ประเทศไทยเริ่มจัดตั้งองค์การสวนพฤกษศาสตร์ มานานกว่า 17 ปี ในปี พ.ศ. 2537 องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ให้ใช้ชื่อสวนพฤกษศาสตร์ในภาคเหนือขององค์การสวนพฤกษศาสตร์จังหวัดเชียงใหม่ว่า “สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์” องค์การสวนพฤกษศาสตร์ได้เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรพืช ให้ได้ความอุดมสมบูรณ์ที่สุดพร้อมทั้งมีประสิทธิภาพสูงสุดจึงได้ดำเนินการขยายสวนสาขาเพิ่มในส่วนภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง คือ “สวนพฤกษศาสตร์พระแม่ย่า จังหวัดสุโขทัย” ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2551 มีพื้นที่ประมาณ 340 ไร่ เพื่อการศึกษา วิจัย พรรณไม้มงคล พรรณไม้หายาก สมุนไพร แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และการท่องเที่ยว ซึ่งมีการจัดภูมิทัศน์เพื่อชักชวนให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมและศึกษาเรียนรู้ ก่อให้เกิดคุณค่าทางธรรมชาติที่เพิ่มความร่มรื่นทางร่างกายและจิตใจให้กับชุมชน ประกอบกับจังหวัดสุโขทัยมีความเหมาะสมในการจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์สาขาในส่วนภูมิภาค เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นศูนย์กลางมรดกทางวัฒนธรรมในอดีต ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อาทิ โบราณสถาน โบราณวัตถุ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรมมีพืชเศรษฐกิจหลากหลายชนิด ผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ตาล, มะขาม, มะพร้าว, หมาก, พลู, พิกุล, บุนนาค, มะขวิด ฯลฯ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก เน้นการนำเสนอเรื่องพัฒนาการของเครื่องถ้วยสุโขทัย ด้วยเหตุที่อำเภอสรรคโลกอยู่ใกล้กับอำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัยที่สำคัญในสมัยสุโขทัยและอยุธยา เช่นเตาเผาบ้านเกาะน้อยและบ้านป่ายาง จัดแสดงเครื่องถ้วยที่ได้จากการรวบรวมของพระสวรรควรนายก เครื่องถ้วยที่กรมศิลปากรได้จากการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีในบริเวณเมืองโบราณศรีสัชนาลัยและเครื่องถ้วยจากแหล่งเรืออับปางในอ่าวไทย และนอกจากนี้ยังนำเสนอเรื่องพุทธประติมากรรมในศิลปะต่างๆโดยเน้นศิลปะสุโขทัยเป็นสำคัญ
เที่ยวตามรอย ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “สกลนคร”
“…เดิมเป็นป่าโปร่ง คนไปตัดไม้สำหรับเป็นฟืนและใช้พื้นที่สำหรับทำการเกษตร ป่าไม้ที่อยู่เหนือพื้นที่ถูกทำลายไปมากจึงไม่มีน้ำในหน้าแล้ง น้ำไหลแรงในหน้าฝน ทำให้มีการซะล้าง (erosion) ผิวดิน (top soil) บางลงและเกลืออยู่ข้างใต้ จะขึ้นเป็นหย่อมๆ…”
ได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2525 ให้พิจารณาจัดหาน้ำสนับสนุนโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา และทดลองงานพัฒนาการเกษตรต่างๆ ตามความเหมาะสมสำหรับเป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไปใช้ปฏิบัติต่อไป ต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ความว่า
