ปัจจุบันในเนื้อที่ 4 ไร่ ลูกหลานคนไทยเชื้อสายเวียดนาม ได้รวบรวมเงินซื้อที่ดินประวัติศาสตร์แปลงนี้ แล้วมอบให้ทางจังหวัดอุดรธานี จัดสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ แม้ปัจจุบันสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้สูญสลายไปหมดแล้ว หากแต่ผู้ก่อตั้งได้จำลองอาคารบ้านพักของลุงโฮ ที่มีลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียวก่อสร้างแบบง่าย ๆ ฝาเป็นไม้ไผ่ขัดแตะ มุงด้วยจาก สร้างติดพื้นดิน ปูพื้นด้วยกระเบื้องดินเผา ภายในแบ่งพื้นที่เป็นห้องโถงกลาง จัดแสดงโต๊ะประชุม โต๊ะเรียน และห้องครัว มีเตียง มุ้ง โต๊ะทำงาน จัดไว้ให้สภาพเหมือนกับสมัยที่ลุงโฮอาศัยอยู่ ส่วนด้านนอก จำลองเล้าหมู เล้าไก่ ยุ้งข้าว และแปลงผักเอาไว้
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
สำนักศิลปะและวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานที่มุ่งมั่นอนุรักษ์และสร้างพลังทางภูมิปัญญาของสังคมพัฒนาการศึกษา ค้นคว้า วิจัย เผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติและพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อมจิตใจไปพร้อมกัน
แหล่งศึกษาและท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (โฮจิมินห์)
ชื่อ “โฮจิมินห์” อดีตประธานาธิบดีของเวียดนาม คงเป็นที่รู้จักและคุ้นหูของคนไทยส่วนใหญ่ หากแต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าท่านโฮจิมินห์ เคยมาพำนักและเคลื่อนไหวทางการเมืองในไทยเพื่อเรียกร้องเอกราชของเวียดนามจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส หลังจากที่เวียดนามถูกกองกำลังฝรั่งเศสบุกยึดจากใต้ขึ้นเหนือ และยึดได้ทั้งหมดราวปี ค.ศ. 1883 จากนั้นในเวียดนามมีขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสหลายกลุ่ม และถูกฝรั่งเศสปราบปราม บางส่วนหลบหนีออกนอกประเทศ คนเวียดนามรุ่นแรก ๆ ที่เข้ามาตั้งรกรากในไทย แถบนครพนม หนองคาย สกลนคร และอุดรธานี ก็เคลื่อนย้ายมาช่วงนี้ และย้ายตามกันเข้ามาอีกเรื่อย ๆ หลายระลอก
ปิดเทอมสร้างสรรค์ เตรียมตัวสู่โลกทำงาน
เรียนภาษาอังกฤษให้ใช้ได้จริง ในแบบฉบับ ครูคริสโตเฟอร์ ไรท์
พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร
นับแต่ พ.ศ. 2503 เมื่อ ศ.นพ. สุด แสงวิเชียร ผู้เชี่ยวชาญด้านกายวิภาคศาสตร์และมานุษยวิทยา เข้าร่วมขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่ ต.จรเข้เผือก จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นการขุดค้นเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ทำให้มีโอกาสได้ศึกษาเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผาที่ฝังรวมกับโครงกระดูก ท่านรวบรวมสิ่งเหล่านี้จัดตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์ เปิดเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2515
พิพิธภัณฑ์การฝึกหัดครูไทย
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2544 โดยคณะกรรมการผู้บริหารของมหาวิทยาลัยริเริ่มเนื่องจากครบรอบ 100 ปีของการฝึกหัดครูไทย รวบรวมเรื่องราวของครูในอดีตกว่าหนึ่งศตวรรษ และประวัติที่เริ่มจัดตั้ง “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”
พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับอัญมณีและเครื่องประดับแบบครบวงจร โดยมีแนวคิดให้ผู้เยี่ยมชมได้เรียนรู้ตั้งแต่เรื่องการกำเนิดของอัญมณี ไปจนถึงเมื่ออัญมณีได้อยู่คู่กับตัวเรือนโลหะมีค่า กลายเป็นเครื่องประดับที่มีมูลค่าสูงในที่สุด
พิพิธภัณฑสถานวาจวิทยาวัฑฒน์
