คิดส์ซาเนีย

คิดส์ซาเนีย คือ แหล่งเรียนรู้ควบคู่ความบันเทิงสำหรับเด็ก เป็นเมืองจำลองขนาดย่อส่วน ที่สร้างขึ้นสำหรับเด็กและเยาวชนวัน 4-14 ปี มีจุดมุ่งหมายที่จะปลูกฝังจิตใจและความตั้งใจของเด็กๆ โดยสนับสนุนให้เด็กๆเหล่านั้น ได้เรียนรู้ เกิดความเข้าใจในทักษะพื้นฐานด้านการประกอบอาชีพ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รู้จักแบ่งปัน ฝึกฝนให้เกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์ ได้เล่นอย่างสนุกสนาน และช่วยกันพัฒนาโลกยุคปัจจุบันให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

บ้านสัตว์ประหลาดสยาม

บ้านสัตว์ประหลาดสยามเป็นบ้านหลักเล็ก ๆ ตั้งอยู่ริมคลองชักพระ ภายในวัดตลิ่งชัน บริเวณวัดมีตลาดน้ำวัดตลิ่งชันเป็นตลาดน้ำเล็ก ๆ ไม่พลุกพล่าน เปิดเฉพาะวันหยุด ส่วนบ้านสัตว์ประหลาดสยามอยู่ในพื้นที่ตลาดน้ำแห่งนี้ โดยสัตว์ที่จัดแสดงแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สัตว์สายพันธุ์ประหลาดที่มีในธรรมชาติ และสัตว์ลักษณะแปลกประหลาดจากความผิดพลาดของพันธุกรรม เช่น ปลาท้องแหว่ง ปลาสองตา เต่าจมูกยาว เต่าแฝด เป็ดสามขา เป็นต้น บริเวณด้านนอกมีโซนจัดแสดงซากฟอสซิล สิ่งมีชีวิตดอง ตลอดจนวัตถุโบราณ

พิพิธภัณฑ์อุทกศาสตร์

พิพิธภัณฑ์อุทกศาสตร์ เป็นสถานที่รวบรวมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้ของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ จึงนำมาปรับปรุงพัฒนาให้เกิดประโยชน์เป็นองค์ความรู้กับกำลังพลในกรมอุทกศาสตร์และหน่วยต่างๆ ของกองทัพเรือ สำหรับเป็นข้อมูลในการวางแผนและปฏิบัติการทางเรือในทุกมิติ  และยังขยายองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนทั่วไปได้เข้าศึกษาเรียนรู้อีกด้วย

ภายในแบ่งการจัดแสดงเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนแรก จัดแสดงประวัติความเป็นมาของกรมอุทกศาสตร์

ส่วนที่ 2 จัดแสดงเครื่องมือและแผนที่ของกรมอุทกศาสตร์

พิพิธภัณฑ์แมลง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จัดตั้งขึ้นเนื่องในโอกาสที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบ 60 ปี แบ่งการแสดงเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 ภายในห้องพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงตัวอย่างแมลงหลากหลายชนิด ทั้งกลุ่มผีเสื้อ ด้วง แมลงทับ แมลงปอ ฯลฯ  รวมทั้งจัดแสดงความแตกต่างระหว่างแมลงและสัตว์จำพวกอาร์โทรพอดหรือสัตว์ขาข้ออื่นๆ,  แมลงที่เป็นสัตว์คุ้มครอง และแมลงหายากในประเทศไทย การจำแนกประเภทแมลงที่พบในประเทศไทยตามประโยชน์และโทษ,  แมลงศัตรูพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ,  แมลงพาหนะนำโรคมาสู่คนและสัตว์,  แมลงศัตรูในบ้านเรือน,  แมลงสังคม, แมลงกินได้,  รวมทั้งการแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวของแมลงให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม,  การจำแนกแมลงทั้งตัวแก่และตัวอ่อนแบบต่าง ๆ

ส่วนที่ 2 ภายในอุทยานแมลง จัดเป็นโดมครึ่งวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เมตร  จัดแสดงโดยเน้นการศึกษาทางนิเวศวิทยาและวงจรชีวิตของแมลงที่มีชีวิตจำพวก ผีเสื้อ ต้นไม้ และไม้ดอกที่เป็นพืชอาหารของแมลงไว้ด้วย