“…สำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ นั้น เป็นการดำเนินงานในลักษณะย่อส่วนภูมิประเทศให้เล็กลง เพื่อที่จะมีการดำเนินงานในทุกๆ ด้านมาอยู่ในศูนย์ฯ โดยจะมีการศึกษา ทดลอง เผยแพร่ การพัฒนาและเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้เชี่ยวชาญ ข้าราชการและประชาชน สามารถมาดูงาน ศึกษาและพัฒนาไปใช้ปฏิบัติได้ มีลักษณะเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตโดยจะมีการศึกษาและพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นการเพาะกล้า การปลูก การใช้ที่ดินให้เหมาะสม ตลอดจนการแปรสภาพผลผลิตทางการเกษตรเป็นสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม…”
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เปิดให้ผู้สนใจทั่วไปเข้าชมศึกาาเรียนรู้ และทดลองเป็น “เกษตรกร” ในงานศึกษาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรม ป่าไม้ ประมง หรือปศุสัตว์
กิจกรรมห้ามพลาด
– นั่งรถราง ชมแปลงสาธิตทางการเกษตรและงานปศุสัตว์ภายในโครงการ
– ถ่ายรูป ให้อาหาร และสัมผัสกับ โคเนื้อ โคนม ไก่ดำ หมูดำ และกวางอย่างใกล้ชิด
– เดินชมส่วนงานศึกษาและพัฒนาป่าไม้
สอบถามข้อมูลได้ที่โทรศัพท์ 0-4274-7458-9
สาธร พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ สุโขทัย
ก่อตั้งโดย คุณสาธร โสรัจประสพสันติ ชาวบ้านหาดเสี้ยวที่มีใจรักในผ้าทอโบราณพื้นเมืองของบ้านหาดเสี้ยว และได้เก็บสะสมผ้าทอลายโบราณต่าง ๆ มานาน แล้วได้ตระหนักเห็นว่าหากไม่เก็บรักษาผ้าทอพื้นบ้านที่ทรงคุณค่าเหล่านี้เอาไว้ ต่อไปภายภาคหน้าก็จะสูญหายจากไป ฉะนั้นจึงได้สะสมผ้าเก่าเหล่านี้ไว้มากมาย แล้วก็ได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา
หมู่บ้านทำกลองเอกราช ภูมิปัญญาไทย อ่างทอง
ตำบลเอกราชเป็นแหล่งรวมศิลปวัฒนธรรมภาคกลาง ไม่ว่าจะเป็นเพลงพื้นบ้าน ลิเก และวงปี่พาทย์มอญ ดังนั้นวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้านนี้จึงผูกพันอยู่กับเครื่องดนตรีไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล และเมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมาคุณตาเพิ่ม ภู่ประดิษฐ์ มืออาชีพในการทำวงปี่พาทย์มอญ และมีความสามารถพิเศษในงานฝีมือทางช่าง ได้คิดที่จะประดิษฐ์กลองขึ้น และปรากฏว่ากลองที่ประดิษฐ์นั้นใช้ได้ดี จนเป็นที่เลื่องลือในหมู่แวดวงคนปี่พาทย์ คุณตาเพิ่มจึงได้สอนให้ลูกศิษย์ซึ่งอยู่ในวงปี่พาทย์มอญของตนทำกลองไว้ใช้เอง
ศูนย์ตุ๊กตาชาววัง อ่างทอง
อ่างทอง เป็นจังหวัดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในช่วงหน้าฝนมาเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้ประชาชนมีความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก แต่เดิมพื้นที่ในแถบนี้มีอาชีพทำอิฐและเหลาไม้ก้านธูป เมื่อยามที่ฝนตกน้ำท่วมไม่สามารถเผาอิฐหรือตากธูปได้ ทำให้ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องการทำมาหากินช่วงหน้าฝน
ในปี พ.ศ. 2519 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร ที่ตำบลบางเสด็จ ทรงมีพระดำริว่า น่าจะมีอาชีพเสริมอย่างอื่น โดยทรงคำนึงว่า ชาวบ้านมีทรัพยากรธรรมชาติที่พร้อมอยู่แล้ว คือ ดินเหนียวที่ใช้ทำอิฐ ประกอบกับทรงระลึกถึงตุ๊กตาไทยที่เรียกว่าตุ๊กตาชาววังนั้นหาดูได้ยากเกือบจะสูญสิ้นไปหมดแล้ว หากจะฟื้นฟูขึ้น ก็น่าจะช่วยสืบสานศิลปหัตถกรรมไทยแบบโบราณของไทยได้อีกอย่างหนึ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งอาจารย์จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ และ อาจารย์เสริมศรี บุนนาค จากวิทยาลัยเพาะช่าง มาสอนปั้นตุ๊กตาชาววัง โดยมีการจัดตั้งโครงการปั้นตุ๊กตาไทยขึ้น ครั้งแรกมีผู้เข้ารับการฝึกอบรม 150 คน ฝึกสอนกันได้ 3 เดือน ก็จัดให้มีพิธีไหว้ครู โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานพิธีไหว้ครู และได้ตั้งศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จแห่งนี้
