ต้มจืดไข่น้ำจากไข่เจียวที่กินไม่หมด

เปลี่ยนจากอาหารเหลือให้กลายเป็นเมนูใหม่ จากไข่เจียวเหลือที่วางทิิ้งไว้บนโต๊ะ ให้เป็นไข่น้ำสุดอร่อย

วัตุดิบ

  • ต้นหอมหั่นเป็นท่อน (ต้น) 1 ต้น
  • ซีอิ๊วขาว (สำหรับทำน้ำซุป) 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทราย
  • พริกไท

วิธีทำ

  1. นำไข่เจียวที่หั่นไว้ ใส่หม้อต้ม ปรุงรสด้วย ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา พริกไทย 1 ช้อนชา
  2. ชิมรสชาติ  ใส่วุ้นเส้นลงไปต้มน้ำจนเดือด เสร็จแล้วใส่ต้นหอม ผักชี ลงไป
  3. ต้มจนน้ำเดือดอีกรอบเป็นอันเสร็จ

กำไลลูกปัด

วัสดุในการทำ

  • เอ็นยืด
  • ลูกปัดเม็ดทรายสีสันตามใจชอบ
  • ลูกปัดจี้ (มีหรือไม่ก็ได้ตามใจชอบ)
  • กรรไกร

วิธีทำ

  • วัดเส้นเอ็นยืดตามขนาดข้อมือที่เราต้องการ แนะนำว่าอย่างพึ่งตัดเส้นเอ็นเพราะจะร้อยใส่ลูกปัดยาก จากนั้นก็เลือกสีกะปริมาณลูกปัดตามต้องการ
  • พอร้อยเสร็จก็ผูกปมกำไลให้แน่นพร้อมเก็บปมไว้ในลูกปัด อย่าลืมเช็คว่าแน่นพอแล้ว

ไม้หนีบสารพัดแบบ

วัสดุในการทำ

  • ไม้หนีบผ้า
  • กระปุกครีม

วิธีทำ

  • นำไม้หนีบผ้ามาหนีบกับกระปุกครีมเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

ตระกร้าใส่ของจากกล่องกระดาษ

  1. ทากาวที่กล่องทีละด้าน จากนั้นติดเชือกโดยรอบ รอจนแห้งสนิท
  2. บุผ้าดิบ (หรือผ้าที่ชอบ) ด้านในกล่อง โดยทากาวที่มุมทั้ง 4 ด้าน
  3. ตกแต่งด้วยดอกไม้ กระดุม หรือตุ๊กตาตามมุมต่าง

Dreamcatcher ตาข่ายดักฝัน

  1. นำไหมพรมหรือสายหนังมาพันเข้ากับวงแหวนให้ชิดไปเรื่อยๆ จนทั้งวงแหวนที่เตรียมไว้พันด้วยไหมพรมหรือสายหนังจนหมด
  2. ตัดสายหนังหรือไหมพรมอีกเส้นมาผูกเป็นห่วงทีละเสต็ปเข้าที่วงแหวนตามรูปภาพด้านล่าง หากต้องการคล้องลูกปัดก็สอดร้อยเข้าไปพร้อมกับทำไปทีละสเต็ปได้เลย

บริหารเงินฉบับวัยรุ่น ช่วงปิดเทอมมาเรียนรู้การบริหารเงินส่วนตัวกันเถอะ !!

ปิดเทอมเเล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครองหลายท่าน อยากหากิจกรรม หรือ การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้กับลูกๆหลานๆ วันนี้ทางเรามีกิจกรรมดีๆ มาเเนะนำ ซึ่งเป็นการเรียนรู้เรื่องการบริหารการเงินเบื้องต้นสำหรับกลุ่มเด็กและเยาวชนทั่วไป ที่ได้ข้อมูลมาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่าง “ตลาดหลักทรัพย์แห่งปรเะทศไทย” หรือผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรง  สามารถเริ่มจากการเรียนรู้พื้นฐานเพื่อให้ให้น้องๆ ได้หัดบริหารเงินของตนเอง เพื่อให้น้องๆ ได้รับทักษะขั้นพื้นฐานที่มีค่าตลอดชีวิต ในเรื่องของการเงินและการออมเงินในอนาคต เรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ได้ฟรี!! ผ่านแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง ได้รวบรวม 5 แหล่งเรียนรู้ฟรี มีคุณภาพมาไว้ที่นี่แล้ว

1. 4 ขั้นตอนสู่ความมั่งคั่ง ที่วัยเด็กสามารถเริ่มทำได้

  1. รู้หา : หารายได้เสริม เพิ่มเงินออม
  2. รู้เก็บ : ออมก่อนรวยกว่า
  3. รู้ใช้ : ใช้จ่ายอย่างชาญฉลาด
  4. รู้ขยายดอกผล : ลงทุนเป็น เห็นเงินล้าน

น้องๆ สามารถเรียนรู้การบริหารเงิน การออมเงินขั้นพื้นฐาน สามารอธิบายเเละสอนให้น้องได้รู้จักการวางในการใช้เงิน ในการออมเงินของตนเองได้ง่ายๆ  สามารถเริ่มต้นได้ทันที ที่ลิงค์ https://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/school-student

2. คู่มือเงินทองต้องวางแผน ตอน วัยรุ่นอย่างเราเอาเรื่องเงินอยู่

เมื่อน้องๆ ได้เรียนรู้การบริหารเงิน การวางแผนออมเงินเบื้องต้นเเล้ว หรือจะเป็นน้องๆที่เริ่มมีประสบการณ์มาบ้างเเล้ว เเต่ยังจับต้นชนปลายไม่ได้ เราสามารถมาหาทางออกหรือหาความรู้เพิ่มได้ที่ “คู่มือเงินทองต้องวางแผน ตอน วัยรุ่นอย่างเราเอาเรื่องเงินอยู่” ที่จะทำให้น้อง ๆ ได้รู้จักตั้งเเต่การค้นหาตัวเอง การวางแผนชีวิต การวางแผนค่าใช้จ่ายในอนาคต หากน้องๆ คนไหนได้เข้ามาเรียนรู้รู้ หรือมาศึกษาเเล้ว การรันตีได้เลยว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปจะเป็นพื้นฐานที่ดีได้แน่นอน เรียนรู้ได้ที่ลิงค์ https://media.setinvestnow.com/setinvestnow/Documents/2020/Nov/02_financial-planning-teenagers.pdf

