สเปย์สมุนไพรไล่ยุ่ง

หน้าฝนมาแล้ว ระวังยุงกัดกันนะคะ วันนี้เรามาทำสเปรย์สมุนไพรไร่ยุงกันดีกว่า ทั้งปลอดภัย และกลิ่นหอมด้วย ทำไม่ยากเลย ไปดูกัน 😀

ส่วนผสม

  1. ผิวมะกูด 100 กรัม
  2. ตะไคร้ 50 กรัม
  3. แอลกอฮอล์ 95 %  1 ลิตร
  4. กานพูล 20  กรัม
  5. การบูร 50 กรัม
  6. ขวดโหลเปล่า 1 ใบ

วิธีการทำ

  1. นำแอลกอฮอล์ 95 %  1 ลิตร เทใส่ขวดโหล
  2. จากนั้นนำ ผิวมะกูด ตะไคร้ กานพูล และ การบูรใส่ลงไปในโถ
  3. ปิดฝาให้สนิท แช่ทุกอย่างทิ้งไว้ 7 วัน 
  4. นำสมุนไพรไล่ยุ่งบรรจุใส่ขวดสเปย์

—– ข้อมูลเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก —–

โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever – DHF) มักพบการระบาดในช่วงฤดูฝน เป็นโรคติดเชื้อซึ่งมีสาเหตุมาจากไวรัสเดงกี (Dengue virus) โดยมียุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรค อาการของโรคนี้คล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าเป็นเพียงโรคไข้หวัด ประกอบความรุนแรงของโรคก็มีหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยไปจนถึงเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิต 

อาการของโรคไข้เลือดออก แบ่งเป็น 3 ระยะ

ระยะที่ 1 (ระยะไข้สูง) 39-41 องศาเซลเซียส มีลักษณะเป็นไข้สูงลอยตลอดเวลา หน้าแดง ตาแดง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว กระหายน้ำ ซึม มักมีอาการเบื่ออาหารและอาเจียนร่วมด้วยเสมอ อาจคลำพบตับโตและมีอาการกดเจ็บเล็กน้อย ในบางรายอาจมีอาการปวดท้องในบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงด้านขวา หรือปวดท้องทั่วไป หรืออาจมีอาการท้องผูกหรือถ่ายเหลว ส่วนในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี อาจพบอาการไข้สูงร่วมกับอาการชักได้ ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอยอยู่ประมาณ 2-7 วัน ถ้าไม่มีอาการรุนแรง ส่วนมากไข้จะลดลงในวันที่ 5-7 แต่บางรายอาจมีไข้เกิน 7 วันก็ได้ แต่ถ้าเป็นมากก็จะปรากฏอาการระยะที่ 2

ระยะที่ 2 (ระยะช็อกและมีเลือดออก หรือ ระยะวิกฤติ) มักจะพบในไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อเดงกีที่มีความรุนแรงขั้นที่ 3 และ 4 อาการจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 3-7 ของโรค ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่วิกฤติของโรค โดยอาการไข้จะเริ่มลดลง แต่ผู้ป่วยกลับมีอาการทรุดหนัก มีอาการปวดท้องและอาเจียนบ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น ปลายมือเท้าเย็น ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว (อาจมากกว่า 120 ครั้ง/นาที) และมีความดันต่ำ ซึ่งเป็นอาการของภาวะช็อก  

ระยะที่ 3 (ระยะฟื้นตัว) ในรายที่มีภาวะช็อกไม่รุนแรง เมื่อผ่านวิกฤติช่วงระยะที่ 2 ไปแล้ว อาการก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกรุนแรง เมื่อได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีก็จะฟื้นตัวเข้าสู่สภาพปกติ โดยอาการที่แสดงว่าดีขึ้นนั้น คือ ผู้ป่วยจะเริ่มอยากรับประทานอาหาร แล้วอาการต่าง ๆ ก็จะกลับคืนสู่สภาพปกติ ชีพจรเต้นช้าลง ความดันโลหิตกลับมาสู่ปกติ ปัสสาวะออกมากขึ้น ระยะนี้อาจกินเวลาประมาณ 7-10 วัน (หลังจากผ่านพ้นระยะที่ 2 มาแล้ว) ถ้ารวมเวลาตั้งแต่เริ่มป่วยเป็นไข้จนแข็งแรงดีก็จะใช้เวลาประมาณ 7-14 วัน 

วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก

  1. ควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายและกำจัดยุงลายทั้งลูกน้ำและตัวเต็มวัย
  2. หาวิธีป้องกันอย่าให้ยุงลายกัดทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เช่นนอนในมุ้ง ทายากันยุง
  3. ปกครองของเด็กควรสงสัยไว้ก่อนว่า บุตรหลานที่มีอาการไข้สูงในช่วงฤดูฝนอาจเกิดจากโรคไข้เลือดออก และควรรีบพาบุตรหลานไปรับการตรวจรักษาโดยเร็ว
  4. เนื่องจากไข้เลือดออกเป็นโรคระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธุ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรบอกคนในบ้านหรือข้างบ้านด้วยว่า มีไข้เลือดออก และควรแจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดพ่นยาเพื่อฆ่ายุง

ที่มา :https://medthai.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81/

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า