พิพิธภัณฑ์มูเซอดำ

พิพิธภัณฑ์มูเซอดำจัดตั้งขึ้นโดยศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดตาก อยู่ในบริเวณตลาดชาวเขาดอยมูเซอ ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง คือส่วนแรกที่เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ภายในมีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับ สมุนไพรชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของชาวมูเซอดำ เช่น “ยะคินี” นำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย “คีข่าเนี่ยเว” หรือ “จะค่านแดง” นำมาดองเหล้าหรือต้มน้ำดื่มทำให้เลือดลมหมุนเวียนดีขึ้น และ “หมี่ซึนะ” หรือ “ขมิ้นดำ” ใช้ผสมกับอาหารเป็นยาแก้ท้องอืด เป็นต้น เครื่องดนตรี เครื่องประดับของชาวมูเซอดำ เช่น แหละก่อต่า (กำไลข้อมือของเด็กผู้ชาย) อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือการเกษตร นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการที่บอกเล่าความเป็นมาของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีของชาวมูเซอดำ เช่น เรื่องราวของงานแต่งงาน ภาพถ่ายที่สะท้อนความเป็นอยู่ตามวิถีชนเผ่า เป็นต้น ส่วนอาคารที่สองมีการจัดแสดงเกี่ยวกับเส้นสายลายปัก เป็นงานฝีมือการปักผ้าของชาวเขาทั้ง 6 เผ่า คือ ลีซอ แม้ว อาข่า เย้า กะเหรี่ยง มูเซอ ส่วนอาคารสุดท้ายเป็นศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวแก่ผู้สนใจ

ห้องสมุดรถไฟ สถานีรถไฟหัวหิน

สถานที่นี้จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของ 4 หน่วยงานคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเทศบาลเมืองหัวหิน โดยริเริ่มของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่มีแนวคิดในการนำรถไฟเก่ามาปรับปรุงให้เป็นห้องสมุดรถไฟ เพื่อสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อให้บริการทางด้านการศึกษาค้นคว้าและจัดเป็นแหล่งการเรียนรู้แก่นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ภายในได้ปรับปรุงรถไฟจำนวน 2 ตู้ มีหนังสือ และสื่อต่างๆ ที่น่าสนใจอยู่ภายใน มีมุมไว้สำหรับอ่านหนังสือและให้ความรู้

หมู่บ้านศิลปิน หัวหิน

หมู่บ้านศิลปินหัวหินก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2550 โดยคุณชุมพล ดอนสกุล นักสะสมผลงานศิลปะร่วมกับศิลปิน ทวี เกษางาม สานอุดมการณ์แห่งความรักที่มีต่องานศิลป์ บังเกิด แกลเลอรี่ศิลปะ โดยมีสตูดิโอของแต่ละศิลปินปลูกสร้างอย่างเรียบง่าย แฝงตัวในเนื้อที่ รวม 9 ไร่ ศิลปินกลุ่มนี้ได้รังสรรค์ผลงานออกสู่สาธารณชนอย่างสม่ำเสมอ ภายในมีการจัดแสดงนิทรรศการแสดงผลงานของเหล่าศิลปินระดับประเทศ มีการแบ่งโซนการจัดแสดงเป็น 4 โซนได้แก่ โซนที่ 1 หอศิลป์แสดงผลงานศิลปะ จัดแสดงผลงานศิลปินชั้นครูที่หาชมได้ยากยิ่งและส่วนศิลปะร่วมสมัยของศิลปินปัจจุบัน โซนที่ 2 ที่พำนักและสตูดิโอสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ของเหล่าศิลปินกลุ่มเมืองหัวหิน โซนที่ 3 บ้านดินแสดงผลงานประติมากรรมดินเผา โดยนายดีและแม่องุ่น โซนที่ 4 บ้านวาดเขียน สอนวาดภาพสร้างสุขในใจได้ทั้งครอบครัว โดยครูนาง

พิพิธภัณฑ์จีนโบราณ

พิพิธภัณฑ์จีนโบราณ  ตั้งอยู่ ณ ศาลา 100 ปีตรีนาม วัดวังก์พง ตรงข้ามค่ายธนะรัชต์  เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมวัตถุจัดแสดงต่างๆ มาจากเมืองจีน อาทิ

  • องค์พระอรหันต์จี้กง ขนาดใหญ่เท่ากับคนจริง แกะสลักด้วยไม้กฤษณา
  • ภาพแกะสลักหินสีโบราณ
  • ภาพเจ้าแม่กวนอิม 18 อรหันต์
  • ภาพวาดลงในกระจกโดยเขียนจากด้านหลัง แล้วภาพไปปรากฏด้านหน้า

การเรียนรู้ด้วยตัวเอง: อิสระ ไม่ต้องสอบ ให้ผลลัพธ์ชี้วัดตัวเอง โรงเรียนไม่ใช่เงื่อนไข

ถ้าพูดถึง ‘การเรียนรู้ด้วยตัวเอง’ (self-directed learning) ขึ้นมาแบบลอยๆ เราคงจินตนาการไม่ออกว่า การเรียนรู้ด้วยตัวเองเป็นแบบไหน แต่ถ้ายกตัวอย่าง การฝึกฝนของนักกีฬาหรือนักดนตรี น่าจะทำให้เห็นภาพการเรียนรู้ด้วยตัวเองชัดมากขึ้น

การเรียนรู้ด้วยตัวเองไม่ต่างจากการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ สำหรับนักกีฬา พวกเขาต้องฝึกซ้อมอย่างหนักก่อนการแข่งขัน ยิ่งซ้อมมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเองมากเท่านั้น

