8 วิธีดึงดูดใจอย่างไร

ให้เจ้านายเปลี่ยนคุณจาก “เด็กฝึกงาน” เป็น “พนักงาน” และกฎหมายเกี่ยวกับการฝึกงาน

ไม่ว่าจะด้วยสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 สภาพเศรษฐกิจ หรือสังคม วัฒนธรรม และนวัตกรรมที่เปลี่ยนไป ทำให้ตอนนี้เราได้ข่าวเกี่ยวกับบัณฑิตใหม่ล้นตลาดแรงงานมากมาย หลายคนหันไปมองการสร้างอาชีพอิสระ ขณะที่บางสายอาชีพ ความอิสระไม่ได้ตอบโจทย์

แล้วจะทำอย่างไร?

ประเด็นสำคัญคือนอกจากการเรียนดี เรียนเก่งแล้ว ประสบการณ์การทำงานก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาโดดเด่นออกมามากขึ้น เป็นที่สนใจของเจ้าของสถานประกอบการมากขึ้น เพราะการฝึกงานนอกจาก “ผ่าน-ไม่ผ่าน” แล้ว สิ่งที่เอาแรงงานและความรู้ทั้งหมดที่ร่ำเรียนมาไปแลกก็อาจจะรวมถึง ทักษะการปฏิบัติงาน ประสบการณ์ในที่ทำงาน และความรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนั้นๆ และยิ่งน้องๆ เก็บเกี่ยวตรงนี้ได้มากเท่าไร ความสว่างสดใสในตัวก็จะยิ่งเป็นที่น่าจับตามากขึ้นเท่านั้น

ทักษะที่ควรนำไปแลกเปลี่ยนเป็นประสบการณ์ในช่วงเวลาสั้นๆ ที่เรียกว่า “ฝึกงาน” อันจะนำมาซึ่ง “ประสบการณ์” จนอาจจะเลื่อนขั้นไปเป็น “พนักงาน” ได้นั้น มีดังต่อไปนี้

1 การสื่อสาร

ทักษะในการเขียนและพูดอย่างมืออาชีพเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเจ้าของสถานประกอบการ หรือฝ่ายบุคคลจะสามารถดูทักษะการเขียนของคุณในเรซูเม่ ส่วนทักษะการพูดอาจจะมาจากการตอบคำถามต่างๆ ตั้งแต่เจอกันครั้งแรก ไม่ว่าวันนั้นจะเป็นวันสอบสัมภาษณ์หรือไม่ ความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเปลี่ยนความคิดเป็นข้อมูลแล้วถ่ายทอดออกมาได้ดีเหมาะสมกับกาละเทศะถือเป็นกุญแจสำคัญในทุกสายอาชีพเลยก็ว่าได้ไม่ว่าจะเป็นกับหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน หรือลูกค้าของคุณ หรือแม้กระทั่งเมื่อคุณต้องทำงานอิสระ และทุกคนต่างก็ตระหนักดีว่า การสื่อสารเป็นทักษะที่มีค่า

2 ทักษะในการทำงานร่วมกับคนอื่น

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นเด็กฝึกงานด้วยกัน พนักงาน เจ้าของ หรือลูกค้า เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกันได้ นักศึกษาฝึกงานจำเป็นต้องรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองเพื่อที่คุณจะได้รู้ว่าจะนำความสามารถที่มีออกมาช่วยทีมให้ผู้อื่นได้ประจักษ์อย่างไร แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีทิ้งการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะในด้านอื่นๆ ที่ยังไม่ชำนาญด้วย เพราะในฐานะเด็กฝึกงาน คุณอาจจะถูกส่งไปหลากหลายแผนกในบริษัท จงเก็บเกี่ยวโอกาสที่จะได้เรียนรู้งานทั้งระบบเข้าไว้ เพราะในระยะยาวมันคือประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในการทำงานได้ตลอดชีวิต ส่วนในระยะสั้น คนอื่นๆ ในบริษัทก็จะได้เห็นความสามารถที่เพิ่มขึ้นหรือแตกต่างออกไปของคุณด้วย

3 การจัดการเวลา

ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงการไม่ไปฝึกงานสายเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการรับมือกับการทำงานหลายชิ้น หรืองานเร่งรีบ ซึ่งท้าทายความสามารถในการจัดการเวลาของน้องๆ เป็นอย่างมาก เพราะมันอาจจะหมายถึง น้องๆ มีความสามารถในการจัดเรียงความสำคัญก่อนหลังได้นั่นเอง

4 การคิดเชิงวิพากษ์

การคิดเชิงวิพากษ์หมายถึงความสามารถในการวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์หรือปัญหา เข้าใจปัญหาจากทุกมุมไม่ว่าปัญหานั้นจะเกิดจากเทคนิค บุคคลอื่นๆ หรือ ตัวเราเอง เพื่อนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญและต้องเจอแทบจะทุกวันในโลกของการทำงาน

