อยู่บ้านช่วงโควิด เที่ยวพิพิธภัณฑ์ออนไลน์ด้วยปลายนิ้ว

หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เด็กๆ ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บ้าน รวมทั้ง สถานที่ที่น่าจะได้ใช้เวลาช่วงปิดเทอมก็ต้องปิดตัวกันไปก่อนจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย คงจะดีไม่น้อย หากจะมีพิพิธภัณฑ์ให้เด็กๆ ได้เข้าไปดูผ่านทางออนไลน์เพียงปลายนิ้วสัมผัส

แน่นอนอยู่แล้ว ในยุค 5G อย่างทุกวันนี้ จึงมีพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจัดทำระบบพิพิธภัณฑ์ออนไลน์และแบบเสมือนจริงไว้ให้ผู้คนได้เข้าชมจากทุกมุมโลก โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่พิพิธภัณฑ์


1. มิวเซียมสยาม

หรือพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ที่มีหลักในการจัดงานแบบ “Play+Learn =เพลิน” เน้นการสร้างประสบการณ์สดใหม่ในการชม เน้นเกี่ยวกับเรื่องราวการสร้างสำนึกในการรู้จักตนเอง รู้จักเพื่อนบ้าน และรู้จักโลก ให้แก่เด็กและเยาวชนไทย จัดแสดงพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงผ่าน https://www.museumsiam.org/ve.php?MID=5 ซึ่งขณะนี้มีนิทรรศการให้รับชมมากมาย ทั้งนิทรรศการถาวรเรื่อง “ถอดรหัสไทย”  นิทรรศการหมุนเวียนอีกหลายเรื่อง เช่น นิทรรศการว่าด้วยความหลากหลายทางเพศ นิทรรศการ “ไทยทำ…ทำทำไม” นิทรรศการเคลื่อนที่ นิทรรศการพิเศษ เช่น เรื่องภาพถ่ายหนองคาย-เวียงจันทร์ ร้อยสัมพันธ์


2.พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร

พิพิธภัณฑ์สำหรับประชาชนแห่งแรกในประเทศไทย ภายในจัดแสดงนิทรรศการ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชั้นเยี่ยมจากทุกสมัยที่พบในประเทศไทยมาจัดแสดง โดยเรียงลำดับเวลาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มาจนถึงสมัยทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ เน้นให้เห็นถึงความงามของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ

นอกจากจะชมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติพระนครได้ที่นี่แล้ว ในเว็บไซต์นี้ยังจัดแสดงโบราณวัตถุหลายชิ้นให้ชมแบบ 360 องศาอีกด้วยดูได้ที่นี่


3. Google Art & Culture

เว็บไซต์รวบรวมงานศิลปะและสถาปัตยกรรมสวยๆ แปลกใหม่จากทุกมุมโลก จัดทำโดยเจ้าแห่งการค้นหา Google ดูกันได้ทั้งวันไม่มีเบื่อที่นี่


4. British Museum พิพิธภัณฑ์กลาง กรุงลอนดอน

ซึ่งมีโบราณวัตถุที่ได้มาจากทุกมุมโลกในสมัยยุคล่าอาณานิคม โดยพิพิธภัณฑ์ออนไลน์ British Museum มีการจัดหมวดหมู่ของวัตถุโบราณชัดเจน ที่วัตถุโบราณแต่ละชิ้นจะมีรายละเอียดให้ได้อ่านเพิ่มเติมได้อีกด้วย รวมทั้งเมื่อมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับโบราณวัตถุอื่นก็จะมีเส้นเชื่อมไปยังวัตถุโบราณชิ้นนั้นๆ ตามลำดับเวลาอีกด้วย ลองไปดูกันได้ที่นี่


5.พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์

ตั้งขึ้นเพื่อรำลึกถึงศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (คอร์ราโด เฟโรจี) ชาวอิตาเลียน ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานและพัฒนาวงการศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทยจนได้รับการยกย่องว่า “บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย” บรรยากาศภายในเหมือนห้องทำงานที่ศาสตราจารย์ศิลป์ใช้งานขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ดูได้ที่นี่


6.พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์โลกทางธรรมชาติ Natural History Museum

ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน รวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ ในระบบออนไลน์เช่นกันมีการจัดหมวดหมู่ไว้ทำให้สะดวกต่อการศึกษาหาข้อมูล


7.พิพิธภัณฑ์ Louve Museum กรุงปารีส

เก็บรักษาผลงานศิลปะที่ทรงคุณค่าไว้เป็นจำนวนมาก เช่นภาพ Mona Lisa, Madonna of the Rocks ผลงานของศิลปินระดับโลก เลโอนาร์โด ดาวินชี รวมผลงานจัดแสดงกว่า 35,000 ชิ้น ในพื้นที่ราว 60,600 ตารางเมตร และมีผู้เข้าเยี่ยมชมมากถึง 9.7 ล้านคนต่อปี มีบางคนบอกว่า หากจะชมผลงานทั้งหมดใน Louve คงใข้เวลาหลายปี เราใช้เวลาช่วงนี้ชมแบบออนไลน์ไปก่อนที่นี่


8.เว็บไซต์นาซ่า

แหล่งรวมภาพมากมายสำหรับผู้ที่ชื่นชอบอวกาศ ระบบจักรวาล รวมไปถึงรูปภาพและรายละเอียดโครงการต่างๆ ของนาซ่า อาทิ ภารกิจ Moon to Mars หรือโครงการสถานีอวกาศ เข้าดูได้ที่นี่


9. พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์และธรณีวิทยา

ไม่ว่าจะเป็น วิวัฒนาการสิ่งมีชีวิต แผ่นดินไหว ภาวะโลกร้อน ดวงดาวและอวกาศ คลื่นยักษ์สึนามิ มีการนำเสนอที่ง่ายต่อการเข้าใจและครบถ้วน คลิกเลยที่นี่


10.ศูนย์นวัตกรรมแห่งอนาคต

แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งอนาคต ที่เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้านนวัตกรรมใหม่ 7 นวัตกรรม พร้อมแนะแนวอาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 20 อาชีพ ชมแบบออนไลน์ได้ที่นี่


11.เว็บไซต์รวมสุดยอด 19 นิทรรศการแห่งปี

เช่น สูงวัยใกล้ตัว(Aging Society) ธรรมชาติบันดาลใจ วิทยาศาสตร์ติดถ้ำ นาทีนี้ต้องดิจิทัล (Digital Now) ที่นี่

แค่นี้ตลอดช่วงที่เราต้องอยู่บ้านเพื่อช่วยหมอผ่านช่วงการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ก็ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป แต่เมื่อพ้นช่วงนี้ไปแล้ว หากใครมีโอกาสก็น่าจะแวะไปชมสถานที่จริงของพิพิธภัณฑ์เหล่านี้บ้าง เพื่อจะได้รับประสบการณ์ตรง

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า