หลักสูตรการจัดกิจกรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น
หลักสูตรกิจกรรมร้องเล่นเต้นอ่าน วันหยุดสุดหรรษา จังหวัดเลย
วัตถุประสงค์หลัก
- เพื่อสร้างแกนนำอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านในชุมชน
- เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมของเด็กและเยาวชน
- เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชุมชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ระยะเวลาในการทำกิจกรรม
วันหยุดเสาร์หรืออาทิตย์ เดือนละ 1 ครั้ง
ช่วงอายุผู้เข้าร่วมกิจกรรม
๓ – ๑๒ ปี (ระดับประถมศึกษา)
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (ต่อครั้ง)
๒๐ – ๓๐ คน
ขั้นตอนหลัก (ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมงานก่อนเกิดงานจนเสร็จสิ้นกิจกรรม)
- ประชุมคณะทำงาน และประสานงาน
- อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัคร และออกแบบกิจกรรม
- จัดกิจกรรม ร้อง เล่น เต้น อ่าน วันหยุดสุดหรรษา
- ประชุมสรุปงานหลังทำกิจกรรม
อุปกรณ์
- ปากกาเมจิก ดินสอ สี
- กระดาษแข็ง (สำหรับทำหน้ากาก) กระดาษภาพตัวการ์ตูนต่างๆ
- หนังสือนิทาน
- ของรางวัล
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เกิดแกนนำอาสาสมัครในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
- เด็กและเยาวชนมีศักยภาพด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมที่ดีขึ้น
- เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
กิจกรรมดนตรีกระบี่กระบองจังหวัดสระบุรี
วัตถุประสงค์หลัก
- เพื่อสร้างความสามัคคี
- เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
- เพื่อต่อยอดโครงการและสร้างจิตสำนึก
ระยะเวลาในการทำกิจกรรม
3 เดือน (มีนาคม – พฤษภาคม 63)
ช่วงอายุผู้เข้าร่วมกิจกรรม
10 – 19 ปี
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (ต่อครั้ง)
30 คน
ขั้นตอนหลัก (ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมงานก่อนเกิดงานจนเสร็จสิ้นกิจกรรม)
- ชี้แจงความเป็นมาของกิจกรรม
- วัตถุประสงค์
- วิธีการดำเนินงาน
- ประโยชน์ที่จะได้รับ
อุปกรณ์
- เครื่องดนตรีไทย เช่น ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ฯลฯ
- อาวุธ เช่น ดาบหวาย พลอง ไม้ศอก โล่ หอก ง้าว ฯลฯ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เยาวชนมีจิตสำนึก ให้รู้รักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น รักบ้านเกิด
- เพื่อให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในช่วงปิดภาคเรียน
- การมีส่วนร่วม สร้างความสามัคคีในชุมชน เด็กและเยาวชนมีความกล้าแสดงออก
- เพื่อให้เยาวชนได้รับองค์ความรู้ใหม่ ห่างไกลยาเสพติด สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
- เรียนรู้ภาวะของการเป็นผู้นำ สืบสานต้นกล้าทางวัฒนธรรม
กิจกรรมพี่สอนน้องจังหวัดอุบลราชธานี
วัตถุประสงค์หลัก
- เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
- เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างช่วงวัย
- เพื่อฝึกทักษะการอบรมเลี้ยงดูเด็กใน ศพด.
ระยะเวลาในการทำกิจกรรม
ฝึกทักษะ (14-18) 2 วัน 1 คืน / ลงกิจกรรม ศพด. 1 วัน จำนวน 8 ครั้ง
ช่วงอายุผู้เข้าร่วมกิจกรรม
10 – 18 ปี และ 0 – 4 ปี
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (ต่อครั้ง)
พี่ 5 – 7 คน / น้อง ศพด. 15 – 25 คน / ผู้ปกครอง 5 – 10 คน
ขั้นตอนหลัก (ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมงานก่อนเกิดงานจนเสร็จสิ้นกิจกรรม)
- ประชาสัมพันธ์และชี้แจงโครงการ
- ดำเนินการอบรมเพื่อเพิ่มทักษะในการทำสื่อที่จะใช้ในกิจกรรมพี่สอนน้อง
- กำหนดแผนงานในการลงพื้นที่ ศพด. และกำหนดกลุ่ม / กิจกรรมในการลงพื้นที่
- ดำเนินกิจกรรมตามแผน
อุปกรณ์
- เครื่องมือ / สื่อ ในการฝึกอบรม
- อุปกรณ์ เช่น กระดาษ กาว สี กรรไกร ฯลฯ เพื่อใช้ในการผลิตสื่อ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เด็กและเยาวชนในพื้นที่ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
- เด็กและเยาวชนเกิดความสัมพันธ์กันในระหว่างช่วงวัย
- เด็กและเยาวชนเกิดทักษะในการเลี้ยงดูน้องใน ศพด.
กิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์จังหวัดขอนแก่น
วัตถุประสงค์หลัก
- เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ทักษะเชิงสร้างสรรค์ตามความถนัดและสนใจ
- เพื่อให้เด็กและเยาวชนค้นพบความฝันและมีเป้าหมายชีวิต
- เพื่อให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข
- เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ทำกิจกรรมจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่น
ระยะเวลาในการทำกิจกรรม
12 มกราคม ถึง 15 เมษายน 2563
ช่วงอายุผู้เข้าร่วมกิจกรรม
11 – 25 ปี
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (ต่อครั้ง)
150 คน
ขั้นตอนหลัก (ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมงานก่อนเกิดงานจนเสร็จสิ้นกิจกรรม)
- ประชุมคณะทำงานและแบ่งงาน (พฤศจิกายน 2562)
- ประชาสัมพันธ์โครงการ (ธันวาคม 2562 – มกราคม 2563)
- ดำเนินกิจกรรม
- กิจกรรมที่ 1 พี่สอนน้อง (12 มกราคม – 28 มีนาคม 2563)
- กิจกรรมที่ 2 บ้านหลังเรียน (12 มกราคม – 12 เมษายน 2563)
- กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ห่างไกลอบายมุข (12 เมษายน – 15 เมษายน 2563)
- ถอดบทเรียน
อุปกรณ์
- อุปกรณ์สำนักงาน
- เอกสารประกอบกิจกรรม (คู่มือเรียนรู้ / สมุดบันทึกกิจกรรม)
- อุปกรณ์โสต / สื่อเรียนรู้
- อุปกรณ์กีฬา
- เสื้อยืด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เด็กและเยาวชนได้เข้าร่วมกิจกรรมตามระยะเวลาที่กำหนด
- เด็กและเยาวชนได้มีการพัฒนาทักษะชีวิตทางด้านที่ตนสนใจ
- เด็กและเยาวชนได้มีภูมิคุ้มกันด้านยาเสพติด
- เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการทำกิจกรรมจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่น
- เด็กและเยาวชนสามารถนำทักษะความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเยาวชนในสังคม เป็นโครงการต้นแบบในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในจังหวัดขอนแก่น
กิจกรรมหมอน้อยกะสินจังหวัดกาฬสินธุ์
วัตถุประสงค์หลัก
- เพื่อสร้างเด็กและเยาวชนให้มีจิตอาสาในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ประสบปัญหาหรือด้อยโอกาส
- เพื่อสร้างศักยภาพให้กับเด็กและเยาวชนด้านการพยาบาล ในการเตรียมความพร้อมเพื่อศึกษาต่อด้านสาธารณะสุข
ระยะเวลาในการทำกิจกรรม
ช่วงปิดเทอม
ช่วงอายุผู้เข้าร่วมกิจกรรม
มัธยมศึกษาปีที่ 5 – 6
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (ต่อครั้ง)
50 คน
ขั้นตอนหลัก (ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมงานก่อนเกิดงานจนเสร็จสิ้นกิจกรรม)
- รับสมัครกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
- จัดประชุมชี้แจงเพื่อปฐมนิเทศการปฏิบัติงาน หลักสูตร 1 วัน
- จัดกลุ่มลงพื้นที่ตามสถานพยาบาล
- ประเมินผลจากผู้ครอบคลุม / ดูแล
อุปกรณ์
