วิธีทำหน้ากากอนามัยด้วยตนเอง

วัสดุอุปกรณ์

1. ผ้าสำหรับทำหน้ากากเช่นผ้าฝ้าย, ผ้าสาลู ขนาดกว้าง 6 นิ้วครึ่ง ยาว 7 นิ้วครึ่งจำนวน 2 ชิ้น

2. กรรไกรตัดผ้า

3. ด้ายและเข็มเย็บผ้า

4. ไส้ไก่หรือยางยืดสำหรับทำที่เกี่ยวหู


วิธีการทำ

1. เตรียมผ้าสำหรับทำหน้ากากอนามัย เช่นผ้าฝ้าย, ผ้ายืด, ผ้าสาลู   ขนาดกว้าง 6 นิ้วครึ่ง ยาว 7 นิ้วครึ่ง  จำนวน 2 ชิ้น

2. นำผ้าที่เตรียมไว้มาพับครึ่ง แล้วพับจับจีบทวิช ประมาณ 1 นิ้ว ตรงกลางผ้า เพื่อให้คงสภาพไว้ ให้ใช้เข็มหมุดกลัดไว้หรือจะเนาผ้าตรึงไว้ก่อนก็ได้ (ทำแบบนี้ 2 ชิ้น)

3. จากนั้นนำผ้าที่พับไว้ตามข้อ 1 มาวาง ให้หันด้านนอกขึ้น นำยางยืดมาวางที่มุมผ้า ตรงด้านกว้างข้างบนและด้านกว้างข้างล่าง ด้านละ 1 เส้น และให้กลัดเข็มหมุดหรือเนาตรึงไว้

4. นำผ้าที่พับอีกชิ้น มาวางซ้อนกับผ้าชิ้นแรกที่ตรึงยางไว้แล้ว โดยหันผ้าด้านนอกชนกัน แล้วเย็บจักรหรือด้นถอยหลังรอบผ้าสี่เหลี่ยม (ห่างจากริมผ้าด้านละครึ่งเซนติเมตร โดยเว้นช่องว่างไว้กลับตะเข็บประมาณ 1 นิ้ว)

5. ขลิบผ้าตรงมุมทั้ง 4 มุมให้ใกล้กับรอยเย็บ และให้กลับตะเข็บตรงช่องที่เว้นไว้

6. สอยปิดช่องที่เว้นไว้ให้เรียบร้อย

ป้องกันโควิค-19 และโรคติดต่อต่างๆ ด้วยการล้างมือ

เพราะการล้างมือนาน 15 วินาที ช่วยป้องกันเชื้อโรคได้ถึง 90% ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ ทำได้ไม่มีค่าใช้จ่าย

วันนี้โครงการปลุกพลังเปลี่ยนไทย ขอนำเสนอวิธีการทำสบู่ก้อน ไว้ใช้ล้างมือที่บ้าน เพื่อสุขอนามัยที่ถูกต้อง โดยสามารถดูวิธีการล้างมือที่ถูกต้องได้ที่ https://bit.ly/38bnitJ

 

เผยเด็กไทยใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมดีขึ้น

สสส. เผยพฤติกรรมเด็กไทยใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมดีขึ้น เล่นมือถือ – เที่ยวห้างลด เข้าค่าย-ทำงานพิเศษเพิ่ม เดินหน้ารวมพลังภาคีเครือข่ายกว่า 200 หน่วยงาน จัด “ปิดเทอมสร้างสรรค์” จุใจกว่า 2,300 กิจกรรมให้เลือก งานพาร์ทไทม์ กว่า 1 หมื่นตำแหน่ง หนุนจัด “ลานเล่น” งบน้อยสนุกมาก ให้เด็ก “เล่นอิสระ” เสริมพัฒนาการป้องกันการติดเกม

เผยเด็กไทยใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมดีขึ้น thaihealthเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ลิโด้ คอนเน็คท์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดงานแถลงข่าวปิดเทอมสร้างสรรค์อัศจรรย์วันว่าง ประจำปี 2563 โดย ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส.ดำเนินโครงการปิดเทอมสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง โดยริเริ่มให้เกิดแพลตฟอร์มออนไลน์ในชื่อ www.ปิดเทอมสร้างสรรค์.com  เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูล เชื่อมร้อยกิจกรรมจากทุกหน่วยงาน สนับสนุนกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กโต และพื้นที่ “เล่นอิสระ” สำหรับเด็กเล็ก

เผยเด็กไทยใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมดีขึ้น thaihealth

โดยในปี 2562 ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมทั้งสิ้น 298 หน่วยงาน จัดกิจกรรมในช่วงปิดเทอมกลางภาคและปิดเทอมใหญ่ 2,228 กิจกรรม ครอบคลุมเด็กและเยาวชนที่มีโอกาสเข้าร่วมอย่างน้อย 111,400 คน ตลอดจนนักเรียนนักศึกษามีโอกาสฝึกงาน/ทำงานพาร์ทไทม์กว่า 10,000 ตำแหน่ง โดยมีกิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ที่กระจายทุกภูมิภาค ในปีนี้คาดว่าจะมีกิจกรรมเพิ่มขึ้นมากกว่า 2,500 กิจกรรม รวมถึงการเปิดรับตำแหน่งงานพิเศษอีก 10,000 ตำแหน่ง ขณะที่ส่วนภูมิภาคใน 15 จังหวัด มีหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมเพิ่มขึ้น มีกิจกรรมน่าสนใจสำหรับเด็กเยาวชนครอบคลุมทั่วประเทศ

นอกจากนี้ สสส.ยังสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมของภาคี สสส. มากกว่า 400 กิจกรรม และประสานความร่วมมือกับภาคีหน่วยงานต่างๆ ในส่วนภูมิภาค เรียกว่าเป็น “นักจัดการเครือข่ายปิดเทอมสร้างสรรค์” ส่งผลให้เกิดความร่วมมือในระดับจังหวัด ซึ่งมีการประกาศเป็นวาระของจังหวัดพร้อมกับจัดให้มีกิจกรรมเปิดตัวโครงการร่วมกัน เช่นที่จังหวัดเลย ศรีสะเกษ เป็นต้น

เผยเด็กไทยใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมดีขึ้น thaihealth

ดร.สุปรีดา กล่าวต่อว่า สำหรับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ปิดเทอมสร้างสรรค์ ในปี 2562 จากข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ม.ค. ถึง 23 ธ.ค. 2562 จำนวนผู้เข้าเว็บไซต์ 120,030 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเกือบ 4 เท่า  โดยปี 2561 มีผู้เข้าเว็บไซต์ตลอดทั้งปี 35,291 คน นอกจากนี้ ผลการสำรวจความต้องการและความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 1,930 คน ซึ่งเป็นเพศหญิงมากกว่าชาย และอยู่ในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมากกว่ากลุ่มวัยอื่น พบว่า มีความพึงพอใจมากกว่าร้อยละ 80

โดยในปี 2562 พบสถิติการใช้เวลาเล่นมือถือ/อินเตอร์เน็ตในช่วงปิดเทอมลดลงกว่าปี 2561 เล็กน้อย จากร้อยละ 20.3 เหลือร้อยละ 18.2 การเที่ยวห้างสรรพสินค้าลดลงจากร้อยละ 12.3 เหลือ 8.6 การเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัด การเข้าค่ายกิจกรรม และการทำงานพิเศษ มีอัตราเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.3 เป็นร้อยละ 14.5 , จากร้อยละ 10.3 เป็นร้อยละ 11.5 และจากร้อยละ 8.5 เป็นร้อยละ 10.6 ตามลำดับ สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ในช่วงปิดเทอมมาจาก 3 ปัจจัยหลักได้แก่ กิจกรรมตรงใจ ร้อยละ 38.7 , มีเพื่อนหรือผู้ปกครองไปด้วย ร้อยละ 28 และเดินทางใกล้ สะดวกสบาย ร้อยละ 23.4

เผยเด็กไทยใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมดีขึ้น thaihealth

นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. กล่าวว่า ในปีนี้นอกจากสสส.จะสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ในเด็กระดับประถมศึกษาจนถึงมหาวิทยาลัยแล้ว ในกลุ่มเด็กเล็ก 2-8 ปี สสส. ส่งเสริมให้เด็กเข้าถึงโอกาสในการเล่นอย่างอิสระ (Free Play) ซึ่งเป็นการเล่นที่เกิดขึ้นจากความต้องการภายในของเด็ก โดยที่เด็กออกแบบ กฏ กติกา ขอบเขตของการเล่นเองสร้างการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านอย่างอิสระ เช่น เด็กเล่นกับกองทราย กล่องกระดาษ วัสดุเหลือใช้ หรือเล่นบทบาทสมมติ ฯลฯ ในพื้นที่ที่มีการจัดการอย่างสร้างสรรค์ เหมาะสม และปลอดภัย

“ทุกวันนี้เด็กไทยมีเวลาเล่นน้อยลง รายงานวิจัยพบว่าเมื่อเข้าสู่ระบบการศึกษาที่เน้นวิชาการ เด็กจะมีเวลาเล่นอิสระไม่ถึง 60 นาทีต่อวันโดยใช้เวลาส่วนใหญ่ในห้องเรียนและการเรียนพิเศษ จึงต้องเร่งสร้างความตระหนักในกลุ่มผู้ใหญ่เพื่อให้เข้าใจในความสำคัญของการเล่นอิสระของเด็ก ที่สำคัญในยุคดิจิทัลเราไม่สามารถปิดกั้นหรือห้ามไม่ให้เด็กเล่นสื่อได้ ดังนั้น การเล่นอิสระตามความสนใจของเด็กนับเป็นทางเลือกสำคัญที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการและทักษะชีวิตของเด็ก และยังช่วยลดการใช้เวลาหน้าจอของเด็กๆ ได้เป็นอย่างดี โดยการให้เด็กเล่นกับชิ้นส่วนที่หลากหลายเคลื่อนย้ายได้ หรือ Loose Parts Play ซึ่งเป็นของเล่นปลายเปิด

เผยเด็กไทยใช้เวลาว่างช่วงปิดเทอมดีขึ้น thaihealth

เด็กสามารถจินตนาการเชื่อมโยงอย่างไร้ขอบเขตในแบบเฉพาะของเด็กเอง ค้นพบสิ่งใหม่ เกิดประสบการณ์ใหม่ ที่มีความเฉพาะของแต่ละคนอย่างอิสระ ทำให้เด็กค้นพบตัวเอง เห็นคุณค่าของสิ่งรอบตัว เช่น น้ำ ทราย ดิน กิ่งไม้ ใบไม้ โดยสามารถทำได้ง่ายๆ ใช้งบประมาณน้อย ในแต่ละบ้าน แต่ละชุมชน สามารถจัดหาพื้นที่ว่างหรือ “ลานเล่น” ให้เด็กเล่นอย่างอิสระ จัดระบบการดูแลความปลอดภัยโดยใช้อาสาสมัครหรือจิตอาสาจากพ่อแม่ผู้ปกครองคอยดูแลเด็กๆ

สำหรับเว็บไซต์ www.ปิดเทอมสร้างสรรค์.com ช่วยให้เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และ/หรือคุณครู ค้นหากิจกรรมได้ง่าย อย่างหลากหล่ายและโดนใจ ณ จุดบริการเดียว ถือเป็นเว็บไซต์ที่มีข้อมูลกิจกรรมช่วงปิดเทอมที่มีข้อมูลกิจกรรมมากที่สุด สำหรับรูปแบบกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม ปลดปล่อยศักยภาพ ค้นหาแววในการทำงาน ตลอดจนความสุขในการเรียนรู้สู่โลกกว้าง ให้ครบทุกมิติ