3. SET e-Learning Money Style 

ค้นหาแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนสื่งที่ชอบให้กลายเป็นอาชีพที่ใช่! ให้ใช้ชีวิตได้แบบที่อยากเป็น แถมวางแผนความุขที่ยั่งยืน ชวนพ่อ แม่ ผู้ปกครอง มาเรียนรู้พร้อมกับลูกๆ หลาน เพื่อมารียนรู้การวางแผนการเงิน วางแผนชีวิต เพื่อเป็นพื้นฐานที่มีค่าให้กับตนเอง ที่ได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์เเละความรู้ด้านการเงินอย่างอัดเเน่น ที่อธิบายเเล้วเข้าใจง่าย รวมถึง การหารายได้ที่สามรถทำเป็นกิจกรรมร่วมกันได้กับครอบครัว ผ่าน SET e-Learning Money Style ที่สามารถเรียนรู้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่มาร่วมเรียรู้พร้อมกันทั้งครอบครัวได้เลย! ที่ลิงค์ https://www.setinvestnow.com/th/elearning-money-style

4. เรียนรู้ผ่าน เกมสุดหรรษาด้านการลงทุนตลอด 24 ชั่วโมงไปกับ INVESTORY  

การเรียนรู้มีหลากหลายรูปแบบ การวางแผนการเงินก็เช่นกัน วันนี้ จะเป็นวิธีการเรียนรู้ผ่านการเล่นเกมส์ที่ให้ความรู้ด้านการลงทุน กับ INVESTORY ที่ให้ความรู้ตลอด 24 ชั่วโมงกันเลยทีเดียว เช่น

  • เกมเพิ่มพลังตังค์เก็บ พบกับสามพลังมหัศจรรย์ เพิ่มค่าเงินออมนเก็บเงิน การวางแผนลงทุน
  •  เกม JOURNEY TO MY PORT วางแผนการลงทุนของตัวคุณเอง
  • เกม STOCK CITY ฝึกเลือกหุ้นที่ใช่ในสถานการณ์ที่ท้าทาย
  • เกมเก็บตังค์พลัง DCA ทดลองออมหุ้นแบบ DCA

ที่ได้ทั้งความรู้และความสนุกสนานไปพร้อมๆกัน มาสนุกกันได้ที่ https://setga.page.link/1KDJPrynro3D7dp3A

5. “ไม่ต้องเก่งคณิตศาสตร์​ ก็ฉลาดเรื่องเงินได้” By Money Coach กับโค้ชหนุ่ม

การเรียนรู้เรื่องการเงินไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปเมื่อ Money Coach กับโค้ชหนุ่ม ได้เตรียมเนื้อหาที่สำคัญต่อการวางแผนทางการเงินที่มาตั้งเเต่ขั้นพื้นฐานให้ได้มาเรียนรู้มาศึกษากัน โดยจะเป็น

หลักสูตรการเงินพื้นฐานสำหรับผู้เพิ่งเริ่มต้นทำงาน (First Jobbers) หรือเริ่มต้นศึกษาเรื่องการเงิน ความยาว 3 ชั่วโมง ที่เข้าใจง่าย ทำให้การที่เราจะคิดมาบริหารจัดการเงินของตนเองสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น
โดยมีเนื้อหาหลัก ได้แก่

  • ทำไมต้องวางแผนการเงิน
  • การจัดการรายได้
  • การจัการเงินออม
  • การใช้สินเชื่อเพื่อประโยชน์ในชีวิต
  • การวางแผนภาษีเงินได้กับบุคคลธรรมดา
  • การวางแผนสู่ความมั่ง

หากน้องๆ สนใจสามารถกดเข้าไปที่ https://bit.ly/3XmhqsZ ได้เลย!!

เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกคน มีเนื้อหาการเรียนรู้ ที่มีทั้งคุณภาพ ความรู้ ความสนุก ไว้ในที่เดียวกัน การเรียนรู้เรื่องวางแผนการเงิน ถือเป็นอีกหนึ่งความรู้พื้นฐานก้าวเเรก ก้าวสำคัญที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จในชีวิตได้ การมีทักษะดีการเงินที่ดี ถือว่าเป็นความรู้พื้นฐานที่มีค่าไปตลอดชีวิตในเรื่องกาารเงินเเละการออมในอนาคต

หอชมเมืองสมุทรปราการ

📣#หอชมเมืองสมุทรปราการ แลนมาร์คที่ต้องไป!! ใครยังไม่ได้มาเยือน ต้องรีบเลย ✨🗼 เพราะตอนนี้เปิดเข้าชมฟรี ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ‼️ ทั้งชาวไทย👨 และชาวต่างชาติ 👱✨มาร่วมย้อนรอยเปิดเรื่องราวเมืองปราการด่านหน้าทางทะเล ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านนิทรรศการ ” ร้อยเป็นเรื่องเมืองปากน้ำ ” ในรูปแบบ Interactive ที่ตื่นตาตื่นใจ 👀👀 และจุดชมวิว 🗼🗼ปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยที่สุดแบบ Panorama 360 องศา 🌊🌊แห่งเดียวในไทย‼️‼️ มาแล้วอย่าลืมมาอวดรูปสวยๆใต้โพสต์กันน้าาา 📸
.
📌เปิดทำการ วันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์)
⏰ เวลา 10:00 – 17:00 น.