- เครื่องมือพื้นฐานด้านการแพทย์ เช่น กระเป่าปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เกิดแกนนำเครือข่ายหมอน้อยกะสินในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ประสบปัญหาหรือด้อยโอกาส
- เด็กและเยาวชนมีความรู้ / ทักษะด้านการบริการพยาบาลในการเตรียมความพร้อมเพื่อศึกษาต่อ
หลักสูตรกิจกรรมพื้นที่นี้ดีจังเลยจังหวัดเลย
ที่มา
พื้นที่สร้างสรรค์ คือพื้นที่สร้างประสบการณ์ สร้างโอกาสให้เด็กได้เติบโตพัฒนาตามวัย มุ่งตอบสนองความต้องการของเด็ก ครอบครัว และชุมชน เพราะเด็กและเยาวชนเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ แต่สภาพแวดล้อมในปัจจุบันกลับเต็มไปด้วยความเสี่ยงและไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้นอกห้องเรียน ภาคีเครือข่ายด้านเด็กและเยาวชนในจังหวัดตระหนักและเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้ระดมความร่วมมือกันเพื่อให้เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์ที่พัฒนาทักษะของเด็กและเยาวชนอย่างหลากหลาย และเกิดพื้นที่สร้างสรรค์ตามวัตถุประสงค์ในพื้นที่จังหวัดเลย
ปีที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากหน่วยงานภาครัฐฯ และได้รับการอนุเคราะห์ให้ใช้พื้นที่บริเวณจวนผู้ว่าฯ ในการจัดกิจกรรมเป็นประจำทุกสัปดาห์ ซึ่งจะสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปตามความต้องการของเด็กและเยาวชน ความพร้อมของวิทยากร ความพร้อมของสถานที่ และปัจจัยด้านอื่นๆ หลังจากการดำเนินโครงการพื้นที่นี้ดีจังเลยมาระยะหนึ่ง พบว่าเด็กและเยาวชน รวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครองในพื้นที่ให้ความสนใจจำนวนมาก และอยากให้มีกิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต
วัตถุประสงค์หลัก
- เพื่อให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ในการทำกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน
- เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ ทักษะ ที่หลากหลาย
- เพื่อให้เกิดเครือข่ายจิตอาสาในการร่วมทำกิจกรรม
ระยะเวลาในการทำกิจกรรม
1 ปี
ช่วงอายุผู้เข้าร่วมกิจกรรม
๗ – ๑๒ ปี (ระดับประถมศึกษา)
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (ต่อครั้ง)
๑๕ – ๒๐ คน
ขั้นตอนหลัก (ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมงานก่อนเกิดงานจนเสร็จสิ้นกิจกรรม)
- รวบรวมแนวคิด วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ และประสานเครือข่าย
- เสนอโครงการ
- ดำเนินโครงการ
- สรุปผลการดำเนินโครงการ
อุปกรณ์
- อุปกรณ์สำนักงาน เช่น ปากกา กระดาษ
- วัสดุ/อุปกรณ์ขึ้นอยู่กับรูปแบบกิจกรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ในการทำกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ ทักษะ ที่หลากหลาย