การฝึกซ้อมจึงไม่ใช่การพัฒนาฝีมือไปต่อสู้กับผู้อื่นอย่างที่เห็นจากภายนอก แต่เป็นการฝึกฝนเพื่อพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น สร้างจุดแข็งให้แข็งแรงและซ่อมเสริมจุดอ่อน ทั้งร่างกายและจิตใจ แล้วเมื่อตัวเองมีความพร้อม การลงสนามแข่งจึงไม่ใช่เรื่องน่าหวาดกลัว แต่กลับเป็นความท้าทาย

การซ้อมไม่เคยจบเมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง ไม่ว่าผลจะออกมาแพ้หรือชนะ ไม่ว่าจะมีโค้ชหรือไม่มี ผลลัพธ์ในสนามแต่ละครั้งเป็นตัวชี้วัดให้นักกีฬาแต่ละคนรู้ว่าพวกเขาควรพัฒนาตัวเองต่อไปอย่างไรอีก

นักดนตรี นักร้องเองก็ไม่ต่างกัน สำหรับนักดนตรี พวกเขาอาจมีบางท่อนที่เล่นไม่ได้ นักร้องหลายคนมีโน้ตที่ร้องไปไม่ถึง พวกเขาอาจได้รับคำแนะนำจากผู้รู้ แต่สุดท้ายการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่อง จากความพยายามของตัวเองเท่านั้นที่จะช่วยพัฒนาทักษะฝีมือของพวกเขาก่อนเผยแพร่ผลงานสู่สายตาผู้ชมและผู้ฟัง

ตัวอย่างที่ว่ามา ตอกย้ำประโยคคุ้นหูที่ว่า “การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ถ้าไม่หยุดพัฒนาตัวเอง”

การเรียนรู้ด้วยตัวเอง (self-directed learning) มีประโยชน์อย่างไร?

บิล เกตส์ (Bill Gates) มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) และ เอลเลน ดีเจนเนอรีส (Ellen DeGeneres) เมื่อเอ่ยถึงบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ชื่อพวกเขาปรากฏขึ้นมาเป็นตัวอย่างอยู่เสมอ เราจะไม่โฟกัสตรงการตัดสินใจลาออกจากการเรียนในมหาวิทยาลัยของพวกเขา แต่ปัจจัยความสำเร็จสำคัญที่พวกเขามีเหมือนกัน คือ ‘การเรียนรู้ด้วยตัวเอง’

การเรียนรู้ด้วยตัวเองช่วยให้เราเพิ่มพูนทักษะความรู้ใหม่ๆ ตามความชอบและความสนใจได้อย่างอิสระ ไม่ต้องถามเรื่องความสำเร็จ เพราะความสำเร็จเกิดขึ้นได้แน่นอนหากผู้เรียนเรียนรู้ที่จะกำกับตัวเอง

ในเมื่อเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ ทำไมต้องไปโรงเรียน?

แม้มีการศึกษายืนยันอย่างชัดเจนว่า ทุกคนสามารถสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ แต่นักการศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัยทางสมอง ก็มีความเห็นตรงกันว่า

“มันไม่ใช่เรื่องง่าย”

การเรียนรู้ด้วยตัวเองเป็นเรื่องท้าทายสำหรับทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ แต่จะเป็นเรื่องน่ายินดีมากหากเด็กและเยาวชนหันมาให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้วยตัวเองมากขึ้น เพราะอย่างที่บอกว่าการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เป็นการเรียนรู้ที่เป็นอิสระ และสร้างความสุขสนุกสนานได้มากกว่าการรอให้พ่อแม่หรือครูป้อนข้อมูลเข้าสมอง การไปหรือไม่ไปโรงเรียนจึงไม่ใช่เงื่อนไข

การศึกษาโดย มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู ประเทศแคนาดา (University of Waterloo, Canada) ได้ค้นพบกุญแจ 4 ดอกสำคัญ ที่จะช่วยผลักดันให้การเรียนรู้ด้วยตัวเองเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง และเป็นแนวทางการเรียนรู้ที่ยั่งยืนเฉพาะตัวบุคคล

  • กุญแจดอกที่หนึ่ง ความพร้อมที่จะเรียนรู้ (Being Ready to Learn/ Assess Readiness to Learn)

แต่ละคนมีทักษะและทัศนคติต่อการเรียนรู้ไม่เหมือนกันเลย เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การประเมินความพร้อมในการเรียนรู้ของตัวเอง ส่วนจะถูกต้องแม่นยำแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่า เรายอมรับความจริงและซื่อสัตย์กับตัวเองมากน้อยแค่ไหน ลองถามตัวเองด้วยชุดคำถามต่อไปนี้…

รู้สึกอย่างไรกับการเรียน?

ผลการเรียนตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร?

รู้สึกอย่างไรกับการบ้าน? ทำการบ้านส่งทุกครั้งหรือเปล่า?

ถ้าไม่ใช่การเรียนในห้องเรียน ชอบทำอะไร?

ที่บ้านมีคนช่วยสอนการบ้านไหม? พ่อแม่มีส่วนช่วยเรื่องการเรียนอย่างไรบ้าง?

