Play & Activity @home

ช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เด็กๆ ออกไปเล่นนอกบ้านกับเพื่อนไม่ได้ เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก กลุ่ม#โคราชเดิ่นยิ้ม มีไอเดียส่งของเล่นถึงหน้าบ้านให้เด็กๆได้เล่นสานสัมพันธ์กับคนในครอบครัวแทน โดยมีของเล่น 5 อย่าง ให้เด็กๆได้ลองประดิษฐ์เล่น ดังนี้

ตุ๊กตาถุงกระดาษ

อุปกรณ์

  1. กระดาษสำหรับวาดภาพตัวการ์ตูน
  2. สี
  3. กรรไกร
  4. ถุงกระดาษ
  5. กาว

กังหันลมปันยิ้ม

อุปกรณ์

  1. กระดาษ
  2. สี
  3. กรรไกร
  4. เข็มหมุด
  5. ลูกปัด
  6. ลวด
  7. หลอด
  8. ไม้

ว่าวอีลุ้มหรรษา

อุปกรณ์

  1. กระดาษว่าว
  2. ไม้สำหรับทำโครงว่าว
  3. กรรไกร
  4. กาว
  5. เชือก
  6. กระดาษสีสำหรับตกแต่ง

หน้ากากแฟนซี

อุปกรณ์

  1. กระดาษสำหรับวาดหน้ากาก
  2. สี
  3. กรรไกร
  4. ยางวง

รถกระป๋องโบราณ

อุปกรณ์

  1. กระป๋อง
  2. ตะเกียบ
  3. ไม้ไผ่
  4. ยางวง
  5. มีด

ที่มา : Play & Activity @home

#letsplaymore 
#เล่นเปลี่ยนโลก 
#30นาทีเล่นอิสระทุกวันสร้างพลังสุข

ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรเล่นกับลูกอย่างน้อย “30 นาที” ต่อวัน?

“ทำไมลูกเรา Active มาก เล่นไม่มีหมดจริง ๆ”

“เราควรให้ลูกเล่นเท่าไหร่ถึงจะพอ?”

ประโยคเหล่านี้เป็นน่าจะสิ่งที่คุณพ่อคุณเม่หลายท่านสงสัยและเกิดคำถามว่าจริง ๆ แล้วการเล่นจำเป็นต่อลูกของเราจริง ๆ หรือ? เเล้วเราควรจะเริ่มสนับสนุนการเล่นลูกอย่างไรดี?

ก่อนอื่นอยากให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านเข้าใจว่า การเล่นไม่ใช่เรื่องพิเศษหรือเป็นสิ่งที่มาเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เเต่ “การเล่น” คือ “ธรรมชาติ” ของเด็ก อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดทางด้านเวลาในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น หลักสูตรการเรียนการสอน การเข้าถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ พื้นที่เล่นที่จำกัด และความปลอดภัยในระหว่างเล่นของเด็ก ทำให้เวลาที่เด็กได้เล่นน้อยลง ซึ่งหมายความว่าธรรมชาติของเด็กก็ถูกขัดขวางด้วยปัจจัยเหล่านี้เช่นกัน

จึงมีคำถามตามมาว่า “เเล้วเล่นเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อพัฒนาการของลูก?”

ทาง American Academy of Pediatrics (AAP) หรือ สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา ได้ทำการวิจัยด้านการเล่นและพัฒนาการ และพบว่าการที่เด็กได้เล่นกับพ่อเเม่หรือ การเล่นที่พ่อเเม่เป็นผู้ช่วยและสนับสนุนการเล่น (parent-guided play) อย่างน้อย “30 นาทีต่อวัน” และอย่างต่ำ 1 ชม. ในการเล่นอิสระ นอกจากทักษะความคิดสร้างสรรค์ การสงสัยใคร่รู้ การทำงานเป็นทีม และทักษะทางด้านภาษา ที่เด็กได้จากการเล่นแล้ว “ความสัมพันธ์” คือสิ่งที่เด็กจะได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กันในครอบครัว

ในรายงาน The Power of Play: A Pediatric Role in Enhancing Development in Young Children ของ AAP ยังเผยว่า “การเล่น” ไม่จำเป็นต้องเป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายหรือเคลื่อนไหวร่างกายเสมอไป เเต่กิจกรรมง่าย ๆ ที่ทุกครอบครัวสามารถทำได้ เช่น การเล่านิทาน หรือ ทำงานบ้าน ก็สามารถเสริมสร้างพัฒนาการให้เด็กได้อย่างสมบูรณ์เช่นกัน กิจกรรมเหล่านี้ถือเป็น “เวลาคุณภาพ (Quality time)” ที่เด็กจะสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในโลกอนาคต และยังเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวให้เแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม มีนักวิจัยมากมายพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเราไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าเด็กควรเล่นเท่าไหร่ถึงจะพอ เพราะ “ระยะเวลาเล่น” ไม่เท่ากับ “คุณภาพของการเล่น” หากคุณพ่อคุณแม่สามารถมีเวลาคุณภาพ ที่จะใช้ในการร่วมเล่นกับลูกได้ในทุกวันวันละอย่างน้อย 30 นาที เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

ที่มา : ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรเล่นกับลูกอย่างน้อย “30 นาที” ต่อวัน?

#letsplaymore 
#เล่นเปลี่ยนโลก 
#30นาทีเล่นอิสระทุกวันสร้างพลังสุข

คู่มือส่งเสริมการเล่นของเด็กในช่วงวิกฤต

การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าและการรับมือของภาครัฐส่งผลกระทบอย่างมากกับเด็กๆ ทั่วโลก ข้อมูลจากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้ระบุไว้ว่า สิทธิในการเล่นคือหนึ่งในความต้องการพื้นฐานของเด็กการส่งเสริมสิทธิในการเล่นของเด็กมีความสําคัญมากในช่วงเวลานี้ ด้วยเหตุนี้เราจึงพัฒนาคู่มือที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ดูแลเด็กๆ ได้นําไปใช้ส่งเสริมการเล่นของเด็กในช่วงเวลาวิกฤต

