ห้องสมุดประชาชนเทศบาลนครอุดรธานี ห้องสมุดมีชีวิต และกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อบริการประชาชน
นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค พื้นที่เรียนรู้ด้านสุขภาวะที่มีชีวิตผ่านนิทรรศการ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะ และสื่อการเรียนรู้สุขภาวะเพื่อสร้างประสบการณ์และแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตามบริบทและความต้องการของคนในพื้นที่ |
ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค ณ อุทยานการเรียนรู้ยะลา
TK park: หนังสือ + ดนตรี + กิจกรรม + มัลติมีเดีย = จินตนาการไม่รู้จบ โดย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ ร่วมสร้างสรรค์สังคมการเรียนรู้โดยการสร้างทัศนคติ และนิสัยรักการอ่าน การคิด และการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ในกลุ่มเด็กและเยาวชนนอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค พื้นที่เรียนรู้ด้านสุขภาวะที่มีชีวิตผ่านนิทรรศการ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะ และสื่อการเรียนรู้สุขภาวะเพื่อสร้างประสบการณ์และแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตามบริบทและความต้องการของคนในพื้นที่
ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค ณ ศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา
เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ได้ให้ความสำคัญในด้านการพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ เป็นพื้นฐานในการพัฒนาเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้า จึงได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ขึ้นเพื่อสร้างบรรยากาศสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ทางเลือกในการเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา โดยบูรณาการความรู้ทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับสากล แบ่งเป็น 9 โซน ได้แก่
- ห้องสมุดเด็กเป็นอุทยานการเรียนรู้ที่สนุกสนานเหมาะสมกับจินตนาการของวัยเด็ก
- ห้องสมุดดนตรีเป็นพื้นที่รวมสื่อสร้างสรรค์ทางดนตรี เสียงเพลง
- ห้องสมุดมีชีวิตสำหรับประชาชนในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือและสื่อมัลติมีเดียที่หลากหลาย
- โรงละครเคซีซีเป็นโรงละครทันสมัยสำหรับการจัดฉายภาพยนตร์และเป็นเวทีการแสดง
- จัตุรัสนัดฝันเป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ
- ห้องปล่อยแสงเป็นห้องจัดนิทรรศการส่งเสริมความรู้ งานศิลปะ และผลงานคุณภาพ
- บ้านของเราเป็นหอประวัติศาสตร์เมืองฉะเชิงเทรา นำเสนอข้อมูลด้วยภาพเคลื่อนไหวและจอภาพระบบสัมผัสขนาดยักษ์
- โซนมัลติมีเดียเป็นพื้นที่การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์หลากหลายรูปแบบ เพื่อการเรียนรู้และงานบันเทิง
- ห้องสมุดไอทีเป็นห้องคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และโปรแกรมต่างๆ ที่เน้นการปฏิบัติจริง ตั้งแต่การใช้ขั้นพื้นฐานจนถึงระดับมืออาชีพ
นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค พื้นที่เรียนรู้ด้านสุขภาวะที่มีชีวิตผ่านนิทรรศการ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะ และสื่อการเรียนรู้สุขภาวะเพื่อสร้างประสบการณ์และแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตามบริบทและความต้องการของคนในพื้นที่
ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาลำปาง
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาลำปาง (Lampang Science Centre for Education) พื่อบริการแก่กลุ่มเป้าหมาย 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน
มีบริการเพื่อการศึกษาหลากหลาย ดังนี้
กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์
ค่ายสนุกคิดส์กับวิทยาศาสตร์ (ระดับประถมศึกษา)
ค่ายอัจฉริยะทักษะวิทยาศาสตร์ (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น)
ค่ายถอดรหัสสัมผัสวิทยาศาสตร์ (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)
ค่ายไขความลับฉบับวิทยาศาสตร์ (กศน.)
ค่ายสนุกคิดส์กับวิทยาศาสตร์ (ระดับประถมศึกษา)
- ค่ายอัจฉริยะทักษะวิทยาศาสตร์ (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น)
- ค่ายถอดรหัสสัมผัสวิทยาศาสตร์ (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)
- ค่ายไขความลับฉบับวิทยาศาสตร์ (กศน.)
นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค พื้นที่เรียนรู้ด้านสุขภาวะที่มีชีวิตผ่านนิทรรศการ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะ และสื่อการเรียนรู้สุขภาวะเพื่อสร้างประสบการณ์และแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตามบริบทและความต้องการของคนในพื้นที่
ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด
ออกแบบมาจากศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนอีสาน เช่น อาคารรูปทรงกระติบข้าว อาคารรูปทรงประทุนเกวียน อาคารรูปทรงหวดนึ่งข้าว ได้แก่ อาคารนิทรรศการหลัก อาคารหอประชุม อาคารท้องฟ้าจำลอง และอาคารปฏิบัติการสื่อ รวมทั้งภูมิสถาปัตย์ภายนอกอาคาร ภายในอาคารมีนิทรรศการที่ติดตั้งแล้วเสร็จ
จำนวน 11 นิทรรศการ ได้แก่ นิทรรศการโลกล้านปี นิทรรศการวิทยาศาสตร์พื้นฐาน นิทรรศการดาราศาสตร์และอวกาศ นิทรรศการเทคโนโลยีชีวภาพ นิทรรศการขุมทรัพย์แห่งทุ่งกุลา-เกลือสินเธาว์ นิทรรศการพลังงานนิวเคลียร์เพื่ออนาคต นิทรรศการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ นิทรรศการพลังงานไฟฟ้า นิทรรศการตระหนักรู้ด้านพลังงาน นิทรรศการท่องแดนเอกภพ นิทรรศการสุขพอดี ชีวิตดีพอ เริ่มต้นวันนี้ที่ตัวคุณ
นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค พื้นที่เรียนรู้ด้านสุขภาวะที่มีชีวิตผ่านนิทรรศการ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะ และสื่อการเรียนรู้สุขภาวะเพื่อสร้างประสบการณ์และแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตามบริบทและความต้องการของคนในพื้นที่
ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กรุงเทพฯ
แหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านสุขภาวะที่มีชีวิต เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้การสร้างสุขภาวะอย่างสร้างสรรค์ ทั้งในรูปนิทรรศการ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนและสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ที่มาจากการประสานพลังของเครือข่ายในทุกภาคส่วน
“เลี้ยงลูกอย่างไรให้ดี…ทั้งที่ครั้งหนึ่งตัวเองเคยมีภาวะซึมเศร้า”
ที่ในวันนี้… เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ “คุณแม่ตุ๊ก นิรัตน์ชญา การุณวงศ์วัฒน์” คุณแม่ที่มีลูกสาว ที่ทั้งเก่ง ฉลาด น่ารัก และเป็นธรรมชาติด้วยกันถึง 2 คน อย่าง น้องจิน และ น้องเรนนี่ รวมทั้งเป็นเจ้าของแฟนเพจเฟสบุ๊ค Little Monster และ A Mom 2 Dauthers แล้วยังเป็นเจ้าของช่องยูทูปที่ทำคอนเทนต์เรื่องของเด็ก ๆ และครอบครัวอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะใน Little Monster Family, Little Monster Kids รวมถึงในอินสตาแกรม ที่ใช้ชื่อว่า littlemonsterrocknroll ฯลฯ ที่มียอดผู้ติดตามทั้งสิ้นในทุก ๆ แพลตฟอร์มเกือบ 5 ล้านคน ณ ปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเคยได้รับรางวัล Best Influencer on Social Media 2018 สาขา Kids and Family (ผู้มีอิทธิพลบนโซเชียลมีเดียยอดเยี่ยม กลุ่มเด็กและครอบครัว) จนเรียกได้ว่าเป็นตัวแทนของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ในครั้งหนึ่งเคยประสบกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด จนแทบไม่มีเรี่ยวแรงที่จะทำอะไรเลยด้วยซ้ำ
วันนี้เราจึงนำเอาบทสัมภาษณ์ของคุณแม่ตุ๊ก ที่ได้นำเอาเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ในช่วงที่ตัวเองมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Baby Blue) ออกมาถ่ายทอดผ่านมุมของคุณแม่สีเทาๆ ให้ทุกคนได้รับรู้กัน ว่ากว่าจะผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนั้นมาได้ จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับคุณแม่ทั้งหลาย ที่ประสบกับสภาวะแบบเดียวกันในช่วงเวลาแบบนั้น คุณแม่ตุ๊กมีวิธีในการจัดการกับสภาวะทางจิตใจของตนเองอย่างไร รวมถึงมีวิธีการอย่างไรในการดูแลน้อง ๆ ที่น่ารักทั้งสองจนถึงทุกวันนี้บ้าง…
