5 เคล็ดลับ ตั้งเป้าหมายให้ถูกต้อง ในการศึกษาต่อระดับชั้นต่อไป เพื่อให้ได้งานในฝันที่อยากทำ

เป็นเรื่องหนักใจของนักเรียนหลายคน รวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่เมื่อมาถึงทางแยกว่า ต้องเรียนอะไร สาขาวิชาไหน ถึงจะตอบโจทย์ความสนใจของตัวนักเรียน เพื่อเป็นพื้นฐานที่ปูไปสู่การทำงานในอนาคตข้างหน้าได้ 

การมี “เป้าหมาย” ที่ชัดเจนจึงเปรียบเสมือน “เข็มทิศ” ที่ทำให้นักเรียนเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง 

แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า นักเรียนอยากทำอะไรหรือชอบอะไร นี่คือ 3 เคล็ดลับที่ช่วย “หาเป้าหมาย” ในการศึกษาต่อในระดับชั้นต่อไป ทั้งระดับมัธยม และมหาวิทยาลัย

  เพื่อให้นักเรียนได้เรียนในสิ่งชอบ สามารถพัฒนาตัวเองเป็นผู้ใหญ่ที่ได้ทำงานที่รัก และประสบความสำเร็จในชีวิต

1. ถามคำถามเพื่อกำหนดอนาคตให้ดีขึ้น 

เปลี่ยนจากคำถามว่า “โตขึ้นอยากเป็นอะไร” ซึ่งคำถามนี้ ถือเป็นการตีกรอบมากเกินไป 

ลองเปลี่ยนมาเป็น “อยากแก้ปัญหาอะไรในโลกนี้” ซึ่งเป็นคำถามที่เปลี่ยนมุมมอง และได้ประโยชน์หลายประการ 

เป็นการเปลี่ยนโฟกัสจากการวางเป้าหมายที่อาชีพใดเพียงอาชีพหนึ่ง มาเป็นการเปิดโอกาสให้ตัวเองเห็น “คุณค่า” ในสิ่งที่อยากทำมากขึ้นเมื่อโตขึ้น 

ยกตัวอย่าง ถ้านักเรียนอยากเป็นหมอ แต่ไม่สามารถสอบติดหมอได้ อาจทำให้รู้สึกล้มเหลว ซึ่งจะทำให้เครียดและไม่มีความสุข

แต่ถ้าเปลี่ยนคำถามใหม่ เป็น  “อยากแก้ปัญหาอะไรในโลกนี้” และความต้องการของนักเรียน คือ “อยากช่วยให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดีขึ้น” 

นักเรียนก็จะมีทางเลือกและเป้าหมายที่ไม่รู้จบ และสามารถเริ่มต้นได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นการเขียนหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพ การเป็นนักวิทยาศาสตร์ ครู ผู้ฝึกสอนฟิตเนส พ่อครัว พยาบาล นักโภชนาการ หรือแม้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ด้านการส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกาย

มีมากมายหลายอาชีพให้เลือกเพื่อที่จะไปถึงเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งนี่คือ การตั้งเป้าหมายเชิงบวกที่เพิ่มคุณค่าให้กับชีวิตนักเรียน

และทำให้รู้ว่า พวกเขาสามารถทำอะไรหลายอย่างได้ เพื่อที่จะไปถึงเป้าหมายที่ต้องการ 

ทั้งนี้ การตั้งคำถามแบบนี้ เป็นการป้องกันความเสี่ยงให้กับนักเรียนด้วย เพราะด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ในอีก 10 ปีข้างหน้า อาชีพที่เด็กๆ อยากเป็นอาจจะไม่มีอีกแล้ว 

ก็อาจจะทำให้นักเรียนเกิดความสับสนได้ การตั้งคำถามกว้างๆ และไม่จำกัดจนเกินไป จึงเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เป็นอิสระที่จะเลือกอาชีพ

2. ทำกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อค้นหาตัวเอง และเป้าหมายที่ชัดเจน

อาจจะมีนักเรียนอีกหลายคนที่ยังไม่รู้เป้าหมายของตัวเอง ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะยังไม่มีประสบการณ์มากพอ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะหาประสบการณ์ต่างๆ 

เพราะการค้นหาตัวเองทำได้โดยการทำกิจกรรมต่างๆ ที่สนใจ พ่อแม่ควรสนับสนุนให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นดนตรี กีฬา ศิลปะ รวมไปถึงส่งเสริมให้เด็กได้เข้าค่ายต่างๆ เข้าคอร์สเรียน ในช่วงซัมเมอร์ หรือปิดเทอม ก็จะทำให้นักเรียนมีประสบการณ์มากขึ้น และรู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร 