5 ความสามารถทางเทคนิค

แม้ทุกคนจะรู้ว่าน้องๆ เป็นเด็กฝึกงาน และจะไม่มีใครคาดหวังว่าจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญแต่อย่างใด แต่ทักษะพื้นฐานเบื้องต้นรวมถึงของอุตสาหกรรมนั้นๆ ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะนำติดตัวไปด้วย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและความใส่ใจที่จะไปฝึกงานยังที่นั้นๆ

6 ถามคำถาม

ใช้ประโยชน์ในการเป็นเด็กฝึกงาน ถามหาความรู้ให้มากที่สุด ในฐานะเด็กฝึกงาน เจ้านายไม่คาดหวังให้รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับงานหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ แม้จะเป็นอุตสาหกรรที่ร่ำเรียนมาอยู่แล้ว และการถามคำถามยังหมายถึงความใส่ใจที่จะเรียนรู้ที่น้องๆ มีให้กับงานและการฝึกงานอีกด้วย

7 หาที่ปรึกษา

เรียนรู้จากคนที่น้องๆ ชื่นชม ที่ปรึกษาที่ดีคือคนที่รู้สึกสนุกและเต็มใจจะแบ่งปันความรู้และความเชี่ยวชาญและต้องการเห็นน้องใหม่ในอุตสาหกรรมเดียวกับพวกเขาประสบความสำเร็จ

8 กระตือรือร้น!

หากน้องๆ ต้องการจะเปลี่ยนจากเด็กฝึกงานเป็นพนักงานหลังจากการฝึกงานในช่วงเวลาสั้นๆ สิ้นสุดลง จงแสดงความกระตือรือร้นในช่วงเวลาสั้น ๆ ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสถานประกอบการนั้นๆ เริ่มตั้งแต่เพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานเป็นต้นไป


นี่เป็นเพียงทักษะเบื้องต้นเท่านั้นสำหรับผู้ที่เตรียมพร้อมที่จะเป็น “เด็กฝึกงานที่น่าจับตามอง” แต่การไม่หยุดเรียนรู้จะทำให้น้องๆ ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น

เมื่อเด็กฝึกงานต้องดูแลตัวเองด้วย    

จากบทความทางวิชาการเรื่อง “แนวทางการให้การคุ้มครองการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา : เทียบเคียงกับการคุ้มครองผู้ได้รับการฝึกเตรียมเข้าทำงานตามกฎหมายแรงงาน” โดย นวกาล สิรารุจานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ระบุว่า สหกิจศึกษาเป็นการเรียนการสอนซึ่งผสมผสานการเรียนในห้องเรียนร่วมกับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ซึ่งไม่ถือว่านักศึกษาที่กำลังเรียนสหกิจศึกษาหรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ฝึกงาน นั้น ไม่ใช่ลูกจ้าง หลายครั้งเมื่อเหิดเหตุร้ายแรงขึ้นกับเด็กฝึกงานจึงเกิดช่องว่างและการไม่ได้รับความรับผิดชอบที่ดีอย่างที่เป็นข่าวหลายครั้ง เพราะปัจจุบันการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษาไม่มีกฎหมายที่มีเนื้อหาเฉพาะในด้านการ คุ้มครองการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา ส่งผลให้มิอาจนำเอาบทบัญญัติของ กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องการคุ้มครองแรงงาน แก่ลูกจ้างมาใช้บังคับกับนักเรียน นิสิต นักศึกษาสหกิจศึกษาตามความหมายที่เราเข้าใจ ซึ่งในปัจจุบันมีเพียงประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยว กับการคุ้มครองผู้ได้รับการฝึกเตรียมเข้าทำงาน ซึ่ง เป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราช

บัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ที่ สามารถนำมาใช้เทียบเคียงในการคุ้มครองการทำงาน หรือฝึกปฏิบัติงานของนักเรียน นิสิต นักศึกษาสหกิจ ศึกษา แต่ก็มิใช่กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์โดยตรงที่จะ มุ่งให้ความคุ้มครองการทำงานหรือฝึกปฏิบัติงานแก่ นักเรียน นิสิต นักศึกษาสหกิจศึกษา นอกจากนี้ยังพบ ว่าประกาศกระทรวงฯ ฉบับดังกล่าวมีเนื้อหาที่เกี่ยว กับการให้ความคุ้มครองการทำงานหรือฝึกปฏิบัติ งานที่ยังไม่ชัดเจนครบทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ประเด็นการคุ้มครองในกรณีการประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วยที่เป็นผลมาจากการทำงานโดยตรง ดังนั้นจึงสมควรที่จะมีการพิจารณาบัญญัติกฎหมายเฉพาะที่กำหนดการคุ้มครองการทำงานหรือฝึกปฏิบัติงานเป็นกรณีพิเศษสำาหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาสหกิจศึกษา

แม้ว่าหลักการต่างๆ ที่จัดสร้างขึ้นมาสำหรับการได้เรียนรู้กับการปฏิบัติงานจริงนั้นจะเป็นเรื่องที่หอมหวานสำหรับการศึกษาหาความรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์มากเพียงใด แต่สิ่งหนึ่งที่จะทำให้น้องๆ ได้มีโอกาสใช้ประสบการณ์ในช่วงเวลานั้นให้ได้ยาวนานมากที่สุด ก็คือเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวและอุดช่องว่างของกฎหมายในประเด็นนี้ ภาครัฐควรที่จะพิจารณาการคุ้มครองการทำงานหรือฝึกปฏิบัติงาน ของนักเรียน นิสิต นักศึกษาสหกิจศึกษาซึ่งถือเป็น เยาวชนที่เป็นกำลังสำาคัญของชาติต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ อาจทำได้ใน 2 กรณีคือ

กรณีที่หนึ่ง พิจารณาขยายการคุ้มครอง การทำงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551) โดยออกเป็น ประกาศกระทรวงแรงงานซึ่งอาศัยอำานาจตามความ ในมาตรา 6 คล้ายกับการคุ้มครองแรงงานในกลุ่ม อาชีพพิเศษ เพื่อให้ความคุ้มครองเป็นการเฉพาะ แก่การทำงานหรือฝึกปฏิบัติงานของนักเรียน นิสิตนักศึกษาได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือกรณีที่สอง พิจารณาการออกกฎหมายพิเศษ

เพื่อคุ้มครองผู้ฝึกปฏิบัติงานที่เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษาสหกิจศึกษาโดยเฉพาะ โดยการคุ้มครอง ทั่วไป เช่น เวลาทำงาน เวลาพัก วันหยุด และวันลา อาจพิจารณาจากการคุ้มครองการผู้ฝึกปฏิบัติงานตาม ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การคุ้มครองผู้ได้รับการฝึกเตรียมเข้าทำงานที่มีอยู่แล้ว แต่ควรเพิ่มเติมบทบัญญัติในประเด็นที่ความคุ้มครองในปัจจุบันยังไปไม่ถึง อาทิเช่น บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการคุ้มครองจากการประสบอันตรายหรือเจ็บ ป่วยที่เกิดจากการทำงานซึ่งอาจพิจารณาเทียบเคียงกับกฎหมายเงินทดแทนและกำหนดให้เป็นหน้าที่สถานประกอบการที่จะต้องเป็นผู้ดำเนินการในเรื่อง นี้อย่างจริงจัง ตลอดจนให้มีกลไกในการตรวจสอบ การปฏิบัติตามและควรมีการกำหนดโทษหากมีการฝ่าฝืน และบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเงินค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกปฏิบัติงาน ตลอดจนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับ การคุ้มครองการล่วงละเมิดทางเพศระหว่างผู้ดำเนินการฝึกและผู้รับการฝึกซึ่งเป็นเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน เพื่อเป็นการป้องปรามมิให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เป็นต้น นอกจากนอาจศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการ คุ้มครองผู้ฝึกปฏิบัติงาน (Interns) ของต่างประเทศ ที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เช่น การทำงาน ร่วมกันของสถาบันการศึกษาและแหล่งฝึกงานที่จะ สรุปหรือแนะนำเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมใน การทำงาน ตลอดจนการเตรียมตัวทำงานและผู้ที่จะ สามารถให้คำาแนะนำได้ในระหว่างการฝึกปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการยกระดับมาตรการการคุ้มครองการฝึก ปฏิบัติงานของนักเรียนหรือนักศึกษาสหกิจศึกษาให้ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นอกจากจะศึกษาหาความรู้ วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่สนใจจะทำงานแล้ว การเตรียมความพร้อมในด้านกฎหมายและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาอย่างใกล้ชิดเช่นเดียวกัน

สำหรับหน่วยงานที่ยังคงเปิดรับสมัครนักศึกษาฝึกงาน อาทิ

1 บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด

2 พระนครฟิลม์

  • ตำแหน่ง Graphic Design / Editor
  • รายละเอียดเพิ่มเติม FB:พระนครฟิลม์

3 Interchange Thailand

  • ตำแหน่ง Multimedia / Online marketing
  • ส่งใบสมัครได้ที่ Email: intern@interchangethailand.com
  • เบอร์ติดต่อ 02-245-3174​ 083-021-0979
  • FB:Interchange Thailand

หรือสามารถเช็กได้ตามเว็บไซต์หางานต่างๆ อาทิ https://www.workventure.com, th.jobsdb.com ฯลฯ


ข้อมูลจาก

  • บทความทางวิชาการเรื่อง “แนวทางการให้การคุ้มครองการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา : เทียบเคียงกับการคุ้มครองผู้ได้รับการฝึกเตรียมเข้าทำงานตามกฎหมายแรงงาน” โดย นวกาล สิรารุจานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • https://www.wayup.com/guide/top-10-skills-employers-want-intern/
  • https://www.thebalancecareers.com/top-tips-for-interns-1986781

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า