ปิดเทอมสร้างสรรค์ อัศจรรย์วันว่าง

“สร้างสุข” จดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ ปีที่ 15 ฉบับที่ 209 มีนาคม 2562 โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ชวนเปิดโลกอีกใบ นอกห้องเรียน แนะนำกิจกรรม ปิดเทอมสร้างสรรค์ โดยจดหมายข่าวฉบับพิเศษนี้ จะมีบทความพิเศษเรื่อง “ปิดเทอมสร้างสรรค์ โลกกว้างนอกห้องเรียน” ความสนุกที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องคร่ำเคร่งกับตำรา ย่อมเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น เด็กๆ ฝันว่า อยากออกไป ท่องเที่ยว อยากไปทำกิจกรรมสนุกๆ กับเพื่อน แต่บางครั้งพ่อแม่ก็คิดแทนว่า สิ่งที่ลูกควรทำคือ การไปเรียนพิเศษเพิ่มเติมความรู้ บางทีความต้องการ ที่สวนทางกันก็อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ เรามาดูกันว่า ผลสำรวจสิ่งที่เด็กๆ อยากทำ และตั้งใจจะทำในช่วงปิดเทอม 3 อันดับแรกนั้นคืออะไร ไปอ่านพร้อมกันได้ที่ “สร้างสุข” จดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ ปีที่ 15 ฉบับที่ 209 มีนาคม 2562 หรือจะอ่านออนไลน์บนหน้าเว็บก็ได้เลยน้า 🙂

จดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพ_ฉบับสร้างสุข_ประจำเดือนมีนาคม_2562

 

ปิดเทอมใหญ่ อย่าให้หัวใจว้าวุ่น

ใกล้จะปิดเทอมเข้ามาทุกทีแล้วสำหรับน้อง ๆ รวมไปถึงพี่ ๆ นิสิต/นักศึกษา ส่วนใหญ่แล้วนอกจากจะเข้าสถาบันติวหนังสือ หรือเรียนพิเศษ น้อง ๆ บางคนคงจะหากิจกรรมพิเศษทำ เช่น เข้าค่าย หางานพิเศษ เรียนดนตรี เรียนเต้น ฯลฯ แต่สำหรับใครที่ยังไม่มีโปรแกรม หรือนึกไม่ออก เรามีกิจกรรมคูล ๆ มาแบ่งปันให้น้อง ๆ เลือกค่ะ

“ปิดเทอมสร้างสรรค์” โปรเจคพิเศษขององค์กรผู้ใหญ่ใจดีอย่าง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับองค์กรภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม  ที่จะช่วยให้น้อง ๆ เพิ่มทักษะการเรียนรู้ การใช้ชีวิต และปลดปล่อยศักยภาพของตัวเอง โดยในปี 2560 ที่ผ่านมา เรามี 450 กิจกรรม งานพิเศษ 3,000 ตำแหน่ง ที่น้อง ๆ และผู้ปกครอง ได้เลือกร่วมกิจกรรมใน www.ปิดเทอมสร้างสรรค์.com

ทำไมต้องทำกิจกรรมสร้างสรรค์

มีผลสำรวจที่น่าสนใจเรื่อง “ปิดเทอมนี้เด็กเยาวชนอยากทำอะไร” ในเดือนมีนาคม 2561 โดย สสส. ร่วมกับชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน จำนวน 1,760 ตัวอย่าง พบว่า กิจกรรมที่เด็กเยาวชนตั้งใจจะทำในช่วงปิดเทอมอันดับแรก คือ เล่นมือถือ อินเทอร์เน็ต 71% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงจนน่าตกใจ และนำมาสู่ปัญหาสุขภาวะหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ภาวะนิ่งเฉยหรือภาวะติดจอ เป็นตัวการก่อให้เกิดโรคอ้วนและลงพุง ส่งผลต่อภาวะสายตา การพัฒนาทักษะทางความคิดและการดำเนินชีวิต

