พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นพิพิธภัณฑ์ทางธรรมชาติวิทยาแห่งแรกของประเทศไทย  จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้อยู่ภายใต้การดูแลของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์  มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมตัวอย่างสิ่งมีชีวิตและทรัพยากรธรรมชาติที่สะสมมาแต่เดิมรวมทั้งที่มีการวิจัยและค้นพบใหม่เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิงทางวิชาการและการอนุรักษ์  ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงตัวอย่างสิ่งมีชีวิตและทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ  โครงกระดูกของสิ่งมีชีวิต  ตัวอย่างเปลือกหอยต่างๆ ของไทย ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทย  ชีววิทยาของผึ้ง  ตัวอย่างปลาในวรรณคดี  ตัวอย่างตะพาบ    ม่านลาย  ซึ่งพบในประเทศไทยแห่งเดียวในโลก  เป็นต้น

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุสโซ

เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลก จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งของบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับโลกที่ปั้น “เสมือนจริง” รวมทั้งมีบรรยากาศแบบสมัยใหม่ที่ผสมผสานแสง สี เสียง ที่ทันสมัย

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดาสทุสโซ จัดแสดงในหลายประเทศ อาทิ อังกฤษ เนเธอแลนด์ ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ อเมริกา เยอรมณี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และได้เปิดสาขาที่ 10 ที่สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งนอกจากจะแสดงหุ่นขี้ผึ้งของบุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงแลัว ยังมีห้องจัดแสดงพิเศษ คือ “ห้องพระราชวงศ์” อีกด้วย

แบทแคท มิวเซี่ยม แอนด์ ทอยส์ ไทยแลนด์

พิพิธภัณฑ์ของเล่นของสะสมระดับโลกที่มี “แบทแมน” จำนวนมากที่สุดในเอเชีย  ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกพร้อมด้วยผองเพื่อนซูเปอร์ฮีโร่จากภาพยนตร์ รายการทีวี หนังสือการ์ตูน และตัวการ์ตูนชื่อดัง ที่ทุกคนรู้จัก อาทิ ซูเปอร์แมน สไปเดอร์แมน สตาร์วอร์ เอเลี่ยนส์ ทอยส์สตอรี่ ฯลฯ มาร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เยี่ยมชม

พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ

พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ ริเริ่มโดยนายโกมล พานิชพันธ์ นักสะสมผ้าโบราณชาวอำเภอลอง โดยนายโกมลได้สะสมผ้าโบราณชนิดต่างๆของ “เมืองลอง” และผ้าโบราณของชุมชนต่างๆ ใกล้เคียง จนกระทั่งร่วมมือกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดแพร่  จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีพื้นบ้าน สาขาสิ่งทอ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ เมื่อปีพุทธศักราช 2535 จากนั้นจึงได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณให้บุคคลทั่วไปชมในวันที่ 12 สิงหาคม 2535

พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 5 ส่วน ส่วนที่ 1 ว่าด้วยเรื่องจิตรกรรมเวียงต้า งานจิตรกรรมสีฝุ่นบนแผ่นไม้หลายแผ่นที่ประกอบเป็นฝาผนังของช่างพื้นบ้านในอดีต เดิมอยู่ในวัดต้าม่อน อ.ลอง จ.แพร่ ปัจจุบันผาติกรรมไปเก็บไว้ที่ไร่แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย  ลักษณะของภาพเขียนเป็นรูปแบบงานจิตรกรรมของสกุลช่างศิลป์เมืองน่าน แสดงถึงการแต่งกายของสตรี “เมืองลอง” อย่างชัดเจน

พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุถิ่นแถนหลวง

วัดพระธาตุถิ่นแถนหลวง อีกหนึ่งศาสนสถานที่สำคัญ ของตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นวัดที่มีความงดงามมาก มีกิจกรรมให้ร่วมปฏิบัติหลายอย่าง เช่น มีการส่ง เสริมการจัดกิจกรรมให้เป็นศูนย์อบรมและปฏิบัติธรรมของนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป จัดกิจกรรมส่งเสริมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและศาสนาเป็นประจำตามเทศกาล และจัดส่งเสริมให้มีการอบรมด้านอาชีพและพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่า

ม่อนพลอยล้านปี

ปี พ.ศ. 2558 ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ก่อตั้งและร่วมมือกับชุมชนทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว โซนจากขวาบนเป็นลานอธิษฐานและลานหินล้านปี ม่อนพลอยล้านปีพบหินบะซอลต์ มีลักษณะเป็นแท่งเสาหลายเหลี่ยมจึงให้ดูแปลกตา