ผ่าน 4 หมวดกิจกรรม คือ

  1. ตามหาฝัน : ร้อง เต้น เล่นดนตรี ศิลปะและกีฬา เพลิดเพลินกับกิจกรรมมากมายที่จะให้ทดลองในสิ่งที่อยากทำ
  2. แบ่งปันสังคม : อยากแบ่งปันสังคม มาร่วมด้วยช่วยกันกับพื้นที่นี้ กิจกรรมจิตอาสาเพื่อผู้อื่น ๆ
  3. ค้นหาตัวตน : ฝึกงานในอาชีพที่ใช่ อยากทำงานมีรายได้พิเศษ ฝึกทักษะชีวิตเพื่อสร้างความแข็งแกร่งกับตัวเอง
  4. เปิดโลกเรียนรู้ :พื้นที่และกิจกรรมที่จะทำให้เราได้เรียนรู้โลกได้กว้างขึ้น เพิ่มจินตนาการแห่งการเรียนรู้

สนใจข้อมูลกิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ในช่วงปิดเทอม สามารถเข้าไปชมได้ที่เว็บไซด์ www.ปิดเทอมสร้างสรรค์.com , Twitter @pidterm

 

 

วันเด็ก วันเด็กแห่งชาติ ประวัติวันเด็ก

วันเด็กแห่งชาติ ในประเทศไทย ตรงกับวันที่เสาร์ที่ 2 ในเดือนมกราคมของทุกปี และยังมีการให้คำขวัญเด็ก โดยนายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งวันเด็กแห่งชาตินับเป็นวันหยุดราชการ แต่ว่ามิได้มีกำหนดให้หยุดชดเชยในวันทำการวันถัดไป

วันเด็กแห่งชาติถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ในช่วงนั้นกำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมเป็นวันเด็กแห่งชาติ จนกระทั่งมาถึงในปี พ.ศ. 2506 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงวันเด็กแห่งชาติใหม่ให้เป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม และก็เริ่มจัดงานวันเด็กหลังจากที่การเปลี่ยนแปลงมีผลในปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา

ประวัติวันเด็ก

สำหรับงานวันเด็กแห่งชาติ นั้นถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของนาย วี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ

ซึ่งมีจุดประสงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เด็กนั้นตระหนักถึงบทบาทสำคัญของตนในประเทศ มีการปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคมเพื่อเตรียมพร้อมกับการจะขึ้นเป็นกำลังของชาติ

โดยรัฐบาลไทยในขณะนั้นได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาชุดหนึ่ง และมีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน รวมถึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอีกด้วย

การจัดงานวันเด็กแห่งชาติในแต่ละปีนั้น มีจุดประสงค์ก็เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของตนเองที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และระเบียบวินัยที่มีต่อตนเองและต่อสังคม สอนให้มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตลอดจนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

วันเด็กได้ถูกกำหนดให้มีการจัดงานแห่งชาติขึ้นในทุกๆ ปี และจัดขึ้นเป็นครั้งแรก วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2506 จนมาถึงปี พ.ศ. 2507 แต่ว่าไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เลื่อนออกไปและจัดให้มีอีกครั้งในปี พ.ศ. 2508 จากนั้นก็ได้มีการเปลี่ยนวันเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงที่หมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการมาจนถึงทุกวันนี้

สำหรับวันเด็กแห่งชาติในทุกๆ ปีก็จะมีการให้คำขวัญวันเด็กแห่งชาติเป็นประจำทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีไทย ซึ่ง คำขวัญวันเด็ก มีขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2499 ในสมัยที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้ คำขวัญวันเด็ก ประจำปีนั้นว่า “จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม” ทำให้นับแต่นั้นเป็นต้นมา

จนถึงปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษณ์ ธนะรัชต์ ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นก็ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็กเป็นอย่างมาก จึงได้มอบคำขวัญให้เป็นข้อคิดคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ ก่อนที่จะถึงวันเด็กแห่งชาติ เป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรีในสมัยต่อมาถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้

คำขวัญวันเด็ก ย้อนหลังในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

ประจำปี 2561 โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

  • รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี

ประจำปี 2560 โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

  • เด็กไทยใส่ใจศึกษา พาชาติมั่นคง

ประจำปี 2559 โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

  • เด็กดี หมั่นเพียร เรียนรู้ สู่อนาคต

ประจำปี 2558 โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

  • ความรู้ คู่คุณธรรม นำสู่อนาคต

ประจำปี 2557 โดย นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

  • กตัญญู รู้หน้าที่ เป็นเด็กดี มีวินัย สร้างไทย ให้มั่นคง

ประจำปี 2556 โดย นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

  • รักวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน

ประจำปี 2555 โดย นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

  • สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี

ประจำปี 2554 โดย นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

  • รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ

ประจำปี 2553 โดย นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

  • คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม

ประจำปี 2552 โดย นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

  • ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี

ประจำปี 2551 โดย พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์

  • สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม

> อ่าน: คำขวัญวันเด็กย้อนหลังได้ที่นี่

กิจกรรมวันเด็ก

กิจกรรมวันเด็กที่ถูกจัดขึ้นในวันเด็กแห่งชาตินั้นจะมีความแตกต่างกันไปตามสถานที่ และรูปแบบของแต่ละชุมชน รวมถึงสถานที่สำคัญต่างๆ อาทิ ในวันเด็กแห่งชาติ ทำเนียบรัฐบาลจะเปิดให้เด็กๆ สามารถเข้าไปเยี่ยมชมห้องทำงานของนายกรัฐมนตรี ณ ตึกไทยคู่ฟ้า รวมถึงมีโอกาสได้นั่งบนเก้าอี้ทำงานจริงของนายกรัฐมนตรีอีกด้วย หรืออย่างฐานทัพอากาศก็จะมีการจัดแสดงเครื่องบินที่ใช้ในการปฏิบัติการจริง แต่กิจกรรมวันเด็กที่เราจะเห็นได้อยู่ทั่วไปเลย คือ การแจกของรางวัล ขนม ไอศกรีมให้กับเด็กๆ ถือว่าเป็นกิจกรรมวันเด็กที่ทำให้เราอยากจะย้อนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้งจริงๆ

ขอบคุณข้อมูล: Wikipedia.org
ที่มา : http://event.sanook.com/day/children/

รวมที่จัดกิจกรรมวันเด็ก ปี 2563 จูงมือน้อง ๆ ไปเล่นสนุก และเรียนรู้ไปพร้อมกัน

วันเด็กแห่งชาติ เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับเยาวชนไทย วันเด็กตรงกับวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม และในทุก ๆ ปีนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้นจะเป็นผู้มอบคำขวัญวันเด็กปีละหนึ่งคำขวัญ รวมถึงสถานที่ราชการและหน่วยงานต่าง ๆ จะมีการจัดกิจกรรมวันเด็กอย่างสนุกสนาน และมอบของขวัญให้เด็ก ๆ สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่กำลังมองหาสถานที่จัดกิจกรรมวันเด็กปี 2563 บทความนี้เรารวบรวมมาให้แล้ว ไปดูกันเลย

วันเด็กปี 2563 ตรงกับวัน

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2563

คำขวัญวันเด็กปีนี้ 

“เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย”

คำขวัญวันเด็กปี 2563

(ที่มาภาพ: news.thaipbs.or.th)

สถานที่จัดกิจกรรมวันเด็ก

เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต “เล่น ให้ เป็น เรื่อง”

กิจกรรมวันเด็ก_เล่นให้เป็นเรื่อง

งาน “เล่นให้เป็นเรื่อง” ซึ่งจัดขึ้นโดย Dmalt ในวันที่ 11-12 มกราคม 2563 ผู้ปกครองสามารถพาน้อง ๆ ไปร่วมสนุกกับงานได้ฟรีผ่านเวิร์กช็อปสนุก ๆ ให้น้อง ๆ ได้พัฒนาทักษะกว่า 8 กิจกรรม เช่น เสริมสร้างจินตนาการด้วยภาพวาดระบายสี ทำเมนูอาหารพร้อมฝึกทักษะด้านอาหาร กิจกรรมการเต้น ฯลฯ ใครอยู่ใกล้เซ็นทรัลพลาซา เวสเกต์เกต ก็สามารพาน้อง ๆ ไปร่วมงานวันเด็กกันได้

สวนหลวง ร.9 “เทศกาลนิทานในสวน ปีที่ 15”

กิจกรรมวันเด็ก_นิทานในสวน

เป็นอีกหนึ่งงานวันเด็กที่อยากแนะนำให้ผู้ปกครองจูงมือน้อง ๆ ร่วมเปิดประสบการณ์แห่งจินตนาการไปกับเทศกาลนิทานในสวน ปีที่ 15 ในธีม “มหัศจรรย์หนังสือนิทานทะลุมิติ” ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ชมนิทานสุดแฟนตาซีในโรงละคร และกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ให้ผู้ปกครองสามารถร่วมสนุกไปพร้อมกับเด็ก ๆ ได้อีกด้วย งานนี้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย วันที่ 11 มกราคม 2563 เวลา 16.00 – 18.00 น. ณ สวนหลวง ร.9 และพบกับ พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต

กรมพลศึกษา  “นันทนาการงานวันเด็ก”

กิจกรรมวันเด็ก_กรมพละศึกษา

อีกหนึ่งสถานที่จัดงานวันเด็กในวันเด็กแห่งชาติปี 2563 นี้ ผู้ปกครองสามารถพาน้อง ๆ ไปร่วมกิจกรรมเกมนันทนาการ เกมฝึกทักษะ ซุ้มถ่ายภาพ การแสดงจากศิลปิน และสนุกกับดนตรีจากน้อง ๆ DPE Band นอกจากสนุกแล้วยังได้ลุ้นรับของขวัญอีกมากมาย ในวันเด็กที่ 11 มกราคม 2563 ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารกีฬานิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ ปมุทวัน กรุงเทพฯ ตั้งแต่ 7.30 น. เป็นต้นไป

ศูนย์การค้าอิมพิเรียลเวิลด์ สําโรง “มาสค์ไรเดอร์บิลด์”

กิจกรรมวันเด็ก_มาสค์ไรเดอร์บิลด์

เติมเต็มความฝันของเด็ก ๆ ในงานวันเด็กปีนี้กับงาน มาสค์ไรเดอร์บิลด์ ตอน ศึกรวมพลังกู้โลกโชว์ พร้อมรวมพลังกับมาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด และมาสค์ไรเดอร์ไกมุเพื่อต่อสู้ป้องกันโลกและเด็ก ๆ จากเหล่าร้าย พาน้อง ๆ ไปตื่นตาตื่นใจกับการแสดงโชว์แอคชั่นสุดมัน และกิจกรรมอีกมากมาย ฟรีตลอดงาน! ในวันที่ 11-12 มกราคม 2563 ณ ศูนย์การค้าอิมพิเรียลเวิลด์ สําโรง

