พิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทย – พม่า

Mr. Rod Beattie ได้รวบรวมวัตถุต่างๆในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และศึกษาแหล่งข้อมูลที่มาจากประสบการณ์ หนังสือ และจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในสมัยสงครามมาเป็นเวลากว่า10 ปี โดยให้ความสนใจกับเรื่องราว

การสร้างทางรถไฟสายไทย – พม่าเป็นพิเศษ Mr. Rod จึงเกิดแนวความคิดที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทย – พม่าขึ้นเพื่อให้ประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชม การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์เรื่องราวของการสร้างรถไฟสายไทย – พม่า มีคำอธิบายทั้งภาษาไทยและอังกฤษ และมีภาพถ่าย วีดีโอและModel ประกอบเรื่องราวต่างๆด้วย

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองขาว

ถนนสายที่เชื่อมระหว่างกาญจนบุรีกับอำเภอพนมทวน  มีตำบลหนองขาว ตั้งอยู่ระหว่างทาง  หากผู้คนที่ผ่านไปไม่เคยรู้จัก “บ้าน” แห่งนี้มาก่อน อาจพานเข้าใจผิดได้ว่า  กำลังผ่านอำเภอขนาดย่อม  ด้วยว่าขนาดบ้านเรือนที่มีอยู่หนาแน่นประมาณ 1 พันหลังคาเรือนนั้น แน่นหนาเกินกว่าจะเป็นแค่บ้านตำบลธรรมดาได้  แต่ความจริงก็คือ “หนองขาว” ยังคงเป็นตำบล  แต่เป็นตำบลที่ยังมีความเป็นชุมชนหลงเหลืออยู่อย่างน่าสนใจ

มิใช่แต่เพียงขนาดหมู่บ้านที่มองเห็นว่าใหญ่โตเท่ากัน  “ความรับท้องถิ่น”  จนอาจจะกล่าวได้ว่า ท้องถิ่นนิยมของคนที่นี่ยังปรากฏให้เห็นอยู่ในหลายวาระ   หลายเรื่องราว

หอวัฒนธรรม จังหวัดกาญจนบุรี

อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี สร้างขึ้นเพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงวัตถุทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของกาญจนบุรี มล.ภัคศุภ กำภู ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดและเป็นผู้รับมอบอาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2527

พิพิธภัณฑ์ทหารผ่านศึกเวียดนาม

เป็นอนุสรณ์ถึงวีรกรรมของทหารไทยที่ได้ปฏิบัติการรบร่วมชาติพันธมิตรในสงครามเวียดนามกับเพื่อเป็นที่ระลึกถึงคุณความดี และความเสียสละของทหารที่เสียชีวิตในสงครามครั้งนั้น จัดแสดงในอาคารประเภทมัลติมีเดีย และหุ่นจาลอง และจัดแสดงกลางแจ้ง แสดงอาวุธยุทโธปกรณ์

จากค่ายทหารที่จัดตั้งขึ้นในสมัยสงครามเวียดนาม สู่การเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยความสุขสนุกสนาน มากมายของจังหวัดกาญจนบุรี ค่ายสุรสีห์แห่งนี้ต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคนด้วยหลากหลายกิจกรรมเพื่อความรื่นรมย์ รวมทั้งสถานที่ประวัติศาสตร์ที่พาคุณย้อนเวลาไปสัมผัสความหาญกล้าของกองทัพไทยในอดีต

หอศิลป์เอมเจริญ

สัมผัสพลังศิลป์อันยิ่งใหญ่ของ “ประเทือง เอมเจริญ” ศิลปินผู้ยิ่งยงที่มีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการสร้างสรรค์ งานศิลปะอันทรงคุณค่าให้ดำรงอยู่สืบไป ศิลปินแห่งชาติวัย 73 ปีท่านนี้ได้อุทิศตนให้กับงานอย่างเต็มที่ ทั้งงานด้านจิตรกรรม บทกวี และเขียนเขียนต่างๆ ภายในหอศิลป์ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารแฝดสูงโปร่งแห่งนี้ จึงเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์จากงานกลิ่นสีทีแปรงที่ประดับตามฝาผนังมุมโน้นมุมนี้ ท่ามกลางบรรยากาศ สงบงามของริมแม่น้ำแม่กลอง