✨นิทรรศการ ร้อยเป็นเรื่องเมืองปากน้ำ ชั้น 1-3

มีทั้งหมด 6 โซนจัดแสดง มีทั้งหมด 16 รอบต่อวัน รับผู้เข้าชมรอบละ 25 ท่าน ใช้เวลาในการชม 1.5 ชม./รอบ รอบแรกเริ่ม 10:00 น. รอบสุดท้าย 15:00 น.
การเข้าชม
– Walk-in เข้ามาเช็ครอบว่างและลงทะเบียนเข้าชมได้ที่จุดประชาสัมพันธ์ ชั้น 1 เปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 09:50 น.

✨ ชั้น 23 จุดชมวิว 360 องศา บนความสูงกว่า 179.55 เมตร

ชั้น 25 นิทรรศการเทิดพระเกียรติ “เรื่องเที่ยวเรื่องใหญ่”
การเข้าชม
– เข้าชมได้โดยไม่ต้องลงทะเบียน สามารถเดินชมได้โดยอิสระ ปิดให้บริการ 17:00 น.

3 เว็บไซต์หางานอาสาสมัคร

เพราะวันว่างและปิดเทอมมีมากถึง 150 วันต่อปี ใครที่อยากไปลองเรียนรู้กิจกรรมอาสา ปิดเทอมสร้างสรรค์เราได้รวบรวมเว็บไซต์ให้ทุกคนสามารถแวะเวียนเข้าไปช้อปปิ้งหากิจกรรมที่ใช่  และทำกิจกรรมที่ชอบกันได้เลย เริ่มจาก พี่ใหญ่

1. เครือข่ายจิตอาสา

เครือข่ายที่เกิดขึ้นหลังจากประเทศไทยประสบภัยธรรมชาติ “คลื่นยักษ์สึนามิ” ในปี 2547 ทำให้คนไทย จำนวนมากหลั่งไหลเข้าไปช่วยเหลือเพื่อนร่วมชาติอย่างเสียสละ จนมีคำกล่าวที่ว่า “เหตุการณ์สึนามิเป็นจุดเริ่มต้นขบวนการอาสาสมัครยุคใหม่ของสังคมไทย”

จากนั้นในปี 2548 หลังจากที่องค์กรต่างๆ อาทิภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งเคยเข้าไปให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย ได้กลับมาทบทวนการทำงานร่วมกัน ทำให้องค์กรต่างๆ มองเห็นศักยภาพของการทำงานร่วมกันแบบเครือข่าย ซึ่งจะเสริม พลังซึ่งกันและกันและขับเคลื่อนงานอาสาสมัครอย่างยืนต่อไปในสังคมไทย

เครือข่ายจิตอาสามีการดำเนินงานด้านการจัดการอาสาสมัครอย่างต่อเนื่อง ทั้งใน สถานการณ์ปกติและในสถานการณ์ภัยพิบัติ ด้วยความมุ่งมั่นที่อยากเห็นสังคมไทย เป็น “สังคมแห่งจิตอาสา” ที่มีระบบการจัดการอาสาสมัครที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

“เครือข่ายจิตอาสา” มุ่งการจัดการข้อมูลและระบบเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้และผู้รับให้มี ประสิทธิภาพ

ดังนั้นในเว็บไซต์จะมีทั้ง หาครูอาสาสมัคร อาสาพาน้องเล่น อาสาเยี่ยมแยกยา

2. ธนาคารจิตอาสา

เว็บไซต์ที่มีความเชื่อว่าสังคมของเราเต็มไปด้วยความรัก น้ำใจและความสุข เราทุกคนมีต้นทุนอันสร้างสรรค์นี้ ไม่ว่าวัยไหน หรือมีหน้าที่การงานอะไร ต่างคนต่างต้องการอยู่ร่วมกันในสังคมที่เท่าเทียม และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ทุกๆ คนจึงสามารถเป็นอาสาสมัคร ได้ใช้กำลังความสามารถและใช้เวลาอันมีค่าเพื่อทำสิ่งที่มีคุณค่าต่อตัวเรา ในเว็บจะมีกิจกรรมที่อัพตลอดเวลา และมีทั้งงานที่สามารถรับมาทำที่บ้าน และออนไลน์ได้ด้วย เหมาะกับคนที่ไม่สะดวกในการเดินทาง

3. จิตอาสาพลังแผ่นดิน

จิตอาสาพลังแผ่นดิน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คนไทยทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ และกลุ่มองค์กร เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานอาสา สืบสานพระปณิธานตามแนวทางพระราชดำรัสของในหลวง ร.9 เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนโครงการ โดยแบ่งงานอาสาออกเป็น 9 หมวดหมู่ โครงการนี้จะเป็นศูนย์กลางการเข้าถึงงานอาสา สร้างเสริมประสบการณ์ทำความดี และบอกเล่าแบ่งปันเรื่องราวกิจกรรมทำความดีที่ได้ทำมา ดังเช่นที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงกระทำเป็นแบบอย่างให้ชาวไทยได้เห็นมาตลอด 70 ปี

เว็บไซต์จะมีการแบ่งหมวดหมู่งานอาสาสมัครไว้ เช่น บูรณะ ฟื้นฟู สุขภาพ เด็ก เยาวชน เป็นต้น

ใครที่สนใจงานอาสา สามารถไปช้อปปิ้งกันได้เลย

Check In Museum Thailand

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเรียนเชิญทุกท่าน รับชมรายการ Check In Museum Thailand

รายการที่ผลิตโดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาคมพิพิธภัณฑ์ไทย

รายการที่จะพาทุกท่าน ไปเล่นแล้วเรียนรู้ ท่องเที่ยวและสัมผัสประสบการณ์ที่สนุกสนาน กับการเรียนรู้โลกกว้างใบใหม่ ท่องไปในพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ทั่วประเทศไทย ของเรา ….

