เล่นกีฬา ช่วยฝึกความจำได้อย่างไร ไขความลับ “สมอง” ถอดรหัสจีเนียส

กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ!

เชื่อว่า ทุกคนคงรู้ประโยชน์ของกีฬาเป็นอย่างดีว่ามีประโยชน์กับตัวเองและร่างกายอย่างไร ไม่เพียงทำให้สุขภาพแข็งแรงเท่านั้น “การเล่นกีฬา” ไม่ว่าประเภทใดก็ตาม เป็นการ “บำรุงสมอง” ที่ทำให้สมองทำงานได้ทรงประสิทธิภาพในด้านต่างๆ มากขึ้น ทั้งการจำ การตัดสินใจ รวมไปถึงการยับยั้งอารมณ์

ผศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มาไขความลับของ “สมอง” ให้ทราบกันว่า การเล่นกีฬามีผลต่อสมองอย่างมาก ยกตัวอย่าง การที่พยายามใส่ข้อมูลลงไปในสมอง อย่างเวลาที่อ่านหนังสือติดต่อกันเป็นสิบชั่วโมง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองช้า เราจะจดจำอะไรไม่ได้แล้ว แต่เมื่อเราลุกขึ้นเพียงแค่ขยับร่างกาย จะทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงได้ดีขึ้น เมื่อกลับมาอ่านหนังสืออีกครั้ง ก็จะทำให้สมองจดจำได้มากขึ้น

ในเรื่องกลไกการจำกับการทำงานของสมองนี้ ผศ.ดร.ยศชนัน อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ว่า “สมองส่วนหน้า” ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิดและการตัดสินใจ “สมองส่วนหลัง” ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น “สมองส่วนข้าง” ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน และ “สมองส่วนกลางเยื้องหลัง” ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกของร่างกาย

“เมื่อเราขยับร่างกาย ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา “สมองส่วนกลาง” จะทำงาน และส่วนสำคัญของระบบประสาทกลาง หรือ “เปลือกสมอง” (cerebral cortex) เรียกสั้น ๆ ว่า คอร์เทกซ์ ก็จะหนาขึ้น ซึ่งเปลือกสมองนั้นมีผลต่อการทำงานของสมองทั้งในส่วนการคิด การจำ การพูด การมองเห็น-ได้ยิน และความรู้สึก เมื่อพวกนี้หนาขึ้น ก็จะตอบโจทย์เรื่องการเรียนรู้ การแปลผล การตัดสินใจดีขึ้น เหมือนเราได้บำรุงสมองให้แข็งแรง มีเลือดไปหล่อเลี้ยงดี ทุกสิ่งทุกอย่างการเรียนรู้จะดีขึ้น”

ผศ.ดร.ยศชนัน อธิบายอีกว่า มีงานวิจัยรองรับว่า คนที่ไม่ออกกำลังกายเลย เมื่ออ่านหนังสือจะจำได้แค่ประมาณหนึ่ง เช่น คนหนึ่งอ่านหนังสืออย่างเดียว 20 ชั่วโมง กับอีกคนอ่านแค่ 6 ชั่วโมง แต่แบ่งไปออกกำลังกายบ้าง คนหลังจะจำได้เยอะกว่า แต่ที่เราสงสัยว่าทำไมนักกีฬา เรียนไม่ดี อันนี้พบว่าเมื่อเล่นกีฬาเสร็จ เขาไม่อ่านหนังสือ แต่ถ้าตั้งใจเรียนอ่านหนังสือก็จะเรียนเก่งแน่ๆ อย่างนักกีฬาระดับโลกหลายคนที่เรียนเก่งมากๆ

“ฉะนั้น ถ้าอยากเรียเก่ง ก็ต้องมีทั้งการออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ให้มีสัดส่วนที่สมดุลกัน” อาจารย์ยศชนัน กล่าว อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องเล่นกีฬาหนักๆ อ.ยศชนัน แนพว่า เพียงแค่ทำกิจกรรมที่มีการขยับร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว “ก็โอเคแล้ว” เพราะนี่คือ กุญแจที่เราสร้าง “เปลือกสมองให้พร้อมทำงาน”

อ.ยศชนัน ไขรหัสสมองให้ลึกลงไปอีกว่า ถ้าเราอยากจำอะไรที่เป็นระยะยาว หรือ ลอง-เทิร์ม เมมโมรี่ (Long-term memory) สมองส่วน “ฮิปโปแคมปัส” (Hippocampus) ซึ่งเปรียบเสมือน “หน่วยความจำ” ที่อยู่ในสมองส่วนกลาง จะทำหน้าที่อัพโหลดข้อมูลความจำระยะสั้น หรือ ชอร์ต-เทิร์ม เมมโมรี่ (Short-term memory) ให้เป็น ความจำระยะยาว

ฮิปโปแคมปัส จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ในคนที่ออกกังกาย หรือ เล่นกีฬา ก็จะมีความสามารถในการจำอะไรที่เป็นลอง-เทิร์มได้ดีขึ้น ยำตัวอย่าง ถ้าเราจะท่องศัพท์ นั่งเฉยๆ จำไม่ได้ ถ้าเราได้เดินไปเรื่อยๆ ก็จะจำได้ การเรียนอะไรต้องใช้ความจำ ถ้ามีการเคลื่อนไหว หรือ มูฟเม้นท์ ก็จะทำให้การเรียนได้ง่ายขึ้น บางคน ที่ติดคำศัพท์ภาษาอังกฤษในห้องน้ำ หรือตามทางเดิน ก็ทำให้จำได้ง่ายขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะเห็นบ่อย แต่คีย์ของมันคือการเคลื่อนไหวที่ทำให้จำได้ง่ายขึ้น