พิพิธภัณฑ์อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ

อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพเป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตั้งอยู่บริเวณทุ่งลาดหญ้า บ้านโป่งปัด ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากตัวเมืองประมาณ 40 กิโลเมตร เส้นทางกาญจนบุรี-น้ำตกเอราวัณ อ.ศรีสวัสดิ์ เดินทางไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 323 จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 3199 ประมาณกม.ที่ 24 เป็นสถานที่รวบรวมเกี่ยวกับประวิติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ วึ่งเป็นสงครามครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภายในอาคารศึกษาประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ เป็นห้องบรรยายซึ่งจัดเป็นตู้จำลองเหตุการณ์และโต๊ะทรายแสดงภูมิประเทศจำลองเส้นทางการเดินทัพ

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

ปราสาทเมืองสิงห์เป็นโบราณสถานซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของประเทศไทย ได้รับรูปแบบทางศาสนาและวัฒนธรรมมาจากประเทศกัมพูชา เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 (ศิลปะขอมแบบบายน) เป็นโบราณสถานในพุทธศาสนามหายาน ลักษณะของเมืองสิงห์เป็นเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตั้งอยู่บนที่ราบริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย มีเนื้อที่ประมาณ 641 ไร่ 1 งาน 65 ตารางวา กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลง ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ยาวจรดแม่น้ำ มีประตูเข้า-ออก ทั้ง 4 ด้าน ด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศตะวันตกมีคูน้ำคันดินล้อมรอบอีก 7 ชั้น ส่วนด้านทิศใต้กำแพงเมืองคดโค้งไปตามลำน้ำแควน้อยจึงใช้ลำน้ำเป็นคูเมือง ภายในตัวเมืองมีสระน้ำ 6 สระ และสิ่งก่อสร้างเนื่องในศาสนาอีก 4 แห่ง ประกอบด้วย

พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด

เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้เชลยศึกชาวออสเตรเลียและฝ่ายพันธมิตร ที่ถูกบังคับให้สร้างทางรถไฟยาว 415 กิโลเมตร จากประเทศไทยไปยังประเทศพม่า เพื่อเป็นเส้นทางหลักสำหรับการส่งกำลังของกองทัพบกญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เชลยศึกโดยส่วนใหญ่เป็นเชลยชาวออสเตรเลียชาว อังกฤษและดัตซ์ รวมทั้งเชลยพลเรือนชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถูกบังคับให้สร้างทางรถไฟสายช่องเขาขาด ณ ที่นี้

หอประวัติสมเด็จพระญาณสังวรฯ

หอพระประวัติสมเด็จพระญาณสังวร ตั้งอยู่ในวัดเทวสังฆารามพระอารามหลวง (วัดเหนือ) จัดสร้างโดยจังหวัดกาญจนบุรี คณะสงฆ์ และหน่วยงานในจังหวัดร่วมกันจัดสร้างขึ้น  เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งมีชาติภูมิเป็นชาวจังหวัดกาญจนบุรี ในโอกาสที่ทรงพระชันษาครบ 8 รอบ 96 ปี และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา การศึกษาอบรม การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา รวมทั้งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและที่พักผ่อนของประชาชน

พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร

พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร เดิมจัดตั้งขึ้นในนามของศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร เมื่อปีพุทธศักราช 2523 ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เพื่อเป็นสถานที่เก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบภายในจังหวัดสกลนคร ภายใต้การดำเนินงานกำกับดูแลของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูสกลนคร ภายหลังพัฒนามาเป็นสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช 2559 ได้เปลี่ยนชื่อจาก “ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม” เป็น “พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร”

พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนครเป็นแหล่งเรียนรู้ ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและวิถีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์บริเวณอีสานตอนบนหรือ “แอ่งสกลนคร” เพื่อสร้างจิตสำนึกร่วมของคนในท้องถิ่น ที่มีรากเหง้าทางวัฒนธรรมแบบเดียวกัน เพื่อลดการอคติหรือความขัดแย้งในท้องถิ่น นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยอาศัยพิพิธภัณฑ์เมืองสกลนครเป็นกุญแจสำคัญ ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นรวมทั้งโบราณวัตถุอันเป็นมรดกสำคัญของประเทศชาติสืบไป

พิพิธภัณฑ์ภูพาน

เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับจังหวัดสกลนคร ที่เรียกว่าเป็นดินแดนแห่งธรรม 4 ธรรม ได้แก่ ธรรมะ อารยธรรม วัฒนธรรม และธรรมชาติ

ศูนย์วัฒนธรรมไทโย้ยโรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา

จัดแสดงเกี่ยวกับผ้าไหมมัดหมี่ลายโบราณ ย้อมสีธรรมชาติ เครื่องปั้นดินเผา ไห อูน คนโท อุปกรณ์เครื่องมือ วิถีชีวิต เครื่องมือหาปลา

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า