1. ความสําคัญของการเล่นในช่วงวิกฤต

การเล่นนันช่วยให้เด็กๆ มีร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็ง และเป็นส่วนหนึงในชีวิตประจําวันของการมีวัยเด็กที่มีความสุข แม้ในวิกฤตการณ์เช่นการระบาดของโคโรนาไวรัสทีเรากําลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ การเล่นก็ยังคงมีบทบาทสําคัญ ที่คอยช่วยให้เด็กๆ จัดการกับอารมณ์ของตนเองได้และช่วยพยุงความรู้สึกของพวกเขาว่าทุกอย่างเป็นปกติได้

2. การส่งเสริมการเล่นของเด็กๆในช่วงวิกฤต

เด็กๆ เล่นอยู่แล้วตามธรรมชาติ สิ่งสําคัญที่สุดที่เราสามารถส่งเสริมพวกเขาได้ก็คือ จัดให้มีพื้นที่และเวลาสําหรับเล่นได้ทุกวันและมีทัศนคติทีเปิดกว้างพร้อมที่จะเข้าใจ เพราะเมื่อเวลาที่เด็กๆ เห็นเรามีความสุขตอนเขาเล่น ความสนุกในการเล่นก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

ตัวอย่างของวิธีการส่งเสริมการเล่นของเด็ก โดยไม่ชี้นําหรือแทรกแซง

  • รอให้เด็กเป็นฝ่ายชวนเล่น ถ้าเด็กพอใจทีจะเล่นเองคนเดียว คุณก็สามารถปล่อยเขาเล่นเองได้เลย
  • ดูแลไม่ให้มีการรบกวนขณะเด็กๆ กําลังเล่น ถ้าเด็กกําลังเล่นอย่างเพลิดเพลิน พยายามอย่าเปิดโทรทัศน์ วีดิโอเกม อย่าตังคําถามพวกเขาขณะกําลังเล่น หรือให้หยุดเล่นเพื่อไปทํากิจกรรมอื่นๆ
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้สํารวจและเรียนรู้จากข้อผิดพลาด ให้เด็กได้ลองผิดลองถูกและใช้ความคิดตนเองในการแก้ปัญหาโดยไม่ไปตัดสิน หรือทําให้เด็กรู้สึกด้อยค่า
  • ให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะต่างๆ ตามขีดความสามารถตนเอง บางครังมันเป็นเรื่องยากที่จะหักห้ามใจ และ ไม่ยืนมือเข้าไปช่วยเหลือเมื่อเด็กเจออุปสรรค แต่นี่เป็นวิธีที่เด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุด
  • ให้เด็กได้เลือกเนือหาที่พวกเขาต้องการเล่นด้วยตัวเอง แม้ว่าเรื่องที่เล่นนั้นจะดูยากเกินไปหรือดูไม่น่าจะสนุกเลย ้แต่ก็เป็นการเล่นของเขาเอง

3. สังเกตการเล่นของเด็ก

การได้ลองสังเกตวิธีการเล่นของเด็ก ก็นับว่าเปนโอกาสสําคัญสําหรับครอบครัวที่ได้ใช้เวลาร่วมกันได้ ซึ่งจะช่วยให้พ่อแม่:

  • ได้รู้จักเด็กดีขึ้น
  • ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เด็กๆ สนใจหรือชอบที่ทํา
  • ได้รับรู้ถึงความรู้สึกของเด็ก
  • ปรับตัวให้คุ้นชินกับการมีเวลาที่สนุกสนานและผ่อนคลายร่วมกันในครอบครัว

4. พ่อแม่สามารถเล่นกับเด็กๆ ได้หลายวิธี

  • เตรียมพื้นที่ให้เขาเล่น ซึ่งอาจจะเป็นลังกระดาษใบเล็กๆ หรือมุมหนึ่งของโซฟา
  • ปรับอารมณ์ของตนเองให้เข้ากับการเล่นของเด็กชวนเด็กๆ คิดการเล่นสนุกๆ จากสิ่งของที่มีอยู่ในบ้าน
  • ร้องเพลง เล่นดนตรีหรือเล่าเรื่องสนุกๆ ให้เด็กฟัง
  • หาสิ่งของต่างๆ มาทําเป็นของเล่น เช่น หยิบผ้าปูที่นอนมาทําเป็นเต๊นท์ หรือเอาเครื่องครัวมาเล่นขายของ

5. ตัวอย่างการเล่นและกิจกรรมจากสิ่งของภาพในบ้าน

กิจกรรม

  • ทําโมเดล หุ่นมือ โล่ และเครื่องดนตรี
  • กอดหมอนแน่นๆ หรือเหยียบทับบนกล่องกระดาษจนกล่องแบน เพื่อระบายความคับข้องใจ
  • วาดรูปบนกระดาษการ์ดและตัดทําเป็นจิ๊กซอว์
  • จัดโซนในบ้านให้เป็นร้านค้า โรงเรียน ครัว ธนาคารที่ทําการไปรษณีย์ ร้านเสริมสวย โรงพยาบาลและคาเฟ่ สําหรับการเล่นบทบามสมมติ
  • หาของมาไว้สําหรับเล่นในนํ้า
  • สร้างถํ้า ที่พัก หรือห้องเล็กๆ
  • เล่นแต่งตัว แสดงโชว์ หรือแสดงละคร ละครเวทีต่างๆ
  • ทําสวนเล็กๆ ภายในบ้าน เพาะเมล็ดและคอยดูเมล็ดเหล่านี้เจริญเติบโต
  • สร้างเกมกระดานใหม่ๆ

6. ตัวอย่างการดึงธรรมชาติเข้าสู่ในบ้าน

ของที่หาได้จากธรรมชาติ

เช่น เมล็ด เปลือกหอย ใบไม้ กิงไม้ ก้อนกรวด หิน มักจะถูกนํามาใช้เล่นเสมอ คุณสามารถหสิ่งเหล่านี้ได้รอบๆ บ้าน

  • ออกไปเก็บของเหล่านี้มาเท่าที่จําเป็น
  • ไม่ทําลายต้นไม้ พืช ที่อยู่อาศัยของสัตว์ รังนก เป็นต้น
  • หลังจากเล่นเสร็จแล้ว ให้นําของที่เก็บมาไปคืนในที่ที่เก็บของเหล่านั้นมา ถ้าสามารถทำได้

ที่มา : คู่มือส่งเสริมการเล่นของเด็กในช่วงวิกฤต

#letsplaymore 
#เล่นเปลี่ยนโลก 
#30นาทีเล่นอิสระทุกวันสร้างพลังสุข

“มุมเล่นช่วยลูกนิ่งเป็นเวลานาน”

สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเวลาทำงานการจัดมุมเล่นในบ้านช่วยได้

เด็กทุกคนเวลาเล่นสิ่งที่ตนเองชอบ จะใช้เวลากับการจดจ่อ  สร้างจินตนาการเรื่องราวของตัวเองเชื่อมโยงของเล่นและสิ่งรอบตัว การ “สังเกต” ว่าลูกชอบเล่นอะไรและการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเล่นจึงสำคัญจึงสำคัญ หรือเพื่อผู้ปกครองจะได้จัดมุมเล่นให้ดึงดูดและกระตุ้นจินตนาการ

จากประสบการณ์การทำงานพบว่า มุมเล่นที่ทำให้เด็กนิ่งอยู่กับจิตนาการของตนเองได้เป็นเวลา 1-3 ชั่วโมง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก

“ตัวอย่างมุมเล่น“

“เริ่มต้นอย่างไร”

ที่มา : “มุมเล่นช่วยลูกนิ่งเป็นเวลานาน”

#letsplaymore 
#เล่นเปลี่ยนโลก 
#30นาทีเล่นอิสระทุกวันสร้างพลังสุข

ทำไม “การเล่น” ถึงเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อเเม่และลูกได้ดีที่สุด?

ตั้งเเต่ลูกลืมตาดูโลก คนเเรกที่ลูกเห็นคือ “พ่อแม่” หรือแม้กระทั่งคนแรกที่ลูกได้เล่น ได้หัวเราะ ได้ร้องไห้ และอยู่กับลูกตลอดเวลาเมื่อลูกต้องการก็คือ “พ่อแม่” นั่นเอง ดังนั้นจึงไม่เเปลกที่ “การเล่น” เป็นสิ่งที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อเเม่และลูกได้เป็นอย่างดี และทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านทักษะ สุขภาวะ (Well-being) ที่สมบูรณ์ รวมถึงทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพราะเขาจะรู้สึกปลอดภัยเวลาเล่นร่วมกันกับพ่อแม่

.

ล่าสุดทาง Lego Foundation ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ 5 เหตุผลที่ทำไม “การเล่น” จึงเป็นวิธีที่สร้างสัมพันธ์ในครอบครัวที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในระยะยาว

เราจึงสรุปมาให้คุณพ่อคุณเเม่ได้อ่านเพื่อตระหนักถึงการใช้เวลาเล่นและทำกิจกรรมกับลูกเพื่อสร้างความสุข และความสัมพันธ์ร่วมกันให้มากยิ่งขึ้น

1. การเล่นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการเชื่อมความสัมพันธ์

1. การเล่นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการเชื่อมความสัมพันธ์

ในระหว่างที่เล่น การกอด สัมผัส ยิ้ม ทำตาโต อ้าปากกว้าง หรือหัวเราะร่วมกันกับระหว่างพ่อเเม่เเละลูกถือเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะทำให้ลูกรู้สึกเชื่อใจ และเป็นการสร้างสภาวะแวดล้อมของการเล่นที่ “ปลอดภัย” ที่เด็กจะสามารถสำรวจโลกของเขาได้ผ่านการเล่นได้

2. การเล่นทำให้สมองพร้อมที่จะเรียนรู้

2. การเล่นทำให้สมองพร้อมที่จะเรียนรู้

เด็กและ “นักเทนนิส” มีอะไรที่คล้ายกัน เมื่อนักเทนนิสเสิร์ฟ พวกเขารู้ว่าฝ่ายตรงข้ามพร้อมที่จะตีบอลกลับมา เช่นกันกับเด็กๆ ที่คาดหวังว่าพ่อเเม่จะตอบสนองการเล่นของเขาเช่นกัน

ถ้าลูกเอามือมาปิดหน้า เเปลว่าเขาอยากเล่นซ่อนหา หน้าที่ของ “Playful Parent” คือการที่พ่อเเม่ต้องเข้าใจลูกเเละตอบสนองเขาตามหลัก “Serve and Return” ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบประสาทสมองได้ดีที่สุด

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “Serve and Return” ได้ที่: https://www.facebook.com/leeway.th/posts/926196397953250 

3. การเล่นช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ทักษะที่จำเป็น

3. การเล่นช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ทักษะที่จำเป็น

อย่างที่รู้ ๆ กัน ไม่ว่าเด็กจะเล่นอะไรก็ถือเป็นการฝึกฝนทักษะพื้นฐานทุกประเภท ตั้งแต่ทักษะการเคลื่อนไหว ไปจนถึงการใช้เหตุผลและการเรียนรู้ภาษา

ตัวอย่างเช่น การเล่น “ตัวต่อ” ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะรักษาสมดุลและฝึกสมาธิ หรือแม้กระทั้งตอนที่ตัวต่อพังลงมา เด็กก็จะเรียนรู้หลักเหตุและผล (Cause -Effect) และเพราะการเล่นคือสิ่งที่เด็กสนุกและคือธรรมชาติของเขา การเล่นซ้ำ ๆ ทุก ๆ วัน จึงทำให้เขาได้ฝึกฝน พัฒนา ทักษะสำคัญ 5 ประการที่จำเป็น ได้แก่ ทักษะทางสังคม อารมณ์ ร่างกาย ความรู้ความเข้าใจ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งล้วนแล้วเป็นสิ่งที่จำเป็นเมื่อเขาเติบโตขึ้น 

4. การเล่นช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความสัมพันธ์

4. การเล่นช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความสัมพันธ์

ทักษะและประสบการณ์จากการเล่นทำให้เด็กมีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ใหม่ๆ ที่เจอ ตัวอย่างเช่น วันแรกของการไปโรงเรียน เด็กที่พ่อเเม่สนับสนุนการเล่นแบบสมมุติ (Pretend Play) จะสามารถปรับตัวกับสถานการณ์ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อนได้เป็นอย่างดี เพราะเด็กจะแบ่งปันความรู้สึก ความสุข และความกลัวกับพ่อแม่ในระหว่าางการเล่น นอกจากนี้ยังช่วยให้พวกเขามองเห็นสิ่งต่าง ๆ จากอีกมุมอมองหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นในขณะที่พวกเขาเติบโตขึ้น