ชอบไปโรงเรียนไหม เพราะอะไร? ถ้าไม่ชอบ เพราะอะไร? ฯลฯ

คำตอบที่ได้จากคำถามข้างต้นทั้งหมด จะชี้ให้เห็นทัศนคติส่วนตัวที่มีต่อการเรียน ความมีวินัยในตัวเอง ความสามารถในการจัดการตัวเอง เช่น การแบ่งเวลาเรียนแบ่งเวลาเล่น ทักษะด้านการสื่อสาร ความสามารถในการรับฟังความคิดเห็นและคำแนะนำเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการประเมินและสะท้อนตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ

  • กุญแจดอกที่สอง มีเป้าหมายในการเรียนรู้ (Setting Learning Goals)

เป้าหมายที่ว่าไม่ใช่แค่เป้าหมายเฉพาะตัวบุคคล สำหรับการเรียนในห้องเรียน ครูและนักเรียนจะต้องสื่อสารและทำความเข้าใจร่วมกัน

ครูจะต้องบอกนักเรียนได้ว่าการเรียนการสอนแต่ละบทเรียนนั้น มีไปเพื่ออะไร นักเรียนจะได้ทำอะไรบ้าง แล้วผู้ปกครองจะมีส่วนร่วมอย่างไร เช่น มาช่วยเป็นวิทยากร หรือช่วยเตรียมอุปกรณ์ให้ลูก

เกณฑ์การประเมินผลวัดจากอะไร ใครเป็นผู้ประเมินบ้าง เช่น ครูเป็นผู้ให้ข้อเสนอแนะ หรือให้โอกาสผู้ปกครองมีส่วนร่วมประเมินผลนักเรียนด้วย เป็นต้น

ส่วนเมื่อใช้เวลาอยู่กับครอบครัว ผู้ปกครองช่วยวางแผนการเรียนรู้ได้จากการพาลูกๆ ทำกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต

  • กุญแจดอกที่สาม มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ (Engaging in the Learning Process)

นอกจากเช็คพื้นฐานความพร้อมแล้ว การเรียนรู้ด้วยตัวเองเกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนเข้าใจความต้องการของตัวเอง เด็กๆ ต้องรู้ใจตัวเองว่า อยากเรียนรู้เรื่องอะไร ถ้าไม่ชอบเรียนในห้องเรียน แล้วชอบเรียนแบบไหน การรู้จักตัวเองนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อโรงเรียนและผู้ปกครอง เปิดพื้นที่ให้เด็กได้ลองคิดลองทำกิจกรรมต่างๆ อย่างหลากหลายนอกเหนือจากการท่องจำในตำรา

ผู้ปกครองสามารถช่วยลูกค้นหาคำตอบด้วยคำถามต่อไปนี้…

ลูกชอบครูคนไหนมากที่สุด? เพราะอะไร?

ทำไมลูกถึงชอบครูคนนี้ วิธีที่ครูสอนต่างจากครูคนอื่นอย่างไร? ฯลฯ

ในเชิงวิชาการวิธีการเรียนรู้มีอยู่ 3 ระดับ ได้แก่ การเรียนรู้แบบลุ่มลึก (deep approach) การเรียนรู้แบบผิวเผิน (surface approach) และการเรียนรู้แบบกลยุทธ์ (strategic approach)

การเรียนรู้แบบกลยุทธ์ การเรียนรู้แบบนี้เป็นลักษณะเดียวกับการติวเพื่อให้ทำข้อสอบได้ เพื่อให้ได้คะแนนสูงที่สุด เป็นการเรียนรู้จากการทำข้อสอบ และการท่องจำชุดความรู้เพื่อนำไปใช้ตอบคำถาม แต่ไม่ได้ฝึกกระบวนการคิด

การเรียนรู้แบบผิวเผิน เป็นการเรียนในกรอบเพื่อตอบโจทย์ผลสัมฤทธิ์ แตกต่างกับแบบแรกอยู่เล็กน้อยตรงที่องค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้จะมีสเกลกว้างกว่าตามบทเรียนหรือหัวข้อหลักของแต่ละหน่วยการสอน แต่ก็ยังหนีการท่องจำไม่พ้น

การเรียนรู้แบบลุ่มลึก ต่อยอดการเรียนรู้แบบผิวเผิน เป็นการปรับใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้เข้ากับสถานการณ์ในชีวิตจริง มีความสนใจหรือตั้งคำถามต่อยอดจากความรู้ที่มีอยู่เดิม

การเรียนรู้อย่างอิสระด้วยตัวเองจะต้องใช้การเรียนรู้แบบลุ่มลึก เพื่อให้ผู้เรียนเชื่อมต่อตัวเองกับการเรียนรู้และเป็นแรงจูงใจในการศึกษาค้นคว้าต่อจากสิ่งที่สนใจ

หลายครั้งนำมาสู่การทดลอง ลงมือทำ ซึ่งอาจได้ผลลัพธ์ตามที่คาดไว้หรืออาจล้มเหลว กำลังใจจากครอบครัว และครูผู้สอน จึงมีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เป็นการเสริมแรงไม่ให้พวกเขาย่อท้อหรือล้มเลิกความตั้งใจกลางคัน ด้วยเหตุนี้ ‘ความอดทนและพยายาม’ จึงเป็นคุณลักษณะที่ผู้เรียนต้องมี

  • กุญแจดอกที่สี่ ประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ (Evaluating Learning)

อย่างที่ยกตัวอย่างนักกีฬา นักดนตรี และนักร้อง ไปแล้วในตอนต้น การประเมินตนเองอย่างตรงไปตรงมา แล้วยอมรับข้อผิดพลาด ช่วยให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างตรงจุด

ลองทบทวนตัวเองด้วยคำถามต่อไปนี้

รู้ได้อย่างไรว่าตัวเองได้เรียนรู้แล้ว วัดจากอะไร?

สถานการณ์ไหนบ้างที่คิดว่าตัวเองได้นำความรู้ที่มีไปปรับใช้?