แล้วพบกันนะคับ

โปรดติดตามข่าวสารและช่องทางติดต่อรายการ Check In Museum Thailand ได้ที่

Facekbook Fanpage : Check In Museum Thailand https://www.facebook.com/profile.php?id=61550695664225&mibextid=ZbWKwL

TikTok Channel : checkinmuseumthai หรือ https://www.tiktok.com/@checkinmuseumthai?_t=8gFNzGjWQCe&_r=1

Line Group Open Chat : “MU Learning City Talk-NICFD”
https://line.me/ti/g2/GKllKnKdVS270r_LIbQa8ZmXMIuMF18DIt0yJA?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default

ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลทีวี เร็วๆ นี้

ความพิการไม่ใช่สิ่งผิดปกติ “ต่อ ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล” ค้นหาความเท่าเทียมให้สังคม

“มุมมองของความพิการมันเปลี่ยนไปนะครับ ไม่ใช่ปัญหาบุคคลอีกต่อไป  มันคือปัญหาเชิงสภาพแวดล้อมแล้วครับ”

ต่อ ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล ผู้ก่อตั้งบริษัท กล่องดินสอ และ มูลนิธิด้วยกันเพื่อคนพิการและสังคม ซึ่งทำงานเพื่อยกระดับสังคมคนพิการให้เกิดความเท่าเทียม โดยใช้ทุกอย่างที่มีโดยเฉพาะนวัตกรรมใหม่ และ ‘ใจที่เกินร้อย’ บอกกับเราอย่างนั้น

 และเมื่อมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเสริมสร้างความเท่าเทียมให้กับคนพิการ กิจกรรมพิเศษพร้อมทั้งนวัตกรรมใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นมาไม่ขาดสาย

เราได้รู้จักับ ‘กล่องดินสอ’ ซึ่งอุทิศตัวเองให้เป็นที่ที่รวบรวมสื่อสำหรับผู้พิการเข้าไว้ในครั้งแรกผ่าน ‘เล่นเส้น’ อุปกรณ์วาดรูปสำหรับคนตาบอดเมื่อเกือบ 10 กว่าปีก่อน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับแผนการเรียนการสอนในโรงเรียนได้

หลังจากนั้น ‘กล่องดินสอ’ ก็สร้างนวัตกรรมใหม่มากมายขึ้นโดยมีเป้าหมายในทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชัน ‘พรรณนา’ แอปพลิเคชันเสียงบรรยายภาพที่ทำให้คนตาบอดได้มีโอกาสเข้าชมภาพยนตร์ในโรงพร้อมกับคนตาดี โดยไม่ต้องเสียเวลาทำรอบพิเศษ และไม่มีใครเสียโอกาสที่จะไม่ได้ดูหนังเรื่องนั้น โดยในปัจจุบันกับแพล็ตฟอร์มสตรีมมิ่งต่างๆ ก็สามารถใช้แอปพลิเคชันนี้ได้ด้วย

ต่อเนื่องกันมากับ ‘โวหาร’ แอปพลิเคชันที่จะทำงานส่งเสริมการทำงานของพรรณาให้มีค่าใช้จ่ายที่ถูกลงและใช้คนทำงานน้อยลงด้วย

นอกจากนี้ยังมี ‘ปรากฏ’ อุปกรณ์กายภาพบำบัดด้วยการสำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Neuromuscular Disorders) ผู้ที่เป็นโรคนี้จะต้องกินยาและทำกายภาพบำบัดตลอดชีวิต แอปนี้ถูกสร้างมาให้สอดคล้องและร่วมงานได้กับแพล็ตฟอร์มเกมส์ทุกชนิด ทำให้การทำกายภาพไม่ต่างอะไรจากการเล่นเกมเป็นอีกหนึ่งวิธีการจูงใจที่ทำให้เด็กๆ ชอบการทำกายภาพบำบัดมากยิ่งขึ้น

ไม่ใช่เพียงแต่นวัตกรรมใหม่ๆ เท่านั้น แต่เพื่อความเท่าเทียมกันของทุกคนในสังคม โดยเฉพาะการยกระดับคนพิการให้มีพื้นที่มากขึ้นนั้น เขายังสร้างกิจกรรมที่แทบจะเปลี่ยนสิ่งที่ผู้คนคิดให้พลิกกลับแบบ 360 องศาอีกด้วย และมีหลายกิจกรรมที่ทำจนประสบความสำเร็จแล้วอย่าง ‘โครงการวิ่งด้วยกัน’ มหกรรมการวิ่งที่รับนักวิ่งทั่วไปให้ได้วิ่งไปด้วยกันกับคนไม่พิการ ซึ่งแรกเริ่มเดิมที ไม่มีใครคิดว่ามันจะเป็นไปได้ ‘เด็กพิการ โตไปเรียนไหนดี’ โครงการที่พยายามอย่างยิ่งที่จะให้เด็กพิการได้อยู่ในระบบการศึกษาให้ได้มากและยาวนานที่สุด หรือโครงการชื่อแปลกอย่าง ‘หากินกับคนพิการ’ โครงการที่ถูกสังคมไทยซึ่งหนักไปทาง ‘สังคมอุปถัมภ์’ มองอย่างคลางแคลงใจ

“เมื่อเราไปขอให้คนพิการได้เข้าร่วมกับงานวิ่งทั่วไปแล้วเขาบอกปฏิเสธ โดยอาจจะเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย หรือใดๆ ก็ตาม เราจึงจัดงานวิ่งของเราขึ้นมาเอง เพื่อทำให้ทุกคนเห็นว่า เรื่องแบบนี้มันเกิดขึ้นได้จริง คนพิการก็สามารถลงวิ่งมาราธอนได้จริงๆ จนหลายปีผ่านไป คนก็เริ่มเห็นภาพคนไม่พิการและคนพิการทุกประเภทมาวิ่งด้วยกันเป็นเรื่องปกติแล้วครับ ตอนนี้มีน้องๆ เด็กพิการบางคนวิ่งระยะมาราธอน ขณะที่บางคนก็จบที่ 100 กิโลเมตรไปแล้ว”