5. การเล่นส่งผลทางเชิงบวกทั้งครอบครัว

5. การเล่นส่งผลทางเชิงบวกทั้งครอบครัว

จากรายงาน Play Well ที่ทาง Lego ได้เก็บข้อมูลจากเด็กและผู้ปกครองกว่า 13,000 คนที่เล่นที่บ้าน (Play at home) พบว่าพ่อเเม่ 9 ใน 10 ครอบครัวรู้สึกดีที่ได้ใช้เวลาเล่นกับลูก

เพราะฉะนั้น “การเล่น” จึงสร้าง “ความสุข” ภายในครอบครัว รวมทั้งยังมีการศึกษาหนึ่งพบว่าคุณแม่ที่ได้ใช้เเนวทาง “การเรียนรู้ผ่านการเล่น” ในครอบครัวเป็นเวลา 10 สัปดาห์ มีอาการซึมเศร้าน้อยกว่าคุณแม่ที่ไม่ได้ใช้เเนวทางนี้ และหลังจากติดตามมา 6 เดือน นักวิจัยยังคงเห็นการพัฒนาการที่แสดงว่าการเล่นสามารถสนับสนุนสุขภาพจิตของทั้งครอบครัวได้นั้นเอง

ที่มา : ทำไม “การเล่น” ถึงเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อเเม่และลูกได้ดีที่สุด?

#letsplaymore 
#เล่นเปลี่ยนโลก 
#30นาทีเล่นอิสระทุกวันสร้างพลังสุข

พ่อแม่กับการเป็นผู้ดูแลการเล่น

1. เปิดใจให้โอกาส ให้เวลา

เข้าใจธรรมชาติเด็กทุกคนต้องการเล่น   “ เล่นอิสระ ก็คือการเรียนรู้ของเด็ก  ไม่ใช่เรื่องไร้สาระ ”

2. สร้างบรรยากาศ อบอุ่น น่าเล่น

จัดหาของเล่นที่หลากหลายปลายเปิด วัสดุ   อุปกรณ์  ของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการของลูก  จัดมุมเล่นในบ้าน พัฒนาสิ่งแวดล้อมในบ้านให้น่าเล่น  พาไปเที่ยวเล่นเรียนรู้ในที่ต่างๆ   

3. สังเกต  เล่นด้วยกันเมื่อเด็กต้องการ  อยู่เคียงข้างเสมอ

ปล่อยให้เล่นอิสระตามใจโดยดูแลอยู่ห่างๆ   ให้ประสบการณ์ที่แตกต่าง  แต่ในกรณีที่เด็กต้องอยู่ในสถานกรณีที่ไม่คุ้นเคย เช่นเล่นอุปกรณ์ใหม่ๆ  สถานที่แปลกใหม่เพื่อนใหม่ หรือกลุ่มเพื่อนใหม่  ที่ก่อให้เกิดความกลัวความไม่มั่นใจ  ( อยู่เคียงข้างกระตุ้น เป็นแรงหนุนให้เกิดพัฒนาการ ไม่ใช่ตามใจทุกเรื่อง และไม่ชี้นำ )  

4. ให้กำลังใจ ไม่เร่งเร้ากดดัน ตีกรอบ ในขณะที่เด็กกำลังเล่น

บางครั้งเด็กต้องการเพียงพยักหน้า และรอยยิ้มของพ่อแม่ หันกลับไปมองมากที่สุด เพราะเสมือนเป็นการส่งสัญญาณว่าพ่อแม่สนับสนุนและเอาใจช่วยอยู่  เป็นแรงผลักดันให้เด็ก กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ที่เข้ามาในชีวิต นั้นคือ การเพิ่มพูนประสบการณ์ไปตามลำดับขั้นของพัฒนาการเด็ก

5. เป็นพ่อแม่อาสา เป็นตัวอย่างที่ดี

การสนับสนุนการเล่นอย่างเหมาะสม  พาลูกเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครมีส่วนร่วม และช่วยเหลือกิจกรรมการเล่นของชุมชน ทำสนามเด็กเล่น  รวมถึงพาลูกอาสาทำกิจกรรมอื่นๆด้วย

ที่มา : พ่อแม่กับการเป็นผู้ดูแลการเล่น

#letsplaymore 
#เล่นเปลี่ยนโลก 
#30นาทีเล่นอิสระทุกวันสร้างพลังสุข

เล่นกับกล่อง

ของเหลือใช้ ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัยอย่างอิสระ

พ่อแม่สามารถพาลูกเล่นกับกล่องลังที่มีในบ้านได้ โดยใช้กล่องเล็ก ใหญ่ ขนาดหลากหลาย ชวนลูกประดิษฐ์ของเล่น จะทำเป็นทำหุ่นยนต์  สร้างอุโมงค์  บ้าน  ปราสาท  ประดิษฐ์อุปกรณ์ต่อสู้เป็นผู้พิทักษ์   โดยให้เด็กได้คิดเอง  ออกแบบเองและประดิษฐ์เองด้วย 

การเล่นกับกล่อง ของที่เหลือใช้และของที่เรามีในบ้าน  ไม่ต้องเสียงเงินในการซื้อ แต่มีประโยชน์มหาศาล  ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัยอย่างอิสระ  และเป็นการปลูกฝังให้เด็กเห็นคุณค่าในสิ่งที่มีอยู่  รอบตัว เห็นคุณค่าของขยะ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ดี  

การให้เด็กเล่นแบบนี้ซ้ำอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตเด็กจะมีกระบวนการคิดในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดคุณค่ามากที่สุดได้ 

ตัวอย่างการนำกล่องมาเล่นสร้างสรรค์

ที่มา : เล่นกับกล่อง

#letsplaymore 
#เล่นเปลี่ยนโลก 
#30นาทีเล่นอิสระทุกวันสร้างพลังสุข

มาจัดมุมเล่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกัน

การเล่น คือ ความสุขของเด็ก การเล่น คือ พื้นฐานสำคัญในการดำเนินชีวิตของเด็ก และ การเล่นจึงเป็น “ชีวิตของเด็ก”  Let’s Play More ได้รวบรวมการจัดมุมเล่นต่างๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ลองไปดูกันค่ะ ว่ามีมุมอะไรบ้าง

ที่มา : มาจัดมุมเล่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกัน

#letsplaymore 
#เล่นเปลี่ยนโลก 
#30นาทีเล่นอิสระทุกวันสร้างพลังสุข     

เมื่อความรุนแรง ต้อง ไม่ใช่วิธีการตัดสิน คุยกับลูกอย่างไร เมื่อลูกอยากใช้ความรุนแรง