มีความมั่นใจขนาดไหนก่อน ระหว่าง และหลังลงมือทำ?

คิดว่าความรู้ที่มีอยู่เพียงพอแล้วหรือยังสำหรับเรื่องที่ตัวเองสนใจ?

ถ้ายังไม่พอ คิดว่าต้องหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องไหนอีก? ฯลฯ

คำถามที่สำคัญอีกข้อหนึ่งที่ผู้เรียนจะต้องประเมินตัวเองให้ได้ คือ เราเรียนรู้แบบไหน?

ยกตัวอย่างเช่น เรียนรู้จากการอ่านได้ดี อ่านครั้งเดียวก็จำได้, เรียนรู้จากการฟังได้ดีกว่า อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าหัว, เรียนรู้จากการจด เช่น อ่านแล้วสรุปบันทึก หรือฟังแล้วสรุปสาระสำคัญ หรือเรียนรู้จากการถ่ายทอดสิ่งที่รู้ให้คนอื่นฟัง (การพูด) เพราะบางคนตกผลึกความรู้ได้ดีขึ้นเมื่อได้บอกเล่าสิ่งที่รู้หรือได้เรียนรู้แก่ผู้อื่น

กระบวนการเรียนรู้ของแต่ละคนสามารถเกิดขึ้นได้จากการผนวกการเรียนรู้แบบต่างๆ เข้าด้วยกันไม่จำกัดเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง

กุญแจทั้ง 4 ดอกแห่งการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยการทำซ้ำจนกลายเป็นนิสัย ซึ่งจะติดตัวผู้เรียนไปตลอดชีวิต ทั้งนี้ บทบาทของผู้ปกครองที่ลืมไม่ได้เลย คือ การทำให้ลูกอุ่นใจว่าผู้ปกครองพร้อมรับฟัง ให้คำปรึกษาและเป็นทีมเดียวกันกับพวกเขาเสมอ รวมทั้งช่วยกระตุ้นและสร้างโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ เช่น การพาลูกออกไปทำกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ในวันหยุด เพื่อทำความรู้จักกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัว ทั้งยังเป็นการสร้างการเรียนรู้ด้านการเข้าสังคมและการทำความรู้จักเพื่อนใหม่ๆ

ติดอาวุธสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

เมื่อรู้จักตัวเองดีพอแล้วว่าสนใจศึกษาเรื่องอะไร ชอบสิ่งไหนเป็นพิเศษ กระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเองจะเกิดขึ้นได้โดยไม่สะดุด หากมีทักษะการเรียนรู้ (learning skills) ต่อไปนี้


ทักษะชีวิต (life skills) ยกตัวเช่น การจัดการเวลา ผู้เรียนควรเรียนรู้วิธีแบ่งเวลาส่วนตัว เวลาในการเข้าสังคม และเวลาทำงานร่วมกับผู้อื่น ให้เหมาะสมกับกิจวัตรประจำวันของตัวเอง

ความเป็นอิสระ (independence) การสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง มีความเชื่อมั่นในศักยภาพและความสามารถที่มีอยู่ การกล้าตัดสินใจและพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการทำกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ตนเองได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์

ทักษะพื้นฐาน (basic skills) พัฒนาความสามารถทั่วไปที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้และการทำงานด้านต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ตนเองสนใจ เช่น การอ่าน การคิดเลข การใช้คอมพิวเตอร์ การทำงานกราฟิก หรือการทำเอกสาร เป็นทักษะที่จำเป็นต้องใช้เพื่อเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจ

ทักษะการเรียนรู้ (study skills) การเตรียมวัสดุหรืออุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การบันทึก และสรุปใจความสำคัญในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจและเข้าถึงองค์ความรู้เหล่านั้น

การเรียนรู้เพื่อจะเรียนรู้ (learning to learn) ผู้เรียนต้องมีใจเปิดรับการเรียนรู้ ไม่มีอคติต่อการเปิดรับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลใหม่ๆ และหมั่นค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลใหม่ๆ อยู่เสมอ

ทักษะการวางแผน (planning skills) ความสามารถในการออกแบบและวางแผนการเรียนรู้เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

ทักษะการวิเคราะห์ (analytical skills) ความสามารถในการเลือกและใช้ข้อมูลอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญและความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้

ทักษะการสื่อสาร (communication skills) ความสามารถในการเขียนและเรียบเรียงข้อมูลรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องและเป็นประโยชน์กับการเรียนรู้ของตัวเอง

ทักษะการประเมิน (evaluation skills) ความสามารถในการประเมินตนเองอย่างซื่อสัตย์ ยอมรับข้อบกพร่องของตัวเอง และยอมรับคำแนะนำจากผู้อื่นได้

ความมุ่งมั่นเพื่อความสำเร็จ (completion skills) ความมุ่งมั่นพยายาม ความอดทน รวมทั้งความมีวินัย ทั้งในแง่ของการเรียนรู้ และการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนรู้อย่างเต็มความสามารถ ความสำเร็จไม่ได้วัดจากคะแนนหรือคำชื่นชม แต่เกิดจากบทเรียน ประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างลงมือทำงาน

หลีกให้ไกลจากคำว่า ‘ไม่’

จากการศึกษาพบว่า มีชุดความคิด 3 รูปแบบที่เป็นอุปสรรคปิดกั้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้เด็กหลายคนไม่สนุกกับการเรียนรู้ บางคนถึงขนาดไม่อยากเรียนไม่อยากรู้ แล้วเมินหน้าหนีไปเลยก็มี ได้แก่