“ช่วงนั้นตัวตุ๊กเองก็ไม่แน่ใจค่ะว่าจะต้องจัดการกับตัวเองยังไง เพราะเพิ่งมีลูกคนแรก แค่รู้ว่ามันมีอาการผิดปกติ เหมือนไม่ใช่ตัวเราเลย ก็ลองไปเสิร์ชหาข้อมูล ถามเพื่อน ๆ แล้วก็ไปปรึกษาคุณหมอ ซึ่งอาการตอนนั้นเราแค่รู้สึกว่าการเป็นแม่จะต้องไม่ใช่แบบนี้ จะต้องแฮปปี้มีความสุขเวลาที่ได้อุ้มลูกเลี้ยงลูกหรือดูแลลูกสิ เพราะภาพที่เราเห็นตามสื่อฯ หรือเห็นเพื่อน ๆ ที่มีลูกเค้าก็โพสกันและดูมีความสุขมาก แล้วทำไมเราถึงไม่เป็นแบบนั้น ไม่ได้อยากอุ้มลูกหรือทำอะไรเลย อยากนอนเฉย ๆ อย่างเดียว ตอนนั้นก็เลยรู้สึกว่าน่าจะมีความผิดปกติแน่ ๆ สรุปคือคุณหมอบอกว่าที่เราเป็นมันอาจเกี่ยวกับการเผชิญกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน บวกกับการใช้ชีวิตแตกต่างออกไปจากเมื่อก่อนโดยสิ้นเชิง (หักดิบ) และทำตรงข้ามกับที่เคยทำหมดทุกอย่างก่อนมีน้อง แล้วมันก็คงเป็นความนอยด์ของเราเองด้วย ที่พอมีลูกตุ๊กหมกตัวอยู่แต่ในบ้านในห้องสี่เหลี่ยมแคบ ๆ กับลูกแค่ 2 คน ไม่ได้ออกไปเจอใคร ก็เลยมีความเครียดสะสม คุณหมอก็เลยให้เราค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันจนอาการค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะหายไปในทันที กว่าจะกลับมาปกติได้ก็นานอยู่ แต่พอเป็นเรนนี่ (ลูกคนที่2) ก็ย้ายมาอยู่บ้านหลังใหญ่ขึ้น มีคนอยู่ด้วยเยอะ เลยทำให้เราไม่รู้สึกเหมือนอยู่ตัวคนเดียว เลยสามารถตั้งรับกับสภาวะนั้นได้ง่ายขึ้น ภาวะหลังคลอดเรนนี่ก็จะมีแค่เครียดง่าย นอยด์ง่าย ร้องไห้ง่ายแค่นั้น แต่เป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ไม่นานเหมือนตอนจิน ตอนจินสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกโทษตัวเองมาก ๆ ก็คือ ตุ๊กไม่สามารถอาบน้ำให้ลูกเองได้ ต้องให้พี่เหว่งช่วย เราก็เลยยิ่งโทษตัวเองว่าเป็นแม่ที่ไม่ดี คือเซ้นท์ซิทีฟมาก มองฟ้าก็ร้องไห้ โลกมันเป็นสีเทา ๆ มันแย่ แล้วอีกอย่างคือการที่เราเล่นโซเชี่ยลมีเดีย มันยิ่งทำให้อาการยแย่ลง เพราะเราเห็นว่าคนอื่นเค้าโอเค เหมือนมีแต่เราคนเดียวที่เป็นแบบนี้ อาการก็เลยยิ่งหนักขึ้น”
“กว่าจะดีขึ้นก็ใช้เวลานานพอสมควรค่ะ คุณหมอแนะนำว่าให้เราหาอะไรที่ชอบทำให้รู้สึกผ่อนคลายตุ๊กเริ่มวาดรูป แล้วก็เขียนอะไรเก็บไว้เพื่อระบายสะสมไปเรื่อย ๆ จากนั้นก็เอามาคุยกับพี่เหว่งว่าอยากทำเพจที่พูดถึงด้านนี้ของแม่ ๆ บ้าง ด้านที่มันไม่ได้สวยหรูอย่างเดียว เพราะถ้ามีแม่คนอื่นที่เป็นเหมือนเรา เค้าจะได้รู้สึกว่าไม่ได้เผชิญชะตากรรมอยู่คนเดียวนะ มีคนอื่นที่เป็นแบบเราเหมือนกัน ซึ่งตอนนั้นก็ใช้เวลาเป็นปีเลยค่ะกว่าจะเริ่มตั้งเพจและกลายเป็นจุดเปลี่ยน ซึ่งเราตั้งต้นเพจขึ้นมาเพราะว่าอยากทำ เพราะมีแง่มุมที่แตกต่างอยากนำเสนอ ช่วงแรกจะเป็นแนวคอมมูนิตี้ของแม่ ๆ ที่มาคุยกันอะไรแบบนี้”
“สำหรับการเลี้ยงลูกๆ ช่วงที่เริ่มเข้าโรงเรียน… ตัวตุ๊กเองก็ลองผิดลองถูกมากค่ะสำหรับลูกคนแรก ตั้งแต่วันเข้าเรียนวันแรกเลย ตอนนั้นก็เลยสะบักสะบอมกันไปทั้งแม่ทั้งลูก แต่พอเป็นลูกคนที่สองเราเริ่มมีประสบการณ์มากขึ้นแล้ว ก็เลยรู้สึกว่ามันช่วยให้เรนนี่ปรับตัวได้เร็วขึ้น ส่วนเรื่องการดูแลเค้าในชีวิตประจำวันเราก็จะใช้วิธีการในแบบค่อยเป็นค่อยไปทั้งคู่นะคะ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การสอนการบ้าน หรือการใช้ชีวิตต่าง ๆ บางอย่างต้องสอนให้เค้าทำได้ด้วยตัวเองเพื่อเป็นการช่วยเค้าตอนเข้าโรงเรียนด้วย ซึ่งตอนนี้สิ่งที่ต้องทำให้ดีที่สุดเลยกลายเป็นเรื่องของการแบ่งเวลาของเราเองให้ดีมากกว่า ทั้งในเรื่องของการทำงาน แล้วก็การดูแลเค้าทั้งสองคน เพราะมันยากมาก ๆ เราทำงานที่บ้านด้วยเลยไม่มีเวลาว่างเลย พอลูกไปโรงเรียนเราก็จะต้องเคลียร์งาน ประชุมกับน้อง ๆ ในทีม ซึ่งยังไม่นับรวมงานบ้าน เพราะพอลูกกลับมาจากโรงเรียนเราก็จะทำไม่ได้แล้ว”
“ยิ่งถ้าเป็นตอนปิดเทอมนี่คือแทบจะไม่ได้ทำงานเลย แต่โชคดีที่มีพี่เหว่งช่วยกันดูแลเรื่องงานที่บริษัท ดังนั้นถ้าถึงช่วงปิดเทอมสิ่งที่บ้านเราทำก็คือจะพาเค้าไปต่างจังหวัดบ้าง เพราะบ้านเรามีธุรกิจ แฟมมิลี่ การ์เด้น (ที่สามพราน จ.นครปฐม) เค้าก็เลยจะอยู่ที่นั่นกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะมันมีกิจกรรมให้เค้าทำเยอะ ไม่ว่าจะเป็นเดินเล่น เลี้ยงปลา เล่นชิงช้า วาดรูป ฯลฯ เราก็เลยจะไม่ค่อยได้ไปไหนไกล ก็ให้เค้าได้เล่นอิสระในขอบเขตที่เรากำหนด ไม่ถึงกับฝืนแล้วบังคับว่าจะต้องทำอะไรแบบไหน ตัวพี่เหว่งเองเค้าจะชัดเจนในเรื่องการเลี้ยงลูกมาก เค้าจะค่อนข้างให้อิสระลูก แล้วก็เน้นเลี้ยงลูกตามธรรมชาติของเขา ไม่ได้อัดกิจกรรมให้กับเค้าจนแน่น แต่พี่เหว่งเค้าจะเน้นในเรื่องของการสอนสิ่งต่าง ๆ แบบเฉพาะเจาะจงลงไปมากกว่า อยากให้เค้าเชี่ยวชาญด้านนี้ตรง ๆ ไปเลย เพราะพี่เหว่งเค้ามองว่าสังคมในยุคนี้ เราไม่จำเป็นต้องรู้ทุกด้านก็ได้ แต่จะต้องเก่งวิชาใดวิชาหนึ่งแบบเจาะลึกได้ อย่างจินเราจะซับพอร์ตเค้าตลอดเรื่องศิลปะ เพราะรู้ว่าเค้าชอบ เค้าอยากทำกระเป๋าที่เป็นชื่อของตัวเองเป็นลายที่วาดเอง เราก็พร้อมซับพอร์ตเพื่อให้เค้าได้ภาคภูมิใจในตัวเองว่าสิ่งที่เค้าคิดและทำมันเป็นจริงได้แล้วมันก็ขายได้ด้วยนะ อาจจะดูเร็วไปหน่อย แต่พี่เหว่งเอง เค้าก็อยากให้ลูกได้เรียนรู้เรื่องการสร้าง แบรนด์ไว้ ค่อยๆ ซึมซับไปทีละนิดก็ยังดีค่ะ”