พิพิธภัณฑ์เมืองแพร่

คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2435 ก่อนสมัยเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดแพร่ และยังเคยเป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระบรมศานุวงศ์ได้เสด็จประทับแรม เมื่อเสด็จมาเยือนเมืองแพร่

คุ้มเจ้าหลวงเป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ยุคต้น มีรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรปหรือทรงขนมปังขิง ตัวอาคารก่ออิฐถือปูนสูง 2 ชั้น ไม่มีเสาเข็มแต่ใช้ไม้ซุงท่อนรองรับฐานเสาทั้งหลัง อาคารหลังนี้มีความหรูหรา สง่างามและโอ่โถงมาก ภายใต้ตัวอาคารยกสูงจากพื้นดินประมาณ เมตร มีห้องสำหรับคุมขังข้าทาส บริวาร ซึ่งกระทำความผิด จำนวน ห้อง ส่วนชั้นบนแบ่งเป็นห้องปีกด้านซ้ายและขวา หลังคาเป็นทรงปั้นหยา เดิมมุงด้วยไม้แป้นเกล็ด แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกระเบื้องลอนคู่ ทั้งปั้นลมและชายคารอบตัวอาคารประดับด้วยไม้ฉลุลวดลายอย่างสวยงาม ด้านหน้าของตัวอาคารมีมุขยื่นออกมา และมีบันไดขึ้นลงทางด้านหน้าและด้านหลัง มีหน้าต่างรอบเรือนรวมกัน 72 บาน ซึ่งด้านบนกรอบเช็ดหน้าประดับด้วยลวดลายฉลุไม้

หอศิลป์พิงพฤกษ์

ก่อสร้างเมื่อปี 2546 โดย อาจารย์สุรเดช กาละเสน เพื่อเก็บรวบรวมผลงานทางด้านศิลปะ ทั้งที่เป็นของส่วนตัวและอุทิศให้กับสังคม นำมาจัดแสดงไว้เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับผลงานทางด้านศิลปะ ขนมธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่สะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต

ภายในบริเวณหอศิลป์ประกอบด้วย

หอศิลป์พิงพฤกษ์ จัดแสดงผลงานด้านจิตรกรรมและสื่อผสมของ อ.สุรเดช นับร้อยชิ้น อาทิ ภาพวาดสีน้ำมันรูปผู้หญิงชั้นสูงของล้านนา ภาพวาดลายเส้น self-portrait (ภาพวาดตัวศิลปินเอง)

บ้านศิลปะ จัดแสดงภาพวาดและของสะสมต่างๆ

ครัวมะเก่า(เตาไฟโบราณ) เก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในสมัยก่อน อาทิ เครื่องครัวและเครื่องมือในการประกอบอาชีพ

พิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาวสามัคคี

เริ่มก่อตั้งปี พ.ศ. 2545 ใช้เก็บรักษาของเก่าของชาวบ้านในชุมชนนาซาวและของวัดนาซาว เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนรุ่นหลังที่ต้องการศึกษาประวัติความเป็นมาของคนในชุมชน

ข้าวของเครื่องใช้สมัยก่อนจัดแบ่งออกเป็น 5 โซน

1. โบราณคดี

2. ศาสนาและความเชื่อ

3. เครื่องดนตรี

4. วิถีชีวิตแห่งนาซาว

5. ครัวไฟ (ห้องครัว)

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด

เป็นสถานที่จัดแสดงและรวบรวมเรื่องราวน่ารู้ทุกด้านของจังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งด้านภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรณี โบราณคดี ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วิถีชีวิต ประเพณี และศิลปหัตถกรรม การจัดแสดงได้มีการใช้เทคโนโลยีการนำเสนอข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์  หุ่นจำลอง และฉากชีวิตต่างๆ เข้ามาใช้ประกอบการจัดแสดงในนิทรรศการ

ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นท่าม่วง

สร้างเพื่อเก็บคัมภีร์ใบลานเก่า เเละเป็นเเหล่งข้อมูลชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

พิพิธภัณฑ์ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16

พิพิธภัณฑ์ทหาร ร.16 พัน 1 ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 ภายในจัดแสดงเกี่ยวกับเรื่อง ยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในสงคราม และวีรกรรมของหน่วยรบ โซนจัดแสดง มี 3 โซน ประกอบด้วย

โซนที่ 1 พระมหากษัตริย์ไทย 9 พระองค์

โซนที่ 2 วีรกรรมหน่วยรบ

โซนที่ 3 ยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในสงคราม

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า