หนึ่ง แรงจูงใจ (motivation) : ฉัน ‘ไม่’ มีแรงจูงใจในตัวเองมากพอ

สอง ความสามารถ (ability) : ฉัน ‘ไม่’ มีความสามารถ หรือ ‘ไม่’ เก่งพอ

สาม การเลือกนิยามตัวเอง (type) : ฉัน ‘ไม่’ ใช่คนประเภทที่จะทำอะไรได้

คำว่า ‘ไม่’ ทั้ง 3 รูปแบบนี้ ทำให้การเรียนรู้ด้วยตัวเองเป็นไปได้ยาก เพราะจะทำให้ผู้เรียนขาดความกล้าและขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่มีความพยายามและความมุ่งมั่น ซึ่งทั้งหมดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนรู้ด้วยตัวเองเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีแก้ไม่ยาก ลองพูดกับตัวเองด้วยประโยคที่ปราศจากคำว่า ‘ไม่’ หน้ากระจก วิธีการนี้เป็นวิธีคิดแบบ Growth Mindset(กรอบความคิดแบบเติบโต ที่มีความเชื่อว่าทุกคนพัฒนาความสามารถของสมองในการเรียนรู้และแก้ปัญหาได้ โดยเฉพาะเมื่อถูกปลูกฝังตั้งแต่ยังเด็ก)

อย่างไรก็ตาม หากชุดความคิดนี้เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน บุคคลที่ควรพิจารณาตัวเองก่อนเป็นลำดับแรก คือ ผู้ปกครองและครู

พ่อแม่ทำให้ลูกเกิดความคิดและรู้สึกแบบนี้หรือเปล่า?

การเรียนการสอนในห้องเรียนทำให้เด็กมองตัวเองแบบนี้ไหม?

ถ้าใช่ ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้อย่างมีอิสระ เพื่อพัฒนาความกล้าและความมั่นใจ เพื่อเติมเต็มความมุ่งมั่นและความพยายาม แล้วสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้

ขอบคุณที่มา : thepotential

4 กุญแจสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

การเรียนรู้ด้วยตัวเองไม่ต่างจากการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอแต่ไม่ใช่เพื่อไปต่อสู้กับคนอื่นหากเพื่อพัฒนาตัวเองสร้างจุดแข็งซ่อมจุดอ่อน ทำได้ทุกวัยแต่ถ้าฝึกฝนได้ตั้งแต่เด็กเขาจะรู้จักกำกับและดูแลตัวเอง

ที่สำคัญการเรียนรู้ด้วยตัวเองช่วยให้เราเพิ่มพูนทักษะความรู้ใหม่ๆตามความชอบและความสนใจได้อย่างอิสระไม่ต้องขึ้นอยู่กับใคร และกุญแจ4 ดอกนี้จะช่วยไขและผลักไปสู่การเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ

การเรียนรู้ด้วยตัวเอง ประกอบไปด้วย 4 กุญแจสำคัญ

กุญแจดอกที่หนึ่ง ความพร้อม (Being Ready to Learn/ Assess Readiness to Learn)

ทุกคนมีทักษะและทัศนคติต่อการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นต้องประเมินความพร้อมในการเรียนรู้ของตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก

กุญแจดอกที่สอง เป้าหมาย (Setting Learning Goals)

ตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้ ครูและผู้ปกครองช่วยวางแผนการเรียนรู้ได้จากการพาทำกิจกรรมหรือออกแบบการสอนในห้องเรียน

กุญแจดอกที่สาม การมีส่วนร่วม (Engaging in the Learning Process)

สำรวจความต้องการของตัวเอง ว่าอยากเรียนรู้เรื่องอะไร ชอบเรียนแบบไหน เพราะการรู้จักตัวเองจะเชื่อมผู้เรียนกับสิ่งที่สนใจเข้าด้วยกัน นำไปสู่การทดลองและลงมือเรียนรู้ด้วยตัวเอง

กุญแจดอกที่สี่ ประเมินผล (Evaluating Learning)

การประเมินตนเองอย่างตรงไปตรงมา เห็นข้อดี ข้อเสีย ยอมรับข้อผิดพลาด ช่วยให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างตรงจุด

tips : 3 ไม่ ปิดกั้นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

‘ไม่’ อยากทำ : ขาดแรงจูงใจที่จะลงมือทำ (Motivation)

ทำ ‘ไม่’ ได้ : มองว่าตัวเองไม่มีความสามารถมากพอ (Ability)

‘ไม่’ เก่ง : ประเมินตัวเองว่าทำไม่ได้ตั้งแต่แรก (Type)

อ่านบทความเรื่องการเรียนรู้ด้วยตัวเองเพิ่มเติม ที่นี่ https://thepotential.org/2019/05/23/self-directed-learning/

ขอบคุณ Thepoential

5 กิจกรรมเล่นกับลูก เสริมพัฒนาการให้เด็กหลังเลิกเรียน

1.กิจกรรมทำของว่างกับคุณพ่อคุณแม่

เด็ก ๆ ที่กลับมาถึงบ้าน มักจะมีอาการหิวและอยากทานของว่างเล็ก ๆ น้อย ๆ กันอย่างแน่นอนค่ะ คุณพ่อคุณแม่สามารถหา กิจกรรมเล่นกับลูก ได้ด้วยการให้ลูกช่วยทำของว่างค่ะ ซึ่งหลังจากที่ได้ทำของว่างกับคุณพ่อคุณแม่แล้ว ก็ถึงเวลาของการ ทานของว่างแสนอร่อยแล้วละค่ะ