น่าเสียดายที่เราจะปล่อยให้ช่วงเวลาปิดเทอมหมดไปกับการนั่ง ๆ นอน ๆ เล่มเกม ดูทีวี กิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ จึงช่วยให้เด็กเยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นของเด็กและเยาวชน

ปิดเทอมใหญ่ อย่าให้หัวใจว้าวุ่น thaihealth

เด็กทั่วโลกเขาทำอะไรกันในช่วงปิดเทอม

แล้วเด็กเยาวชนในต่างประเทศ เขาทำอะไรกันบ้างในช่วงปิดเทอม ข้อมูลจากเว็บไซต์ Eduzone บอกว่า กิจกรรมของเด็กทั่วโลกนั้น แบ่งออกเป็น 8 กิจกรรม คือ

1. อาสาสมัคร (Volunteer) ในประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา กิจกรรมยามว่างของเด็ก High School และระดับ College คือ การเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือคนด้อยโอกาส และช่วยเหลือผู้ประสบภัยในต่างประเทศ

2. ทำงานพิเศษ นอกจากจะได้เงินค่าขนมแล้ว ยังเป็นการฝึกการทำงานในอนาคต และสร้างวินัยในตนเอง นักเรียนและนักศึกษาอเมริกัน ชอบทำงานหารายได้พิเศษในช่วงวันหยุดยาวกันเป็นจำนวนมาก เช่น ทำงานร้านอาหาร การรับงานเอกสารมาทำที่บ้าน งานเลี้ยงเด็ก ฯลฯ

3. ท่องเที่ยว เมื่อมีวันหยุดยาว เด็กวัยรุ่นชาวอเมริกันเลือกที่จะไปท่องเที่ยวในสานที่ต่าง ๆ ทั้งในรัฐของตัวเอง และรัฐข้างเคียง โดยการแบกเป้ และเลือกพักโรงแรมริมทางในราคาที่ไม่แพง เช่น อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของโลก และแห่งแรกของสหรัฐอเมริกา

4. อาบแดด กิจกรรมสุดฮิตในฤดูร้อน หรือ Summer ของนักเรียนต่างชาติที่อยู่ในเขตประเทศอากาศหนาว แน่นอนว่าต้องไม่พลาดที่จะออกมาอาบแดดให้ร่างกายได้อุ่นปีละครั้งแน่นอน

5. เล่นกีฬา กิจกรรมอีกอย่างที่ทำได้ง่าย ๆ และทุกเพศทุกวัย นักศึกษาจากทุกมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมีชมรมกีฬาและกลุ่มกีฬาเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย อีกทั้งยังมีกิจกรรมด้านกีฬาในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนอีกด้วย

6. อ่านหนังสือ เป็นกิจกรรมที่ทำกันได้ง่าย ๆ ของนักเรียนทั่วโลก นอกจากช่วยเรื่องการฝึกสมาธิแล้ว ยังช่วยพัฒนาสมองได้อีกด้วย

7. แคมป์ฤดูร้อน (Summer Camp) กิจกรรมการเข้าค่ายในช่วงฤดูร้อน เป็นอีกกิจกรรมที่นักศึกษาทุกชาติชอบทำกัน แต่อาจจะแตกต่างกันไปซักหน่อยตามแต่ละทวีป วัฒนธรรมและสภาพสังคมของนักเรียนในแต่ละประเทศ

8. นักเรียนแลกเปลี่ยน (Exchange Student) ไม่ว่าจะเป็นต่างประเทศ หรือประเทศไทยเอง น้อง ๆ วัยมัธยม จนถึงมหาวิทยาลัย ก็มักจะสมัครเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปใช้ชีวิต เรียนภาษา และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในต่างประเทศ

ปิดเทอมใหญ่ อย่าให้หัวใจว้าวุ่น thaihealth

 หากิจกรรมช่วงปิดเทอมได้ที่ไหน

www.ปิดเทอมสร้างสรรค์.com มีกิจกรรมจากภาคีเครือข่ายกว่า 30 เครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ให้น้อง ๆ เลือกทำระหว่างปิดเทอม รวมไปถึงช่วงเปิดเทอมด้วย กว่า 450 กิจกรรม เช่น

