พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น  อาจาโรตั้งอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ลักษณะตัวพิพิธภัณฑ์เป็นรูปเจดีย์ฐานกลมกลีบบัวสามชั้น  ภายในมีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้นมีขนาดเท่ารูปจริง ในท่านั่งห้อยเท้า และถือไม้เท้าไว้ในมือ มีตู้กระจกบรรจุอัฐิ และแสดงเครื่องอัฐบริขารที่ท่านใช้เมื่อยามมีชีวิต รวมทั้งประวัติความเป็นมาตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ

พิพิธภัณฑ์บ้านป้าทุ้ม-ป้าไท้

เดิมชาวบ้านหนองแข้เกือบทุกหลังคาเรือน มีการทอผ้าไหมไว้เพื่อสวมใส่ตามประสาชาวบ้านในชนบทมาตั้งแต่รุ่น ปู่ ย่า ตา ทวด สืบต่อกันมาจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน เป็นความโชคดีของชาวบ้านหนองแข้ที่ในปี พ.ศ. 2518 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาที่โรงเรียนร่มเกล้า อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร พระองค์ท่านได้ทอดพระเนตรเห็นผ้าไหมที่คุณยายไท้ยายทุ้มได้สวมใส่เพื่อรับเสด็จพระองค์ท่าน ด้วยความจงรักอักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และหวังชื่นชมพระบารมีของพระองค์ท่านตามประสาชาวบ้านในชนบท สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงสนพระทัยผ้าไหม และตรัสถามคุณยายไท้ ยายทุ้มว่า ” ผ้าไหมสวยดี ที่บ้านมีอีกไหม อยากให้ทอไว้มากๆ เดี๋ยวจะไปซื้อ” ทำให้คุณยายไท้ยายทุ้ม ปลื้มปิติในพระเมตตาที่มีให้กับราษฎรชาวบ้านยากจน

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย เป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ที่จัดแสดงพันธุ์ปลาต่างๆ ทั้งปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็ม ได้รับความเห็นชอบให้ดำเนินการตามมติ ครม. ครั้งที่ 44/2546 (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2546 เพื่อตอบสนองต่อเป้าประสงค์ในการเป็นศูนย์กลางการศึกษา การวิจัยด้านการประมง การรวบรวมพันธุ์ปลาในลุ่มน้ำโขง ตลอดจนการจัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำในมิติของการบูรณาการ และตอบสนองในการเป็นเมืองท่องเที่ยว เริ่มการก่อสร้างเมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 และแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เริ่มทดลองเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ

เดิมเป็นป่าทาม ก่อตั้งปี พ.ศ. 2556 เพื่อดูแลธรรมชาติของวังบัวแดง

แหล่งเรียนรู้ ณ ตลาดท่าเรือท่าเสด็จ

ณ ตลาดท่าเรือ แหล่งเรียนรู้คู่ชุมชนจังหวัดหนองคาย แหล่งเรียนรู้สำคัญอีกแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ตั้งแต่อดีตซึ่งเคยเป็นท่าเรือเชื่อมโยงเส้นทางสัญจรของชาวบ้านท้องถิ่นระหว่างสองฝั่งโขง สะท้อนถึงสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว ก่อนจะกลายมาเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนในปัจจุบัน

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการปศุสัตว์ที่ 3 ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการปศุสัตว์ที่ 3 เป็นแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปศุสัตว์ สำหรับถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป ทั้งในจังหวัดอำนาจเจริญและใกล้เคียง ในลักษณะจัดทำเป็นฐานเรียนรู้ ซึ่งภายในฐานเรียนรู้จะมีองค์ความรู้ที่ทำเป็นสื่อให้ศึกษา การสาธิตเลี้ยงสัตว์จริง เพื่อให้ผู้สนใจได้รับความรู้ให้มากที่สุด   

 

 

พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)

เป็นอาคารสามชั้นทรงไทยประยุกต์ มีโถงบันไดอยู่ตรงกลาง ชั้นล่างมีตู้แสดงโครงกระดูกมนุษย์อยู่สองข้าง ชั้นสองจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านที่ชาวบ้านนำมาถวายวัด และชั้นสามประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งขนาดเท่าจริงของหลวงปู่ชา ในท่านั่งอยู่บนเก้าอี้หวายและเครื่องอัฐบริขารของท่าน

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านปะอาว

บ้านปะอาว มีประวัติเล่าต่อกันมาว่า บรรพบุรุษของบ้านนี้อพยพมาจากเวียงจันทน์ สมัยพระวอ พระตา โดยมีพี่น้องสองคนพาหมู่ญาติมาถึงทำเลที่เหมาะสม ผู้เป็นน้องได้พาสมัครพรรคพวกตั้งหมู่บ้านขึ้นเป็นบ้านปะอาว ส่วนผู้พี่ได้อพยพขึ้นไปทางเหนือลงหลักปักฐานขึ้นเป็นบ้านโนนเมือง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี สันนิษฐานว่า “ปะอาว” คงเพี้ยนมาจากคำว่า ป๋าอาว คำว่าป๋า หมายถึงละไว้ ทิ้งไว้ ส่วนอาว หมายถึงอา คือน้องชาย ซึ่งเป็นบ้านผู้เป็นพี่ละทิ้งผู้เป็นน้องชาย