จากฮิปโปแคมปัสความจำส่วนนี้ก็จะไปเก็บไว้ในเปลือกสมอง เมื่อเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายเปลือกสมองก็จะหนาขึ้น ก็ยิ่งเก็บช้อมูลได้ดี ทั้งชอร์ต-เทิร์ม และลอง-เทิร์ม ก็จะดีหมด

หากกระนั้น ถ้าอ่านหนังสืออย่างเดียวโดยไม่เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายเลย อ.ยศชนัน ระบุว่า “ก็ไปได้ไม่ไกล” ดังนั้น ต้องมีสัดส่วนที่สมดุลกัน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงแนะนำให้แบ่งการขยับร่างกายหรือการเล่นกีฬาออกเป็น 10-20-30 คือ เช้า 10 นาที บ่าย 20 นาที และเย็น 30 นาที

เด็กๆ ตื่นมาตอนเช้าอาจออกกำลังกายเบาๆ สัก 10 นาที หลังจากนั้นตอนเที่ยงอาจจะหากิจกรรมทำ 20 นาที และเย็นออกกำลังกายหนักๆ ไม่ว่าจะเป็นเตะฟุตบอล เล่นแบตมินตัน 30 นาที

นอกจาก ทำให้ความจำดีขึ้น การออกกำลังกายยังทำให้สมองส่วนปลายของฮิมโปแคมปัส ซึ่งเรียกว่า “อะมิเบล่า” (Amybala) ที่เป็นส่วนทำให้เรามีความรู้สึกวิตกกังวล ที่แต่เดิมมีขนาดใหญ่ ให้มีขนาดเล็กลง และอยู่ในขนาดที่เหมาะสมขึ้น

เมื่อสมองส่วนอะมิเบล่าเล็กลง ก็จะทำให้ความวิตกกังวลลดลง ช่วยในเรื่องต่างๆ ได้ดี เช่น อ่านหนังสือมาตลอดพอถึงวันจริงก็จะนิ่งสงบ ทำข้อสอบได้ไม่พลิกล็อก ผิดกับพวกที่ไม่ออกกำลังกาย แม้จะอ่านหนังสือมาเหมือนกัน แต่พอถึงวันจริง กลับประหม่า เครียด กังวล” นี่คือประโยชน์ของการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย

อย่างการไปเดินเล่นๆ ก็ทำให้สมองส่วนหน้าได้ทำงานเบาๆ ทุกส่วน เหมือนเครื่องสตาร์ช พอจะคิดอะไร ก็คิดออกง่ายขึ้น บางคนนั่งเฉยๆ คิดไม่ออก พอได้เดินไปเดินมา กลับคิดอะไรออกได้ดี อย่างสามก๊ก แม่ทัพเขาไม่นั่งประชุมกัน แต่เขาจะยืนคุยกัน

มาถึงตรงนี้ ก็ให้เกิดคำถามว่า การเล่นกีฬาแต่ละประเภทให้ประโยชน์กับสมองเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

อ.ยศชนัน อธิบายว่า ควรเล่นกีฬาหลายๆ ประเภทเพื่อฝึกสมองในหลายๆ ด้านให้ครบทุกส่วน ซึ่งจะช่วยในเรื่องการเรียน การจำ การลดความตึงเครียด การตัดสินใจ

“จะเล่นกีฬาอะไรก็ได้ทั้งนั้น แต่พยายามเล่นให้หลากหลาย เพื่อใช้สมองทุกส่วน และไม่จำเป็นต้องเล่นกีฬาแพงๆ หรือซื้ออุปกรณ์แพงๆ กิจกรรมอย่างโขน หรือรำไทยก็ช่วยได้ หรือกีฬาพื้นบ้าน ทั้งหมากเก็บ กระโดดเชือก ทุกอย่างทำได้หมด”

ปิดเทอมใหญ่นี้ อ.ยศชนัน แนะนำให้เด็กๆ เยาวชนแบ่งเวลามาเล่นกีฬาออกกำลังกายบ้าง

“ช่วงเวลาเรียน เด็กๆ อาจมีการทำกิจกรรมต่างๆ ทำจนทำให้ไม่ได้เล่นกีฬา ช่วงปิดเทอมก็ถือเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้บำรุงสมอง อยากให้แบ่งเวลามาออกกำลังกาย เพื่อที่เมื่อเปิดเทอมจะได้พร้อมในการเรียนอย่างเต็มที่ เพราะเมื่อสมองแข็งแรงก็ทำให้พร้อมจะเรียนรู้ แต่ก็ต้องทำควบคู่กันไประหว่างการเรียนกับการขยับร่างกาย อย่าขยับอย่างเดียว หรือเรียนอย่างเดียว แต่ต้องทำให้สมดุลกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด” อ.ยศชนัน ทิ้งท้าย

ปิดเทอมสร้างสรรค์ มาออกกำลังกายบำรุงสมองให้แข็งแรงกันเถอะ

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า