2.กิจกรรมช่วยคุณแม่ทำงานบ้าน

สำหรับ กิจกรรมเล่นกับลูกนี้ จะเป็นการช่วยแบ่งเบาความเหนื่อยของคุณแม่ได้ดีเลยค่ะ เพราะกิจกรรมช่วยคุณแม่ทำงานบ้านนั้น จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ว่าการทำงานบ้านนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และควรช่วยเหลือคุณแม่ในการทำความสะอาดบ้าน อาจจะเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นการเก็บของเล่น หรือช่วยกวาดบ้านในบางจุดของบ้านก็ได้ค่ะ

3.กิจกรรมทำการบ้านแสนสนุก

เมื่อเด็กกลับมาบ้าน ก็มักจะได้รับมอบหมายให้ทำการบ้านกัน ซึ่งการทำการบ้านของลูก ๆ นั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างความสนุกสนานได้ค่ะ เช่นการยกตัวอย่างนิทานบางเรื่อง มาเป็นการสอนให้ลูกสามารถคิดคำตอบของโจทย์ข้อนั้น ๆ ได้ค่ะ นอกจากจะได้ความรู้จากการทำการบ้านแล้ว เด็กก็ยังได้สนุกกับการฟังนิทานอีกด้วยค่ะ

4.กิจกรรมอาบน้ำแต่งตัว

ตลอดเวลาในการอยู่ที่โรงเรียน เด็ก ๆ ย่อมได้ทำกิจกรรมมากมาย ซึ่งบางครั้งก็นำมาซึ่งคราบเหงื่อไคล หรือสัมผัสสิ่งสกปรกมากมาย การเลือกกิจกรรมเล่นกับลูกหลังเลิกเรียนอย่างการอาบน้ำนั่น คุณพ่อคุณแม่อาจจะหาของเล่นที่เหมาะกับการเล่นระหว่างอาบน้ำ หรือจะหาเกมสนุก ๆ เล่นในระหว่างอาบน้ำ มาให้เด็ก ๆ ได้รู้สึกสนุกและอยากอาบน้ำได้ค่ะ

5.กิจกรรมออกกำลังกาย

แม้ว่าการไปโรงเรียนของลูกนั้น เด็ก ๆ อาจจะได้เล่นกีฬา หรือออกกำลังกายมาบ้างแล้วก็ตาม แต่เมื่อกลับมาถึงบ้าน คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถ หากิจกรรมอย่างการออกกำลังกายให้ลูกสนุกได้เหมือนกันค่ะ แต่ควรเลือกเป็นกิจกรรมที่ได้เล่นกันทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูกนะคะ อย่างเช่นการปั่นจัรกยาน การวิ่งไล่จับ เป็นต้นค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็เป็น กิจกรรมเล่นกับลูก ในช่วงเวลาหลังเลิกเรียน ที่เด็ก ๆ สามารถสนุกได้ที่บ้าน แถมยังเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการและทักษะในด้านต่าง ๆ ให้กับลูกได้อีกด้วยค่ะ เพราะแม้จะเป็นการเล่น แต่ก็เป็น กิจกรรมเล่นกับลูก ที่ช่วยให้เด็ก ๆ ได้สิ่งที่จะนำไปพัฒนาเป็นทักษะ สำหรับชีวิตประจำวันได้อีกมากมายเลยค่ะ

 

ขอบคุณที่มา เล่นกับลูก

อัศจรรย์วันว่าง โอกาสดีๆ เกิดได้จากการลงมือทำ

หทัยกาญจน์ กล้าหาญ ‘ผัดไท’ สาวน้อยลูกทุ่งสายฮา หนึ่งในผู้เข้าประกวดเดอะวอยซ์ ไทยแลนด์ 2018

ปลุกพลังมด ชวน ช่วย เชียร์ นักดื่มให้งดเหล้าครบพรรษา

ที่มา : สำนักข่าวสร้างสุข

สสส.-สคล. ปลุกพลังมด ชวน ช่วย เชียร์ นักดื่มให้งดเหล้าครบพรรษา ปูพรมค้นหา เยียวยา บำบัดทั่วไทย ชี้รณรงค์ต่อเนื่อง 16 ปี ได้ผล ช่วยคนลด ละ เลิกดื่ม เพิ่มขึ้น  ชี้ปีที่ผ่านมาคนร่วมงดเหล้ามากกว่า 14 ล้านคน ประหยัดเงินกว่าหมื่นล้านบาท

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ที่เกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาปี 2561 ภายใต้แนวคิด “พลังมด…ชวนงดเหล้าครบพรรษา” จากนั้นร่วมทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “พลังมด VS ปีศาจสุรา” และเดินแจกสื่อรณรงค์บริเวณอนุสาวรีย์ชัยฯ