พิพิธภัณฑ์ของจิ๋วสัญจร

พิพิธภัณฑ์ของจิ๋วสัญจร ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2541 โดยคุณปิยะนุช ศกุนตนาค เป็นการย่อส่วนวิถีชีวิต เรื่องราวต่างๆ ให้เป็นของจิ๋ว ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ทรงมีพระเมตตาต่อคุณปิยะนุช และครอบครัว โดยทรงรับสั่งว่า “พิพิธภัณฑ์เล็กๆน่ารัก หากสัญจรไปจะเป็นประโยชน์กับเด็กๆมาก” จึงทำใ้คุณปิยะนุช ตัดสินใจทำ พิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่ ถือได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ของจิ๋วเคลื่อนที่แห่งแรกของเมืองไทย เป้นพิพิะภัณฑ์ขนาดเล็กใช้พื้นที่ในการจัดแสดงไม่มาก แต่มีความสมบูรณ์ทั้งในด้านวิชาการและงานหัตถศิลป์

ปิดเทอมชวนเด็ก “ออกมาเล่น” หนุนสุขภาวะดี

ในช่วงปิดเทอมมีผลวิจัยออกมาว่ากิจกรรมที่เด็กเยาวชนตั้งใจจะทำในวันหยุดมากที่สุดคือเล่นมือถือ เล่นอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหวทางกายน้อย ต่างจากการออกมาเล่นสนุกร่วมกับเพื่อนๆ บวกกับวิธีกินตามใจปาก ไม่คุมปริมาณอาหารทำให้เด็กๆ น้ำหนักเพิ่ม หุ่นอ้วนลงพุงช่วงหยุดยาวปิดเทอม

งานวิจัยสอดคล้องกับผลสำรวจภาวะอ้วนในเครือข่ายโรงเรียนภาครัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 5 โรงเรียนในปี 2561 พบว่าเด็กวัยเรียนเป็นโรคอ้วนถึง 16% และในโรงเรียนเอกชนประถมอ้วน 19% และมัธยมอ้วน 34% สถิติสูงกว่าเด็กอ้วนทั้งประเทศเกือบ 3 เท่า ซึ่งเด็กๆ จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในช่วงปิดเทอม ปัญหานี้ต้องสร้างการรับรู้แก่เด็กๆ และผู้ปกครองด้วยการให้ความรู้และชักชวนทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์เหมาะสมกับวัย

ปิดเทอมชวนเด็ก

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พลิกโอกาสวันว่างปิดเทอมให้เป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้สุขภาวะจัดกิจกรรมค่ายสร้างเสริมสุขภาวะ ‘มาเล่นกันเถอะ’ ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะเมื่อวันก่อน เพื่อเสริมสร้างทักษะและพัฒนาการต่อร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ที่เหมาะสมแก่เยาวชนอายุ 7-12 ปี โดยแบ่งกิจกรรม 3 วัน รูปแบบแตกต่างกัน ได้แก่ วันที่ 1 รู้จักและเข้าใจ Active Play วันที่ 2 แนวทางการเล่นอย่างสร้างสรรค์ และวันที่ 3 สร้างสรรค์การเล่นร่วมกันได้ด้วยตนเอง

ปิดเทอมชวนเด็ก

นายฤทธิจักร คะชา ผู้ดูแลโครงการค่ายสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับเยาวชน ‘ค่ายมาเล่นกันเถอะ’ บอกว่า กิจกรรมแต่ละวัน สสส.ได้ศึกษาเนื้อหาและสร้างสรรค์กิจกรรมขึ้นเพื่อให้เด็กที่เข้าร่วมค่ายได้ทำกิจกรรมที่ได้ประโยชน์มากกว่าการเล่นสนุก แต่เป็นการปลูกฝังสุขภาวะที่ดีแก่เยาวชน ซึ่งผลการวิจัยชี้ว่าหากให้เด็กออกมาเล่นติดต่อกันวันละ 60 นาที ต่อเนื่องเป็นเวลา 3-4 เดือน จะทำให้ระดับของสติปัญญาพัฒนาขึ้นอีกด้วย