ศาลาว่าการเมืองพัทยา

กิจกรรมวันเด็ก_ศาลาว่าการเมืองพัทยา

ผู้ปกครองสามารถพาน้อง ๆ หนู ๆ ไปร่วมกิจกรรมวันเด็กได้ที่ศาลากลางเมืองพัทยา ในวันที่ 11 มกราคม 2563 นี้ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปีนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย ทั้งการแสดงวงโฟล์คซอง การแสดงเต้นลีลาศ การแสดงเล่านิทาน พร้อมร่วมสนุกกับการเล่นเกมและการจับคูปองเพื่อรับของรางวัลอีกมากมาย รวมถึงซุ้มจัดแสดงนิทรรศการจากหน่วยงานต่าง ๆ บริเวณลานหน้าเมืองพัทยา

อุทยานสมเด็จย่า “เพื่อนกันวันเด็ก”

กิจกรรมวันเด็ก_งานวันเด็กอุทยานสมเด็จย่า

สำหรับอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ได้จัดกิจกรรมวันเด็กเหมือนทุก ๆ ปี ในชื่องาน “เพื่อนกันวันเด็ก” เชิญชวนน้อง ๆ และผู้ปกครองร่วมกิจกรรมสุดเพลิดเพลิน ทั้งการประกวดขับร้องเพลงลูกทุ่งไทยในอุทยาน การแสดง และรับของขวัญมากมาย พร้อมลุ้นจับฉลากพาโชคมากกว่า 1,000 ชิ้น ในวันที่ 11 มกราคม 2563 นี้

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ “ถนนสายวิทยาศาสตร์”

กิจกรรมวันเด็ก_กระทรวงการอุดทศึกษา

วันเด็กแห่งชาติปีนี้ พาน้อง ๆ ไปทำกิจกรรมวันเด็กในงาน ถนนวิทยาศาสตร์ ที่จัดขึ้นโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จับมือร่วมกับพันธมิตร รวม 4 แห่งด้วยกัน

  1. งานถนนสายวิทยาศาสตร์รับวันเด็กแห่งชาติ ในวันที่ 9 – 11 มกราคม 2563 ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์โดยรอบถนนพระรามหก และถนนโยธี
  2. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คลองห้า ปทุมธานี วันที่ 11 มกราคม 2563 เปิดให้เข้าชมฟรีถึง 4 พิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า พิพิธภัณฑ์น้องใหม่ล่าสุดของ อพวช.
  3. ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 11 มกราคม 2563
  4. เดอะมอลล์โคราช วันที่ 10 -12 มกราคม 2563

พ่อแม่ ผู้ปกครองคงจะมีไอเดียสถานที่ที่จะพาน้อง ๆ ไปร่วมกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ปี 2563 กันแล้ว ใครใกล้ที่ไหน หรือต้องการพาเด็ก ๆ ไปเรียนรู้ และพัฒนาทักษะด้านใดเป็นพิเศษ ก็อย่าลืมดูเวลาและสถานที่จัดงานให้ละเอียดก่อนไป ซึ่งแต่ละที่ก็มีความแตกต่างและน่าสนใจไม่แพ้กันเลยทีเดียว และหากครอบครัวไหนอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด ก็สามารถไปร่วมกิจกรรมวันเด็กได้ตามสถานที่ราชการของจังหวัดนั้น ๆ ได้เลย

ที่มา : https://shopee.co.th/blog/children-day-activities/

อว. จัดงานกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติ 2563

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ผนึกกำลังกับหน่วยงานพันธมิตรจัดงานกิจกรรมวิทยาศาสตร์สุดหรรษา ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติ 2563 ถึง 3 แห่ง ได้แก่

1. งานถนนสายวิทยาศาสตร์รับวันเด็กแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 9-11 มกราคม 2563 ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์โดยรอบถนนพระรามหก และถนนโยธี

2. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คลองห้า ปทุมธานี วันที่ 11 มกราคม 2563 เปิดให้เข้าชมฟรีถึง 4 พิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า พิพิธภัณฑ์น้องใหม่ล่าสุดของ อพวช.

3. เดอะมอลล์โคราช วันที่ 10 -12 มกราคม 2563

ร่วมสนุกกับกิจกรรมภายในงาน พร้อมแลกรับของรางวัลมากมาย ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.nsm.or.th หรือสอบถามเพิ่มเติมโทร. 02-577-9960 (กิจกรรมฟรีตลอดทั้งงาน)

ศธ.แถลงข่าวจัดงานวันเด็กปี 63 สุดยิ่งใหญ่

กระทรวงศึกษาธิการ จับมือภาคเอกชน แถลงข่าวจัดงานวันเด็กแห่งชาติปี 2563 สุดยิ่งใหญ่ จัดเต็มกิจกรรมสร้างเด็กไทยยุคใหม่รู้รักสามัคคี ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค

เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แถลงข่าวจัดกิจกรรมฉลองวันเด็กแห่งชาติ ปี 2563 ภายใต้แนวคิด Wonderful Kids “สุดยอดเด็กไทย” ชวนเด็กๆ มาพบกับความรู้ในด้านต่างๆ ที่จะทำให้เด็กและเยาวชนเป็นเด็กดีมีคุณภาพตามคำขวัญ “เด็กไทยยุคใหม่ รู้รักสามัคคี รู้หน้าที่พลเมืองไทย” นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การจัดงานวันเด็กปีนี้ถือเป็นปีที่ 65 แล้วหลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้ ศธ.จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติเป็นประจาทุกปี ตั้งแต่ปีพ.ศ.2498 เป็นต้นมา ซึ่งการจัดกิจรรมวันเด็กมีความเหมายที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ได้รู้ถึงความคิดของเด็กและเยาวชนที่จะเติบโตเป็นพลเมืองของประเทศในอนาคต

ในฐานะที่ ศธ.เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงานดังกล่าว เพื่อต้องการให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก อีกทั้งต้องการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทหน้าที่สำคัญของตน มีความสามัคคี กลมเกลียว โดยการปลูกฝัง ให้มีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ พร้อมทั้งต้องการพัฒนาเด็กให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจเพื่อเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมือง

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า สำหรับในปีนี้ศธ. ได้กาหนดให้มีการจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ในวันเสาร์ที่ 11 ม.ค. 2563 ณ บริเวณกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่เวลา 07.00 – 17.00 น. ภายใต้แนวคิด Wonderful Kids “สุดยอดเด็กไทย” เพื่อเสริมสร้างให้เด็กและเยาวชนเป็นคนเก่ง คนดี สามัคคี รู้จักหน้าที่ของตนเอง ได้แสดงออกถึงพลังความสามารถทั้งจากความคิด สติปัญญา และการลงมือทา ในการทากิจกรรมร่วมกัน

สำหรับหนังสือวันเด็กแห่งชาติประจาปี 2563 นี้ ใช้ชื่อว่า “เด็กไทยไปถึงฝัน”โดยเนื้อหาประกอบไปด้วยผลงานจากนักเรียนทั่วประเทศ พร้อมบทสัมภาษณ์ และบทความ พิเศษจากนักเขียนรับเชิญ อาทิ ดาวฝัน บกลอนแด่เด็กช่างฝันจาก กุดจี่ พรชัย แสนยะมูล นักเขียนรางวัลจากการประกวดหนังสือดีเด่นประจำปี 2561 เป็นต้น

ด้าน นายประเสริฐ บุญเรือง ปลัด ศธ. กล่าวว่า การจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ปี 2563 นี้ได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันจัดกิจกรรมขึ้นอย่างยิ่งใหญ่กว่า 100 บูธ พร้อมของขวัญนับแสนชิ้น โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยศิลปินดาราที่มีชื่อเสียง ณ บริเวณกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งบริเวณโดยรอบกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ ถนนราชดาเนินนอก (ถนนคู่ขนาน)  เกาะกลางถนน บริเวณด้านหน้า ศธ. ถนนลูกหลวง หอประชุมคุรุสภา และที่หน่วยงานในสังกัดศธ.ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

โดยกิจกรรมหลักในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนี้ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่

  1. กิจกรรมการนำเด็กและเยาวชนดีเด่น และเด็กและเยาวชนนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ ประจาปี 2563 ในปีนี้มีจานวน 946 คน ที่จะเข้าเยี่ยมคารวะและรับโอวาทจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 8 ม.ค. 2563 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
  2. กิจกรรมฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจาปี 2563 ซึ่งในปีนี้กาหนดจัดฉลองงานวันเด็กแห่งชาติ ณ บริเวณกระทรวงศึกษาธิการ ถนน ราชดาเนินนอก กรุงเทพมหานคร โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน เวลา 08.30 น. โดยภายในงานจะได้พบกับศิลปินนักร้อง เก่ง ธชย ประทุมวรรณ หรือเก่ง เดอะวอยซ์ น้องอันดา กุลฑิรา ยอดช่าง ดาราเด็ก ผู้รับบทแม่บัวเกี๋ยง ในละครเรื่องกลิ่นกาสะลอง ทางช่อง 3 และสองพิธีกรคู่ขวัญ น้าฝน พัชรินทร์ ศรีวสุภิรมย์ และอาร์ม พิพัฒน์ วิทยาปัญญานนท์

สำหรับการจัดกิจกรรมฉลองวันเด็กแห่งชาติของกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2563 นี้ จัดขึ้นภายใต้ ธีมงาน “Fun Thinking & Doing” สนุกคิด สนุกทำ โดยแบ่งเป็นโซนกิจกรรม ออกเป็น 3 โซนหลัก ดังนี้

โซนที่ 1 Citizen Kids : พลเมืองเด็กดี

โซนกิจกรรมที่แสดงถึงความเฉลียวฉลาดของเด็กไทยยุคใหม่ ที่มีความรัก ความสามัคคี และรู้จัก หน้าที่ของตนเอง ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของสังคมได้อย่างถูกต้อง กิจกรรมเวทีกลาง กิจกรรมเสริมสร้างความสามัคคี (ปณิธานพลังเด็กไทย) – บูธเกมเด็กไทยรู้หน้าที่ (เกมบันไดงู) สวนมหาสนุก บ้านลม สไลเดอร์ การแจกของรางวัลจากหน่วยงานต่างๆ

โซนที่ 2 Digital Kids : เด็กยุคดิจิทัล

โซนกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความทันสมัย การรู้จักใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเรียนรู้

โซนที่ 3 Environmental Kids

เด็กรักษ์สิ่งแวดล้อมโซนกิจกรรมที่ให้เด็กและเยาวชน เห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม

สำหรับการดูแลรักษาความปลอดภัย สถานีตำรวจนครบาลดุสิต  ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัย ทั้งภายในและภายนอกบริเวณการจัดงาน พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้าร่วมงานอย่างเต็มอัตรากาลัง ทั้งนี้สามารถมาเที่ยวชมงานวันเด็กแห่งชาติ ปี 2563 ในวันเสาร์ ที่ 11 ม.ค. 2563 ได้ตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น. ชมฟรีตลอดงาน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2628-6179

ด้าน พ.ต.ท.ภษิต กระเตื้องงาน รองผกก.ป.สน.ดุสิต กล่าวว่า  งานดังกล่าวจะมีเด็กมาร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ดังนั้นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสน.ดุสิต ได้วางกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความปลอดภัยอย่างเต็มที่ พร้อมกับอำนายความสะดวกด้านการจราจรให้แก่ผู้ปกครองที่พาบุตรหลานมาร่วมงาน

ทั้งนี้ฝากผู้ปกครองระมัดระวังในการพัดหลงกับลูกหลานของตนเองด้วย โดยอยากให้เขียนชื่อเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครองที่สามารถติดต่อได้ใส่ไว้ในกระเป๋าหรือคล้องคอเด็ก เพื่อให้ง่ายต่อการติดตาม