- เกิดเครือข่ายจิตอาสาในการร่วมทำกิจกรรม
เมื่อปัญญาประดิษฐ์มีแนวโน้มจะคุกคามอาชีพสิ่งที่เด็กยุคปัจจุบันควรทำคือ…
แม้จะไม่รู้แน่ชัด หรืออย่างไม่เป็นทางการ แต่หลายคนต่างก็ต้องยอมรับแล้วว่า ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) ก็ได้คืบคลานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตคนเราช้าๆ มาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว ในทางหนึ่ง AI สร้างความสะดวกสบายให้กับผู้คนอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ในอีกทาง มันก็คือตัวร้าย เป็น ดิจิทัล ดิสรัปชัน (Digital Disruption) ที่หลายคนอาจจะโดนผลกระทบของมันไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย ในขณะที่บางคนอย่างเด็กๆ ที่มีหลายงานวิจัยให้ผลว่า อีกไม่ 5 – 10 ปีข้างหน้า ปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามามีบทบาทไปจนถึงแทนที่มนุษย์ในตลาดแรงงานทีเดียว งานนี้นอกจากตื่นตระหนกแล้ว เราสามารถรับมือกับมันได้อย่างไรบ้าง
คุณธานัท จารุฤทธิไกร ผู้บริหารฝ่ายการตลาดบริษัท อัลทิมาไลฟ์ จำกัด ผู้ผลิต “ธิมา” เลขา AI อัจฉริยะ ให้ความคิดเห็นเรื่องนี้ว่า AI เข้ามามีบทบาทในสายอาชีพต่างๆ ทั่วโลกสักระยะแล้ว อาทิเช่น งานเกี่ยวกับศาล ทนายความ หมอ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเก็บรวมรวมข้อมูลทั่วโลกนับล้านๆ ข้อมูล แล้วนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์
“ซึ่งแน่นอนว่า ด้วยข้อมูลที่มากมายขนาดนั้นมันมีโอกาสทำให้มนุษย์ที่ทำอาชีพนั้นๆ อยู่ตกงานได้เลยทีเดียว เพราะความแม่นยำย่อมมีมากกว่าอยู่แล้ว” คุณธานัทกล่าว
และนี่ไม่ใช่เป็นการคาดการณ์อนาคต แต่สิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นแล้ว ที่เห็นได้ชัดคืออุตสาหกรรมโรงงาน ซึ่งบางแห่งสามารถใช้AIแทนมนุษย์ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว แต่คุณธานัทบอกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถเตรียมตัวรับมือได้ และหากเตรียมตัวไว้ดีตั้งแต่เนิ่นๆ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในอาชีพก็มารอยู่ไม่ไกลเลย
“สมมติว่าผู้พิพากษาทั้งโลกนี้ มีคดีความประมาณพันล้านกว่าคดี หลายคดีก็จะใช้วิจารณญาณของศาลดังนั้น ดังนั้นผู้พิพากษาจะต้องดูว่าในอดีตเขาตัดสินกันมาแบบไหน โดยมีเงื่อนไขแบบใด ก็จะอ้างอิงและถือเป็นบรรทัดฐาน ประเด็นคือ ปัจจุบันมีAIเข้ามาช่วยเก็บข้อมูลว่า หากมีคดีแบบนี้แล้ว ทั้งโลกในอดีตเคยตัดสินกันแบบไหน ผู้พิพากษาก็สามารถดูเป็นสถิติได้ หรือกับทนายความที่ต้องท่องจำมาตรากฎหมายหลายร้อยมาตรานั้น AI ก็สามารถบอกได้ว่าจะต้องต่อสู้ด้วยมาตราใดๆหรือในวงการแพทย์ หมอแต่ละคนอาจจะวินิจฉัยไม่เหมือนกัน แต่สมมติว่าให้AIเรียนรู้ฟิล์มเอ็กซเรย์ ว่าหากเป็นแบบนี้คือมะเร็ง แต่อีกแบบไม่เป็น ให้AIอ่านก็จะแม่นกว่าคน เพราะมีข้อมูลนับล้านชุด หรือวงการขายของออนไลน์ ถ้ามีคนขายของออนไลน์ได้วันละ 500 ออเดอร์ก็จะตอบคำถามเองไม่ไหว ก็จะจ้างแอดมิน บางหน่วยงานจ้างแอดมินเยอะ แต่บางหน่วยก็ลงทุนทางด้านAIเยอะมาก ตอบคำถามเยอะๆ มนุษย์จะทำไม่ได้ แต่AIทำได้ ไม่เหนื่อย หลายบริษัทจะหันมาทางนี้ชัดเจน