ตั้งอยู่ ณ ตึกวาจวิทยาวัฑฒน์ ชั้น ๑ คณะทันตแพทยศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงหลวงวาจวิทยาวัฑฒน์คณบดีคนแรกผู้ก่อตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์และเพื่อร่วมเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบ ๒๐๐ ปี โดยรวบรวมประวัติ รูปภาพอาจารย์และนิสิตรุ่นแรกๆ รวมทั้งเอกสาร เครื่องมือเครื่องใช้ทางทันตกรรม ฯลฯ เพื่อเป็นประโยชน์ทางการศึกษาและเป็นแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์แก่ทันตแพทย์และประชาชนทั่วไปนอกจากนี้ยังมีสิ่งสำคัญที่นับเป็นประวัติศาสตร์และเป็นสมบัติที่ล้ำค่าไม่สามารถประเมินราคาได้ คือ ยูนิตทำฟันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยทรงทำพระทนต์ด้วย
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้บ้านจิรายุ – พูนทรัพย์
ในวันที่ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ มีอายุครบรอบ 96 ปี ในพ.ศ. 2549 ท่านได้น้อมเกล้าฯ ถวายบ้านพร้อมที่ดิน ณ ซอยสุขุมวิท 101/1 แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พิพิธภัณฑ์บ้านจิรายุ-พูนทรัพย์ ได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านภาษาศาสตร์
หากใครที่ชื่นชอบในการค้นคว้าแสวงหาความรู้ และรักการอ่าน โดยเฉพาะการศึกษาด้านภาษาศาสตร์ ครั้นจะไปตามห้องสมุดต่างๆ ก็อาจจะไม่สะดวก หรือได้ข้อมูลที่ครบถ้วนดีนัก ไม่ควรพลาดที่จะไปเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดบ้านจิรายุ-พูนทรัพย์ แหล่งเรียนรู้ ซึ่งรวบรวมตำราและข้อมูลอันหลากหลายเข้ามาให้เลือกสรร เสพสำราญกับสารพัดข้อมูลได้อย่างอิ่มหนำสมอง
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตทวีวัฒนา
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร โดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เริ่มดำเนินโครงการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 โดยจัดตั้งในพื้นที่ 4 เขตนำร่อง ได้แก่ เขตบางรัก เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางกอกน้อย และเขตบางขุนเทียน เพื่อทำหน้าที่ในการศึกษารวบรวมข้อมูล วัตถุสิ่งของ และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยทำการเชื่อมโยงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ วิถีชีวิตของกลุ่มคนในชุมชน สังคม ประเพณีวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น แสดงให้เห็นถึงการติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่น หรือสังคมรอบข้าง ตามปัจจัย และบริบททางสังคมของแต่ละท้องถิ่น ปัจจุบันกรุงเทพมหานครเปิดให้บริการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร 25 แห่ง ใน 25 พื้นที่เขตของกรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร โดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เริ่มดำเนินโครงการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 โดยจัดตั้งในพื้นที่ 4 เขตนำร่อง ได้แก่ เขตบางรัก เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางกอกน้อย และเขตบางขุนเทียน เพื่อทำหน้าที่ในการศึกษารวบรวมข้อมูล วัตถุสิ่งของ และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยทำการเชื่อมโยงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ วิถีชีวิตของกลุ่มคนในชุมชน สังคม ประเพณีวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น แสดงให้เห็นถึงการติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่น หรือสังคมรอบข้าง ตามปัจจัย และบริบททางสังคมของแต่ละท้องถิ่น ปัจจุบันกรุงเทพมหานครเปิดให้บริการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร 25 แห่ง ใน 25 พื้นที่เขตของกรุงเทพมหานคร