคอิสาน   ดังนั้น  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จึงถือกำเนิดขึ้น  เพื่อเป็นแบบจำลองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นพื้นที่ส่วนย่อที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหา และศึกษา  วิธีการพัฒนาของภูมิภาคนี้ได้อย่างเหมาะสม

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

วันและเวลาทำการ

เปิดตลอดปี
เปิดตลอดปี

ที่อยู่

บ้านนานกเค้า ตำบลห้วยยาง เมือง สกลนคร Thailand

แผนที่

Google Maps

ค่าเข้าชม

ช่องทางติดต่อ

0-4274-7458

จารึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับต้นเหตุปัญหาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพะราชดำริ   จากเอกสารข้อมูลส่วนพระองค์  ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  พระราชทานแก่สำนักงาน        กปร. (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)  มีความตอนหนึ่งว่า
“…ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน  อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร  เดิมเป็นป่าโปร่ง  คนไปตัดไม้สำหรับ  จึงไม่มีน้ำในหน้าแล้ง   น้ำไหลแรงในหน้าฝน  ทำให้มีการชะล้าง (Erosion)หน้าดิน (Top Soil) บางลง  และเกลือที่อยู่ข้างใต้จะขึ้นเป็นหย่อมๆ…”      เป็นฟืนและใช้พื้นที่สำหรับทำการการเกษตรกรรม ป่าไม้ที่อยู่เหนือพื้นที่ถูกทำลายไปมาก พร้อมกันนี้  ได้พระราชทานข้อมูล        เกี่ยวกับปัญหาของดินบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ว่า
                   “…เป็นดินทราย  ดินเค็ม  ขาดน้ำ..”

เมื่อวันที่   25   พฤศจิกายน     2525   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน พระบรมราชวโรกาสให้ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ  จักรพันธุ์ องคมนตรี และนายสุนทร  เรียวเล็ก      อธิบดีกรม-ชลประทาน พร้อมด้วยนายเล็ก จินดาสวนเข้าเฝ้าละอองธุลีพระบาท ณ กรมราชองครักษ์  สวนจิตลดา ในการนี้ได้พระราชทานพระราชดำริ  ให้กรมชลประทานพิจารณา วางโครงการ     ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์  เพื่อการศึกษาและทดลองงานพัฒนาการเกษตรต่าง ๆ      ตามความเหมาะสมสำหรับเป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไป ใช้ปฏิบัติต่อไป

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2526  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไดเสด็จทอดพระเนตรตรวจสภาพพื้นที่บริเวณ บ้านนานกเค้า และเสด็จพระราชดำเนินเข้าไปถึงพื้นที่บริเวณที่จะก่อสร้างอ่างเก็บน้ำตาดไฮใหญ่         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริ   ให้พิจารณานำน้ำจากอ่างเก็บน้ำตาดไฮใหญ่มาสนับสนุนพื้นที่เกษตรกร บริเวณบ้านนานกเค้า และทรงคัดเลือกพื้นที่จัดตั้งศูนย์ ณ บริเวณบ้านนานกเค้า       ตำบลห้วยยาง  อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร  ด้วยพระองค์เอง  เพื่อเป็นพื้นที่  ตัวแทนของภูมิภาคทั้งหมด         ด้วยพื้นที่นี้มีลักษณะสภาพธรรมชาติแวดล้อม และวงจรชีวภาพที่คล้ายคลึงกับภูมิภาคโดยทั่วไป       ของภาคอิสาน   ดังนั้น  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จึงถือกำเนิดขึ้น  เพื่อเป็นแบบจำลองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นพื้นที่ส่วนย่อที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหา และศึกษา  วิธีการพัฒนาของภูมิภาคนี้ได้อย่างเหมาะสม

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

วันและเวลาทำการ

เปิดตลอดปี
เปิดตลอดปี

ที่อยู่

บ้านนานกเค้า ตำบลห้วยยาง เมือง สกลนคร Thailand

แผนที่

Google Maps

ค่าเข้าชม

ช่องทางติดต่อ

0-4274-7458

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า