“ถ้าถามว่าอยากจะฝากอะไรถึงคุณพ่อคุณแม่และน้อง ๆ ตอนนี้… จริง ๆ ก็มีหลายคนที่เข้ามาปรึกษาตุ๊กเหมือนกันนะคะว่าจะให้ลูก ๆ ไปทำอะไรดีในช่วงปิดเทอม ตุ๊กก็แนะนำไปว่า ทำอะไรก็ได้ที่พ่อกับแม่สะดวกดีกว่าค่ะ มีเวลาก็พาเค้าไป แค่แบ่งเวลาให้ลูก และไม่อัดตารางกิจกรรมให้เขาจนแน่นหรือแพลนให้หมดทุกเรื่อง ตุ๊กว่าเราปล่อยให้ลูก ๆ เบื่อบ้างก็ได้นะคะ เพราะพอเค้าว่าง หรือเบื่อ เค้าก็จะหาอะไรที่ชอบมาทำเอง เราก็จะได้เห็นความชอบจริง ๆ ของเค้าด้วย มันช่วยให้ง่ายขึ้นในการค้นหาตัวเองตอนโต อย่างตุ๊กเองตอนเด็ก ๆ พอปิดเทอมพ่อแม่ก็ให้เราออกไปเล่นนอกบ้าน ให้เราได้คิดว่าจะเล่นจะทำอะไร ซึ่งตรงนั้นก็มีส่วนช่วยให้เราได้คิดเอง วิเคราะห์เองว่าควรไหม เหมาะสมไหม คือพ่อแม่เราจะค่อนข้างให้อยู่กับความเป็นจริงค่ะ อะไรที่มันเกินไปท่านก็จะบอกเลยว่าไม่ และตรงนี้ตุ๊กว่ามันเป็นเรื่องของการส่งต่อการเลี้ยงดูด้วย ว่าพ่อแม่เราเลี้ยงเรามายังไง โตมาแบบไหนเราก็จะเลี้ยงลูกของเราไปในแบบนั้นค่ะ”
ดังนั้นคุณแม่ที่กำลังประสบกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอยู่ ก็คงจะพอเบาใจลงได้บ้างว่า ไม่ได้มีเพียงแค่คุณคนเดียวเท่านั้นที่จะต้องทุกข์ และเผชิญกับสภาวะทางอารมณ์แบบนี้ แต่ยังมีคุณแม่ตุ๊ก ผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์ร่วมแบบเดียวกันนี้มาแล้ว ที่เต็มใจอย่างยิ่ง ที่จะมาบอกเล่าถึงเรื่องราวต่าง ๆ ในมุมของตัวเอง รวมทั้งถ่ายทอดวิธีการที่พอจะช่วยเหลือ หรือสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย
10 วิธีที่จะทำให้ลูกของคุณหลงรักการอ่าน
“ยิ่งอ่านมาก ยิ่งรู้มาก”
มีคนพูดคำนี้นับล้านๆ ครั้งเพื่อจูงใจใครสักคนให้เริ่มเห็นความสำคัญของการอ่านหนังสือ เพราะความ “รู้มาก” ในที่นี้ หากกล่าวกับเด็ก มันอาจจะหมายถึงการเรียนรู้ที่จะเริ่มต้นสร้างอนาคตซึ่งต้องปูพื้นฐานกันตั้งแต่ยังเด็ก หรือในโรงเรียนที่การอ่านล้วนมีผลต่อทุกๆ วิชา แต่จะทำอย่างไรให้เด็กๆ หลงรักการอ่านมากขึ้น วันนี้เรามีวิธีง่ายๆ มานำเสนอ
1. ให้พวกเขาเลือกสิ่งที่อยากอ่านด้วยตัวเอง
การได้เลือกสิ่งที่ตัวเองอยากอ่าน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นการ์ตูน นิทาน นิยาย จะทำให้เขามีความสุขและรักที่จะอ่านไปตลอดชีวิต และการได้มีส่วนร่วมในการเลือกสิ่งที่เขาชื่นชอบด้วยตนเองก็มีแนวโน้มที่เขาจะจดจำข้อมูลต่างๆเอาไว้ได้
2. เลือกหนังสือให้เหมาะสมกับวัยของลูก
ใช่…ด้านบนเราบอกให้ปล่อยให้เด็กๆ เลือกหนังสือที่ชอบด้วยตัวเอง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะสามารถปล่อยให้เขาเลือกแบบสุ่มสี่สุ่มหน้าได้หรอกนะ อย่างน้อยหนังสือที่นำมาให้เขาเลือกก็ต้องเหมาะสมกับวัยของพวกเขา เพื่อให้เป็นการจุดประกายให้เกิดความหลงไหลในการอ่าน ลองชวนเขาไปห้องสมุด ร้านหนังสือ หรืองานหนังสือต่างๆ การเข้าถึงตัวเลือกที่หลากหลายนั้นทำให้ผู้ปกครองสามารถช่วยให้เด็กค้นพบเรื่องราวที่ทำให้พวกเขาเข้าถึงโลกแห่งการอ่านได้ง่ายขึ้น
3. ทำทุกวันให้เป็นวันแห่งการอ่าน
“อ่านด้วยตา แต่พัฒนาที่สมอง” ลองจัดช่วงเวลาในทุกๆวันให้เป็นเวลาอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นเราอ่านให้เขาฟัง หรือให้เขาอ่านให้เราฟัง เมื่ออ่านจบแล้วลองตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องให้เด็กๆ ตอบ เช่น ส่วนไหนของเรื่องที่เขาชอบที่สุด สิ่งนี้สามารถทำให้เด็ก ๆ ได้สนุกกับการพูดคุย เลือกคำศัพท์ที่ชอบ และพัฒนาความสนใจต่อสิ่งต่างๆ ที่เหมือนกับเนื้อเรื่อง การทำให้การอ่านเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน จะทำให้เด็กๆ ได้รู้จักกับข้อมูลความรู้ใหม่ๆ แนวคิด คำศัพท์ รวมไปถึงการออกเสียงและความหมายที่ถูกต้องของเรื่องราวและศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในหนังสือนั้นด้วย
4. ไม่ว่าอะไร-ที่ไหน-อย่างไร ก็อ่านได้