ใครมาที่บ้านปะอาวมักจะเข้ามาเยี่ยมชมการทำผลิตภัณฑ์เครื่องทองเหลือง ณ ศูนย์หัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาวการหล่อทองเหลืองของกลุ่มชาวบ้านเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ในยุคแรกๆ การหล่อทองเหลืองก็เพื่อทำเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น เต้าปูน กระดิ่ง หมากหิ่ง (ลูกกระพรวน) หมากหวิน (ใช้รัดปลอกคอวัว) ต่อมาเมื่อมีการตั้งกลุ่มผลิตทองเหลือง เครื่องทองเหลืองบ้านปะอาวจึงเป็นที่รู้จักและผลิตออกสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมาก

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาอุบลราชธานี

สถานที่จัดแสดงนิทรรศการ
อาคารนิทรรศการ 1 (ตึกอำนวยการ)
ชั้นบน  นิทรรศการโลกและดวงดาว (ดาราศาสตร์)    ท้องฟ้าจำลอง

ชั้นล่าง นิทรรศการโลกวิทยาศาสตร์  นิทรรศการภูมิสารสนเทศ Gitda

อาคารนิทรรศการ 2
นิทรรศการภาพยนตร์ 4 มิติ

อาคารพลังงาน
นิทรรศการบ้านพลังงาน

พิพิธภัณฑ์ศรีอุบลรัตนาราม

ในวัดศรีอุบลรัตนาราม ที่ด้านข้างของพระอุโบสถมีศาลา “พิพิธภัณฑ์ศรีอุบลรัตนาราม” เป็นอาคารไม้เนื้อแข็ง 2 ชั้นขนาดใหญ่ เดิมทีเป็นศาลาหอแจก ซึ่งหมายถึงศาลาการเปรียญ สถานที่ในการทำบุญทำทานของคนในสมัยก่อน สร้างขึ้นในสมัยพระศาสนดิลก (ชิตเสโน เสน) เป็นเจ้าอาวาส ในสมัยพระครูวิจิตรธรรมภาณี เป็นเจ้าอาวาส ได้มีการรื้อถอนและมีการประกอบใหม่ด้วยเหตุผลในการจัดวางตำแหน่งอาคารต่าง ๆ ภายในวัด

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านปากน้ำ

พิพิธภัณฑ์บ้านปากน้ำ (บุ่งสระพัง) เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนเมื่ออดีตกาล ตั้งอยู่ที่วัดปากน้ำ (บุ่งสระพัง) ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามถนนสายอุบลราชธานี-ตาลสุม 11 กิโลเมตร ณ พิพิธภัณฑ์บ้านปากน้ำแห่งนี้ ได้รวบรวมจัดแสดงเครื่องไม้เครื่องมือในการประกอบอาชีพของชาวบ้านลุ่มน้ำบุ่งสระพังอย่างมากมาย อาทิ เครื่องมือดักสัตว์ที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น จำพวก คันหลุบ ด้วงดักหนู แร้ว กับดักต่างๆ และอุปกรณ์จับสัตว์น้ำ เช่น ชนาง ลอบยีน ลอบนอน ข้อง เบ็ด อวน ฉมวก ตุ้ม สุ่ม สวก กรบ ไซ ลันดักปลาไหล อีจู้ ฯลฯ เป็นต้น และสืบเนื่องจากมีสายน้ำสายหนึ่งแยกตัวออกมาจากแม่น้ำมูล มีความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร ทอดตัวเข้ามาในบริเวณหมู่บ้านปากน้ำ ซึ่งเรียกกันว่า “บุ่งสระพัง” และมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ปลานานาชนิด ซึ่งประชาชนชาวบ้านปากน้ำและชุมชนใกล้เคียงได้อาศัยแม่น้ำมูลและบุ่งสระพัง ในการประกอบอาชีพมาช้านานตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน

โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เชียงราย

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ เดิมชื่อ มูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวเขาไทย ในพระราชูปถัมภ์ ก่อตั้งขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวเขา
เนื่องด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีความสนพระทัยที่จะพัฒนาพื้นที่ดอยตุง จังหวัดเชียงรายให้เป็นพื้นที่ ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด และเป็นโครงการทดลองรูปแบบการพัฒนาเบ็ดเสร็จ เพื่อจะขยายผลการช่วยเหลือประชาชน ในพื้นที่ต่าง ๆ เนื่องจากทรงเจริญพระชนมพรรษามาก แล้วการที่จะแปรพระราชฐานไปยังพื้นที่ต่าง ๆ คงไม่สามารถทรงงานเช่นเดิมได้
เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรบริเวณที่เห็น สมควรจะ สร้างพระตำหนัก ได้มีพระราชกระแสรับสั่งกับหม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล ราชเลขานุการในพระองค์ “ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง” จะไม่เสด็จฯไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลังจากพระชนมายุ 90 พรรษา และ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก พร้อมกับทรงมีรับสั่งกับผู้เข้า เฝ้าทูลละอองพระบาทว่า “อยากจะไปปลูกป่าบนดอยตุง แต่คงจะต้อง ใช้ระยะเวลายาวนานมาก อาจจะเป็นเวลานานถึง 10 ปี”
จากพระราชประสงค์ดังกล่าว จึงมีรับสั่งในเรื่องการพัฒนาดอยตุงให้สภาพแวดล้อมที่เคยเสื่อมโทรมให้กลับมีสภาพที่อุดมสมบูรณ์ดังเดิม การแก้ไขปัญหาความยากจนและสุขภาพอนามัย ของราษฎรในพื้นที่ ตลอดจนเป็นการลดความรุนแรงของปัญหาพืชเสพติดในพื้นที่

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า