มีหลายเรื่องที่ผู้ปกครองจำเป็นต้องพูดคุยกับลูกก่อนที่พวกเขาจะเข้าสู่วัยรุ่น หรือวัยที่ต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งสังคม การศึกษา ฮอร์โมนในร่างกาย ความเปลี่ยนแปลงในร่างกายของทั้งผู้หญิงและผู้ชาย การเคารพในสิทธิ์ของแต่ละบุคคล การรักและหวงแหนในร่างกายของตัวเอง นอกเหนือจากนี้อีกสิ่งที่น่าจะต้องหยิบยกมาพูดคุยกันอย่างเป็นทางการระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองและลูกๆ ก็คือ “ความรุนแรง”

เนื่องจากความรุนแรงนั้นปรากฏขึ้นรอบตัวเราไม่ว่าจะเป็นในสื่อต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อความรุนแรงถูกแสดงต่อเวทีโลกอย่างออสการ์เมื่อไม่นานมานี้ หรือจะเป็นสภาพแวดล้อมรอบตัว จนแทบจะเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งนั่นแทบจะไม่มีช่องว่างให้หลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กได้พบเห็นความรุนแรงได้เลย ทางที่ดีที่สุดก็คือ สอนให้พวกเขารับมือกับปัญหาความรุนแรง และปลูกฝังค่านิยมที่ดีเพื่อไม่ให้เขาต้องหันไปพึ่งความรุนแรงในการใช้ชีวิต

และเหล่านี้คือหนทางที่อาจจะช่วยให้คุณพูดคุยกับลูกๆ หรือเด็กในปกครองได้ดีขึ้น

พูดคุยกันถึงความรุนแรงที่ได้พบเจอไม่ว่าจะในชีวิตจริงหรือในสื่อ

การพูดคุยในครั้งนี้ไม่ได้ต้องการค้นหาว่าคำตอบไหน ถูกหรือผิด แต่เป็นการค้นหาว่าเด็กๆ รู้สึกอย่างไรต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น ดังนั้นผู้ปกครองควรเปิดรับความเห็นที่แตกต่าง

การได้พูดถึงความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องร้ายแรงที่เคยเจอกับตัว หรือเห็นหรือรับทราบมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวจะเป็นการได้ผ่อนคลายคววามกลัวและความตึงเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์นั้นๆ และหากได้พูดคุยกันแล้วแต่เด็กๆ ยังคงหลงเหลือความหดหู่ โกรธเคือง ก็จำเป็นอย่างมากที่ผู้ปกครองจะต้องทำให้พวกเขามั่นใจว่า เขาไม่ได้เผชิญหน้าอยู่กับมันเพียงลำพัง ทั้งนี้ต้องจัดพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการพูดคุยระบายความรู้สึกด้วย

จากนั้นลองพูดคุยกันถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยคำนึงถึงอายุของเด็กๆ ที่กำลังฟัง และบริบทที่เกิดขึ้นด้วย

จำกัดการสัมผัสความรุนแรง

งานวิจัยยืนยันแล้วว่า การที่เด็กๆ ได้รับรู้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทีวี ภาพยนตร์ หรือวิดีโอเกมจะรู้สึกปลอดภัยน้อยกว่าเด็กที่ไม่ดู ในการณ์นี้การแก้ปัญหาอาจจะไม่ใช่ ‘ห้าม’ ดูเสมอไป แต่อาจจะหมายถึง การร่วมดู ร่วมสัมผัสไปพร้อมกับลูกแล้วช่วยกันวิเคราะห์วิจารณ์ หรือเตือนพวกเขาเช่น พ่อแม่รู้ว่าสิ่งที่เห็นนั้นไม่ใช่เรื่องจริง แต่เป็นส่วนหนึ่งในภาพยนตร์ หรือเกม แต่ถ้าหากเหตุการณ์เหล่านั้นมันเกิดขึ้นจริง จะมีผู้สูญเสีย เสียใจ และผลลัพธ์ที่ไม่น่าประทับใจตามมาก็เป็นได้

และอาจจะป้องกันกันเห็นความรุนแรงได้ด้วยการ ดูแลการเข้าชมรายการทีวี เกม เว็บไซต์ หรือสื่อต่างๆ ให้เหมาะสม หากเป็นไปได้ขอให้มีส่วนร่วมกับพวกเขาด้วย ติดตั้งเครื่องมือตรวจสอบเพื่อป้องกันเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตและทีวี โดยพยายามสังเกตเรตติ้งสำหรับรายการ ภาพยนตร์และสื่อต่างๆ แล้วดำเนินการตามนั้น

สร้างความมั่นใจให้กับลูกๆ ของคุณ

เด็กๆ ที่พบเห็นความรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อความรุนแรงนั้นเกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนใกล้ตัว จะรู้สึกว่าตัวเองไม่ปลอดภัย สิ่งที่ผู้ปกครองจะทำเพื่อพวกเขาได้ก็คือ สร้างความมั่นใจ สร้างความรับรู้ว่าพวกเขาจะปลอดภัย และถูกห้อมล้อมไปด้วยคนที่จะมอบความปลอดภัยให้กับเขา เช่น บอกกับพวกเขาว่า หากเจอเรื่องรุนแรง พวกเขาสามารถไปหาผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ อาทิ พ่อแม่ ครู ตำรวจ ฯลฯ

ให้ลูกๆ เข้าใจให้ได้ว่า การกลั่นแกล้ง กับการล้อเล่น มีเส้นบางๆ กั้นนิดเดียว

พูดคุยกับเด็กๆ ว่าการล้อกันเล่นนั้น มีขีดจำกัดของมัน และในบางครั้ง ‘ล้อเล่น’ อาจจะเลยเถิดไปไกลกว่าที่ตั้งใจไว้มาก หากบังเอิญมีสักวันหนึ่งที่ลูกของคุณเป็นคน ‘ล้อเล่น’ แต่มันขยายใหญ่โตและคนอื่นมองเป็นการกลั่นแกล้งไม่ว่าจะด้วยทางกาย หรือทางวาจา ลองหาเวลาที่ทุกคนต่างใจเย็นลงแล้วถามเขาว่า เพราะอะไรจึงทำแบบนั้น แล้วหาทางแก้ไขและปรับปรุงร่วมกันอย่างสันติวิธี

