หอศรีลำดวนเฉลิมพระเกียรติ

ก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2559 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของจังหวัด เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งจังหวัดศรีสะเกษ เป็นแหล่งการเรียนรู้แบบครบวงจร ได้รับความอนุเคราะห์จากกรมศิลปากรออกแบบตกแต่งภายใน เป็นเเหล่งเรียนรู้วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

ปราสาทสระกำแพงใหญ่

ปราสาทสระกำแพงใหญ่ หรือ ปราสาทศรีพฤทเธศวร ตั้งอยู่ในบริเวณวัดสระกำแพงใหญ่ ตัวปราสาท ประกอบด้วยระเบียงคด รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบกลุ่มปราสาทอิฐและบรรณาลัย รวมทั้งหมด 6 หลัง จากการสำรวจภาพถ่ายทางอากาศชี้ให้เห็นว่าปราสาทสระกำแพงใหญ่น่าจะมีชุมชนรายรอบอย่างหนาแน่น ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ เรียกว่า “สระกำแพง” สันนิษฐานว่าน่าจะขุดขึ้นเมื่อครั้งสร้างปราสาท

บ้านขุนอำไพพาณิชย์

ตึกนี้เป็นบ้านเก่าของขุนอำไพพาณิชย์(นายอินทร์ นาคสีหราช) คหบดีชาวศรีสะเกษ ได้สร้างตึกนี้เมื่อพ.ศ.2468 ฝีมือช่างชาวจีนและมอญ แต่ก็มี บันทึกว่าช่างเป็นชาวญวน ขุนอำไพพาณิชย์ไม่มีบุตรจึงได้ขอนางเฉลา ช.วรุณชัย หลายสาวมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมและเป็นผู้รับมรดกในเวลาต่อมา อาคารขุนอำไพพาณิชย์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น สีครีม มีลายปูนปั้นและไม้ฉลุประดับอย่างสวยงาม ก่อเป็นอาคารแบบตึกแถว 2ชั้น 6 คูหา ทาสี ครีม ไม่มีรากฐาน ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นผนังหนา 6-8 นิ้ว ฉาบปูนจนหนาและใช้ความหนาของผนังตึกเป็นคานและเสา ปูนปั้นเหนือประตูและหน้าต่างได้รับอิทธิพลจากคติโบราณของจีน ลวดลายไม้ฉลุเหนือประตูหน้าต่างงดงาม ซึ่งถือเป็นช่องระบายอากาศ

ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ เทศบาลเมืองศรีสะเกษ

สวรรค์โลกใต้น้ำ แดนมหัศจรรย์แห่งเดียวในอีสานใต้ ที่ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองศรีสะเกษ (SISAKET AQUARIUM) ศรีสะเกษอควาเรียม เป็นอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำในการดูแลของเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ซึ่งมีแนวคิดมุ่งเน้นการพัฒนาให้ความรู้ สร้างความเพลิดเพลิน ส่งเสริมการท่องเที่ยวแก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป

พิพิธภัณฑ์หอยหิน 150 ล้านปีและไดโนเสาร์โนนทัน

ย้อนกลับไป ก่อน ปี พ.ศ.2547 กระแสเรื่องราวของการเก็บรวบรวมภาพเก่า และเรื่องเล่าจากตัวบุคคลในท้องถิ่น ยังไม่มีผู้ให้ความสำคัญมากนัก กลุ่มคนเล็กๆ ที่สนใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า ได้รวมตัวกันอย่างหลวมๆ เก็บเรื่องราวและประสบการณ์ของผู้คนในครอบครัวและใกล้ตัวมาแลกเปลี่ยนกัน ด้วยแนวคิดที่ว่า “อยากรู้เรื่องบ้านของตนเอง ทำไมต้องไปถามคนที่อยู่ที่อื่น ทั้งๆ ที่คนที่จะบอกเล่าเรื่องราวของท้องถิ่นได้ดีที่สุด ก็น่าจะเป็นคนท้องถิ่นเอง” แม้ว่าการเล่าเรื่องราวจากประสบการณ์ของแต่ละคนจะมีมุมมองที่แตกต่างกัน แต่การได้มีเวทีเล็กๆ แลกเปลี่ยนกันก็สามารถทำให้สกัดข้อมูล และสังเคราะห์ วิเคราะห์เรื่องราว วิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละช่วงของเวลาออกมาได้