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/education/750019

กกท. เล็งจัดใหญ่งานวันเด็ก 11 ม.ค.63 – เตรียมกิจกรรมพรึบรับเหล่าเยาวชน

เมื่อวันที่ 13 พ.ย.62 ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 8 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา กกท. นายวิษณุ ไล่ชะพิษ รองผู้ว่าการ กกท. ฝ่ายบริหาร เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2563 ครั้งที่ 1 โดยมีนายราเชลล์ ได้ผลธัญญา รองผู้ว่าการ กกท. ฝ่ายส่งเสริมกีฬา และคณะกรรมการจัดงานฯ ร่วมประชุม

ฝ่ายเลขาฯ ได้รายงานถึงการเตรียมการในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2563 วันเสาร์ที่ 11 ม.ค. 63 ที่บริเวณลานพลาซ่า สนามกีฬาหัวหมาก ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ซึ่งประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1.กิจกรรมบนเวที (การแสดงบนเวที, ตอบคำถามชิงรางวัล, และการแสดงโชว์ต่างๆ) 2.กิจกรรมการแข่งขันกีฬา (จัดการแข่งขันกีฬา 6 ชนิดกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล 7 คน, บาสเกตบอล, เทควันโด, เทนนิส,ว่ายน้ำ และกรีฑาอนุบาล) 3.กิจกรรมเสริมทักษะ (การประกวดวาดภาพระบายสี, การโชว์เครื่องบินเล็ก, เกมมหาสนุก, เกมทักษะกีฬา, และทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย) 4.กิจกรรมสวนสนุก (ชิงช้าสวรรค์, ม้าหมุน, บ้านลม, เกมปาโป่ง, ยิงปืนจุกน้ำปลา, เกมโยนห่วง ,ถ่ายภาพวันเด็กโฟโต้บูท ฯลฯ)

นายวิษณุ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับรูปแบบการจัดงานวันเด็กในปีนี้จะคล้ายคลึงกับปีที่ผ่านมา กกท. มุ่งเน้นเรื่องการให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมและจะเน้นให้เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมกีฬาให้มากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากเล่นกีฬาต่อไปในอนาคต ซึ่งนอกจากนี้ กกท.ยังเปิดโอกาสให้เด็กๆได้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์กีฬา และเปิดให้เด็กๆเข้าเยี่ยมชมในราชมังคลากีฬาสภาน และบริเวณรอบๆ กกท.ในรูปแบบแรลลี่สะสมคะแนน เพื่อช่วยให้ความรู้และแรงบันดาลใจให้กับเยาวชน ที่มีความฝันอยากเป็นนักกีฬาทีมชาติไทยในอนาคต

นอกจากนี้ กกท.จะจัดประกวดวาดภาพระบายสี ชิงเงินรางวัลชนะเลิศ จำนวน 5,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศ จำนวน 3,000 บาท และรางวัลที่ 3 จำนวน 2,000 บาท โดยเปิดโอกาส ให้เยาวชน จำนวน 2 รุ่น ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายเข้าแข่งขัน โดย กกท.จะนำภาพที่ได้รับรางวัลดังกล่าว ทั้งหมดนำไปทำเป็นปฏิทินในปี 2564 ต่อไป

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/sports/news_3053872

1 ใน 5 ของวัยรุ่นไทย มีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ด้วยปัจจัยจากสิ่งใกล้ตัว

การฆ่าตัวตายเพราะโรคซึมเศร้า เป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของวัยรุ่น แพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่นชี้ ทุกฝ่าย ควรเร่งเยียวยา

คุณหมอโอ๋ พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และเจ้าของเพจ ‘เลี้ยงลูกนอกบ้าน’ เล่าให้เราฟังถึงสถานการณ์ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นไทย ซึ่งค่อนข้างน่าตกใจว่า ตอนนี้มีรายงานว่าเด็กไทยประมาณ 1 ล้านคนมีความเสี่ยงปัญหาเรื่องสุขภาพจิต ก็คือประมาณ 1 ใน 7 ของวัยรุ่น ส่วนตัวเลขซึมเศร้าในวัยรุ่นอยู่ที่ประมาณร้อยละ 12-17 % คือประมาณ 1 ใน 5 ของวัยรุ่นจะมีอาการโรคซึมเศร้าอยู่ในช่วงหนึ่งช่วงใดของชีวิต และอย่างไม่น่าเชื่อ มีรายงานพบว่าสิ่งที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้วัยรุ่นมีอาการโรคซึมเศร้ามาจากสิ่งใกล้ตัวเด็ก อาทิ ครอบครัว โรงเรียน และโซเชียลมีเดียชื่อดัง

“ในวัยรุ่นเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น ร่างกาย สมอง การเข้าสังคม เพื่อน ความรัก ต้องคิดถึงเรื่องอนาคต ตัดสินใจเรื่องอาชีพ การเข้ามหาวิทยลัย ความเครียดต่าง ๆ เหล่านี้มันค่อนข้างเยอะ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ อาทิ โซเชียลมีเดียส์ แพล็ตฟอร์มต่าง ๆ ทั้งเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม ซึ่งมีงานวิจัยในต่างประเทศระบุว่า เฟซบุ๊กมีผลสอดรับกับเรื่องซึมเศร้า หรือมีตัวเลขที่งานวิจัยบอกว่า 30-40 % ของวัยรุ่นที่ตามอินสตาแกรม ได้รับผลกระทบจิตใจทางลบ เพราะมันได้เห็นชีวิตดี ๆ ของไอดอล ดารา แล้วก็จะมานั่งมอง เอ๊ะ เราไม่เห็นมีอะไรดีเลย ก็เหมือนกับสิ่งเหล่านี้ก็เป็นตัวกระตุ้นขึ้นมา ทำให้วัยรุ่นก็จะซึมเศร้าได้ง่าย มันทำให้มาตรฐานความสุขของคนมันสูงเกินไป ทั้งที่จริง ๆ แค่ไม่เจ็บป่วยก็มีความสุขได้แล้ว แต่กลายเป็นว่าต้องมีนั่นมีนี่ เพราะฉะนั้นถ้ารู้สึกเศร้าก็พยายามหลีกเลี่ยงโซเชียลไปก็ดี เราต้องสนใจชีวิตนอกตัวให้น้อยลง และสนใจชีวิตภายในให้มากขึ้น เรากำลังรู้สึกอะไร คิดอะไร หวังอะไร การทำงานกับตัวเองเยอะ ๆ รู้จักตัวเองเยอะ ๆ ก็ทำให้เราเข้าใจตัวเองดี การที่เรา รู้ทันอารมณ์ตัวเอง รู้ทันความคิดตัวเองก็จะช่วยตัวเองได้มากชึ้น

และโซเชียลก็เป็นสื่อที่ทำให้เกิดความรุนแรงอย่าง cyber bully โดนประนาม โดนเอามาว่ากล่าวในสังคม โดนเพื่อนเอามาประจาน สิ่งเหล่านี้เอฟเฟ็กต์กับสภาพจิตใจของตัวเด็กมาก

ร่วมกับปัจจุบันครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยวเยอะ แต่ขณะเดียวกันพ่อแม่ก็ไม่มีเวลา เด็กก็จะเติบโตมาอย่างโดดเดี่ยว เพราะฉะนั้นฐานครอบครัวก็จะค่อนข้างเปราะบาง เวลามีให้ไม่เยอะ เวลาคุณภาพไม่ค่อยมี เด็กจะเติบโตขึ้นมาพร้อมกับความรู้สึกที่ว่าตัวเองเป็นคนที่ไม่มีความหมาย ไม่มีคุณค่า และการเลี้ยงดูที่ใช้ความรุนแรงก็เยอะ ทั้งคำพูดและการลงไม้ลงมือ ใช้คำที่สร้างความเจ็บปวด ก็จะบั่นทอนเรื่องความเป็นตัวตนของเด็ก ซึ่งมันก็เป็นปัจจัยหนึ่งของเรื่องซึมเศร้า โรคซึมเศร้าถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ เหมือนเบาหวาน ความดัน หัวใจ คือถ้ามีคนในครอบครัวเป็น ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นเยอะกว่าคนทั่วไป

ปัจจัยหลักที่สำคัญที่เรามองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือ โรงเรียน โรงเรียนก็เป็นปัจจัยเชิงลบต่อโรคซึมเศร้า มันเป็นที่ที่เด็กต้องแข่งขันกับคนอื่น ต้องถูกเปรียบเทียบ โดยเฉพาะการเรียนในระบบแพ้คัดออก ถ้าคุณเก่ง แต่เก่งไม่พอหรือไม่ใช่เก่งแบบดีกว่าคนอื่น คุณก็ไม่ใช่คนเก่ง เด็กบางคนก็อยู่กับความแพ้ไม่ได้ หรือเด็กบางคนต้องอยู่กับความไม่มีตัวตน ต้องรู้สึกว่าฉันไม่เห็นเคยถูกยอมรับในเรื่องใดเลย เหมือนเป็นไม้ประดับในโรงเรียน หรือในส่วนการศึกษาที่เคร่งเครียด การบ้านเยอะ ทำให้นอนน้อย ซึ่งการนอนนั้นมีผลต่อสุขภาพทั้งหมด นอกเหนือจากสุขภาพกาย โรคอ้วน  โรคเบาหวาน ที่สำคัญคือการนอนน้อยส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิตอย่างมากด้วยปัจจัยหลักๆ ก็คือประมาณนี้”

พญ.จิราภรณ์ยังบอกด้วยว่า หากว่าเด็กในปกครองมีอาการซึมเศร้า หรือป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ขั้นตอนแรกในการเยียวยาก็คือ ต้องยอมรับให้ได้เสียก่อน ว่าโรคซึมเศร้ามีอยู่จริง เหมือนโรคทางกายทั่วไป และสามารถรักษาได้

“บางคนจะบอกว่า เด็กคิดมาก คิดไปเอง ไม่ใช่นะ โรคซึมเศร้าเกิดจากสารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ ทำให้วิธีคิดของคนที่เป็นเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่แค่อ่อนแอ แต่คนที่ซึมเศร้าจะคิดลบ มองโลกในแง่ร้าย ไม่มีพลัง ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ กินไม่ได้ รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ไม่อยากทำอะไร อาการเหล่านี้มาจากสมอง เพราะฉะนั้นพ่อแม่ควรจะต้องเชื่อก่อนว่า โรคซึมเศร้าคือสิ่งที่เป็นจริง ไม่ใช่การเรียกร้องความสนใจของเด็ก และต้องรู้ว่ามันร้ายแรงขนาดทำให้ตายได้ แต่รักษาได้ เมื่อรู้สึกว่าลูกมีอาการของโรคซึมเศร้าจงพาเขาไปรับการรักษา โรคซึมเศร้าสมัยนี้รักษาได้ เป็นโรคเรื้อรังแต่หายได้ ประมาณ 50% ก็อาจจะเป็นแค่ครั้งเดียว แต่บางคนอาจจะเจอตัวกระตุ้น ก็เป็นไปได้ที่ซึมเศร้าจะกลับมาอีก”

คุณหมอโอ๋ยังบอกถึงวิธีที่จะช่วยเยียวยาลูก หรือคนใกล้ตัวที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าด้วยว่า “การฟังอย่างเข้าใจ” คือเคล็ดลับที่ดีที่สุด