“วันแรก เด็กๆ ได้รู้จักร่างกายตนเองด้วยกิจกรรมทางกาย 3 ระดับตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ได้แก่ เบา กลาง และหนัก เรียนรู้การแบ่งเวลาเล่นที่เหมาะกับวัยด้วยเทคนิคที่เรียกว่า 10, 20, 30 แบ่งเวลาเล่นตอนเช้า 10 นาที ระหว่างวัน 20 นาที และตอนเย็น 30 นาที ส่วนวันที่สอง เป็นเกมเข้าฐานทดสอบสมรรถภาพร่างกายและฝึกมนุษย์สัมพันธ์ด้วยกิจกรรมกลุ่ม วันที่สาม เป็นกิจกรรมกีฬาสีทำให้เด็กมีทักษะการแบ่งปันและการอยู่ร่วมกันในสังคม เราคาดหวังให้เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เมื่อกลับไปแล้วสามารถนำของที่อยู่ในบ้านมาทำเป็นของเล่น ชวนเพื่อนเข้ามาร่วมเล่น ทั้งหมดนี้ทำให้เด็กสุขภาพดี” ฤทธิจักรกล่าว

ปิดเทอมชวนเด็ก

นายเตชิต เลิศอเนกวัฒนา นักวิทยาศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกาย เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวเสริมข้อมูลว่า การส่งเสริมให้เด็กมีมาตรฐานสุขภาพทางกายที่ดีต้องเสริมกิจกรรมที่พวกเขายังขาด จะช่วยเติมเต็มกิจกรรมทางกายที่บกพร่องได้ถูกทาง ซึ่งมาตรฐานสุขภาพทางกายที่ดีของเด็กประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ แข็งทนอึดยืดเฟิร์ม คำว่า แข็ง สื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงออกแรงได้เยอะ, ทน กล้ามเนื้อสามารถทนการออกแรงซ้ำๆ ได้, อึด หมายถึงความเหนื่อยจากกิจกรรมที่น้อย, ยืด สื่อกล้ามเนื้อข้อต่อมีความยืดหยุ่นตัว ไม่บาดเจ็บง่าย และ เฟิร์ม หมายถึงสัดส่วนของไขมันกล้ามเนื้ออยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

“เด็กจะออกมาเล่นได้มากขึ้นต้องส่งเสริมให้ได้เจอเพื่อนให้เยอะที่สุด มีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน และการแข่งขัน เพราะคนที่จะชวนให้เด็กออกมาเล่นได้ดีที่สุดไม่ใช่ผู้ใหญ่แต่เป็นเพื่อนในวัยเดียวกัน” เตชิตกล่าว

ปิดเทอมชวนเด็ก

ในมุมมองของนางนงค์นุช คล้ายทองดี คุณแม่ของน้องอาเรย์ เยาวชนผู้ร่วมค่าย เล่าให้ฟังว่า การร่วมกิจกรรมค่ายมาเล่นกันเถอะ ทำให้เด็กได้ออกกำลังกายและนอนหลับพักผ่อนได้เต็มที่ ลดความเครียดที่มีในตัว กิจกรรมครั้งนี้ลูกขอให้พามาเพราะอยากทำกิจกรรม อยากเจอเพื่อนใหม่ๆ นอกจากว่ายน้ำและเล่นดนตรีในวันหยุดในช่วงปิดเทอมเป็นอีกหนึ่งการบ้านที่คุณแม่ต้องหากิจกรรมให้ลูกทำโครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ตอบโจทย์นี้

ปิดเทอมชวนเด็ก

กิจกรรมค่ายมาเล่นกันเถอะ เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กออกมาเล่นอย่างสร้างสรรค์ ได้ฝึกทักษะต่างๆ รวมถึงเรียนรู้การเข้าสังคมกับเพื่อนในวัยเดียวกัน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ในวันหยุด เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ให้กับเด็กและเยาวชนได้ค้นหาตัวตน และใช้เวลาในช่วงปิดเทอมให้เกิดประโยชน์ โดยสามารถค้นหากิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ได้ที่ www.ปิดเทอมสร้างสรรค์.com

ที่มา : ไทยโพสต์
ภาพโดย สสส.