สร้างนิสัยรักการอ่านและช่างสังเกตโดยการ จัดวางหนังสือ นิตยสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สามารถอ่านได้ไว้ในที่ที่เห็นได้ อย่าลืมชักชวนให้พวกเขาอ่านด้วย นอกจากนี้เวลาออกนอกบ้าน มันจะน่าตื่นตาตื่นใจมาก หากคุณชักชวนเด็ก ๆ อ่านเมนูอาหาร ชื่อภาพยนตร์ ป้ายริมถนน คู่มือเกม รายงานสภาพอากาศ และข้อมูลอื่น ๆ ที่ใช้งานได้ทุกวัน การอ่านจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเด็กไปโดยผู้ใหญ่แทบไม่ต้องบังคับหรือหาวิธีการที่แยบยลอะไรเลย
5. อ่านหนังสือด้วยความลุ่มหลงและสนุก
แม้ว่าคุณจะอ่านนิทานก่อนนอนบางเรื่องเป็นร้อยๆ รอบแล้ว แต่ทุกครั้งที่เริ่มอ่านครั้งใหม่ คุณต้องทำการแสดงที่แตกต่างออกไปอย่างสนุกสนาน นั่นจะทำให้เด็กๆ หวนกลับมาลุ่มหลงนิทานเรื่องนั้นได้ราวกับว่าได้ยินมันเป็นครั้งแรก คุณต้องคิดแล้วล่ะว่า คืนนี้จะเข้าสู่บทบาทในนิทานเรื่องอะไร
6. แสดงให้เด็กรู้ว่า การอ่านมันดีมากนะ
เมื่อเด็กๆ หรือตัวคุณเองต้องทำอะไรใหม่ ลองหาเวลาอ่านวิธีการทำด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นประกอบตุ๊กตาใหม่ กติกาเกมใหม่ นิทานเล่มใหม่ ให้เด็กรู้ว่าคุณกำลังอ่านอะไรและทำไมคุณถึงรักการอ่าน เด็ก ๆ มักจะเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ในสภาพแวดล้อมของพวกเขา อ่านด้วยกันแล้วพวกเขาจะเห็นว่าการอ่านมีประโยชน์มากแค่ไหน
7. หาเพื่อนอ่าน
อาจจะเป็นผู้ปกครอง คุณครู เพื่อนบ้าน หรือผู้ใหญ่คนใดก็ตามที่รู้สึกมีความสุขที่จะได้รับฟังเรื่องราวการอ่านในแบบเด็กๆ มีรายงานว่า วิธีการนี้จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีเกินคาด เพราะการอ่านให้คนหนึ่งคนที่ตั้งใจฟัง เด็ก ๆ จะมั่นใจมากขึ้น เพราะบางครั้งก็จะได้รับคำชมเป็นการส่วนตัวจากคนฟัง ที่สำคัญเพื่อนอ่านคนนี้จะสามารถสอนสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างเด็กๆ อ่านเรื่องราวให้ฟังได้ด้วย
8. อ่านซีรี่ส์
การให้เด็กๆ ได้อ่านหนังสือที่เป็นซีรี่ส์ มีตัวละครนำเดียวกันเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ หรือมีธีมเรื่องที่คล้ายคลึงกันเป็นเรื่องง่ายมาก และ เมื่อเด็ก ๆ มีประสบการณ์ในเชิงบวกกับหนังสือเล่มหนึ่ง ก็มีแนวโน้มว่าพวกเขาอ่านเล่มต่อๆ ไปด้วย ซึ่งนั่นทำให้ปัญหาในการหาหนังสือให้อ่านแทบจะหมดไป สำหรับซีรี่ส์ที่เป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ อาทิ กัปตันกางเกงใน (The Captain Underpants), ไดอารี่ของเด็กไม่เอาถ่าน (Diary of a Wimpy Kid), A Classic Case of Dr. Seuss, Dragon Slippers, Warriors, Holes, Anne of Green Gables, Spirit Animals, The Penderwicks, คู่หูผจญภัยล่าขุมทรัพย์สุดขอบโลก (X-Venture Xplorers ) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ทุกซีรี่ส์ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กชั้น ป.3 อาจจะยังไม่รู้สึกสนุกกับการอ่านแฮร์รี่ พ็อตเตอร์ เท่ากับเด็กที่โตกว่านั้นก็เป็นได้
9. ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย
ในยุคที่เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คน โดยที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงมันได้ แต่เทคโนโลยียังช่วยให้นักเรียนที่เติบโตในยุคของสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันทั่วไปเป็นอีกหนึ่งทางออกที่พวกเขาคุ้นเคยเพื่อการเติบโตและเรียนรู้ เราอาจจะเพิ่มเทคโนโลยีเช่น แท็บเล็ต หรือ e-reader สำหรับอ่านหนังสือให้เด็ก เพื่อให้รู้สึกมั่นใจของนักเรียนเพิ่มขึ้น
การสร้างความภาคภูมิใจในตนเองผ่านเทคโนโลยีที่ใช้และทักษะการอ่านที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบเชิงบวกต่อพื้นที่อื่น ๆ ในชีวิตของเด็กๆ ได้
10. อย่าลืมคำชมเชย
เมื่อเด็กๆ อ่านหนังสือจบหนึ่งเล่ม หรืออ่านถูกต้องในหนึ่งบท คำชมเชย หรือการแสดงท่าทางในเชิงบวกต่อเด็กๆ ล้วนเป็นตัวการขับเคลื่อนที่ดีสำหรับการอ่านครั้งต่อๆ ไป เพราะเด็กจะรู้สึกมั่นใจในความสามารถของตนเองมากขึ้น
หรืออาจจะสร้างเป็นบอร์ดสำหรับเก็บสถิติในการอ่านหนังสือของเด็กๆ ก็ได้ เช่น แยกประเภทของหนังสือที่เด็กๆ อ่าน แล้วมาดูว่า เล่มต่อไปเขาจะเลือกอ่านหนังสือประเภทไหน
“The more that you read, the more things you will know. “ยิ่งเราอ่านมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งรู้มากขึ้นเท่านั้น
The more that you learn, the more places you’ll go.”