นำเสนอวิธีการต่างๆ เพื่อให้ลูกรับมือกับสิ่งยั่วยุให้เด็กๆ ก่อความรุนแรงได้ เช่น

เมื่อเจอกับคนยั่วยุ ให้นิ่งเงียบเสีย หรือสูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วหาทางพูดเกี่ยวกับเรื่องเลวร้ายนั้นกับคนที่สนใจฟัง และให้เด็กๆ เลือกคบเพื่อนที่ดี โดยให้เหตุผลได้ว่า การคบเพื่อนที่ชอบใช้ความรุนแรงนั้น มักจะนำมาซึ่งการบาดเจ็บหรืออาจจะเสียชีวิตได้ แต่การคบเพื่อนที่ดีจะนำพาชีวิตไปในทิศทางตรงกันข้าม

ทั้งนี้ในท้ายที่สุดแล้วเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองที่จะต้องยืนยันอย่างหนักแน่นต่อเด็กๆ ว่า พวกคุณไม่ยอมรับความรุนแรง และจะไม่ทำความรุนแรงใดๆ จะไม่นำความรุนแรงมาสู่ครอบครัว เพื่อให้พวกเด็กๆ ที่กำลังจะเติบโตเป็นวัยรุ่น เป็นผู้ใหญ่ เห็นภาพได้ชัดเจน และยอมรับในตัวพ่อแม่ผู้ปกครองด้วย โดยอย่างแรกต้องเริ่มต้นที่ครอบครัวก่อน เพราะเมื่อคุณกำลังสอนว่าลูกไม่ควรใช้ความรุนแรง คุณก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับพวกเขาเช่นกัน

รู้ไว้ดีแน่!! 4 วิธี เสริมใยเหล็กจิตใจ ให้พร้อมรับมือ ก่อนไปเรียนต่อต่างประเทศ

การเตรียมตัวไปเรียนต่อต่างประเทศ เชื่อว่า หลายคนคงเตรียมตัวเรื่องโรงเรียน เรื่องมหาวิทยาลัย การสมัครเรียน รวมไปถึงการขอวีซ่าเอกสารต่างๆ ที่พัก ตั๋วเครื่องบิน ข้าวของเครื่องใช้ ยาประจำตัว และวางแผนทางการเงินเรียบร้อยแล้ว  

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่ถ้าเตรียมตัวไว้อย่างดี ก็จะทำให้ไร้อุปสรรคในการเดินทาง การเรียน และการไปอาศัยอยู่ต่างบ้านต่างเมืองได้ 

อย่างไรก็ตาม มีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือ การเตรียมใจ เพราะการไปอยู่ต่างประเทศเป็นการไปเห็นโลกที่ไม่เคยเห็นมาก่อน แม้เราจะพยายามเตรียมตัวไปดีขนาดไหน แต่ก็อาจจะมีเรื่องหรือสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ 

ในฐานะ “นักเรียนต่างชาติ” แม้สิ่งที่จะไปเจอจะเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม แต่ก็อาจจะมีหลายเหตุการณ์ที่ทำให้อยากเก็บของและกลับบ้านได้เช่นกัน 

ดังนั้น เตรียมพร้อมด้านจิตใจไว้ก่อน ก็น่าจะช่วยได้ เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์นั้นจริงๆ

1. ความคาดหวังแบบโปรเฟสเซอร์

เรื่องนี้มักเกิดขึ้นกับ “นักเรียนทุน” ที่มีผลการเรียนดีและได้รับทุนไปศึกษาต่อ เมื่อไปที่นู่น เพื่อนๆ จะคาดหวังในความเก่งของนักเรียนเหล่านี้ 

เมื่อเป็นที่คาดหวัง ก็มักจะทำให้รู้สึกกดดันได้ง่ายๆ และบางครั้งก็อาจจะทำให้รู้สึกนอยด์ 

เพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกกดดันหรือรู้สึกแย่เกินไป พยายามยืนหยัดเป็นตัวของตัวเอง และวางเฉยกับความคาดหวังของผู้คน แล้วหันมาให้ความสำคัญกับความรู้สึก และเป้าหมายในการเรียน และการใช้ชีวิตของเราจะดีกว่า 

2. ปล่อยวางความสัมพันธ์ที่ไม่ดี

การไปศึกษาต่อต่างบ้านต่างภาษาก็มีปัญหามากพออยู่แล้ว ถ้าเจอความสัมพันธ์ที่ไม่ดี หรือเป็นพิษ จากเพื่อนหรือคนรอบข้าง คงจะยิ่งทำให้แย่เข้าไปใหญ่ 

สิ่งที่ต้องทำถ้าเจอความสัมพันธ์ที่ไม่ดีคือ เลิกให้ความสำคัญ และปล่อยวางเสีย และหันมาโฟกัสกับสิ่งที่ต้องทำ คือ การศึกษาที่เราตั้งใจมาศึกษาหาความรู้ เพราะหวังว่า จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพให้ประสบความสำเร็จในอนาคต 

เมื่อเราอยู่คนเดียวในที่ที่ไม่ได้เรียกว่า “บ้าน” เราควรให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของเราเหนือสิ่งอื่นใด แรกๆ มันอาจจะยากที่จะทำ แต่เราก็ต้องปล่อยไป เพราะสุดท้ายมันเสียเวลาเปล่า และอยากให้ทุกคนคิดว่า เราคู่ควรกับเพื่อนที่ดี ที่ปฏิบัติต่อเราดีเช่นเดียวกับที่เราปฏิบัติต่อเขา 

3. ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน-ดีที่สุดแล้ว 

การไปเรียนต่อเมืองนอก เป็นการฝึกให้เราได้เรียนรู้ที่จะเข้มแข็งทั้งกายและใจ ทั้งต้องทนกับสภาพอากาศที่ไม่เหมือนบ้านเรา ต่อสู้กับการเรียนที่หนักหน่วง หรือต้องทำใจให้เข้มแข็งถ้ามีแต่คนที่เป็นพิษอยู่รอบตัว 

สิ่งเหล่านี้ อาจทำให้เราอยากมีครอบครัวหรือเพื่อนรักมาอยู่เคียงข้างเพื่อให้กำลังใจยามที่จิตใจและร่างกายของเราอ่อนแรง แต่หันไปทางไหนก็ไม่เจอใคร เพราะพวกเขาไม่ได้อยู่ที่นี่ และพวกเขาไม่สามารถรู้ทุกอย่างหรือทุกคนและเข้าใจสถานการณ์ได้เพียงพอ 