“โรคซึมเศร้ามันเป็นโรคที่อยู่ในหัวและเรามองไม่เห็น บางคนก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมลูกไม่ไปทำอะไรล่ะ จะได้ไม่ต้องเศร้า ไปเจอเพื่อนสิ ไปทำงาน เล่นดนตรี จะได้หายเศร้า แต่จริง ๆ มันสภาพเหมือนคนที่ถูกรถชน ลุกไม่ไหว เจ็บปวดไปหมด อยากนอน อยากพักตัวเอง แต่พ่อแม่ไม่เข้าใจ เนื่องจากมันมองไม่เห็น เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญคือรับฟังเขา ฟังให้เข้าใจความรู้สึก ให้เข้าใจความต้องการของเขา ให้เขาระบายออกมา เขาอยากได้รับความช่วยเหลืออะไรไหม อย่าตัดสินว่าลูกอ่อนแอ ว่าลูกคิดมากเอง ลูกไม่เข้มแข็ง คือสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ช่วยเขา แต่การฟังให้เขาได้พูด ได้ระบาย แล้วมีคนฟังจริง ๆ มันจะช่วยเขามาก”

นอกจากพ่อแม่แล้วคุณหมอยังฝากไปถึงภาครัฐว่าควรจะต้องมาดูแลตรงส่วนนี้อย่างจริงจัง เพราะนี่คือปัญหาที่สำคัญมากของประเทศ และว่าตอนนี้กว่าที่ผู้ป่วยจะเข้าถึงตัวจิตแพทย์คิวก็ยาวกว่าครึ่งปีแล้ว จึงอยากแนะนำให้หามาตรการวิธีการป้องกันก่อนที่วัยรุ่นจะเข้าสู่ภาวะโรคซึมเศร้า เช่น โครงการสายด่วยสุขภาพจิตที่มีประสิทธิภาพ หรือ โครงการโรงเรียนพ่อแม่ เป็นต้น

“การสร้างมันง่ายกว่าซ่อม ตอนนี้การฆ่าตัวตายเพราะโรคซึมเศร้าก็เป็นสาเหตุการตายอันดับสองของวัยรุ่นรองจากอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นเรื่องที่ภาครัฐควรจะต้องลงมาดูแล อย่างเช่น เรื่อง ‘สายด่วนสุขภาพจิต’ ที่เกิดประสิทธิภาพจริง ๆ เพราะคนอยากฆ่าตัวตายแล้วมีคนให้คำปรึกษาก็จะช่วยได้ทัน หรืออาจจะเป็น ‘คลินิกออนไลน์’ หรือเรื่อง ‘โรงเรียนพ่อแม่’ เพราะการทำให้เกิดปัญหาซึมเศร้าในวัยรุ่นส่วนหนึ่งมาจากเลี้ยงดู คือปัจจุบันเราเลี้ยงลูกแบบไม่มีความรู้ เลี้ยงแบบตามมีตามเกิด ใครรู้อะไร อ่านอะไร ถูกเลี้ยงมาอย่างไร ก็เลี้ยงกันไปตามนั้น หมอคิดว่าอันนั้นก็เป็นพาร์ตหนึ่งที่รัฐบาลควรลงทุน

แต่อีกอันหนึ่งหมอคิดว่า การศึกษา ก็สำคัญ โรงเรียนเป็นแหล่งบ่มเพาะโรคซึมเศร้า จะเข้าโรงเรียนนี้แล้วเข้าไม่ได้ก็เศร้า นั่งสอบกันตั้งแต่อนุบาล นี่คือการสร้างสุขภาพจิตที่ไม่ดีสำหรับมนุษย์ คือโตมาเป็นผู้แพ้ตั้งแต่วัย 3 ขวบ มันสร้างสม mindset ที่แย่ต่อเด็ก ๆ แล้วโรงเรียนก็สั่งการบ้านกันถึงห้าทุ่มเที่ยงคืน มันไม่มีเวลาพัฒนาตัวเองทางด้านอื่น ๆ เช่น ออกกำลังกาย ศิลปะ หรืออื่น ๆ ที่เป็นการพัฒนาทางด้านอารมณ์ มันใช้ชีวิตเหมือนหุ่นยนต์ ตรงนี้ก็คิดว่า รัฐบาลควรซัปพอร์ตโรงเรียนที่พัฒนาศักยภาพของเด็ก ให้เด็กได้ค้นเจอตัวเอง มีความสุขกับตัวเอง”

หากพบว่าคนใกล้ตัวมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า อย่านิ่งนอนใจ ควรพบแพทย์ใกล้บ้านทันที เพราะหากได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ที่เหมาะสมทั้งคนป่วยและคนใกล้ตัวก็จะหลีกเลี่ยงอาการป่วยและมีความสุขได้มากขึ้น ก่อนที่โรคซึมเศร้าจะกลายเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คิด

“หนูไม่รู้ว่า หนูจะเป็นอะไรในอนาคต” ‘a-chieve’ แก้ปัญหา “อาชีพ(ที่ใช่)ของเด็กไทย” ที่เรื้อรังยาวไกลมาหลายทศวรรษ

ปัญหาของเด็กไทยตอนนี้มันไม่ใช่แค่การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เพราะก่อนที่จะบอกได้ว่าคุณเก่งด้านไหน มันต้องบอกให้ได้ก่อนว่า คุณเป็นใคร และเรียนสิ่งนั้นไปทำไม

วิน – นรินทร์ จิตต์ปราณีชัย  หนึ่งในผู้ก่อตั้ง ‘a-chieve’ (อาชีฟ) องค์กรที่สร้างขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้น้อง ๆ นักเรียนชั้นมัธยมรู้เป้าหมายในชีวิตเพื่อจะเดินไปอย่างถูกทิศถูกทาง บอกกับเรา

ดูเหมือนคำถามข้างต้นจะเป็นปัญหาที่เรื้อรังจนน่าตกใจ นรินทร์จึงรวมตัวกันกับเพื่อน ๆ ได้แก่ เอิร์ธ – ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย และ ต่าย-ภนิธา โตปฐมวงศ์ หาวิธีพร้อมด้วยเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา ‘เด็กไม่รู้ว่าตัวเองอยากทำอาชีพอะไรกันแน่’ จนเกิดเป็น ‘a-chieve’ ซึ่งแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้อย่างครบวงจร

“พอเรียนจบเราอยากทำอะไรเพื่อสร้างคุณค่าให้ตัวเอง พร้อม ๆ กับสร้างคุณค่าให้สังคมไปด้วย ก็เลยรวมทีมแล้วก็คิดว่าเราจะทำอะไรกัน ก่อนหน้านี้เราทำมาหลายอย่าง เช่น เรื่องคนไร้บ้าน จนมาเจอเข้ากับปัญหาของคนใกล้ตัว คือน้องของต่ายมาปรึกษาพี่เขาว่า จะขึ้นม.ปลายแล้วแต่ไม่รู้ว่าจะเรียนสายวิทย์หรือสายศิลป์ดี ซึ่งต่ายก็คิดได้และเห็นปัญหาว่า ถ้าเลือกสายการเรียนผิดจะเลือกบางคณะไมได้ และถ้าเลือกคณะผิด จะทำอาชีพผิดแล้วมันส่งผลตลอดชีวิตเลยนะ เขาเห็นปัญหานี้ก็เลยเอามาคุยกับทีม แล้วพอผมฟัง ภาพก็ย้อนมาเลยว่า ปัญหาตรงนี้มันมีมานานแล้ว เพราะตอนนั้นผมก็เป็น แนะแนวก็ไม่ได้ช่วยอะไร ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์โดยที่ไม่รู้ว่าจบแล้วทำอะไรได้บ้าง พี่ชายกับพี่สาวก็เจอปัญหานี้หมด ก็เลยคิดว่านี่แหละปัญหาที่เราอยากแก้ ลองคิดว่า ถ้าเด็กหนึ่งคนรู้ว่าตัวเองจะเรียนอะไร แล้วเลือกคณะที่มันตรงกับความสนใจ เขาก็จะมีแรงในการพัฒนาเรื่องที่เรียน และก็น่าจะจบมาทำงานได้อย่างมีความสุข นี่คือภาพที่เราเห็นในตอนนั้น ซึ่งพอเราคุยเรื่องนี้กับใคร ทุกคนก็เก็ตหมด เพราะเขาเองก็ผ่านปัญหาตรงนี้มาเหมือนกัน นี่มันเป็นปัญหาเรื้อรังที่มามากกว่า 20 ปีแล้ว”

เครื่องมือของ ‘a-chieve’ มีหลายอย่าง โดยทำผ่านกิจกรรม ต่าง ๆ อาทิ ‘โตแล้วไปไหน’ , ‘Open World’ หรือ ‘ฟัก ฝัน เฟส’ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็ก ๆ ได้วิเคราะห์ตัวเองว่า แท้จริงแล้วตัวเองชอบอะไร หรืออยากเป็นอะไรกันแน่ แล้วจากนั้นก็ให้ลงไปทดลองทำงานในสถานที่จริงเพื่อรับรู้บรรยากาศการทำงาน และรายละเอียดในอาชีพนั้น ๆ ว่ามีอะไรบ้าง และยังได้พบกับ พี่ ๆ ‘ต้นแบบอาชีพ’ ที่จะคอยมาพูดให้ข้อมูล ความรู้ แชร์ประสบการณ์ ซึ่งจะทำให้เด็ก ๆ รู้ว่า ตัวเองชอบหรือไม่ชอบอาชีพนั้น ๆ

“โครงการโตแล้วไปไหน มีให้เด็กมาเวิร์กช้อป ทดลองทำงานจริง 2 อาทิตย์ กลับมาสรุปถอดบทเรียน จากตรงนี้เราจะได้รับผลลัพธ์จากเด็ก ๆ 3 ด้าน คือ ชัดเจนว่าชอบอาชีพที่ไปเวิร์กช้อป เราให้แค่วิธีคิดในการเลือกอะไรบางอย่าง ถ้าไปแล้วใช่เลย ก็จะเป็นโบนัส กลุ่มที่ 2 คือ ยังลังเล เด็กกลุ่มนี้ หลังจากเวิร์กช้อปกับเราแล้ว เขาจะไปหาคำตอบจากที่อื่น ไปเข้าสัมมนาต่าง ๆ หรือ ไปตามมหาวิทยาลัยที่จัด Open House เพื่อให้รู้ว่าแท้จริงแล้วตัวเองชอบอะไรกันแน่ กลุ่มสุดท้าย คือ รู้ว่าอาชีพที่ลองมาเวิร์กช้อปไม่ใช่แน่ ๆ ก็จะสามารถตัดตัวเลือกนั้นทิ้งได้ทันที” นรินทร์กล่าว

นรินทร์ยังกล่าวอีกด้วยว่า จากผลลัพธ์ที่ได้จะเห็นว่า การรู้ตัวเองแต่เนิ่น ๆ นั้นมีความจำเป็นต่อชีวิตในอนาคตของเด็ก ๆ มาก ดังนั้นนอกจากสิ่งที่ ‘a-chieve’ เตรียมไว้ให้แล้ว เด็ก ๆ ยังต้องเตรียมตัวเพิ่มเติมด้วย เพราะคำถามที่ว่า “หนูควรเรียนอะไรดี?” ไม่ใช่คำถามที่มีประโยชน์มากพออีกแล้ว

“เด็ก ๆ ควรต้องเริ่มคิดถึงเป้าหมายที่ไกลกว่าการเรียน เวลาที่เราเจอน้อง ๆ เขาจะคิดว่า หนูไม่รู้ว่าหนูจะเรียนอะไร แต่จริง ๆ แล้วคำถามของน้องควรเป็นว่า

“หนูไม่รู้ว่าหนูจะทำ (อาชีพ) อะไรในอนาคต?”