ยิ่งเราเรียนรู้มากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีสถานที่ที่เราจะไปมากขึ้นเท่านั้น”
Dr. Seuss, I Can Read With My Eyes Shut!
ดร.ซูสส์ นักสร้างสรรค์หนังสือเด็ก จากหนังสือ I Can Read With My Eyes Shut!
10 กิจกรรมที่ส่งเสริมสมาธิเด็ก หยุดเด็กสมาธิสั้น ด้วยความรักยาวๆ ของพ่อแม่
ไม่ใช่เพียงปัญหาติดเกมส์ หรือภาวะอารมณ์รุนแรง เท่านั้นที่เป็นปัญหาสำคัญที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรร่วมมือกันแก้ แต่ปัญหาที่กำลังคุกคามการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก รวมไปถึงปิดกั้นการเรียนรู้และพัฒนาการที่ดีของเด็กที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ “สมาธิสั้น”
ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเด็กหลายคนถูกเลี้ยงดูตามเทคโนโลยีที่รวดเร็วเกินไปจนทำให้เด็กไม่มีโอกาสที่จะจดจ่อกับอะไรได้เป็นเวลานาน ซึ่งหากปล่อยให้ไว้จนกลายเป็นโรคสมาธิสั้นในเด็กแล้วนั้น ถึงแม้ว่าไม่ได้มีผลต่อระดับสติปัญญา และพฤติกรรมที่ซุกซนมากผิดปกติเกินกว่าเด็กในวัยเดียวกัน แต่เมื่อเป็นโรคสมาธิสั้นแล้ว อาจจะเป็นต้นเหตุให้โรคอื่นๆ ตามมา เช่น โรควิตกกังวล, ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้, โรคซึมเศร้า, โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์, โรคดื้อ (Oppositional defiant disorder หรือ ODD) เป็นโรคที่ส่งผลให้มีอาการต่อต้านกฎระเบียบทุกรูปแบบ, โรคเกเร (Conduct disorder) ทำให้เกิดพฤติกรรมในแง่ลบ เช่น โกหก ขโมยของ ใช้กำลัง หรือล้อเลียนผู้อื่น, กลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Tourette syndrome) เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติทางระบบประสาททำให้มีพฤติกรรมซ้ำๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ หรืออุทานคำหยาบเมื่อตกใจโดยไม่สามารถควบคุมได้, ปัญหาทางการนอนหลับ หรือพฤติกรรมปัสสาวะรดที่นอน เป็นต้น
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันหรือแก้ไขในเบื้องต้น วันนี้เราจึงมีกิจกรรมที่จะทำให้เด็กสามารถมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่สำคัญให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และมีพัฒนาการที่ดีต่อจิตใจและร่างกายด้วย โดยก่อนอื่นต้องให้เด็กๆ นั่งติดที่ ให้ได้เสียก่อน สามารถทำได้โดยการ เรียกร้องให้เด็กสนใจจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยมีการกำหนดช่วงเวลาและระหว่างนั้น ให้เปิดโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต และเครื่องมือสื่อสารทั้งหมด สิ่งที่ต้องเห็นอย่างเด่นชัดทั้งคุณลูกและผู้ปกครองก็คือ นาฬิกาและอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการเรียกสมาธิ ซึ่งตัวอย่างกิจกรรมง่ายๆ ที่ใช้เรียกสมาธิลูกมีดังนี้
เล่นทราย
ใช่แล้ว ทราย พื้นๆ บ้านๆ อันเป็นการเล่นที่เบสิกมากๆของเด็กๆ ทุกคนนี่แหละ ที่สามารถฟื้นฟูสมาธิให้เด็กๆ ได้ วิธีการง่ายๆ โดยการพาเด็กๆ ไปเล่นที่สวนสาธารณะหรือสร้างกระบะทรายขึ้นเองสำหรับเด็กๆ ที่บ้านก็ได้ โดยมีวิธีการเล่นทรายให้ได้ทั้งสมาธิและวิธีคิดสร้างสรรค์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น วาดรูปจากกองทราย, ก่อปราสาททราย, หรือจะเอาทรายมาผสมสีแล้วบรรจุลงในขวดให้เป็นทรายหลายสีหลายชั้นก็ได้ นี่เป็นแค่ตัวอย่างง่าย ที่เรานำมาฝากกัน และหากว่าคุณพ่อคุณแม่ หรือเด็กๆ คนไหน มีไอเดียเฉิดกว่านี้ ก็ไม่ได้ผิดกติกานะจ๊ะ
ต่อภาพจิ๊กซอว์หรือปริศนาอักษรไขว้
คุณสามารถฝึกและเสริมสร้างสมาธิให้กับเด็กๆ รวมไปถึงการวางแผนและการบริหารความจำด้วยการเล่นเกมอย่าง ปริศนาอักษรไขว้หรือต่อจิ๊กซอว์ได้ หรือจะเป็นการเล่นเกมโฟโต้ฮันท์ที่ต้องฝึกการจับผิดภาพ เหล่านี้จะช่วยให้เด็กได้ฝึกสมาธิรวมทั้งได้ถึงเอาความสามารถต่างๆ ออกมาใช้ อย่างความจำ อีกด้วย
ฟรีซ!!