‘ช่วงปิดเทอม’ ชวนเด็กอ่านวรรณกรรมสุดยอด

สสส. ผนึกกำลังเครือข่ายแผนแม่บทส่งเสริมการอ่าน ชวนเด็กๆ ช่วงปิดเทอม อ่านวรรณกรรมสุดยอดของโลกและไทย ลดภาวะกดดันและอาการซึมเศร้า

17 มี.ค.62 ที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ เครือข่ายแผนแม่บทส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ของไทย พ.ศ. 2560 – 2562 โดย แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. สำนักหอสมุดแห่งชาติ ศูนย์วิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษารังสิต สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ “ปิดเทอมสร้างสรรค์ ชวนกันอ่านสร้างสุข ปี 2562 ชวนอ่านวรรณกรรม เกื้อกูลโลก เกื้อกูลมนุษย์”

นางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. กล่าวว่า ทางแผนงานฯ ได้ริเริ่มคัดสรรหนังสือที่เหมาะสมวัย สอดคล้องพัฒนาการหน้าต่างแห่งโอกาสและการเรียนรู้ของเด็ก ตั้งแต่ 108 เล่ม หนังสือดีสำหรับช่วง 0-6 ปี, 6-9 ปี, 9-12 ปี และ 108 การ์ตูนโลก การ์ตูนไทย ที่เด็กไทยควรจะได้อ่าน จนมาถึงการรวบรวมวรรณกรรมสำคัญของโลกและของประเทศไทย ที่ศิลปินแห่งชาติ อาจารย์ชมัยภร บางคมบาง เป็นประธานคณะทำงานคัดสรรในครั้งนี้ ซึ่งหอสมุดแห่งชาติและห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ของ กทม. จะได้รวบรวมไว้บริการแก่น้องๆ เยาวชนในช่วงปิดเทอม ปีนี้เราให้ความสำคัญในการรณรงค์ให้หันมาอ่านวรรณกรรมกันมากขึ้น นอกจากความสุขความเพลิดเพลินที่ได้รับแล้ว มีงานวิจัยพบว่า จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น และรู้จักตนเองได้มากขึ้น ทำให้เด็กๆ ลดความเครียด ลดความกดดันจากภาวะที่รุมเร้า และอาการซึมเศร้าได้

ด้าน น.ส.กนกอร ศักดาเดช ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า นอกจากวรรณกรรมที่เลือกสรรไว้แล้ว ยังมีกิจกรรม อ่านสนุก มีความสุขได้ทุกวัน ที่มุมเด็กและเยาวชน โดยจะเปิดบริการทุกวัน วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 07.00 – 20.30 น. วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 20.30 น.

นายวิศาล กองเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ กรุงเทพมหานคร ให้ข้อมูลว่า ได้จัดกิจกรรม “ปิดเทอมเติมประสบการณ์” ให้กับเด็กและเยาวชน ที่ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานครทั้ง 35 แห่ง และหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร รวมถึงรถห้องสมุดเคลื่อนที่ 5 คัน ที่มุ่งให้บริการในชุมชนอีกด้วย

ขณะที่ ร.อ.ดร.อาศิส เชยกลิ่น ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต กล่าวเชิญชวนว่า ทางศูนย์ฯ มีกิจกรรม “ส่งเสริมการอ่าน….สร้างระบบคิด ปลูกจิตวิทยาศาสตร์” ในช่วงปลายเดือนมีนาคม – ต้นเดือนพฤษภาคม 2562 โดยสามารถเข้าดูรายละเอียดที่ www.rscience.go.th หรือ สอบถามได้ที่ 02-577-5455, 02-577-5456 – 9 ต่อ 302