เพราะถ้าเรารู้แล้วว่าในอนาคตเราจะเป็นอะไร เรื่องเรียนมันจะตามมาเอง เช่น ถ้าเราบอกว่า อยากเป็นหมอ เราจะรู้ว่ารูทของการเป็นหมอต้องทำอย่างไรบ้าง แต่ตอนนี้เราไม่รู้เลยว่า ทำไมต้องเป็นหมอ รู้ไหมว่าหมอต้องทำอะไรบ้าง รู้ไหมว่าหมอมีกี่หมอ แล้วแต่ละหมอมันแตกต่างกันมากเลยนะ ทักษะที่ใช้ คาแรกเตอร์ของคนในอาชีพนั้นไม่เหมือนกันเลย

ดังนั้นช่วงเวลาว่าง อย่างเช่น เสาร์-อาทิตย์ ปิดเทอม ควรจะหาตัวเองให้เจอก่อนที่จะเรียนพิเศษ เพราะเรากำลังเรียนพิเศษเพื่อให้ได้เกรด แล้วเราเอาเกรดนั้นไปทำอะไรล่ะ ? เราควรที่จะหาตัวเองให้เจอก่อนไหม? ลองออกไปเจอ ไปทำสิ่งที่เราคิดว่าเราอยากเป็นเยอะ ๆ แล้วกลับมาทบทวนตัวเองดูว่ามันใช่สำหรับเราหรือยัง ตรงนี้ ‘a-chieve’ จะเป็นผู้ช่วย และคิดว่า สังคมก็ต้องมีโอกาสที่จะให้เด็กออกไปทำอะไรแบบนี้เยอะขึ้น อย่างตอนนี้จะเห็นว่ามันน้อยมาก ตอนนี้มีค่ายเยอะขึ้นมากก็จริง แต่อีเวนท์ต่าง ๆ มันยังเน้นในเรื่องของการเรียน เช่น ทำยังไงให้สอบคณะนี้ติด ทำอย่างไรให้เกรดได้ถึงคณะที่เราอยากเข้า แต่ไม่ค่อยมีพูดถึงว่าทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าตัวเองควรจะเรียนอะไร”

นอกจากนี้เพื่อให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น ‘a-chieve’ ยังทำงานกับครูแนะแนว โดยจัดเวิร์กช้อปครูแนะแนว ถอดความรู้ที่ได้จากการอบรมเด็ก ๆ เพื่อให้ครูนำความรู้และกิจกรรมต่าง ๆ ไปใช้กับเด็กนักเรียนของตนได้

“เราทำมาแล้ว 2 ครั้ง และกำลังจะทำครั้งที่ 3 โดยถอดบทเรียนจากที่ทำกับเด็กมาหลายปี ทำให้ทราบปัญหาและความต้องการของเด็ก ๆ จากนั้นก็นำมาทำเป็นเวิร์กช้อปกับคุณครูแนะแนวเป็นเวลา 3 วัน ซึ่งได้ผลดีมาก ครูที่เข้าร่วมจะเกิดการเปลี่ยนแปลง mindset ในเรื่องของการแนะแนวว่ามันไม่ใช่หน้าที่ของครูที่จะไปตัดสินใจแทนเด็ก และไม่ได้มีอำนาจมากกว่าเด็ก แต่เราเท่ากับเด็ก มันถึงจะเกิดพื้นที่ปลอดภัย คือพื้นที่ที่เด็กรู้สึกว่าทุกคนรับฟังกัน ครูฟังเด็ก เด็กฟังครู หรือเวลาเด็กเล่าความฝัน จะไม่มีใครหัวเราะแล้วเห็นเป็นเรื่องตลก พอมีพื้นที่ปลอดภัย เครื่องมือของเรา อย่างการวิเคราะห์ตัวเอง การวิเคราะห์อาชีพนั้น ที่จะนำมาใช้กับตัวเด็กมันง่ายมาก และจากการติดตามผลก็ทราบว่า เด็ก ๆ ชอบ และคาบนี้เป็นคาบที่เด็กอยากเรียนที่สุด เด็กบอกว่ารู้สึกว่าตัวเองมีตัวตนที่คุณครูรับฟังเขา”

และตามที่มีหลายหน่วยงานพยากรณ์กันว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าสมองกลอัจฉริยะ หรือ เอไอ จะเข้ามาแทรกแซงในตลาดแรงงานหลายอาชีพ นรินทร์มองว่าบริบทของเมืองไทยอาจจะยังไปถึงตรงนั้นได้ไม่เร็วนัก แต่ก็เป็นการดีที่เด็กไทยจะเตรียมตัวเอาไว้ และว่าแท้จริงแล้วการมาของเอไอก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป

“การมาของเอไอก็มีข้อดี มันอาจจะทำให้หลายอาชีพหายไป แต่มันก็สร้างหลายอาชีพที่เราไม่อาจจะจินตนาการได้เหมือนกัน เช่น ถ้าไม่มียูทูปก็ไม่มีอาชีพเกมแคสเตอร์ ตอนที่ไม่มียูทูป เฟซบุ๊ก เราก็ไม่รู้ว่ามีอาชีพเหล่านี้ อาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอด แต่ก็ขึ้นอยู่กับบริบทประเทศ เพราะตอนนี้ตามต่างจังหวัดก็ยังเป็นอาชีพแบบเดิมๆ อยู่

ถ้าในมุมของการศึกษา เรื่องการเรียนออนไลน์มันเข้ามาเยอะมาก อีกมุมคือ เรามองว่า กูเกิล ยูทูป เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่มาก ถ้าเราใช้เป็น แต่ก็ต้องรู้ว่าการศึกษาของเรามันทำให้เด็กรู้ไหมว่า เราจะใช้มันให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร แต่สุดท้ายมนุษย์จะปรับตัวได้ เพื่อการเอาตัวรอด

อาชีพที่เกิดขึ้นใหม่ก็คืออาชีพที่เกี่ยวกับนวัตกรรม หรืออาชีพที่จะไปเสิร์ฟนวัตกรรม เช่นในปัจจุบันมีการพูดถึงเอไอที่ช่วยรักษาคน การวิเคราะห์ของเอไอมันวิเคราะห์ได้ดีกว่าหมอ เพราะมีบิ๊กดาต้าเยอะ แต่ก่อนที่เอไอจะทำได้ก็ต้องเป็นหมอที่ใช้เจ้าตัวเอไอนี้ก่อน ดังนั้นเด็ก ๆ จะยังมีเวลาเตรียมตัวเยอะ” นรินทร์กล่าว

‘a-chieve’ ยังมีโปรเจกต์อีกมากมายที่จะทำต่อไปเพื่อให้เข้าถึงเด็ก ๆ ครู โรงเรียน มากขึ้น ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ เพียงเพื่อหวังจะเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับเด็ก ๆ ใช้เพื่อปูทางไปสู่ที่อนาคตที่ ‘ใช่’ อย่างแท้จริง

เหลือแต่เพียงตัวเด็กเองที่ตอนนี้ได้เปลี่ยนคำถามจาก ‘ไม่รู้จะเรียนอะไร’ เป็น ‘อนาคตจะทำอาชีพอะไร’ แล้วหรือยัง?

ชวนทำความเข้าใจวัยว้าวุ่นผ่านปรากฏการณ์เด็กไทยกับโซเชียลมีเดีย

ตั้งแต่หลังตื่นนอน แต่งตัว เรียนหนังสือ หรือกระทั่งกินข้าว เรามักจะได้ยินเสียงบ่นจากพ่อแม่ผู้ปกครองอยู่บ่อยครั้งถึงพฤติกรรมการเล่นสมาร์ทโฟนตลอดเวลาของเด็กๆ และวัยรุ่น ซึ่งสร้างความกังวลใจให้กับหลายครอบครัวที่เกรงว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อผลการเรียน ปัญหาด้านสุขภาพ หรือหนักเข้าการคุยแชตผ่านแอปพลิเคชั่นอาจจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดปัญหาอาชญากรรมความรุนแรงกับลูกๆ ของพวกเขาด้วยหรือไม่

ความกังวลทั้งหมดที่ว่านำมาสู่งานเสวนาที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักพิมพ์ Bookscape ภายใต้หัวข้อ “WHY WE POST: เข้าใจโลกใหม่ ของวัยรุ่นยุควุ่นเน็ต”

โดยวิทยากร 4 ท่าน 4 อาชีพ ได้แก่ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), อ.พรรณราย โอสถาภิรัตน์ ผู้ประสานงานโครงการจัดตั้งกลุ่มวิจัยด้านสื่อดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone, Brand Inside, ผู้บริหาร Wongnai และเกรียงไกร วชิรธรรมพร นักเขียนบทและผู้กำกับ ซีรีส์วัยรุ่นชื่อดังอย่างฮอร์โมน วัยว้าวุ่น ที่มาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยน ถกเถียงถึงปรากฏการณ์ที่เป็นกระแสมาอย่างต่อเนื่องในยุคนี้

ชวนทำความเข้าใจวัยว้าวุ่นผ่านปรากฏการณ์เด็กไทยกับโซเชียลมีเดีย thaihealth

ความต้องการเดิม แต่ย้ายพื้นที่ เปลี่ยนแพลตฟอร์ม วงสนทนาเปิดด้วยประเด็นที่ว่า สิ่งสำคัญที่วัยรุ่นโหยหาและต้องการมากที่สุด คือ คนที่เข้าใจและพร้อมจะพูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างเปิดรับซึ่งกันและกัน พื้นที่ที่เอื้อให้เกิดการรวมกลุ่มอย่างสะดวกสบายในยุคนี้ ไม่ใช่ตามห้างสรรพสินค้าเหมือนอดีต แต่เป็นการพูดคุยรวมกลุ่มผ่านสื่อโซเชียลมีเดียหลากแอปพลิเคชั่น

ชวนทำความเข้าใจวัยว้าวุ่นผ่านปรากฏการณ์เด็กไทยกับโซเชียลมีเดีย thaihealth

อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ​ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone, Brand Inside, ผู้บริหาร Wongnai อธิบายให้เราเห็นภาพชัดขึ้นว่า ในยุค 20-30 ปีที่แล้ว วัยรุ่นมักจะไปรวมตัวกันที่ “มอลล์” หรือห้างสรรพสินค้า จะไม่ได้มีกิจกรรมที่ชัดเจนว่านัดเจอครั้งนี้จะไปกินข้าว ดูหนัง หรือฟังเพลง เป็นเพียงการรวมกลุ่มคุยไปเรื่อย ๆ ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ตรงนี้หายไปด้วยปัจจัยหลายประการ ทั้งการจราจรที่ติดขัดมากขึ้น หรือพ่อแม่ผู้ปกครองที่เข้มงวดกวดขัน วัยรุ่นจึงต้องการระบายผ่านพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งนั่นก็คือ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียนั่นเอง

ชวนทำความเข้าใจวัยว้าวุ่นผ่านปรากฏการณ์เด็กไทยกับโซเชียลมีเดีย thaihealth

คล้ายกันกับที่ เกรียงไกร วชิรธรรมพร นักเขียนบทและผู้กำกับ ซีรีส์วัยรุ่นชื่อดังอย่างฮอร์โมน วัยว้าวุ่น ยกภาพตัวเองตอนเด็กเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมนักแคสต์เกมในปัจจุบันว่า สิ่งเหล่านี้คือวิวัฒนาการของแพลตฟอร์มที่เราต้องทำความเข้าใจ เมื่อ 20 ปีที่แล้วนักแคสต์เกมเหล่านี้ก็คือ คนที่เล่นเกม เก่ง ๆ ตามโซนเกมบนห้างสรรพสินค้าหรือที่คลองถม เด็ก ๆ อาจจะไม่ได้อยากเล่นเอง หรือยังไม่มีความสามารถพอที่จะเล่นในด่านนั้น ๆ เพียงแค่เขาได้นั่งดู คนที่เก่งกว่าเล่นให้ดูอีกทอดหนึ่งก็ทำให้มีความสุขได้