อารมณ์คล้ายเก้าอี้ดนตรี แต่แทนที่เมื่อเพลงจบทุกคนจะหาเก้าอี้ของตัวเองเพื่อนั่งลง ก็กลายเป็นว่าทุกคนต้องทำตัวนิ่งๆ ฟรีซตัวเองให้อยู่กับที่แทน โดยผู้ปกครองสามารถเลือกให้คละเคล้ากันได้ทั้งเพลงช้าและเพลงเร็ว รวมไปถึงเพลงเร็วมากกกกกก เพื่อให้เด็กๆ ได้เต้นให้เข้ากับจังหวะ หรือจะท้าทายสมาธิของเด็กๆ โดยการเต้นให้ตรงกันข้ามกับจังหวะเพลงก็ได้ อย่างให้เต้นช้าๆ เมื่ออยู่ในจังหวะเพลงเร็ว
อ่านหนังสือให้ฟัง
คิดตามแล้วอาจจะรู้สึกธรรมดา แต่ความธรรมดานั้นกลับแฝงมาด้วยคุณค่าที่มากมายเลยทีเดียวสำหรับกิจกรรมอย่างชวนลูกอ่านหนังสือ เพราะเมื่อเด็กๆ อ่านหนังสือ ความสนใจทั้งหมดจะมุ่งไปที่เรื่องราวในหนังสือโดยทิ้งโลกที่เหลือไว้เบื้องหลัง ดังนั้น ลองใช้เวลาสัก 15-20 นาทีก่อนไปโรงเรียน หรือก่อนนอนชวนคุณลูกอ่านหนังสือ ลูกของคุณจะมีสมาธิมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
ชวนดูทีวี
เงื่อนไขสำคัญอยู่ที่ว่า ทีวี หรือรายการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต จะต้องผ่านการคัดเลือกโดยพ่อแม่เพื่อให้เหมาะสมกับความรู้และวัยของเด็กๆ และต้องระวังเป็นอย่างยิ่งว่า เด็กที่มีอายุ 2 ขวบขึ้นไป สามารถเลียนแบบพฤติกรรมในรายการที่พวกเขาดูได้แล้ว เมื่อเลือกรายการที่ดีและกระตุ้นความสนใจของเด็กๆ เป็นที่เรียบร้อย ก็ให้ตั้งหัวข้อขึ้นมาจากนั้นให้พ่อแม่ลูกช่วยกันพูดคุยเกี่ยวกับรายการที่เพิ่งได้ดูจบไป ซึ่งนั่นหมายความว่า เด็กๆ จะต้องใช้มีสมาธิกับการดูรายการนั้นๆ มากทีเดียว
เลือกเล่นเกมส์สสร้างสมาธิจากแอปพลิเคชั่นหรือคอมพิวเตอร์
อย่างเพิ่งหันหลังให้กับอินเทอร์เน็ตเสียทีเดียว เมื่อมันยังมีประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถหรือสมาธิของเด็กๆ อยู่บ้าง ลองเลือกเกมให้เด็กๆ ได้เล่นดูบ้าง ซึ่งในปัจจุบันก็มีมากมายหลายเว็บ และหลายแอปพลิเคชั่น ลองเข้าไปหาข้อมูลและลองเล่นเกมสนุกๆ ที่
- https://www.mentalup.co/concentration-games
- https://www.memory-improvement-tips.com/free-online-memory-games.html
สร้างกิจกรรมที่กำหนดเวลา
เพื่อให้เด็กมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้ามากที่สุด จำเป็นต้องมีการกำหนดเวลาสำหรับทำสิ่งต่างๆ โดยให้เวลานั้นสั้นเพื่อให้ดึงดูดพอที่เด็กจะไม่ละความสนใจออกจากกิจกรรมนั้นไปได้ ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมเขียนคำศัพท์ โดยให้ผู้ปกครองหรือครู เลือกตัวอักษรขึ้นมา 1 ตัว จากนั้นให้เด็กๆ เขียนคำศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรนั้นให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดเช่น 1 นาที โดยเกมนี้สามารถเล่นเดี่ยว คู่ หรือเล่นเป็นทีมเพื่อเพิ่มความสนุกสนานก็ได้
ทำขนมกันเถอะ
กิจกรรมอย่างทำขนมง่ายๆ สามารถทำให้เด็กๆ จดจ่ออยู่กับที่ได้นานกว่ากิจกรรมอื่นอีกหลายกิจกรรม เพราะพวกเขาต้องทั้งดูตำราอาหาร ต้องเตรียมส่วนผสม และยังต้องสร้างสรรค์หน้าตาของเจ้าอาหารที่พวกเขาทำขึ้นมาอีกด้วย ลองเลือกเมนูน่ารักๆ อย่าง คุกกี้ หรือ โดนัท ให้เด็กๆ ได้ครีเอทคุกกี้ หรือหน้าตาของโดนัทให้เป็นรูปต่างๆ แล้วคุณจะพบว่านอกจากสมาธิจะมากขึ้นแล้ว ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ ยังเจิดจ้าขึ้นอีกด้วย