อนาคตหน่วยงานจะมอง 3 อย่าง อะไรที่ช่วยเพิ่มยอดขายได้ อะไรที่ลดค่าใช้จ่าย อะไรจะลดเวลาได้ เหล่านี้ก็จะเห็นได้ว่ามันทำให้หลายอาชีพอาจจะตกงานได้
ถ้าเรารู้แบบนี้แล้ว ก็ต้องเลือกวิชาเรียน ดูว่าอาชีพไหนที่AIแทนไม่ได้ อาชีพที่ได้ผลประโยชน์ที่สุด คือ โปรแกรมเมอร์เขียนAI ปัจจุบันนี้อาชีพที่ไม่ได้ผลกระทบเลยคือโปรแกรมเมอร์ แม้จะว่ามีโควิด ตอนนี้ขาดแคลนด้วยซ้ำเพราะทุกคนไปออนไลน์กันหมด ถือว่าเป็นอาชีพที่มาแรง และอาชีพเกี่ยวกับออนไลน์ เช่นการขายของออนไลน์ ทุกวันนี้คนที่ขายออนไลน์เก่งๆ ก็เป็นที่ปรึกษาบริษัทใหญ่ๆ แต่ถ้าเป็นอาชีพอื่น เช่น อยากเป็นหมอ ระหว่างทางก็ให้ศึกษาAI ไปด้วย อย่างน้อยให้พอรู้ในฐานะยูสเซอร์ กล้าพูดเลยว่า ถ้าหมอคนไหนสามรารถใช้AIในการอ่านฟิล์มเอ็กซเรย์ได้ก็จะได้รับการยอมรับมากกว่า หรือในสำนักงานบัญชี สมมติว่ามีนักบัญชีคนหนึ่งใช้AIช่วยทำบัญชี ช่วยทำงบดุล ช่วยตรวจสอบความถูกต้องได้ คนอื่นในบริษัทอาจจะตกงาน แต่ไม่ใช่คนนี้แน่ ดังนั้นแทนที่เราจะกลัวว่าAIจะมาแทนที่คน ให้เราคิดว่าทำอย่างไรเราถึงจะใช้มันให้เกิดประโยชน์สูงสุด”
คุณธานัทยังย้ำด้วยว่า AIถูกสร้างมาให้ชีวิตง่าย แต่คนส่วนใหญ่ยังใช้มันไม่เป็น เด็กๆ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้แต่เนิ่นๆ เพราะเริ่มก่อนก็จะประสบความสำเร็จได้ดีกว่า
“สิ่งที่จะบอกเด็กก็คือ ในอาชีพของคุณ คุณจะต้องศึกษามุมใดมุมหนึ่งให้ใช้เอไอให้ได้ แค่คุณใช้มันเป็นก่อนคนอื่น แค่นั้นชีวิตก็จะต่างจากคนอื่นเลย เมื่อก่อนทุกคนเชื่อว่าไม่ว่าอย่างไรออนไลน์ก็มา ตอนนี้คนที่ทำออนไลน์ก็รวยไปแล้ว ทุกวันนี้เราคุยกันว่าAIกำลังจะมานะ ดังนั้นถ้าคุณเข้าใจมันก่อน คุณจะได้เปรียบ เพราะไม่ว่าอย่างไรมันก็มา
เหมือนอุตสาหกรรม เรารู้ว่ารถยนต์ไม่ใช้น้ำมันมันจะมา เป็นรถยนต์ไฟฟ้า คำถามคือ ถ้าวันนี้คุณเป็นช่างซ่อมรถ ตอนนี้คุณควรทำอะไร คุณก็ต้องไปศึกษาการซ่อมรถไฟฟ้า เพราะถ้าตอนนี้เป็นนักศึกษากำลังเรียนการซ่อมเครื่องยนต์รถน้ำมัน แปลว่าหลังจากเรียนจบคุณกำลังจะตกงาน แต่อนาคตคุณจะรุ่งและเป็นที่ต้องการแน่นอนถ้าคุณเรียนคณะที่ส่งเสริมให้คุณสามารถซ่อมหรือรู้กลไกเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าได้”
คุณธานัทยังให้ทัศนะเกี่ยวกับเด็กๆ ไว้เพิ่มเติมด้วยว่า
“เด็กสมัยนี้ควรเรียนรู้การเขียนโปรแกรม อย่างน้อยถ้าเขาไม่ชอบก็ต้องรู้หลักการของมัน ต่อให้ไม่ใช่ผู้สร้างก็ต้องมีความสามารถในการเป็นผู้ใช้AIให้ได้”