“ผมว่ามันขึ้นอยู่กับว่า เขาได้รับโอกาสของสังคมขนาดไหน แล้วเขากล้าที่จะหาโอกาสในชีวิตตัวเองแค่ไหน แน่นอนครับคนที่เคยมองเห็นมาก่อนเคยเดินได้มาก่อนเนี่ย พอเขาสูญเสียความสามารถตรงนั้นไปมันจะเฟล แต่ว่าใครจะสามารถช่วยดึงตรงนั้นเขาขึ้นมาได้ให้เขาได้เห็นว่า จริงๆ ชีวิตมีโอกาสนะ มีคนพร้อมจะซัปพอร์ต ตรงนั้นสำคัญมากว่า ซึ่งผมก็เชื่อว่ามีมูลนิธิ มีองค์กรอื่นๆ ที่ทำเรื่องนี้อีกเยอะครับ”

“สำหรับโครงการ ‘เด็กพิการโตไปเรียนไหนดี’ มันเกิดจากการที่เราได้ข้อมูลว่า มีเด็กพิการเข้าสู่ระบบการศึกษาในชั้นประถมประมาณ 70,000 คน แต่เรียนไปจนถึงระดับชั้นอุดมศึกษาเพียงแค่ 500 คนเท่านั้น หลายคนบอกว่า คนพิการเรียนจบแล้วจะไปทำอะไร เพราะอาชีพของคนพิการมีตัวเลือกน้อย แต่ผมมองว่า การศึกษามันไม่ได้นำมาซึ่งอาชีพเท่านั้น แต่ความรู้มันช่วยให้เรารู้จักการพัฒนาชีวิตได้ด้วย แต่ว่าเด็กพิการมันมีข้อจำกัดเยอะ ตั้งแต่ตัวเด็กเอง ครอบครัว สถานศึกษา เรื่องสถานศึกษาเนี่ยเราเข้าไปยุ่งลำบาก เพราะว่ามันเป็นเรื่องของนโยบาย เป็นเรื่องของความพร้อมทางการศึกษา ความพร้อมของครู อันนี้เป็นภาพใหญ่มากๆ ซึ่งเราไม่ได้เข้าไปแตะ สิ่งที่เราเข้าไปแตะ คือปัญหาของตัวนักเรียน เช่น ปัญหาของการเลือกที่จะไม่เรียนต่อเพราะ หนึ่งเรื่องความพิการของเขา สอง เรื่องความพร้อมด้านการเงิน เด็กพิการเนี่ยมีต้นทุนในชีวิตสูงกว่าเด็กไม่พิการครับ ทำให้เขาเรียนต่อไม่ไหว สาม เรียนต่อแล้วทำงานอะไร และสี่ข้อมูลที่เขาควรจะได้รับ เช่น ถ้าอยากเรียน เขาตอ้งไปเรียนที่ไหน สมัครยังไง เรามองว่าสี่อันนี้เป็นปัญหาของเด็กพิการในการเรียนต่อ และสี่อันนี้เป็นสิ่งที่โครงการเด็กพิการเรียนไหนดีอยากเข้ามาแก้ไขครับ

สิ่งที่เราเริ่มแล้ว คือเรื่องของข้อมูล เราเป็นศูนย์รวมข้อมูลการศึกษาของเด็กพิการ โดยเริ่มทำในระดับมหาวิทยาลัย ก็คือเด็กมัธยมเข้ามาในมหาวิทยาลัยนะครับ เราเป็นศูนย์ข้อมูลและก็ศูนย์แนะแนวนะครับ เชื่อมโยงทั้งเด็กพิการ ผู้ปกครอง  มหาวิทยาลัยให้มาอยู่ที่เดียวกัน ซึ่งทีแรกก็มีเพียงแค่ 10 มหาวิทยาลัยเท่านั้นที่เข้าร่วม แต่ตอนนี้ก็มีเยอะขึ้นแล้ว เพราะเขาเห็นว่ามันมีเด็กที่อยากเรียนนะ แล้วด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ด้วยนโยบายต่างๆ ทำให้เขาเปิดรับมากเราก็มีหน้าที่เชื่อมโยงตรงนี้เข้าด้วยกัน”

“ส่วนเรื่อง ‘หากินกับคนพิการ’ ตรงนี้ผมมองว่ามันเป็นความเท่าเทียมที่ชัดเจนที่สุด เราอยู่ในโลกของทุนนิยม ถ้ามีใครอยากจะหากินกับผม ก็ต้องทำอาหารอร่อยๆ ทำเสื้อผ้าดีๆ ทำของที่ใช้ที่มีประโยชน์มา แล้วผมก็จ่ายเงินให้เขา นี่คือกระบวนการการหากินในกลไกของทุนนิยม ในฝั่งของคนพิการ ผมอยากช่วยให้ทุกคนมาหากินเหมือนกันนะครับ แต่การจะหากินกับคนพิการได้หมายความว่า คุณจะต้องทำของที่เขาใช้แล้วมีประโยชน์ ของที่มันเหมาะสมกับเขา ของที่มันดีกับเขาขึ้นมา เขาถึงจะยอมจ่ายตังให้คุณ

แต่ตอนนี้เราไม่มองว่าเขาเป็นลูกค้าด้วยซ้ำ เพราะเราไม่อยากหากินกับคนพิการไงครับ แต่ถ้าสมมุติว่าเราอยากหากินกับคนพิการ เราจะทำร้านอาหารของเราให้คนที่ใช้คนวีลแชร์หรือคนตาบอดเข้ามานั่งกินที่ร้านได้ ถามว่าการที่เขามากินร้านอาหารของเราได้เนี่ยชีวิตเขาดีขึ้นมั้ย ดีขึ้นครับ ชีวิตเราดีขึ้นมั้ยเราดีขึ้นครับ  ดังนั้นมันดีขึ้นทุกฝ่าย มันคือกลไกของทุนนิยมนะครับ ดังนั้นเราไม่ต้องมองในเรื่องของการสงเคราะห์หรือบริจาค แต่ให้คิดว่า ทำยังไงให้คนพิการเข้าถึงสินค้าและบริการที่เราทำอยู่ได้ ก็คือให้เป็นกลไกปกติ เพียงแต่ให้มีคนพิการอยู่ในกลไกนั้นด้วยเท่านั้น”