ห้องภาพเมืองสุรินทร์

ย้อนกลับไป ก่อน ปี พ.ศ.2547  กระแสเรื่องราวของการเก็บรวบรวมภาพเก่า  และเรื่องเล่าจากตัวบุคคลในท้องถิ่น  ยังไม่มีผู้ให้ความสำคัญมากนัก  กลุ่มคนเล็กๆ  ที่สนใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า  ได้รวมตัวกันอย่างหลวมๆ  เก็บเรื่องราวและประสบการณ์ของผู้คนในครอบครัวและใกล้ตัวมาแลกเปลี่ยนกัน  ด้วยแนวคิดที่ว่า  “อยากรู้เรื่องบ้านของตนเอง  ทำไมต้องไปถามคนที่อยู่ที่อื่น  ทั้งๆ ที่คนที่จะบอกเล่าเรื่องราวของท้องถิ่นได้ดีที่สุด  ก็น่าจะเป็นคนท้องถิ่นเอง”  แม้ว่าการเล่าเรื่องราวจากประสบการณ์ของแต่ละคนจะมีมุมมองที่แตกต่างกัน  แต่การได้มีเวทีเล็กๆ  แลกเปลี่ยนกันก็สามารถทำให้สกัดข้อมูล  และสังเคราะห์  วิเคราะห์เรื่องราว  วิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละช่วงของเวลาออกมาได้

ปราสาทศีขรภูมิ

ปราสาทศีขรภูมิ หรือ ปราสาทระแงง ตั้งอยู่ข้างวัดบ้านปราสาท บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทหลังนี้เป็นปราสาทที่งดงามที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระธิดาทั้ง 3 (มี หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล เป็นต้น) ได้เดินทางมาเยือนเมื่อ มกราคม – กุมภาพันธ์ 2472 (นับอย่างใหม่ต้องปี พ.ศ. 2473) และได้ถูกรวมเข้ากันกับอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิจากลักษณะทางศิลปกรรม สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นศาสนสถานในลัทธิไศวนิกาย และในพุทธศตวรรษที่ 22 มีการบูรณะเพิ่มเติมที่องค์ปราสาทแถวหลังฝั่งทิศใต้ เป็นแบบศิลปะล้านช้าง และยังมีจารึกอักษรธรรมปรากฏอยู่ ณ ปราสาทหลังนี้

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ มีการจัดแสดงเป็น 4 ส่วน คือ อาคารที่ 1 เป็นโถงทางเข้าและทางเดิน อาคารที่ 2 เป็นส่วนการศึกษา ประกอบด้วย ห้องประชุม ห้องกิจกรรม ห้องรับรอง ห้องสมุด อาคารที่ 3 เป็นอาคารจัดแสดงและสำนักงาน ประกอบด้วย ห้องนิทรรศการถาวร ห้องนิทรรศการชั่วคราว ห้องทำงานเจ้าหน้าที่ อาคารที่ 4 เป็นคลังพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วย ห้องคลังโบราณวัตถุ ห้องปฏิบัติการอนุรักษ์และสงวนรักษา

ศูนย์วัฒนธรรมไทยจีน มูลนิธิศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี

ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน อุดรธานี  เริ่มก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นจุดศูนย์รวมอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีบรรพชนและหลักปรัญชา ของพี่-น้องชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอุดรธานี โดยเริ่มมีแนวคิดการจัดสร้างในสมัยคณะกรรมการศาลเจ้าปู่-ย่า สมัยที่ 58 และได้เริ่มรวบรวมกำลังทรัพย์จากผู้มีจิตศรัทธาเพื่อซื้อที่ดินบริเวณด้านหน้าทางเข้าศาลเจ้าด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็น โรงน้ำแข็งเก่า ราคา 15,500,000 บาท ทำการออกแบบก่อสร้างและทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2552 และ ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2556 โดยมี ร้อยเอกหญิง ดร.พระเจ้า หลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเสด็จเป็น องค์ประธานทั้ง 2 ครั้ง

พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี

ตั้งอยู่ริมถนนโพศรี ใกล้วัดโพธิสมภาร ตัวอาคารสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2463 โดยดำริพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลอุดร คุณหญิง ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนในจังหวัด เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนสำหรับ โรงเรียนนารีอุปถัมภ์ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2468 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯพระราชทานนามโรงเรียนขึ้นใหม่ ว่า “ราชินูทิศ” จึงเป็นชื่อเรียกอาคารหลังนี้สืบมา อาคารราชินูทิศ ได้ใช้เป็นอาคารสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง เมื่อ พ.ศ. 2473 และเมื่อปี พ.ศ. 2503 ใช้เป็นสำนักงานโครงการพัฒนาการศึกษา ส่วนภูมิภาค จนต่อมา พ.ศ. 2516 ได้ใช้เป็นอาคารสำนักงานศึกษาธิการเขต เขตการศึกษา 9 และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี ตามลำดับ อาคารราชินูทิศเป็นอาคาร 2 ชั้น ก่อด้วยอิฐหรือปูน รูปทรงแบบตะวันตก หลังคาทรงปั้นหยา มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า ซุ้มประตูหน้าต่างโค้ง

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท นี้เป็นที่ตั้งของสถานที่ซึ่งแสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆ กัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง

พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯ สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า “บัวบก” เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า “พระพุทธบาทบัวบก” หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ช้าง

สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2517 สืบเนื่องจากมีชาวบ้านค้นพบงาช้างนิล ในบริเวณวัด จึงมาบอกทางวัดให้ขุดขึ้นมา

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า