ชวนทำความเข้าใจวัยว้าวุ่นผ่านปรากฏการณ์เด็กไทยกับโซเชียลมีเดีย thaihealth

ทั้งหมดที่ว่ามานำไปสู่การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงมานุษยวิทยาโดย อ.พรรณราย โอสถาภิรัตน์ ผู้ประสานงานโครงการจัดตั้งกลุ่มวิจัยด้านสื่อดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า ยุคสมัยที่แตกต่างประกอบกับแพลตฟอร์มที่เปลี่ยนไป ทำให้คนยุคใหม่ต้องเปลี่ยนวิธีการรับมือกับเครื่องมือที่เปลี่ยนแปลงตามไปด้วยนั่นเอง

“หากเราลองย้อนกลับไปดูตั้งแต่สมัยกรีกโรมันที่เพิ่งมีการเขียนเกิดขึ้น คนยุคนั้นก็คิดกันว่าการเขียนจะทำให้เราสูญเสียความทรงจำหรือเปล่า พอมายุคนี้ที่มีสื่อโซเชียลมีเดียเกิดขึ้นมากมาย มันก็เกิดการตั้งคำถามถึงผลกระทบที่จะตามมาอีกเช่นกัน

ในแง่นี้การสื่อสารมันจึงมี range ของการใช้เครื่องมือต่าง ๆ อีกมาก มันไม่ใช่การแตกหักจากสิ่งเดิม แต่เป็นการเลือกว่าจะใช้อะไรมากกว่า อย่างเรื่องการชอบถ่ายเซลฟีของเด็ก ๆ หนังสือพิมพ์ต่างประเทศเขียนวิจารณ์ว่า เด็กสมัยนี้หลงตัวเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมนุษย์เราก็ชอบ เห็นตัวเองมาแต่ไหนแต่ไรแล้วตั้งแต่ยุคกรีกด้วยซ้ำ จะมาบอกว่าเพิ่งมีมันไม่ใช่ เพียงแต่คุณสมบัติของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปทำให้เรามองเห็นตัวเองในสื่ออื่น ๆ มากขึ้น”

ชวนทำความเข้าใจวัยว้าวุ่นผ่านปรากฏการณ์เด็กไทยกับโซเชียลมีเดีย thaihealth

“ชัวร์ก่อนแชร์” วัยรุ่นคัดกรองสื่อมากกว่าผู้ใหญ่

ปรากฏการณ์หนึ่งในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียที่ถูกพูดถึงบ่อย ๆ คือ การส่งต่อข่าวสารผ่านแอปพลิเคชั่น LINE ของคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ที่มักจะเข้าอีหรอบกลายเป็น “fake news” ซะส่วนใหญ่ การส่งต่อโดยไม่ได้ผ่านการกรองเช่นนี้กลายเป็นเรื่องติดตลกที่เด็ก ๆ มักจะหยิบมาเล่าสู่กันฟังอย่างขบขัน และนำมาซึ่งการตั้งคำถามของวัยรุ่นจนทำให้พวกเขาเรียนรู้และค่อนข้างเข้มงวดกับการแชร์มากขึ้น

เกรียงไกร เล่าว่า แพลตฟอร์มอย่างทวิตเตอร์ (Twitter) ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นมาก ด้วยวิธีการใช้งานที่เอื้อให้ “พูดลอยๆ” ได้ หมายความว่า ทวิตเตอร์ไม่จำเป็นต้องระบุตัวตนชัดเจนเท่ากับแอ็กเคานต์เฟซบุ๊ก หรือ อินสตาแกรม รวมถึงการกดฟอลโลว์แอ็กเคานต์อื่น ๆ วัยรุ่นก็ไม่ได้คำนึงถึงอัตลักษณ์ของอีกฝ่าย แต่พวกเขาตัดสินและทำความเข้าใจกันด้วยทัศนคติมากกว่า ทำให้ช่วงหลังเรามักจะเห็นแฮชแท็กที่คล้ายกับการส่งเสียงถึงสังคม หรือบรรดาผู้ใหญ่ในบ้านเมืองด้วยจำนวนที่ถี่มากขึ้น และข้อมูลที่เด็ก ๆ เหล่านี้ใช้ในการแลกเปลี่ยนก็เป็นข้อมูลที่ผ่านการสืบค้นข้อเท็จจริงมาแล้วทั้งสิ้น นอกจากพ่อแม่ที่เป็นตัวอย่างในการแชร์ข้อมูลแบบผิดๆ แล้ว สื่อใหญ่ระดับประเทศเองก็ผลักให้วัยรุ่นเหล่านี้ยิ่งต้องพยายามหาข้อมูลด้วยตัวเองมากขึ้นอีกแรงด้วย

“คนยุคเราจะรู้สึกว่าข่าวทางทีวีเป็นเรื่องจริง สิ่งที่นักข่าวหรือผู้ประกาศข่าวพูดจริง แต่เด็ก ๆ ทุกวันนี้เห็นความน่าจะเป็นที่หลากหลายขึ้น เห็นข่าวเลือกข้าง เห็นช่องทีวีเลือกข้าง สัญชาตญาณเขาจึงยิ่งต้องหาข้อมูลมากขึ้น ถ้าใครหาข้อมูลเยอะ ก็จะได้ชุดความจริงที่ใกล้เคียงกับความจริงมากขึ้น เราต้องเข้าใจว่าเด็กเขาก็หาทางรอดของตัวเองเหมือนกัน ผมเจอเด็กคนหนึ่งบอกว่า ไม่อยากเป็นเหมือนพ่อแม่ของเขา พอพ่อแม่เขาฟอร์เวิร์ดข่าวในไลน์มาให้กลายเป็นเด็กๆ รู้สึกว่ามันไม่จริง เขาไม่อยากเป็นแบบนั้น ส่วนหนึ่งตอนนี้ก็กลายเป็นคนค่านิยมเหมือนกันว่าคนที่แชร์แบบไม่อ่านคือไม่คูล เขาคัดกรองมากขึ้น”

ชวนทำความเข้าใจวัยว้าวุ่นผ่านปรากฏการณ์เด็กไทยกับโซเชียลมีเดีย thaihealth

แฟ้มภาพ

ความไม่ถาวรของข้อมูลและการแสดงตัวตน : ไอเดียใหม่ในโลกโซเชียล

นอกจากทวิตเตอร์ที่มีรูปแบบการใช้งานตอบโจทย์กับวัยรุ่นแล้ว อีกฟีเจอร์หนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากก็คือ ไอจีสตอรี่ ซึ่งมีวิธีการใช้งานใกล้เคียงกับแอปพลิเคชั่น ยอดนิยมในสหรัฐอเมริกาอย่างสแนปแชต (snapchat) คือเป็นการถ่ายรูป หรืออัดคลิปวิดีโอสั้น ๆ และข้อมูลเหล่านั้น จะทำลายตัวเองภายใน 24 ชั่วโมง อิสริยะ อธิบายถึงเหตุผลที่ฟีเจอร์เหล่านี้ ได้รับความนิยมว่าเป็นเพราะเราใช้สื่อโซเชียลมีเดียหนาแน่นจนเกินไป ในช่วง 5 ปีแรกอาจจะยังไม่ได้ตระหนักกันมากนัก แต่หากนับมาจนถึงตอนนี้อายุการใช้งานของเฟซบุ๊กในประเทศไทยได้ย่างเข้าสู่ปีที่ 15 เรียบร้อยแล้ว นับว่าเป็นห้วงเวลาที่ยาวนานมาก ไอเดียความถาวรของข้อมูลจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ

“เรานึกถึงวัฒนธรรมหนึ่งที่เวลาเรียนจะชอบเขียนหรือวาดรูปอะไรก็ไม่รู้ใส่กระดาษ จากนั้นก็ขยำกระดาษปาส่งต่อกับเพื่อนไปเรื่อย ๆ ถามว่าเราเก็บกระดาษแผ่นนั้นไว้มั้ย ก็ไม่ สแนปแชตหรือไอจีสตอรี่ก็คงจะมีไอเดียคล้าย ๆ กัน มันสะท้อนวิธีคิดแบบนี้ เราเอาไว้สื่ออารมณ์หรือตัวตนโดยที่เป็นการลดความถาวรของข้อมูลลงไปเท่านั้นเอง”

ส่วนแอปพลิเคชั่นมาแรงในหมู่เด็กประถมจนถึงวัยมัธยมอย่างติ๊กต่อก (TikTok) ที่เป็นการร้องเพลงเต้นประกอบไม่เกิน 44 วินาทีต่อหนึ่งคลิปวิดีโอ ผู้ใหญ่หลายคนก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมเด็ก ๆ ต้องร้องเพลง แสดงท่าทางประกอบแล้วอัพโหลดให้คนเข้ามาดูด้วย อิสริยะ บอกว่า สุดท้ายสิ่งเหล่านี้จะวกกลับไปเป็นคำอธิบายว่า วัยรุ่นต้องการพื้นที่และการยอมรับ         

“วิธีคิดของติ๊กต่อกมันคล้ายๆ กับสมัยเด็กๆ ที่เราชอบไปแอบยืนดูรุ่นพี่ดีดกีตาร์ มันเท่จังเลย ติ๊กต่อกก็คล้ายๆ กัน เพื่อนห้องข้างๆ เราก็ไม่ได้สวยนิ แต่ไปเต้นในติ๊กต่อกคนดู 10 ล้านคนแน่ะ” อิสริยะ อธิบายให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้น

ชวนทำความเข้าใจวัยว้าวุ่นผ่านปรากฏการณ์เด็กไทยกับโซเชียลมีเดีย thaihealth

วัยรุ่นกับการท้าทายชุดคุณค่าเดิม

“รัฐจะมองโซเชียลมีเดียแบบใดขึ้นอยู่กับว่ารัฐยึดอะไรอยู่ ถ้ายึดระบบเดิมก็อันตราย แต่ถ้ายึดการเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้ ก็เป็นเครื่องมือ” นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อธิบายถึงกระแสที่มีผู้ใหญ่ ในรัฐบาลออกมาแสดงความเป็นห่วงทำนองว่า วัยรุ่นไทยเสพติดสื่อโซเชียล มีเดียมากเกินไป คุณหมอบอกว่า หลักๆ เป็นเพราะสิ่งที่วัยรุ่นทำอยู่ ตอนนี้ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียเป็นการท้าทายชุดความจริงเดิมที่ผู้ใหญ่ยึดถือ มาตลอด คนที่ยึดติดหรือมีผลประโยชน์กับชุดคุณค่าเดิมจึงไม่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง

“มีช่วงหนึ่งที่แบงก์ชาติพยายามจัดการกับบิตคอยน์ แบงก์ชาติไม่ยอมรับเพราะบอกว่ามันเป็นสิ่งสมมุติ แต่ในความเป็นจริงเงินทองอะไรที่เขาดูแลอยู่มันก็คือสิ่งสมมุติเหมือนกัน แปลว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่รัฐพยายามกำกับ คือการพยายามรักษาสมมุติเดิมไม่ให้ถูกก่อกวน สิ่งนั้นต้องถูกจัดการ”         