ด้านนายธนกฤต รักมั่งคั่งทวี หรือ ทาโร่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนานาชาติแองโกลสิงคโปร์ กล่าวว่า AI มีทั้งข้อดีและข้อเสีย สิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ก็คือต้องศึกษาข้อมูลต่างๆ อยู่ตลอดเวลา
“อนาคตของผมคงสานต่อธุรกิจของครอบครัวซึ่งเป็นธุรกิจอิมพอร์ตเอ็กซ์พอร์ต ก็จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมอย่างที่รู้กันว่าเมื่อยุคสมัยมันเปลี่ยนไปก็มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมามากมาย AIก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวเราเพื่อเข้าตลาดแรงงานที่อาจจะมีAIเข้ามาทำแทนเราได้นั้น ก็คือ เราต้องค้นคว้าหาข้อมูล และปรับตัวให้ทันสมัยตลอดเวลา
“ผมคิดว่า มันมีข้อดีและข้อเสีย ข้อเสียก็คือ คนที่ไม่ทันโลกได้ ก็จะถูกแทนที่ด้วยระบบAI คนก็จะตกงาน ก็จะเกิดปัญหาอาชญากรรมมากขึ้น และการที่มีAIอยู่ก็ต้องมีคนควบคุมด้วย ไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดปัญหาหรืออันตรายที่ไมjคาดคิดขึ้นได้ ส่วนข้อดีคือ ถ้ามีAIมาช่วย งานก็จะเร็วขึ้น ง่ายขึ้น งานก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะใช้AI เพราะฉะนั้นการที่มีAI เข้ามาในชีวิต ก็จะทำให้ชีวิตเรียบง่ายและสะดวกสบายมากขึ้นครับ”
ด้าน นาย จิรเมธ จู หรือ จิมมี่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน สารสาสน์เอกตรา กล่าวว่าตนเองฝันอยากเป็นศิลปิน มีผลงานทางดนตรี และวางแผนว่าจะเรียนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริการ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อนำเทคโนโลยีในอนาคตมาพัฒนายอดสิ่งที่เราอยากทำในอนาคตได้
“ผมว่าAIก็เป็นสิ่งที่ดีนะครับ เพราช่วยแบ่งเบาภาระ ให้ความสะดวกสบายให้กับมนุษย์ แต่AIทำงานได้มากกว่ามนุษย์ก็จริง แต่ไม่มีความนรู้สีกเหมือนมนุษย์ ไม่มีการสื่อสารกันด้วยความรู้สึก ด้วยอารมณ์ จริงอยู่ที่AIมีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าในอนาคตก็ไม่ได้มีทฤษฎีว่ามันเก่งกว่ามนุษย์ หรือก้าวข้ามมนุษย์ไปได้ เราก็ต้องควบคุมมันให้เป็นระเบียบอยู่ในกรอบ อย่างมีมาตรการให้มันพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้แบ่งเบาภาระเรา และให้เป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำมาประยุคใช้อย่างมีประสิทธิภาพได้”
ดังนั้นเมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) สิ่งที่ทำได้ก็คือเตรียมตัวเป็นผู้ใช้มัน ในต่างประเทศ ยังขาดผู้ที่สามารถควบคุมAI นี้อย่างมาก หลายบริษัท เพิ่มเงินเดือนหลายเท่าสำหรับนักศึกษาจบใหม่ที่สามารถใช้งาน AI ได้ นี่จึงไม่ใช่สิ่งที่น่าตื่นตระหนก แต่เป็นโอกาสอันดีงามสำหรับผู้ที่เตรียมตัวพร้อม แต่ก็ภัยคุกคามมากมายสำหรับผู้ที่จมอยู่กับทักษะดั้งเดิมซึ่งอาจจะไม่เป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ความสำเร็จในอาชีพการงานในอนาคตจึงต้องเรียนรู้ตั้งแต่วันนี้ เริ่ม!