เกมเหรียญฝาแฝด
เกมนี้นอกจากจะสร้างสมาธิแล้วยังเพิ่มความจำอีกด้วย โดยพ่อแม่หรือคุณครูต้องมีเหรียญสำหรับเล่นเกมมากสักหน่อย จากนั้นตัวเองก็จัดเรียงเหรียญตามลำดับความชอบต่อหน้าเด็กๆ โดยบอกให้พวกเขาตั้งใจดูกองเหรียญพวกนี้ให้ดี แล้วเอากระดาษหรือกล่องมาครอบไว้เพื่อกันไม่ให้ใครเห็น จากนั้นให้เด็กๆ จัดเรียงเหรียญให้เหมือนกับที่พ่อแม่เรียงไว้ทุกอย่าง ทั้งขนาดและจำนวนของเหรียญโดยมีการจับเวลา หากหมดเวลาแล้วให้จดเวลาที่ทำเสร็จเอาไว้ด้วย และหากที่เด็กๆ ทำออกมายังไม่ถูกต้อง ก็ให้พวกเขาลองใหม่จนกว่าจะถูกต้องครบสมบูรณ์ ด้วยวิธีการเล่นเกมนี้ สมาธิและสมองในส่วนความจำของเด็กจะเพิ่มขึ้นมาทีเดียว
งีบหลับ
ช่วงเวลาที่สมาธิของเด็กจะดีที่สุดคือช่วงเวลาหลังจากที่ได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ ดังนั้นการที่ได้ปล่อยให้เด็กๆ นอนหลับพักผ่อนเป็นเวลาสัก 20 นาทีหลังเลิกเรียน หรือช่วงบ่าย ก็เป็นตัวกระตุ้นสมาธิที่ดี นี่ยังไม่รวมถึงการให้เด็กๆ ได้อาบน้ำอย่างสะอาดและดูแลให้พวกเขาอิ่มท้องก่อนที่จะเริ่มเรียน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ด้วย เพราะความเหนียวเหนอะหนะ รวมไปถึงความหิว มันลดทอนสมาธิของเจ้าตัวเล็กได้มากทีเดียว
นอกจากการงีบหลับซึ่งเป็นการสร้างสมาธิแบบผ่อนคลายที่สุดแล้ว กิจกรรมที่ต้องการเรียกสมาธิเด็กๆ ได้ดีที่สุดคือกิจกรรมที่ต้องมีการกระตุ้นให้เด็ก ได้คิด ได้ฝึกความทรงจำ ระหว่างที่ทำกิจกรรมนั้นๆ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ เหล่าผู้ปกครองและคุณครูที่จะเลือกกิจกรรมที่ตรงกับวัยและความต้องการของตัวเด็กที่เรารักด้วยตัวเองเรา
ข้อมูลประกอบบทความ
ไอติมหวานเย็นจากผลไม้ไทย
ส่วนประกอบ
- น้ำผลไม้สด เช่นน้ำส้ม น้ำมะพร้าว (หากไม่มีใช้น้ำเชื่อมได้ค่ะ)
- ผลไม้สดไทย เช่น ลำไย แตงโม มะพร้าว ส้ม (เลือกตามชอบได้เลย)
- พิมพ์สำหรับทำไอติม
วิธีทำ
- เตรียมน้ำผลไม้ (คั้นน้ำส้มไว้ ผสมน้ำเชื่อมเล็กน้อย ชิมรสตามชอบ)
- นำผลไม้สดตามต้องการ มาหั่นให้ได้ขนาดตามต้องการแล้วพักไว้
- ใส่ผลไม้ที่เตรียมไว้ลงในพิม ตามด้วยน้ำมะพร้าว หรือ น้ำส้มที่ได้เตรียมไว้ แล้วไปแช่ช่องฟรีส
- เสร็จแล้วจ้า!! ไอติมหวานเย็นแบบไทยๆ ชื่นใจจริงๆ
จดหมายข่าวประจำเดือนพฤศจิกายน 2562
DIY ผ้าปิดตาจากเศษผ้า
ผ้าปิดตาจากเศษผ้า
อุปกรณ์
- เศษผ้านุ่มๆ หรือเสื้อยืด
- แบบผ้าปิดตา ขนาด 7.5 x 3.5 นิ้ว
- เข็ม ด้าย กรรไกร
- สายยางยืด ขนาด 13 นิ้ว
วิธีทำ
- เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ข้างต้น
- วางแบบที่เตรียมไว้บนผ้าที่เตรียมไว้ 2 ชิ้น ตัดตามแบบ โดยเว้นระยะขอบเพิ่มอีกประมาณ 1 ซม.
- เมื่อตัดเสร็จแล้ว จะได้ผ้าตามแบบ 2 ชิ้น
- วางยางยืดกึ่งกลางเพื่อทำสัญลักษณ์เว้นขอบไว้ทั้ง 2 ฝั่งก่อนเย็บ
- เย็บรอบๆ โดยวิธีด้นถอยหลัง (เว้นช่องตามภาพที่ 4 ไว้) เมื่อเย็บเสร็จ ให้กลับผ้าด้านในออกด้านนอก
- ใส่ยางยืดเข้าไปในช่องที่เว้นไว้ แล้วเย็บปิดให้เรียบร้อยทั้ง 2 ฝั่ง เป็นอันเสร็จสิ้น