  • กิจกรรมท้องฟ้าจำลองจัดแสดงภาพยนตร์เต็มโดม เดือนกุมภาพันธ์ 2562 เรื่อง ขอบฟ้าแห่งใหม่ (New Horizons) https://bit.ly/2NkPSQV
  • ค่าย DIY Family Rally 2562 ครั้งที่ 6 ณ ฟาวน์เท่น ทรี รีสอร์ท เขาใหญ่ ปากช่อง https://bit.ly/2BGlb42
  • ค่าย ChemE Camp TU ครั้งที่ 7 ณ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://bit.ly/2V2hpcg
  • ค่ายผู้นำเยาวชนดาราศาสตร์ ครั้งที่ 15 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://bit.ly/2T2ksUz
  • Grab เชียงใหม่ รับสมัครเเมสเซ็นเจอร์ ส่งอาหาร-ส่งของ https://bit.ly/2DS7Sh1
  • รับสมัคร นศ.ชาย Part Time ทำงานครัวร้านอาหารญี่ปุ่นย่านนิมมาน https://bit.ly/2SMGz23

ในเว็บไซต์มีตั้งแต่กิจกรรมเข้าค่ายวิชาการ หรือ ค่ายอาสา กิจกรรมพิเศษ รวมไปถึงหางานพาร์ทไทม์ และค้นหากิจกรรมตามความสนใจของเราอย่างง่าย ๆ นอกจากนี้ยังปักหมุดแหล่งเรียนรู้ให้เราได้ตามรอยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดกันอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น

ในปีนี้เอง สสส. ได้ขยายความร่วมมือไปยังท้องถิ่น เพื่อเกิดเครือข่ายการเรียนรู้ที่สนับสนุนกิจกรรมในช่วงปิดเทอมให้กับเยาวชน โดยมีพื้นที่ 15 จังหวัดนำร่อง ได้แก่  1. ลำพูน 2. พะเยา 3. ลำปาง 4. น่าน 5. เลย 6. ขอนแก่น7. กาฬสินธ์ 8. มหาสารคาม 9. อุบลราชธานี 10. สุรินทร์ 11. สระบุรี 12. สงขลา 13. พัทลุง 14. ตรัง 15. สตูล ซึ่งจากผลสำรวจของเด็กและเยาวชนที่ร่วมเลือกกิจกรรมในเว็บไซต์ปิดเทอมสร้างสรรค์ พบว่า กว่า 85% ของเด็กและเยาวชนได้รับประโยชน์ในระดับมากถึงมากที่สุด เพราะได้ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ , เปิดประสบการณ์ใหม่ , ฝึกคิด เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ , นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง  และสามารถตอบโจทย์พ่อแม่ผู้ปกครองที่อยากให้ลูกได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ที่มา สสส.

#5นาทีมีพลัง กับ ลิลลี่ – ระริน สมิตติพัฒน์

เธอคือเด็กอายุ 11 ขวบ

เธอคือเด็กที่ต้องการเห็นการลดใช้พลาสติก

เธอคือเด็กที่เข้าไปพูดคุยกับองค์กรใหญ่ ๆ ด้วยตัวเอง

เธอคือเด็กที่ทำได้มากกว่าที่ใคร ๆ คิด เพื่อขอให้พวกเรา “ลดการใช้พลาสติก”

https://www.facebook.com/kontvburabha/videos/vb.266172157730/511214156074220/?type=2&theater

ขอบคุณ คนค้นฅน

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครสวรรค์

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครสวรรค์ เป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้มีประกาศจัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ส.2551 มีพื้นที่ให้บริการใน 9 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย อุทัยธานี

พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ

จากการที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเครื่องปั้นดินเผา อันเป็นแหล่งที่อยู่ของชุมชนชาวมอญ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีนอกเหนือจากที่นี้แล้วยังมีหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งที่จังหวัดนครสวรรค์ ที่มีเครื่องปั้นดินเผาระดับคุณภาพไม่แพ้กัน เครื่องปั้นดินเผาหมู่บ้านมอญเป็นภูมิปัญญาที่มีมรดกตกทอดมานานกว่า 200 ปี เป็นหมู่บ้านของชุมชนชาวมอญที่ได้อพยพมาจาก อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีมา 4 ครอบครัว คือ ครอบครัวช่างปั้น เลี้ยงสุข เรืองบุญ และครอบครัวแก้วสุทธิมา ต่อมาจึงได้ก่อตั้งที่แห่งนี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญขึ้นมา โดยมีการแสดงการปั้นดินเผา และมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำ สำหรับการลองปั้นดินเผาเองได้ อีกทั้งยังมีร้านอาหารชาวมอญ อาหารของชาวมอญแท้ ๆ

พิพิธภัณฑ์ย้อนรอยอดีตเมืองปากน้ำโพ

พิพิธภัณฑ์ย้อนรอยอดีตเมืองปากน้ำโพ  ตั้งอยู่บนชั้น 5 ห้างแฟรี่แลนด์นครสวรรค์ เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชน จัดสร้างขึ้นเพื่อปลูกจิตสำนึกรักบ้านเกิดให้ลูกหลานชาวปากน้ำโพ ได้รับรู้ประวัติความเป็นมาของบ้านเกิดตัวเอง

พิพิธภัณฑ์ตั้งเซียมฮะ (บ้านไหพันใบ)

พิพิธภัณฑ์ตั้งเซียมฮะ (บ้านไหพันใบ) เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่เต็มไปด้วยความรู้เรื่องราวเกี่ยวกับภาชนะเครื่องปั้นดินเผาเก่าแก่ที่บางชิ้นมีอายุนานนับร้อยปี เป็นเครื่องปั้นดินเผารูปแบบต่าง ๆ ที่มีมาตั้งแต่ยุคสุโขทัย เช่น เตาหุงข้าว เตาเชิงกราน เตาผิงไฟ ไหใส่น้ำ ไหใส่เหล้า ไหกระเทียม ไหใส่น้ำปลา ไหใส่เต้าหู้ยี้ ฯลฯ รวมทั้งเครื่องปั้นดินเผาที่งมได้จากแม่น้ำแม่กลอง ได้แก่ คันฉ่องไม้สัก ถาดนิเกิล เรือบดไม้สัก เตาเชิงกราน และของโบราณหายากหลายชนิด ที่นี่เกิดขึ้นจากความตั้งใจของคุณธวัชชัย พิเสฎฐศลาศัย นักสะสมภาชนะสมัยโบราณที่ได้เก็บรวบรวมสิ่งของ เหล่านั้นไว้มากมาย จนกระทั่งเปิดบ้านหลังนี้ต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชม โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับชุมชนใกล้เคียงที่มีความสนใจงานด้านการอนุรักษ์อีกด้วย

บ้านเบญจรงค์บางช้าง

บ้านเบญจรงค์บางช้างก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2545 เป็นการรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นเครื่องเบญจรงค์เรียนรู้ในการพัฒนากระบวนการผลิต และเทคโนโลยีในการผลิตของกลุ่มรวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถของกลุ่มบ้านเบญจรงค์บางช้าง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้ข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับเครื่องเบญจรงค์ ทางกลุ่มบ้านเบญจรงค์บางช้างได้มีที่ปรึกษาคือ กรมการพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภออัมพวา องค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง และกลุ่มสตรีบางช้าง โดยภายในมีการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น กิจกรรมลงสีเบญจรงค์ กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องเบญจรงค์ เป็นต้น มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์