นพ.ประวิทย์ ยังเสริมต่อด้วยว่า วัยรุ่นสมัยนี้มีวิธีการเล่นกับสื่อที่ฉลาดมาก ทุกครั้งที่มีการติดแฮชแท็กหรือพูดถึง “คนที่คุณก็รู้ว่าใคร” เขาจะไม่ใช้ชื่อเรียกแบบตรงๆ แต่จะใช้ฉายาบางอย่างที่เมื่ออ่านแล้วทุกคนจะเข้าใจตรงกัน การเลี่ยงด้วยวิธีการแบบนี้ทำให้แม้แต่กฎหมาย พ.ร.บ.ไซเบอร์ก็ไม่สามารถเอาผิด หรือหากผู้ใหญ่เหล่านั้นเอาเรื่องเอาราวก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ตัวเอง ดังที่คุณหมอกล่าวว่า “พวกคุณน่าขยะแขยงขนาดที่ไม่ได้ระบุชื่อคุณยังกระโดดมารับคำด่าเหล่านี้เลย”         

การอธิบายปรากฏการณ์การใช้โซเชียลมีเดียของวัยรุ่นในเวทีเสวนานี้ คงจะพอทำให้ผู้ใหญ่เข้าใจวัยรุ่น บุตรหลาน รวมถึงพนักงาน ลูกน้องที่อายุยังอยู่ในช่วงวัยรุ่นหรือเด็กจบใหม่ได้มากขึ้น

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
ภาพโดย สสส. และแฟ้มภาพ

เปิดวิถีออนไลน์…เด็กไทยกับภัยใกล้ตัว

สสดย.-สสส. เปิดโพลเด็กไทยเล่นเกมออนไลน์ เกือบร้อยละ 90 เฉลี่ย 3-5 ชั่วโมง/วัน วันหยุดทะลุสูงสุดเกิน 8 ชั่วโมง/วัน ห่วง ยิ่งเล่นนาน ห้าม ยิ่งก้าวร้าว รุนแรง ส่วน ROV ครองแชมป์เกมที่เด็กไทยเล่นมากที่สุด แนะรับมือภัยจากกลั่นแกล้งออนไลน์ นิ่งเฉย-บล็อก-ขอคำปรึกษา-เก็บหลักฐานเพื่อแจ้งความ หนุนสร้างความฉลาดทางดิจิทัลให้เด็กและครอบครัว

วันที่ 27 พ.ย. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ จัดการเสวนาเรื่อง “เปิดวิถีออนไลน์…เด็กไทยกับภัยใกล้ตัว” จัดโดยสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) โดยดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก นายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน(สสดย.) กล่าวถึงผลการวิจัยเชิงสำรวจ ในหัวข้อ “สถานการณ์การเล่นเกมออนไลน์ของเด็กไทย” ประจำปี 2562 โดยได้สำรวจนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และชั้นประกาศนียบัตรขั้นสูง (ปวส.) 3,056 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนก.ย. – ต.ค. ที่ผ่านมา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 2,730 คน หรือร้อยละ 89.33 เคยเล่นเกมออนไลน์ โดยเล่นเกมเกือบทุกวัน ร้อยละ 64.66 เฉลี่ย 3-5 ชั่วโมง ทั้งในวันธรรมดาและวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หากเป็นเด็กในพื้นที่กรุงเทพฯ ร้อยละ 8.1 จะใช้เวลาเล่นเกมมากกว่า 8 ชั่วโมงในวันหยุด ส่วนใหญ่จะเล่นที่บ้านหรือหอพัก ร้อยละ 71.22 ปัจจัยที่สนับสนุนมาเล่นเกมออนไลน์มากที่สุด คือเพื่อนชักชวนหรือให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รองลงมาคือเห็นข้อมูลต่างๆ จากสื่อออนไลน์ และความเข้าใจว่า E-Sport เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ตามลำดับ

เปิดวิถีออนไลน์...เด็กไทยกับภัยใกล้ตัว thaihealth

ดร.ธีรารัตน์ กล่าวต่อว่า ผลสำรวจยังพบว่า เกมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของเด็กไทย คือ ROV ร้อยละ 51.38 รองลงมา คือ PUBG MOBILE ร้อยละ 18.21 และ Free Fire ร้อยละ 15.53 ซึ่งจากการวิจัยพบข้อน่าเป็นห่วงคือ กลุ่มตัวอย่างที่เล่นเกม STARCRAFT 2 และ TAKKEN 7 จะมีระดับการแสดงออกถึงอารมณ์ที่รุนแรง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เล่นเกม MOBILE LEGENDS จะมีระดับการแสดงออกของพฤติกรรมความรุนแรงสูง และกลุ่มตัวอย่างที่เล่นเกม MOBILE LEGENDS  และเกม FIFA ONLINE จะมีระดับความรุนแรงของภาษาที่ใช้ในการสื่อสารที่สูงเช่นกัน นอกจากนี้พบว่า ความเข้าใจถึงคำว่า “E-sport” จากกลุ่มตัวอย่างพบว่ากว่าร้อยละ 60.29 คิดว่า E-Sport คือกีฬา และมีพฤติกรรมการเล่นเกมที่นานมากกว่า ผู้ที่ไม่คิดว่า E- Sport เป็นกีฬา

ประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายกับเกมออนไลน์ พบว่า  ร้อยละ 25.13 เคยเสียเงินค่าใช้จ่ายในการเล่มเกมออนไลน์ มากกว่า 500 บาทต่อเดือน ถึงร้อยละ 30.9 ส่วนเรื่องการพนันกับเกมออนไลน์กลุ่มตัวอย่างทราบว่ามีการพนันร้อยละ 54.83 ขณะที่ผู้เคยเล่นการพนันกับเกมออนไลน์ส่วนใหญ่เสียเงินประมาณไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน  ผลการวิจัยยังพบด้วยว่า หากยิ่งเล่นเกมเป็นเวลานานมากขึ้น ก็ยิ่งสัมพันธ์กับอาการและพฤติกรรมความรุนแรงที่มากขึ้นตามไปด้วย เกิดการใช้คำหยาบที่ไม่เหมาะสมกับช่วงวัย รวมถึงจะมีอารมณ์ความรุนแรง หากถูกห้ามไม่ให้เล่นเกม

เปิดวิถีออนไลน์...เด็กไทยกับภัยใกล้ตัว thaihealth

ดร.ธีรารัตน์ กล่าวถึงการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพประเด็นการลั่นแกล้งทางออนไลน์ด้วยว่า จากการจัดสนทนากลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 50 คน พบว่า การกลั่นแกล้งทางออนไลน์มีอยู่ทั้งหมด 7 รูปแบบได้แก่ การก่อกวน ข่มขู่คุกคาม การให้ร้ายใส่ความ การแกล้งแหย่ การเผยแพร่ความลับ การกีดกันออกจากกลุ่ม การแอบอ้างชื่อ การสร้างบัญชีปลอม การขโมยอัตลักษณ์ และการล่อลวง ซึ่งรูปแบบที่ถูกกลั่นแกล้งมากที่สุดคือการถูกก่อกวน ข่มขู่คุกคาม คิดเป็น ร้อยละ 50 ทั้งนี้ เมื่อสอบถามถึงวิธีการรับมือเมื่อเกิดการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ ผู้ถูกกลั่นแกล้งรังแก จะใช้รูปแบบวิธีการสื่อสารต่างๆ เพื่อรับมือหลายรูปแบบ โดยรูปแบบการรับมือที่ได้ผลตามลำดับคือ

  1. การนิ่งเฉยไม่ตอบโต้
  2. การตัดความสัมพันธ์ บล็อก ไม่ปรากฏตัว
  3. การขอคำปรึกษา จากพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครู
  4. เก็บหลักฐานเพื่อแจ้งความดำเนินคดี

เปิดวิถีออนไลน์...เด็กไทยกับภัยใกล้ตัว thaihealth

​ดร.นพ.ไพโรจน์  เสาน่วม  รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อ และสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สสส. กล่าวว่า ภัยจากการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กไทย ทั้งการแสดงออกทางพฤติกรรมและทางอารมณ์ที่รุนแรงเมื่อเด็กเล่นเกมเป็นเวลานาน การพนันในเกมที่เด็กสามารถเข้าเล่นได้ตลอดเวลา และผลกระทบต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ทั้งยังพบว่าเวลานี้เด็กต้องเผชิญกับการกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ (Cyberbullying) ในหลายรูปแบบ จนอาจนำไปสู่การทำร้ายตนเองและผู้อื่นทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ และทางสังคม โดยเฉพาะกรณีการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ภาคส่วนต่างๆจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการสร้างความฉลาดทางดิจิทัลให้กับเด็กและเยาวชนควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เท่าทันต่อกระบวนการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ เช่น สอนให้เด็กจัดการตัวตนและชื่อเสียงออนไลน์ รับผิดชอบต่อการกระทำบนโลกออนไลน์ สอนให้ใช้เวลาออนไลน์อย่างพอเหมาะพอดี ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ การงาน และชีวิตด้านอื่น สอนให้ยืดหยุ่น เข้มแข็ง รับมือกับการกลั่นแกล้งได้ดี  สอนให้รักษาความปลอดภัย ตั้งรหัสผ่าน ป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ และการโจมตีระบบ สอนให้รักษาความเป็นส่วนตัว ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ สอนให้คิดวิเคราะห์ สืบค้น แยกแยะ ไม่เชื่อทุกอย่างที่เห็นหรือรับมา สอนให้ตระหนักว่าการกระทำบนโลกออนไลน์ย่อมมีร่องรอยให้ตามสืบตามตัวได้เสมอ และสุดท้าย คือการสอนให้เข้าใจ อภัย เห็นอกเห็นใจคนอื่น บริหารจัดการอารมณ์ตนเองบนโลกออนไลน์

เปิดวิถีออนไลน์...เด็กไทยกับภัยใกล้ตัว thaihealth

​“ส่วนประเด็นเด็กติดเกมผู้ปกครองต้องให้ความสำคัญในเนื้อหาของเกมที่ลูกเล่น ว่าเหมาะสมหรือไม่อย่างไร พ่อแม่ควรมีส่วนร่วมในการเลือกเกมให้ลูกโดยมีส่วนร่วมในการเลือกและตัดสินใจซื้อหรือเล่นกมต่างๆ ด้วย ควรเข้าไปเล่นเกมกับเด็กด้วย เพราะนอกจากจะได้เข้าไปกำกับดูแลเนื้อหาในเกมแล้วยังได้สังเกตดูพฤติกรรมและการตอบสนองของลูกต่อเกมต่างๆ รวมถึงการจำกัดเวลาในการเล่นของลูกให้ชัดเจน ให้คำแนะนำปลูกฝังบอกให้ลูกรู้ผลดีผลเสียในด้านต่างๆ ของการเล่นเกมมากเกินไป ที่สำคัญหากิจกรรมเสริมที่น่าสนใจ เช่น ชวนลูกไปเล่นกีฬา สร้างสรรค์งานศิลปะ ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร อ่านหนังสือ ทัศนศึกษา ให้ความรู้ความเข้าใจ สร้างภูมิคุ้มกันให้เท่าทันสื่อ คู่ขนานกับการส่งเสริมสื่อสร้างสรรค์” ดร.นพ.ไพโรจน์  กล่าว

ที่มา : สำนักข่าวสร้างสุข
ภาพประกอบจาก สสส.

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า