แต่ถ้าโตขึ้นมาหน่อย อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่สามารถสมัครทำงานพาสไทม์ได้ ก็เป็นอีกประสบการณ์หนึ่งที่ทำให้เรียนรู้ชีวิตการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น การฝึกงานเป็นเรื่องสนุก เพราะสามารถช่วยให้เห็นคร่าวๆ ว่างานบางประเภทเป็นอย่างไร ทำให้ได้พบปะผู้คนและเครือข่ายใหม่ๆ และยังทำให้ค้นพบว่าชอบหรือไม่ชอบกิจกรรมนั้นๆ ด้วย ถ้าไม่ชอบก็ไม่เป็นไร นั่นเป็นสิ่งที่ดี ที่จะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาทำสิ่งนั้นอีก 

นอกจากทำกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลาย หรือฝึกงานแล้ว อีกกิจกรรมที่อาจช่วยให้ค้นพบตัวตน หรือหาเป้าหมายเจอ คือ การเดินทางท่องเที่ยว หรือการเข้าชมนิทรรศการ ตามพิพิธภัณฑ์ต่าง ไม่ว่าจะเป็นกับครอบครัว หรือเพื่อนๆ 

การออกไปดูโลกภายนอก เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับเรา มันเตือนว่าทุกที่ที่เราอาศัยอยู่ไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล และยังมีวิธีการอีกมากมายในการเข้าถึงสิ่งต่างๆ และทำสิ่งที่เรายังไม่ได้สำรวจ การเรียนรู้เกี่ยวกับมุมมองใหม่ๆ เช่นนี้ ยังสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนมองโลกด้วยสายตาใหม่และเปลี่ยนวิธีคิดได้

3. เมื่อเห็นเป้าหมาย ก็ถึงเวลา “วางแผน” 

ในการเลือกวิชาเอกที่จะเรียนในระดับมัธยม หรือระดับมหาวิทยาลัย หากทำตามเป้าหมายทั้ง 2 ข้อที่ผ่านมา จะทำให้มีเป้าหมายชัดเจนขึ้น ขั้นตอนต่อไปคือ “การวางแผน” เพราะวางแผนดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง

ในระดับมัธยม ผู้ปกครองอาจต้องนั่งคุยกับลูกว่า ชอบหรือไม่ชอบวิชาอะไร วิชาอะไรทำได้ดี วิชาอะไรทำได้ไม่ดี หลังจากนั้นก็วางแผนการเรียนตามที่นักเรียนชอบและทำได้ดี ขณะที่ระดับมหาวิทยาลัย ก็ต้องมองภาพรวมและเจาะลึกลงไปในประเด็นสำคัญหลายๆ ด้าน ดังข่อถัดไปจากนี้

4. มุ่งความสนใจไปที่เป้าหมายที่ถูกต้องจริงหรือ?

บ่อยครั้งที่นักเรียนมุ่งความสนใจไปที่มหาวิทยาลัยชื่อดัง หรือคณะชื่อดังเท่านั้น ครอบครัวสามารถหลีกเลี่ยงกับดักนี้ ด้วยการทำให้เป้าหมายของเด็กๆ คือการกำหนดอาชีพในอนาคต จากนั้นใช้เป้าหมายนั้นเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการคัดเลือกมหาวิทยาลัย และสาขาวิชาที่จะเรียน 

เพราะเป้าหมายที่ถูกต้องคือการสำเร็จการศึกษาพร้อมมีงานทำในอาชีพที่พวกเขาเรียน การมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายที่ไม่ถูกต้องทำให้ 53% ของผู้สำเร็จการศึกษาตกงาน และ 50% หรือมากกว่านั้น ต้องใช้เวลามากกว่า 4 ปีในการสำเร็จการศึกษา 

5. เป้าหมายมีไว้พุ่งชน และวางแผนดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง!! 

เมื่อได้เรียนในวิชา คณะ หรือมหาวิทยาลัยตามเป้าหมายที่ชัดเจน ลำดับต่อไป ก็ต้องวางเป้าหมายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเรียน วางแผนการเรียนโดยการแบ่งเวลาให้ชัดเจน เช่น ตั้งใจเรียนในห้องเรียน ทำการบ้าน ทบทวนบทเรียน อ่านหนังสือ ทำรายงาน รวมถึงเวลาพักผ่อน รีแลกซ์ ใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อนและครอบครัว  และเมื่อถึงสอบก็ทำให้ดีที่สุด ผลออกมาได้เกรดเท่าไหร่ ก็ภูมิใจแล้วล่ะ 

ขอให้นักเรียนทุกคน ค้นพบตัวเอง เจอเป้าหมาย และประสบความสำเร็จในอาชีพงานที่ชอบ

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า