ทั้งนี้ ภายในงานดังกล่าวยังได้มีนิทรรศการสำคัญ เช่น จาก 108 เล่มหนังสือดี เปิดหน้าต่างแห่งโอกาสในการพัฒนาเด็ก ถึง 1,009 เล่ม วรรณกรรมเกื้อกูลโลก เกื้อกูลมนุษย์, นิทรรศการ “ภาพและคำบันดาลใจจากการอ่าน” จากนักเขียนชั้นครู, หรรษาพากันอ่าน, ปิดเทอมเติมประสบการณ์, ปิดเทอมสร้างสรรค์ อัศจรรย์วันว่าง และกิจกรรมแปลงกายผู้เข้าร่วมงานเป็นตัวละครจากหนังสือเล่มโปรด โดยเครือข่ายการ์ตูนไทยสร้างสรรค์สังคม กับ เซีย ไทยรัฐ, เอ๊าะ ขายหัวเราะ, สละ นาคบำรุง, ฟู เรืองศักดิ์, ขวด เดลินิวส์, ณ เอก วิรัตน์, ยุง จีรพงษ์ ร่วมถึงกิจกรรมเวที “ชวนอ่าน วรรณกรรมในดวงใจ กับ ปราปต์ ชัยรัตน์ พิพิธพัฒนาปราปต์ เจ้าของผลงาน กาหลมหรทึก รางวัลชนะเลิศนายอินทร์อะวอร์ด และวิว ชนัญญา เตชจักรเสมา ยูทูปเบอร์ “Point of View” และวรรณคดีไดเจสต์ และ The Idol Reading “หนังสือนำทางชีวิต” โดย พัดชา อเนกอายุวัฒน์ (พัดชา AF2)

ที่มา : เว็บไซต์แนวหน้า 

ภาพประกอบจากเว็บไซต์สยามรัฐ

ปิดเทอมแล้วทำอะไรดี ? (2 นาที)

ปิดเทอมสร้างสรรค์ ทำทุกวันให้ไม่ธรรมดา

พื้นที่แห่งนี้มีกิจกรรมมากมายให้เลือก กิจกรรมที่ใช่ ทำอะไรที่ชอบ เรียนรู้โลกไปกับเรา

พาโรดี้ อาร์ท มิวเซียม

พาโรดี้ อาร์ท มิวเซียม เป็นพิพิธภัณฑ์ ล้อเรียนงานศิลปะ แห่งแรกของโลกที่ได้นำเอาภาพวาดในยุคเก่าของศิลปินที่มีชื่อเสียงมาผสมผสานกับงานยุคใหม่ให้เกิดความสนุกสนาน นอกจากความสวยงามของภาพศิลปะเทคนิคการสร้างสรรค์ที่หลากหลายที่จัดแสดงในอาคารแล้ว ยังมีงานประติมากรรมขนาดใหญ่จัดแสดงในสวนอีกด้วย

สเปซ อินสไปเรียม

Space Inspirium พิพิธภัณฑ์อวกาศแห่งแรกของประเทศไทย เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านอวกาศที่จะทำให้ทุกคนได้ปลดปล่อยพลังจินตนาการ พร้อมกับร่วมหาคำตอบของจักรวาลแห่งนี้ไปด้วยกัน ผ่านเทคโนโลยีการนำเสนอข้อมูลที่ทันสมัย โดยที่คุณเองก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบของ INTERACTIVE ได้หลายส่วน

แหล่งเรียนรู้ศิลปะจากเศษเหล็ก

แหล่งเรียนรู้ศิลปะจากเศษเหล็กเป็นสถานที่จัดแสดงศิลปะการใช้เศษเหล็กที่เหลือจากการทำอุตสาหกรรมมาสร้างเป็นผลงานรูปปั้นต่าง ๆ กว่า 200 ผลงาน เช่น หุ่นยนต์รบ ดอกไม้เหล็ก ไดโนเสาร์ รถยนต์จากเศษเหล็ก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจัดจำหน่ายสินค้าจากเศษเหล็กอีกด้วย

อเนกกุศลศาลา (วิหารเซียน)

วิหารเซียน เป็นแหล่งเรียนรู้ที่รวบรวมงานศิลปะของไทย-จีนที่สำคัญ อาคารมีสถาปัตยกรรมเป็นวิหารแบบจีนและมีศาลาแบบเก๋งจีนอยู่โดยรอบ มีการจัดวางตำแหน่งสิ่งปลูกสร้างในทิศทางถูกต้องตามหลักวิชาภูมิลักษณ์ หรือ “ฮวงจุ้ย” ตามความเชื่อของคนจีน

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า