สุดท้าย ตนนี่แหละเป็นที่พึ่งแห่งตนที่ดีที่สุด กำลังใจของเรานี่แหละที่จะเติมพลังให้กับเราได้ดีที่สุด การเรียนรู้ที่จะเข้มแข็งและยืนหยัด เมื่อล้มก็รีบลุกขึ้นมาให้เร็วที่สุด 

คิดเสียว่า เดี๋ยวมันก็ผ่านไป 

มีสติ และทำให้ดีที่สุดในทุกๆ เรื่อง ทำสิ่งที่ควรทำ อย่าทำสิ่งที่ไม่ควรทำ แม้จะฝืนในตอนแรก แต่เมื่อหันกลับมาเราจะภูมิใจในตัวเองที่ผ่านมาได้ 

อย่าทำร้าย หรือทำลายตัวเอง มันไม่มีประโยชน์ และไม่ใช่แค่เราเสียใจ แต่ครอบครัวและคนที่รักเราจะเสียใจด้วย 

โฟกัสที่การเรียน และตั้งใจเรียนให้จบ เพื่อความภาคภูมิใจของตัวเอง และคนที่คอยเราอยู่ข้างหลัง

4. บางครั้งก็เป็นคนนอกกับคนที่บ้าน

เมื่อเรามาอยู่ต่างประเทศ ซึ่งห่างไกลจากบ้านมากๆ ทำให้บางครั้งไม่ได้รับทราบข่าวคราว และความเป็นไปของที่บ้าน จนทำให้เราอาจจะรู้สึกว่า เรากลายเป็นคนนอกของคนที่บ้าน ไม่ว่าเราจะพยายามมากแค่ไหนก็ตาม เราก็ไม่สามารถติดต่อกับคนที่บ้านได้บ่อยและตลอดเวลาเท่าที่อยู่เมืองไทย 

แม้จะรู้สึกเป็น “คนนอก” แต่อยากให้จำไว้ว่า มันเป็นแค่ความรู้สึกเท่านั้น ไม่ต้องนอยด์ หรือจิตตก แต่ให้คิดถึงสิ่งสำคัญที่เราพยายามยึดมั่นไว้  และให้คิดไว้เสมอว่า เราไม่ใช่คนนอก เราไม่ใช่คนอื่นของคนที่เรารัก 

เพียงแต่ตอนนี้ เรามาเรียนหนังสือ เราอาจจะห่างไปบ้าง แต่เรายังเป็นที่รักของคนที่บ้าน ของครอบครัว และของเพื่อนๆ อยู่ไม่เปลี่ยนแปลง

การเรียนในต่างประเทศเป็นโอกาสที่ดีในหลายๆ ด้าน แต่ก็อาจมีหลายด้านที่เป็นประสบการณ์ที่ไม่โอเค แต่ทั้งหมดทั้งมวลคือ ประสบการณ์ที่มีค่า 

ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมดีเสมอ ไม่เป็นไร ถ้าจะเจอสิ่งที่ไม่ได้ดั่งใจบ้าง แต่ประสบการณ์และสถานที่ที่จะพาเราไปคือสิ่งที่มีค่ามากที่สุด

5 เคล็ดลับ ตั้งเป้าหมายให้ถูกต้อง ในการศึกษาต่อระดับชั้นต่อไป เพื่อให้ได้งานในฝันที่อยากทำ

เป็นเรื่องหนักใจของนักเรียนหลายคน รวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่เมื่อมาถึงทางแยกว่า ต้องเรียนอะไร สาขาวิชาไหน ถึงจะตอบโจทย์ความสนใจของตัวนักเรียน เพื่อเป็นพื้นฐานที่ปูไปสู่การทำงานในอนาคตข้างหน้าได้ 

การมี “เป้าหมาย” ที่ชัดเจนจึงเปรียบเสมือน “เข็มทิศ” ที่ทำให้นักเรียนเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง 

แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า นักเรียนอยากทำอะไรหรือชอบอะไร นี่คือ 3 เคล็ดลับที่ช่วย “หาเป้าหมาย” ในการศึกษาต่อในระดับชั้นต่อไป ทั้งระดับมัธยม และมหาวิทยาลัย

  เพื่อให้นักเรียนได้เรียนในสิ่งชอบ สามารถพัฒนาตัวเองเป็นผู้ใหญ่ที่ได้ทำงานที่รัก และประสบความสำเร็จในชีวิต

1. ถามคำถามเพื่อกำหนดอนาคตให้ดีขึ้น 

เปลี่ยนจากคำถามว่า “โตขึ้นอยากเป็นอะไร” ซึ่งคำถามนี้ ถือเป็นการตีกรอบมากเกินไป 

ลองเปลี่ยนมาเป็น “อยากแก้ปัญหาอะไรในโลกนี้” ซึ่งเป็นคำถามที่เปลี่ยนมุมมอง และได้ประโยชน์หลายประการ 

เป็นการเปลี่ยนโฟกัสจากการวางเป้าหมายที่อาชีพใดเพียงอาชีพหนึ่ง มาเป็นการเปิดโอกาสให้ตัวเองเห็น “คุณค่า” ในสิ่งที่อยากทำมากขึ้นเมื่อโตขึ้น 

ยกตัวอย่าง ถ้านักเรียนอยากเป็นหมอ แต่ไม่สามารถสอบติดหมอได้ อาจทำให้รู้สึกล้มเหลว ซึ่งจะทำให้เครียดและไม่มีความสุข

แต่ถ้าเปลี่ยนคำถามใหม่ เป็น  “อยากแก้ปัญหาอะไรในโลกนี้” และความต้องการของนักเรียน คือ “อยากช่วยให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดีขึ้น” 

นักเรียนก็จะมีทางเลือกและเป้าหมายที่ไม่รู้จบ และสามารถเริ่มต้นได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นการเขียนหนังสือเกี่ยวกับสุขภาพ การเป็นนักวิทยาศาสตร์ ครู ผู้ฝึกสอนฟิตเนส พ่อครัว พยาบาล นักโภชนาการ หรือแม้คอนเทนต์ครีเอเตอร์ด้านการส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกาย

มีมากมายหลายอาชีพให้เลือกเพื่อที่จะไปถึงเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งนี่คือ การตั้งเป้าหมายเชิงบวกที่เพิ่มคุณค่าให้กับชีวิตนักเรียน

และทำให้รู้ว่า พวกเขาสามารถทำอะไรหลายอย่างได้ เพื่อที่จะไปถึงเป้าหมายที่ต้องการ 

ทั้งนี้ การตั้งคำถามแบบนี้ เป็นการป้องกันความเสี่ยงให้กับนักเรียนด้วย เพราะด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ในอีก 10 ปีข้างหน้า อาชีพที่เด็กๆ อยากเป็นอาจจะไม่มีอีกแล้ว 

ก็อาจจะทำให้นักเรียนเกิดความสับสนได้ การตั้งคำถามกว้างๆ และไม่จำกัดจนเกินไป จึงเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เป็นอิสระที่จะเลือกอาชีพ

2. ทำกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อค้นหาตัวเอง และเป้าหมายที่ชัดเจน

อาจจะมีนักเรียนอีกหลายคนที่ยังไม่รู้เป้าหมายของตัวเอง ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะยังไม่มีประสบการณ์มากพอ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะหาประสบการณ์ต่างๆ 

เพราะการค้นหาตัวเองทำได้โดยการทำกิจกรรมต่างๆ ที่สนใจ พ่อแม่ควรสนับสนุนให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นดนตรี กีฬา ศิลปะ รวมไปถึงส่งเสริมให้เด็กได้เข้าค่ายต่างๆ เข้าคอร์สเรียน ในช่วงซัมเมอร์ หรือปิดเทอม ก็จะทำให้นักเรียนมีประสบการณ์มากขึ้น และรู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร 

แต่ถ้าโตขึ้นมาหน่อย อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่สามารถสมัครทำงานพาสไทม์ได้ ก็เป็นอีกประสบการณ์หนึ่งที่ทำให้เรียนรู้ชีวิตการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น การฝึกงานเป็นเรื่องสนุก เพราะสามารถช่วยให้เห็นคร่าวๆ ว่างานบางประเภทเป็นอย่างไร ทำให้ได้พบปะผู้คนและเครือข่ายใหม่ๆ และยังทำให้ค้นพบว่าชอบหรือไม่ชอบกิจกรรมนั้นๆ ด้วย ถ้าไม่ชอบก็ไม่เป็นไร นั่นเป็นสิ่งที่ดี ที่จะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาทำสิ่งนั้นอีก 

นอกจากทำกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลาย หรือฝึกงานแล้ว อีกกิจกรรมที่อาจช่วยให้ค้นพบตัวตน หรือหาเป้าหมายเจอ คือ การเดินทางท่องเที่ยว หรือการเข้าชมนิทรรศการ ตามพิพิธภัณฑ์ต่าง ไม่ว่าจะเป็นกับครอบครัว หรือเพื่อนๆ 

การออกไปดูโลกภายนอก เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับเรา มันเตือนว่าทุกที่ที่เราอาศัยอยู่ไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล และยังมีวิธีการอีกมากมายในการเข้าถึงสิ่งต่างๆ และทำสิ่งที่เรายังไม่ได้สำรวจ การเรียนรู้เกี่ยวกับมุมมองใหม่ๆ เช่นนี้ ยังสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนมองโลกด้วยสายตาใหม่และเปลี่ยนวิธีคิดได้

3. เมื่อเห็นเป้าหมาย ก็ถึงเวลา “วางแผน” 

ในการเลือกวิชาเอกที่จะเรียนในระดับมัธยม หรือระดับมหาวิทยาลัย หากทำตามเป้าหมายทั้ง 2 ข้อที่ผ่านมา จะทำให้มีเป้าหมายชัดเจนขึ้น ขั้นตอนต่อไปคือ “การวางแผน” เพราะวางแผนดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง

ในระดับมัธยม ผู้ปกครองอาจต้องนั่งคุยกับลูกว่า ชอบหรือไม่ชอบวิชาอะไร วิชาอะไรทำได้ดี วิชาอะไรทำได้ไม่ดี หลังจากนั้นก็วางแผนการเรียนตามที่นักเรียนชอบและทำได้ดี ขณะที่ระดับมหาวิทยาลัย ก็ต้องมองภาพรวมและเจาะลึกลงไปในประเด็นสำคัญหลายๆ ด้าน ดังข่อถัดไปจากนี้

4. มุ่งความสนใจไปที่เป้าหมายที่ถูกต้องจริงหรือ?

บ่อยครั้งที่นักเรียนมุ่งความสนใจไปที่มหาวิทยาลัยชื่อดัง หรือคณะชื่อดังเท่านั้น ครอบครัวสามารถหลีกเลี่ยงกับดักนี้ ด้วยการทำให้เป้าหมายของเด็กๆ คือการกำหนดอาชีพในอนาคต จากนั้นใช้เป้าหมายนั้นเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการคัดเลือกมหาวิทยาลัย และสาขาวิชาที่จะเรียน 

เพราะเป้าหมายที่ถูกต้องคือการสำเร็จการศึกษาพร้อมมีงานทำในอาชีพที่พวกเขาเรียน การมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายที่ไม่ถูกต้องทำให้ 53% ของผู้สำเร็จการศึกษาตกงาน และ 50% หรือมากกว่านั้น ต้องใช้เวลามากกว่า 4 ปีในการสำเร็จการศึกษา 

5. เป้าหมายมีไว้พุ่งชน และวางแผนดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง!! 

เมื่อได้เรียนในวิชา คณะ หรือมหาวิทยาลัยตามเป้าหมายที่ชัดเจน ลำดับต่อไป ก็ต้องวางเป้าหมายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเรียน วางแผนการเรียนโดยการแบ่งเวลาให้ชัดเจน เช่น ตั้งใจเรียนในห้องเรียน ทำการบ้าน ทบทวนบทเรียน อ่านหนังสือ ทำรายงาน รวมถึงเวลาพักผ่อน รีแลกซ์ ใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อนและครอบครัว  และเมื่อถึงสอบก็ทำให้ดีที่สุด ผลออกมาได้เกรดเท่าไหร่ ก็ภูมิใจแล้วล่ะ 

ขอให้นักเรียนทุกคน ค้นพบตัวเอง เจอเป้าหมาย และประสบความสำเร็จในอาชีพงานที่ชอบ

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า