และต่อคำถามที่ว่า คนไทยมีความคิดเรื่องระบบอุปถัมค่อนข้างเข้มข้น คุณต่อให้ความคิดเห็นว่า นี่เป็นโจทย์ที่ท้าท้ายอย่างหนึ่ง

“ฝั่งของคนพิการจะถูกปลูกฝังมาตลอดครับว่า เขาเป็นคนพิการ เขาต้องได้รับของฟรี ต้องได้รับความอนุเคราะห์ ความช่วยเหลือ มันถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ในโรงเรียน สมาคมคนพิการ มูลนิธิคนพิการต่างๆ ที่เขาเคยอยู่มา ถ้าเราไปเลี้ยงอาหารกลางวันนะครับมันจะเป็นปกติมากเลยที่น้องๆ จะมาร้องเพลงให้ฟัง

แล้วคนที่มาบริจาคก็ร้องไห้ดีใจกัน โรงเรียนก็ได้เงินบริจาคไป แต่คำถามของผมก็คือ แล้วตัวเด็กที่ร้องเพลงแบบนั้นทุกวันน่ะ เขาจะรู้สึกยังไง

วิธีการแก้ไขปัญหานี้ของเราก็คือ ทุกครั้งที่เราหาอาสาสมัครมาร่วมกิจกรรมของเรา เราจะบอกเสมอว่า ‘ขออภัยด้วยนะครับงานนี้คุณไม่ได้มาทำบุญ คุณแค่มาร่วมกิจกรรมกับเพื่อนคนพิการของคุณเท่านั้นเอง และด้วยการที่เราเอาเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาออกแบบกิจกรรมขบวนการต่างๆ เขาจะไม่รู้สึกว่าเขาแตกต่างจากคุณเลย’ นี่คือสิ่งเราพยายามจะสื่อสารออกไป”

ซึ่งอันที่จริงแล้วผู้ก่อตั้งมูลนิธิด้วยกันเพื่อคนพิการและสังคมยอมรับว่า แมสเสจที่ส่งไปมันยังไม่ออกสู่วงกว้างมากพอ แต่ก็เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถช่วยกันทำให้มันดีขึ้นได้

“มันมีอยู่ 2 อย่างที่พวกเราสามารถมาช่วยกันได้ในเรื่องของคนพิการ  หนึ่ง ถามตัวเองว่าสิ่งที่เราทำอยู่ไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้านอาหาร ผลิตสินค้า งานด้านบริการหรือการศึกษาอะไรต่างๆ นั้น คนพิการเข้าถึงได้มั้ย ผมเชื่อว่าเทคโนโลยีในจุดนี้มันแทบจะทำได้ทั้งหมดแล้ว สองก็คือลองถามตัวเองดูว่า เราเปิดโอกาสให้คนพิการเป็นส่วนหนึ่งของทีมเราได้มั้ย แค่ 2 อย่างนี้ครับ ไม่ต้องไปบริจาคเงิน ไม่ต้องไปเลี้ยงอาหารกลางวัน ไม่ต้องไปทำอะไรเลยครับ แค่ทำ 2 อย่างนี้ให้ได้เนี่ยพอแล้วสำหรับคนพิการ”

“เพราะจริงๆ แล้วสิ่งที่คนพิการต้องการมากที่สุด คือโอกาสที่เท่าเทียม”

5 สนามกีฬา ราคาสบายกระเป๋า เล่นได้ง่าย ร่างกายแข็งแรง

การเล่นกีฬาตั้งแต่อายุยังน้อยให้ประโยชน์มากมายสำหรับเด็กทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม

สำหรับด้านร่างกายนั้น การเล่นกีฬาเป็นประจำช่วยให้เด็กๆ พัฒนาและรักษาสมรรถภาพทางกายที่ดี ส่งเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด เสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก เพิ่มทักษะการเคลื่อนไหว ลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลัง

นอกจากนี้การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางกายผ่านการเล่นกีฬาส่งผลดีต่อสุขภาพจิตของเด็ก เพราะการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยกระตุ้นสมอง หลั่งสารเอ็นโดรฟิน และลดระดับความเครียด กีฬายังเป็นแหล่งระบายอารมณ์ที่ดี ช่วยให้เด็กๆ จัดการกับความวิตกกังวล สภาวะอารมณ์โดยรวมจะดีขึ้น และสุขภาพจิตที่ดีมีส่วนช่วยเพิ่มสมาธิ และทำให้ผลการเรียนดีขึ้นได้

และกีฬายังเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เข้าสังคมและสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ การเป็นส่วนหนึ่งของทีมหรือกิจกรรมกลุ่มจะส่งเสริมการทำงานร่วมกัน การสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม ผ่านการเล่นกีฬา เด็กๆ เรียนรู้ที่จะเคารพและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พัฒนาทักษะทางสังคมที่สำคัญซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาตลอดชีวิต นอกจากนี้ กีฬายังส่งเสริมความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน สร้างมิตรภาพและความทรงจำที่ยั่งยืนอีกด้วย

เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กทุกคนเข้าถึงการเล่นกีฬาแบบที่ไม่ต้องเสียกำลังทรัพย์มากนัก วันนี้เราจะมาแนะนำสถานที่เล่นกีฬาที่เสียเงินน้อยนิดจนถึงขั้นฟรีไม่ต้องเสียเงินเลยสักบาทและเปิดเป็นสาธารณะให้ทุกคนได้รู้จักดังนี้

1. ศูนย์สร้างสุขทุกวัย (ศูนย์เยาวชนกรุงเทพฯ เดิม)