ดร.สุปรีดา กล่าวว่า สสส.และ สคล. ริเริ่มโครงการงดเหล้าเข้าพรรษาตั้งแต่ ปี 2546 และทำต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 โดยการดำเนินงานถือว่าประสบความสำเร็จ ประชาชนเข้าร่วมโครงการงดเหล้าเข้าพรรษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากผลการประเมินโครงการงดเหล้าเข้าพรรษาในปี 2560 โดยศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) พบว่า มีผู้งดเหล้าเข้าพรรษาทั้งสิ้นร้อยละ 67.5 คิดเป็น 14.2 ล้านคน งดเหล้าครบพรรษาหรือตลอด 3 เดือน ร้อยละ 37.9 ผู้ที่งดหรือลดการดื่มลง ร้อยละ 29.6 ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากถึง 11,243 ล้านบาท โดยกลุ่มผู้งดเหล้าเข้าพรรษา ระบุว่า เมื่อเลิกหรือลดการดื่มแล้ว ทำให้สุขภาพดีขึ้น ร้อยละ 71 ประหยัดค่าใช้จ่าย ร้อยละ 54 สุขภาพจิตดีขึ้น ร้อยละ 42 ลดปัญหาในครอบครัว มีความสุขมากขึ้น ร้อยละ 26 ที่สำคัญกลุ่มผู้ดื่ม ร้อยละ 85.2 ยอมรับว่า เมื่อเห็นสื่อรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาของ สสส. ทำให้เกิดความตระหนักในพิษภัย และพยายามลด ละ เลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ปลุกพลังมด ชวน ช่วย เชียร์ นักดื่มให้งดเหล้าครบพรรษา thaihealth

ดร.สุปรีดา กล่าวต่อว่า การดำเนินงานโครงการงดเหล้าเข้าพรรษาในปี 2561จัดภายใต้แนวคิด “พลังมด…ชวนงดเหล้าครบพรรษา” โดยจะเน้นดำเนินการในพื้นที่ชุมชนต่างๆ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในการให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ค้นหาผู้ติดสุรา ให้คำปรึกษาการเลิกดื่มที่ถูกต้อง การส่งต่อเพื่อบำบัดกรณีดื่มจนเสพติดเป็นผู้ป่วย  ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ในโครงการ 155 นายอำเภอ  ชวนงดเหล้าเข้าพรรษาในพื้นที่  และร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยรณรงค์ผ่านโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กว่า 30,000 แห่ง  ให้ความรู้พิษภัยของสุราแก่เด็กนักเรียน นำไปเผยแพร่และชักชวนพ่อแม่ผู้ปกครองให้ลด ละ เลิกดื่มสุรา พร้อมทำงานกับสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า พัฒนาศักยภาพคนเลิกดื่มสุราตลอดชีวิต หรือ “คนหัวใจเพชร” นอกจากนี้ ยังมีการฝึกอบรม พัฒนาจิตใจ ให้ผู้ที่ลด ละ เลิก การดื่มสุราในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาให้สามารถเลิกได้ตลอดชีวิต ผ่านโปรแกรมสติบำบัด การอบรมโดยใช้หลักแพทย์วิถีธรรม และการใช้แนวทางทางพุทธศาสนาควบคู่ไปด้วย

ปลุกพลังมด ชวน ช่วย เชียร์ นักดื่มให้งดเหล้าครบพรรษา thaihealth

เภสัชกรสงกรานต์ ภาคโชคดี  ผู้อำนวยการเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า การงดเหล้าครบพรรษา 3 เดือน นอกจากประหยัดเงินค่าเหล้า ยังนำเงินไปซื้ออาหารทานได้ทั้งครอบครับ ที่สำคัญ คืนเวลาในวงเหล้ากลับมาให้ครอบครัว หลายครอบครัวยอมรับว่าช่วงเข้าพรรษา เป็นช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุด และจะช่วยตัดวงจรการดื่ม ทำให้อุบัติเหตุ อาชญากรรมลดลง การเสียชีวิตลดลงกว่าช่วงปกติ นั่นแปลว่า 3 เดือนนี้จะช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิต ผู้พิการได้ และหากงดเหล้าต่อเนื่องหลังออกพรรษา ซึ่งมีทั้งผู้ที่เลิกดื่มตลอดชีวิตด้วย ยิ่งเซฟชีวิตคนบนท้องถนนได้อีกเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามชุมชนคนรอบข้างมีบทบาทในการ ชวน ช่วย เชียร์ คือ

1.ชวนกัน งดเหล้าเข้าพรรษา และร่วมกำหนดกติกาชุมชน จัดงานเลี้ยงที่ไม่มีเหล้า

2.ช่วย คือ วัดช่วยจัดพิธีกรรมบวชใจ ปฎิญาณตนงดเหล้า ร้านค้าก็ช่วยงดขายเหล้าช่วงเข้าพรรษา และ

3.เชียร์ ให้เด็กๆเชียร์พ่อแม่ผู้ใหญ่ให้ ลด ละ เลิกเหล้า และชุมชนจัดเวทียกย่องคนที่งดเหล้าได้ครบพรรษาเพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ทั้งสุขภาพ ครอบครัว ลดอุบัติเหตุ อาชญากรรม ปีนี้จึงใช้แนวคิดพลังมด คือพลังของคนทุกคนที่จะช่วยกัน