หลักสูตรกิจกรรม Rally วิถีวัฒนธรรมชุมชน จังหวัดลำปาง
ที่มา
จากการระดมความร่วมมือกันของหน่วยงานหลายภาคส่วนในเทศบาลนครลำปาง จังหวัดลำปาง ทำให้เกิดกิจกรรม Rally วิถีวัฒนธรรมชุมชน จังหวัดลำปางขึ้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างทัศนคติในการสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้เด็กและเยาวชนในชุมชนใช้เวลาว่างในช่วงปิดภาคเรียนและวันว่างอย่างสร้างสรรค์ เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม และเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อคนสองช่วงวัย คือเยาวชนและผู้สูงวัย
กิจกรรม Rally วิถีวัฒนธรรมชุมชน จังหวัดลำปาง จะถูกจัดขึ้นทุกวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ โดยให้เด็กและเยาวชนปั่นจักรยานไปเรียนรู้ตามฐานกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ซึ่งแต่ละสัปดาห์จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนฐานกิจกรรมออกไปตามฐานทุนและทรัพยากรที่ทางพื้นที่มีอยู่แล้ว อาทิ ฐานร้อยกำไลลูกปัด ฐานจักสาน ฐานการทำขนมไทย ฐานวาดภาพ ฐานเต้นลีลาศ เป็นต้น โดยจะมุ่งเน้นทักษะที่เด็กและเยาวชนสามารถไปต่อยอดเป็นอาชีพหรือสร้างรายได้ต่อได้ วิทยากรแต่ละฐานคือบุคลากรในชุมชนที่มีองค์ความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็กและเยาวชน เป็นการสานสัมพันธ์ของคนในชุมชนรวมทั้งฝึกการมีจิตอาสา
วัตถุประสงค์หลัก
- เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างทัศนคติในการสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
- เพื่อให้เยาวชนในชุมชนใช้เวลาว่างในช่วงปิดภาคเรียนและวันว่างอย่างสร้างสรรค์
- เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อคนสองรุ่น (เยาวชน และผู้สูงวัย)
ระยะเวลาในการทำกิจกรรม
ช่วงปิดภาคเรียน
ช่วงอายุผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เด็ก 12 – 18 ปี, ผู้ปกครอง
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (ต่อครั้ง)
50 คน
ขั้นตอนหลัก (ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมงานก่อนเกิดงานจนเสร็จสิ้นกิจกรรม)
- ศึกษาพื้นที่ จำนวนประชากร
- ทำความเข้าใจและวางแผนการจัดกิจกรรม
- เกิดกิจกรรมและการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในของคนสองช่วงวัยในชุมชน
- ประเมินผลการจัดกิจกรรม และพัฒนากิจกรรมในปีต่อไป
อุปกรณ์
- จักรยานในการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ในชุมชน
- วัสดุ/อุปกรณ์ตามกิจกรรม อาทิ แผนที่ สมุดสะสมกิจกรรม
- สถานที่ในการจัดกิจกรรม/โครงการ เช่น ลานกิจกรรมในชุมชน
- อุปกรณ์สำนักงาน เช่น กระดาษ, ปากกา เป็นต้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เกิดการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างทัศนคติในการสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
- เยาวชนในชุมชนใช้เวลาว่างในช่วงปิดภาคเรียนและวันว่างอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์
- เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อคนสองช่วงวัย คือเยาวชนและผู้สูงวัย
- เพื่อขยายโครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ “อัศจรรย์วันว่าง” ออกสู่พื้นที่อื่นๆ
หลักสูตรกิจกรรม ปิดเทอมสร้างสุข ตอน “ขบวนการเยาวชนสืบค้นความดี”
ที่มา
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมนั้นได้สืบทอดกันมาในชุมชน เมื่อชุมชนเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคม สมัยใหม่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เลือนหายไปเพราะไม่มีการถ่ายทอด
เพื่อเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เยาวชนได้เรียนรู้และสืบสาน ลดการเกิดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ปัญหาการติดยาเสพติด ติดเกม และปัญหาการติดจอ หากเยาวชนได้รับการส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และมีพื้นที่สร้างสรรค์ในการทำกิจกรรม ได้เรียนรู้วิถีชุมชน เยาวชนได้ฝึกทักษะและพัฒนาตนเอง ได้รับแรงบันดาลใจ เกิดความภาคภูมิใจในบ้านเกิดของตนเอง