หอศิลป์บ้านบัวแก้ว

หอศิลป์บ้านบัวแก้วเป็นหอศิลป์ของอาจารย์จรูญ บุญสวน ศิลปินอาวุโสที่เขียนภาพในรูปแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionistic Style) ใช้สีสันสดใส สะดุดตา ส่วนใหญ่จะเป็นภาพทิวทัศน์ ดอกไม้ ที่ทำให้ผู้ชมภาพเกิดความเบิกบานใจ หอศิลป์แห่งนี้จัดตั้งขึ้นราว พ.ศ. 2532 ประกอบด้วยอาคาร 2 หลัง อาจารย์จรูญมีความตั้งใจให้เป็นหอศิลป์ที่ต้อนรับผู้เข้าชมตลอดเวลาดังเช่นพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์อื่นๆ แต่ปัจจุบันเนื่องด้วยในฐานะของศิลปินที่จะต้องทำงานศิลปะโดยตลอด ทำให้ไม่มีเวลาพอที่จะรับรองผู้เข้าชมได้ หอศิลป์จึงไม่ได้เปิดให้เข้าชมโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม อาจารย์มีโครงการที่จะกลับมาเปิดพิพิธภัณฑ์เพื่อต้อนรับสาธารณชนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากลูกชายที่เป็นอาจารย์ด้านศิลปะ จะเข้ามาดูแลและทำกิจกรรมกับเยาวชน อาจารย์ใช้เวลาโดยส่วนใหญ่กับการสร้างงานศิลปะ และจัดแสดงภาพของตนเองเป็นครั้งคราว เช่น งานที่หอศิลป์จามจุรี เมื่อปี 2548 และหอศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี 2550 บางปีมีนักศึกษาในระดับ ปวช. และ ปวส. มาฝึกวาดภาพในห้องทำงานของอาจารย์ด้วยเช่นกัน ศิลปะสำหรับอาจารย์แล้วคือ สิ่งจรรโลงใจที่ศิลปินจะมอบให้สังคม สุนทรียะเป็นเรื่องแรกที่อาจารย์กล่าวถึงเมื่อพูดถึงงานศิลปะ

พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน โรงเรียนแม่ทาวิทยาคม

พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านโรงเรียนแม่ทาวิทยาคมเริ่มก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ 2530 โดยครูสุพรรธน์ เตชะโสด ซึ่งเริ่มจากการสะสมสิ่งของเครื่องใช้ตามความสนใจเป็นเบื้องแรก จากนั้นได้ขอรับบริจาคจากครู,นักเรียน,และผู้ใกล้ชิด จัดแสดงภายในอาคารไม้ที่สร้างมาตั้งแต่ปีพ.ศ 2500 และได้ทำพิธีเปิดป้ายพิพิธภัณฑ์เมื่อวันที่ 12 มิ.ย 2533 โดย ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ อธิบดีกรมสามัญศึกษาฯ

พิพิธภัณฑ์วัดบ้านหลุก

เป็นสถานที่เก็บพระพุทธรูปเก่าและหีบธรรมโบราณของทางวัดบ้านหลุกเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ดูและศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของวัด

พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุสวี

พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุสวี เป็นสถานที่จัดแสดงพระบรมธาตุสวีมีลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมเลียนแบบพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2539 ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบโอคว่ำ เหนือขึ้นไปเป็นเสาหารก้านฉัตรบัวเถาปล้องไฉน 7 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นปลียอด และเม็ดน้ำค้าง เจดีย์หรือสถูป มีความหมายถึงสถาปัตยกรรมสำหรับบรรจุอัฐิหรือพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า มีต้นกำเนิดมาจากเนินดินฝังศพในประเทศอินเดีย ก่อนจะพัฒนากลายมาเป็นสัญลักษณ์แทนถึงพระพุทธเจ้าในพุทธศาสนา แต่ละภูมิภาคที่นับถือพุทธศาสนาล้วนมีศิลปกรรมของสร้างสรรค์เจดีย์ที่แตกต่างกันออกไปอย่างหลากหลาย มีอาคารพิพิธภัณฑ์โดยมีการจัดแสดงพระพุทธรูปโบราณที่ขุดค้นพบในบริเวณพระธาตุถูกนำมาเก็บไว้ยังอาคารแห่งนี้ ภายในจะเป็นห้องอาคารชั้นเดียว

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า