บริการด้านนันทนาการครอบคลุมคนทุกวัย ทั้งเด็ก เยาวชน คนทำงาน และผู้สูงอายุ เช่น การตรวจคัดกรองสุขภาพ ขับร้องเพลง ฝึกอาชีพ ศิลปะ คหกรรม ภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ-จีน) แอโรบิกในน้ำ สอนรำไทย เทควันโด ลีลาศสามวัย สปาเท้า หมากรุก รวมถึงมุมลายครามที่จัดไว้ให้ผู้สูงอายุได้ร่วมพูดคุยกัน พร้อมขยายเวลาให้บริการของศูนย์เป็น 06.00-20.00 น. โดยในกรุงเทพฯ มีทั้งหมด 9 แห่ง ได้แก่ ศูนย์สร้างสุขทุกวัย บางขุนเทียน, ทวีวัฒนา, บางแค (เรืองสอน),

ลุมพินี, ดอนเมือง, บางกะปิ, สะพานสูง, คลองสามวา และ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง มีค่าสมาชิก เด็ก อายุ 7-17 ปี ค่าสมัคร 10 บาทต่อปี /อายุ 18-24 ปี ค่าสมัคร 20 บาทต่อปี /และอายุ 25 ปีขึ้นไป ค่าสมัคร 40 บาทต่อปี ใช้บริการทุกอย่างภายในศูนย์ได้ฟรี

2. ศูนย์กีฬาเบญจกิติ

เป็นส่วนหนึ่งของสวนป่าเบญจกิติ เริ่มเปิดทดลองใช้ฟรีแล้วทุกวัน เวลา 05.00 – 21.00 น. โดยมีกีฬาให้เลือกเล่น ได้แก่ พิคเคิลบอล เทเบิลเทนนิส ฟุตซอล แบดมินตัน บาสเกตบอล และเทคบอล จองเล่นได้แล้ววันนี้ที่ กีฬากรุงเทพ.com

3. ศูนย์กีฬาและนันทนาการเทศบาล-ศูนย์กีฬาและนันทนาการองค์การบริหารส่วนตำบล

สำหรับท่านที่อยู่ต่างจังหวัด สามารถใช้บริการศูนย์กีฬาและนันทนาการได้ตามเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลที่ท่านพักอาศัยอยู่ ซึ่งบางที่ก็มีทั้งลานกีฬาเอาต์ดอร์และอินดอร์ เพื่อส่งเสริมการเล่นกีฬาและออกกำลังกายกับเด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้

4. สนามวอลเลย์บอลในสวนสาธารณะ

เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ตามสวนสาธารณะต่างๆ ในทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดนั้น จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ออกกำลังกาย มีอุปกรณ์ต่างๆ ไว้รองรับผู้ใช้บริการ และบางสวนถึงกับมีคอร์ทกีฬาต่างๆ ไว้ให้ด้วย อาทิ สนามวอลเลย์บอล สวนสมเด็จราษฎรมณีรมย์ (ใต้ทางด่วนเอกมัย), สนามวอลเลย์บอลรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่, สวนสาธารณะพระรามหก ใต้ทางด่วน สวนรัฐบุรุษ (สวนพระรามหก ปากซอยสวนเงิน) เป็นต้น ใครใกล้ที่ไหนไปที่นั่นได้เลยจ้า ทุกอย่างฟรี และยังอาจจะได้เพื่อนใหม่ในสนามก็เป็นได้

5. ศูนย์กีฬาในมหาวิทยาลัย

ในมหาวิทยาลัยต่างๆ จะมีศูนย์กีฬาไว้สำหรับบริการนักศึกษาในมหาวิทยลัยนั้นๆ แต่สำหรับบางมหาวิทยาลัยยังเปิดให้บริการบุคคลภายนอกด้วย โดยอาจมีค่าใช้จ่าย และเงื่อนไขพิเศษอื่นๆ อย่างไรก็ตามยังถือได้ว่าค่าบริการค่อนข้างเป็นมิตร

คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองลองเลือกสักที่ที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของตนเอง จากนั้นจูงมือเด็กๆ ไปรีดเหงื่อของจากร่างกาย เพราะการให้เด็กได้เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายนั้นเป็นการเลี้ยงดูให้เด็กๆ ได้ดีทั้ง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมแบบองค์รวมนำไปสู่นิสัยที่ดีต่อสุขภาพซึ่งเป็นเสาหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต การเติบโต ดังนั้น มากระตุ้นให้ลูกหลานของเรากระตือรือร้นและสัมผัสกับความสุขและรางวัลที่กีฬามอบให้กันเถอะ

——

เพราะเด็กทุกคนควรได้รับความสุขที่เท่าเทียม เรื่องราวของ “คุณตี๋ มูลนิธิกระจกเงา” ที่จะมาชวนทุกคนร่วมสร้างคุณค่าให้สังคม

“เป้าหมายในการทำงานของเราคือ ‘เพิ่มความสุข ลดความทุกข์’ ค่ะ”

คุณวีราภรณ์ ประสพรัตนสุข (คุณติ๊ดตี๋)

คุณวีราภรณ์ ประสพรัตนสุข (คุณติ๊ดตี๋) หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรและระดมทุน มูลนิธิกระจกเงา บอกกับเราเมื่อถูกถามถึงทัศนะการทำงานของ ‘มูลนิธิกระจกเงา’

“เราทำงานในหลายประเด็นตามแต่ละส่วนงาน โดยมีโครงการที่ขับเคลื่อนต่อเนื่อง 19 โครงการ 3 สํานักงาน ทำงานเพื่อเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่และวันสุดท้ายของชีวิต โดยทุกงานเราจะให้ความสำคัญเท่ากัน”

มูลนิธิกระจกเงา เริ่มมาจากการเป็นองค์กรที่ทํางานด้านเด็ก ทำเป็นอาสาสมัครละครเพื่อการพัฒนาเยาวชน หรือละครเร่ เรียกว่า ‘กลุ่มมะขามป้อม’ โดยมีเด็กทั่วประเทศเป็นกลุ่มคนดูเป้าหมาย วัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนเรื่องราวปัญหาทางสังคม มีสํานักงานอยู่ที่ตําบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และจึงมีการใช้พื้นที่บริเวณนั้นจัดตั้งศูนย์เพื่อดูแลเด็กในพื้นที่และเด็กที่เคลื่อนย้ายจากที่อื่นด้วย