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเกิดสำนึกรักท้องถิ่น ผ่านการเรียนรู้คุณค่าและภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่ดีงามในพื้นที่ของตนเอง
- เพื่ออนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญา
- เพื่อฝึกทักษะเรื่องการสื่อสารผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ และการถ่ายทอดเรื่องราวการเล่าเรื่องผ่านภาพถ่าย หรือข้อมูลที่เยาวชนได้สืบค้น
- เพื่อให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ระยะเวลาในการทำกิจกรรม
ค่าย 1 – 2 วัน รูปแบบกิจกรรมค่ายนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นค่ายพักแรม สามารถไปเช้า – เย็นกลับได้ ระยะเวลาในการทำกิจกรรมสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมและบริบทของแต่ละพื้นที่หรือชุมชนที่มีเรื่องราวให้เรียนรู้
ช่วงอายุผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เยาวชน 12 – 18 ปี
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (ต่อครั้ง)
20 – 30 คน
ขั้นตอนหลัก
- สำรวจฐานทุนในพื้นที่ หรือชุมชน
- จัดประชุมคณะทำงานเพื่อหารือการจัดกิจกรรม กำหนดการจัดกิจกรรม กรอบงบประมาน สถานที่จัดกิจกรรม อาหาร และงานอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ในกิจกรรม พร้อมมอบหมายผู้รับผิดชอบแต่ละส่วนงาน
- ประชาสัมพันธ์กิจกรรม
- รับสมัครกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
- จัดประชุมเตรียมความพร้อมก่อนถึงวันจัดกิจกรรม
- จัดกิจกรรมปิดเทอมสร้างสุข ตอน ขบวนการเยาวชนสืบค้นความดี
- ประเมินผลผู้เข้าร่วม
ข้อเสนอแนะ
สำหรับกิจกรรมที่ให้เยาวชนลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล “เรื่องราวดีๆ ที่มีในบ้านฉัน” เนื่องจากเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรม อาชีพในท้องถิ่น หรือวิถีในชุมชน ส่วนนี้สามารถเพิ่มระยะเวลาให้เป็นวันได้ เพื่อให้เยาวชนได้มีเวลาศึกษาข้อมูลในพื้นที่ หรือในชุมชนมากขึ้น เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เยาวชนตระหนักถึงคุณค่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา
- เกิดมิตรภาพดีๆ ทั้งจากเยาวชนที่ร่วมกิจกรรม และระหว่างเยาวชนกับคนในชุมชน
- เกิดทักษะเรื่องการสื่อสารผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ และการถ่ายทอดเรื่องราวการเล่าเรื่องผ่านภาพถ่าย
- เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
กิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ อัศจรรย์ภูมิปัญญา จังหวัดสระบุรี
วัตถุประสงค์หลัก
- เพื่อปลูกจิตสำนึก ส่งเสริมการเท่าทันตนเองและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
- เพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนในด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน
- เพื่อพัฒนาทักษะในการใช้เวลาว่างของเด็กและเยาวชน
ระยะเวลาในการทำกิจกรรม
1 เดือน (ช่วงปิดเทอมใหญ่ เดือนเมษายน)
ช่วงอายุผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ประถมศึกษาตอนปลาย – มัธยมศึกษาตอนปลาย (แกนนำเด็กและเยาวชน), ผู้สูงอายุ (ภูมิปัญญา)
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (ต่อครั้ง)
แกนนำ 30 คน, ผู้เข้าร่วม 300 คน
ขั้นตอนหลัก (ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมงานก่อนเกิดงานจนเสร็จสิ้นกิจกรรม)
- พัฒนาศักยภาพ เพิ่มความมั่นใจ การทำงานเป็นทีม
- สำรวจภูมิปัญญาในชุมชน คัดเลือกภูมิปัญญาที่สนใจ
- เรียนรู้กับวิทยากรภูมิปัญญาเชิงลึก
- วัฒนธรรมพื้นที่สร้างสรรค์ อัศจรรย์ภูมิปัญญา
- จัดทำสื่อ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เด็กและเยาวชนได้รับการปลูกจิตสำนึกในการเท่าทันตนเองและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
- เด็กและเยาวชนมีศักยภาพในการสืบสาน ต่อยอดภูมิปัญญา
- เด็กและเยาวชนมีทักษะในการใช้เวลาว่าง
- เด็กและเยาวชนมีทักษะในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์และสื่อสร้างสรรค์