ปลุกพลังมด ชวน ช่วย เชียร์ นักดื่มให้งดเหล้าครบพรรษา thaihealth

นายพีรภัทร  ศิริ อายุ31ปี  ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ตนตั้งใจใช้วันเข้าพรรษานี้เป็นจุดเริ่มต้นเลิกเหล้าตลอดชีวิต เพื่อลูกและภรรยา เนื่องจากทั้งชีวิต ไม่เคยทำให้ลูกภรรยามีความสุข ทะเลาะกันเป็นประจำ บ่อยครั้งใช้ความรุนแรง มีปัญหาหนี้สิน ไม่มีเงินเก็บ สุขภาพทรุดโทรม สิ่งที่ทำให้คิดและเปลี่ยนแปลงตัวเองได้คือลูกสาวคนโตเคยเขียนจดหมายลาพ่อ หากยังไม่เลิกเหล้า คงเป็นเพราะลูกเห็นจากสิ่งที่ทำทุกๆ วันว่ามันทำร้ายครอบครัว มันไม่มีความสุข  จนถึงขั้นรับไม่ได้ จากวันนั้นรู้แล้วว่าครอบครัวสำคัญที่สุด ตอนนี้ตั้งใจแล้วว่าจากนี้จะเป็นคนใหม่ มีเวลาให้ครอบครัว ทำงานเก็บเงินเพื่ออนาคตลูกทั้ง3คน นี่ยังโชคดี ที่มีโอกาสเจอภาคีเครือข่ายงดเหล้า ได้คุยกับคนที่เลิกเหล้าสำเร็จ ทำให้ตั้งหลักได้ และได้เรียนรู้แล้วว่าการเลิกเหล้าปัจจัยสำคัญไม่ใช่แค่ตัวคนดื่มที่อยากเลิก ลูกเมีย ญาติพี่น้อง  คนรอบข้าง คนในชุมชน ก็สำคัญมากที่มีส่วนช่วยสนับสนุน และวันนี้ครอบครัวลูกเมียก็มาให้กำลังใจด้วย

ปลุกพลังมด ชวน ช่วย เชียร์ นักดื่มให้งดเหล้าครบพรรษา thaihealth

ขณะที่ เด็กชายวุฒิชัย  ผาหลัก หรือ “น้องมิก” นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปทุมคงคาผู้ที่แต่งเนื้อเพลงชวนงดเหล้าเข้าพรรษาและร้องแร๊พจนโด่งดังในโลกออนไลน์ กล่าวว่า ระหว่างที่ร่วมทำกิจกรรม ครูได้เปิดคลิปวีดีโอพิษภัยของการดื่มแอลกอฮอล์ อีกทั้งส่วนตัวเป็นคนที่ไม่ชอบเห็นคนดื่มสุรา รู้สึกสะเทือนใจว่าการดื่มสุราก่อให้เกิดผลเสีย เสียเงิน เสียสุขภาพ เสียมิตรภาพ เด็กหลายคนมีปัญหาการเรียนเพราะพ่อแม่ติดเหล้า  จึงเกิดแรงบัลดาลใจ แต่งเพลงแร๊พขึ้นมาเพื่อเชิญชวนให้ทุกคนใช้เทศกาลเข้าพรรษานี้งดเหล้า และเชื่อว่าหากตั้งใจพยายามจริง จะลดละเลิกเหล้าได้ในที่สุด

สำหรับเนื้อร้องเพลงแร๊พชวนงดเหล้าเข้าพรรษาของน้องมิก ดังนี้ “อยากให้เลิกเหล้าเพราะว่ามันไม่ค่อยดี  พอคุณนะเริ่มเมาคุณธรรมก็ไม่มี   จิตใจก็ลอยล่อง เหลือเอาไว้เพียงกายหยาบ มันไม่เหมือนนิทาน ที่มีเจ้าชายมากำรา  เด็กๆก็สงสัย แต่กลับบอกว่าของผู้ใหญ่ ก็เลยสนใจแต่เหล้าสุรา แต่พอกับเด็กไม่เอาใจใส่ เด็กในสายตาก็คงไม่ต่างไปจากอะไหล่  ก็เพราะพ่อแม่ติดเหล้ายา เนื้อหาการเรียนเลยไม่อยากใฝ่  ถ้าอยากจะขอให้เลิก ก็ขอให้เลิกแบบลาขาด ไม่ใช่มาที่หน้างานศพแล้วเข้าฝันบอกลาจาก  คำที่สัญญาอยากให้ทำไม่ใช่ลมปาก  ผมจะยืนอยู่เคียงข้าง เพราะรู้ว่าเลิกมันคงลำบาก แต่ถ้าจะติดแบบงอมแงมจนกินทุกคนคงไม่ใช่ แต่ถ้าจะให้เลิกเร็วไวมันคงเป็นไปไม่ได้ จะให้พยายามเลิกถ้าไม่อยากให้คนรักต้องร้องให้  ถ้าหากว่าเราร่วมใจกัน เหล้ายาต้องแพ้พ่าย”

พิพิธภัณฑ์ต้านโกง สำนักงาน ป.ป.ช

พิพิธภัณฑ์ต้านโกง เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรม เพื่อต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบแห่งแรกของประเทศไทย มีวิสัยทัศน์พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ชั้นนำของประเทศที่เป็นศูนย์กลางและพื้นที่แห่งการเรียนรู้ เรื่องการป้องกันปราบปรามการทุจริต และการส่งเสริมสังคมแห่งความสุจริตและโปร่งใส

พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่กระทรวงกลาโหม

พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่กระทรวงกลาโหม จัดแสดงกลางแจ้งด้านหน้าและด้านข้างของกระทรวงกลาโหม โดยเรียงลำดับหมวดหมู่ตามอายุและยุคสมัยของปืน เริ่มจากปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี  และกรุงรัตนโกสินทร์ มีทั้งหมด 40 กระบอก แต่ละกระบอกมีป้ายชื่อและประวัติจารึกลงบนแผ่นทองเหลืออธิบายความเป็นมา

สถาบันคึกฤทธิ์

มูลนิธิคึกฤทธิ์ ๘๐ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้น้อมนำพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ที่ทรงพระกรุณาพระราชทานแนะแนวทางให้มูลนิธิฯ หาวิถีทางที่จะเก็บรักษาปัญญาของศาสตราจารย์ พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์  ปราโมช  เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังสามารถศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม  มูลนิธิฯ จึงดำเนินตามพระราชเสาวนีย์ ด้วยการตั้งเป็นโครงการสร้างสถาบันคึกฤทธิ์ขึ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า