“เราเปิดพื้นที่นั้นเป็นศูนย์ให้เด็ก ๆ เข้ามาเรียนรู้ รวมถึงจดแจ้งสัญชาติ พิสูจน์สถานะบุคคลให้กับเด็ก ๆ ในพื้นที่ ยาเสพติด ให้เด็กเข้าถึงสื่อ แต่ในระยะเวลาต่อมา มันมีปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วก็เป็นปัญหาที่กระจกเงามีศักยภาพ จึงแตกเป็นโครงการต่าง ๆ ออกมาเป็นอีกหลายโครงการ เช่น การตามหาเด็กหาย ดังนั้นรากเดิมของกระจกเงา จะทํางานกับกลุ่มเปราะบางของเราก็คือเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่างๆ เสี่ยงต่อการสูญหาย เสี่ยงต่อการติดยา เสี่ยงต่อการไปสู่วงจรการค้ามนุษย์

จนถึงระยะหลัง ๆ งานของกระจกเงาเข้าสู่การทํางานที่ตอบสนองต่อสถานการณ์หรือปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น โครงการจ้างวานข้า ที่มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนไร้บ้านที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิดที่ทำให้เกิดกลุ่มคนไร้บ้านหน้าใหม่เพิ่มมากขึ้นค่ะ”

โครงการที่มุ่งเน้นเพื่อช่วยเหลือเด็กโดยตรงตามพันธกิจดั้งเดิมของมูลนิธิกระจกเงานั้น มีหลายโครงการ อาทิ โครงการโรงพยาบาลมีสุข โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง โครงการศูนย์แบ่งต่อและโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ไร่ส้มวิทยา

“ในแต่ละโครงการของกระจกเงาก็จะมีเป้าหมายแตกต่างกัน อย่างโครงการที่มุ่งเป้าไปที่เด็ก เราจะเน้นที่ปกป้องสิทธิเด็ก ให้พวกเขาเติบโตขึ้นมาอย่างมีประสิทธิภาพ มีความหวัง และมีความสุข เช่น โครงการโรงพยาบาลมีสุข เราจะมีทีมอาสาเข้าไปดูแลเด็กป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล สโลแกนของทีมนี้ก็จะเป็น ‘สร้างความสุข ลดความทุกข์ให้กับเด็กป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล’ เราอยากจะดูแลเขาอย่างเด็กคนหนึ่ง ไม่ใช่คนป่วย เข้าไปดูแลสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับเขา ดูว่าอะไรที่เราซัปพอร์ตได้เขาบ้าง เขาเข้าถึงการศึกษาได้ดีรึเปล่า เขาได้เที่ยวเล่นเหมือนเด็กทั่วไปหรือยัง อุปกรณ์การเรียนต่างๆ เพียงพอหรือไม่ ไม่ได้ก้าวก่ายเรื่องการรักษา แต่เติมเต็มในส่วนอื่นๆ”

“ส่วนโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้องและศูนย์แบ่งต่อนั้นทำหน้าที่คล้ายกัน เราเผชิญกับปัญหาเด็กหลุดออกนอกระบบไปพอสมควรในช่วงโควิด ทางโครงการก็มีโจทย์ว่าทํายังไง ภายใต้ทรัพยากรที่กระจกเงามีอยู่ เพื่อช่วยกันสนับสนุนให้เด็กยังสามารถเรียนหนังสือ อยู่ในระบบการศึกษา และยังสามารถที่จะมีอนาคตที่ดีได้ สิ่งที่ทำ คือส่งต่อของบริจาคให้กับเด็ก ๆ และโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้เด็กได้เข้าถึงเทคโนโลยี หนังสือ และอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสม”

อีกโครงการที่เกี่ยวข้องกับเด็กก็จะเป็น ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา ที่อําเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่เป็นรูปแบบของโรงเรียนทางเลือก ดูแลกลุ่มเด็กเคลื่อนย้าย เป็นลูกหลานแรงงานข้ามชาติที่มาทำไร่ส้มในพื้นที่ ให้เด็กเหล่านี้ได้เรียนรู้ได้เข้าถึงการเรียนการสอน ได้กินตามโภชนาการที่ควรได้รับ แล้วก็พัฒนาทักษะชีวิตให้พร้อมที่จะออกไปเติบโต ดูแลเรื่องสถานะบุคคลและสิทธิ์ต่างๆ ที่เด็กเหล่านั้นพึงจะได้รับ มีนักเรียนหมุนเวียนอยู่ที่ประมาณ 130 – 170 ราย ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนถึงชั้นป.6”

แม้จะทำทุกอย่างเพื่อพัฒนาสังคมไทยให้ดีขึ้น แต่มูลนิธิกระจกเงาไม่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐในเชิงนโยบาย แต่ได้รับบริจาคจาก 3 ทางคือ รับบริจาคสิ่งของ รับบริจาคทุนทรัพย์ รับบริจาคแรงกายเข้ามาร่วมเป็นอาสาสมัครจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงบุคคลทั่วไป

“มูลนิธิกระจกเงาเปิดรับการมีส่วนร่วมทางสังคมกับผู้คนไม่ว่าคุณจะเป็นใคร หากคุณสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสังคมไปพร้อม ๆ กับมูลนิธิกระจกเงา เรามีหลายหน้างานที่ให้คุณเข้ามาสนับสนุนได้เข้ามาช่วยกันเป็นส่วนหนึ่งในการ แก้ไขปัญหาสังคมหรือขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมนั้นๆ ร่วมกัน

แม้เพียงความตั้งใจที่จะยื่นมือเข้าช่วยเหลือ ก็จะนำไปสู่การจุดประกายและเพิ่มคุณค่าให้กับทั้งตัวเองและสังคมได้

ติดตามรายละเอียดได้ที่เฟซบุ๊ก: มูลนิธิกระจกเงา

—— 

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า