ขุมทรัพย์ความรู้ จังหวัดอ่างทอง
เทศบาลเมืองอ่างทองเล็งเห็นถึงความสำคัญของการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้แก่เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ มุ่งมั่นสร้างขุมทรัพย์ความรู้จังหวัดอ่างทอง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ประจำท้องถิ่น เน้นปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ในบรรยากาศการเรียนรู้ผ่านสื่อและนวัตกรรมที่หลากหลายนำเสนอองค์ความรู้ทางด้านเนื้อหาสาระ เชิงวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม อาชีพ ตลอดจน ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผสมผสานผ่านสื่อหลากหลายรูปแบบ
พิพิธภัณฑ์เครื่องใช้ไม้ไผ่ บ้านยางทอง อ่างทอง
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี พ.ศ.2540 ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของชุมชนบางเจ้าฉ่าเช่นกัน ทำให้ผู้นำชุมชน และชาวบ้านบางเจ้าฉ่ารวมตัวกันเพื่อปรึกษาหารือถึงอนาคตของบางเจ้าฉ่า ชาวบ้านบางเจ้าฉ่าได้จัดประชาคมเพื่อวางแผนอนาคตร่วมกัน และริเริ่มพัฒนาโครงการต่างๆ ให้เป็นแหล่งส่งเสริมอาชีพ
ซึ่งก็ได้ความร่วมมือเป็นอย่างดีของชาวบ้าน นำไปสู่การส่งเสริมอาชีพจักสานไม้ไผ่ เดิมชุมชนบางเจ้าฉ่ามีอาชีพทำเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก และด้วยพื้นที่นี้มีต้นไผ่ขึ้นอยู่มากมาย และมีทุกรอบรั้วเสมือนเขตแดนของบ้าน อาชีพจักสานไม้ไผ่จึงเป็นอาชีพเสริม แต่ในปัจจุบันอาชีพจักสานได้พัฒนากลายเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านไปแล้ว ปัจจุบันได้รับการพัฒนารูปแบบให้หลากหลายมากขึ้น จนมีผู้สนใจจากภายนอก กลายเป็นสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชน OTOP ที่มีคุณภาพดีสามารถส่งออกต่างประเทศได้
หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน กรุงเทพฯ
หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน บริหารงานโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เป็นอาคารประวัติศาสตร์ขนาด 4 ชั้น สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2480 – 2491 ในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม อาคารหลังนี้ได้ถูกบูรณะโดยยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิมภายนอกไว้ และได้ปรับปรุงภายในอาคารเพื่อใช้เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย กิจกรรมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
ห้องนิทรรศการแบ่งการจัดแสดงเป็น 3 ชั้น
ชั้นที่ 1 ประกอบด้วย ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ห้องออดิทอเรียม
ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย ห้องสมุด ห้องนิทรรศการ และห้องปฏิบัติการ 1 และ 2
ชั้นที่ 3 ประกอบด้วย ห้องจัดแสดงนิทรรศการของศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน
หอรัชมงคล สวนหลวง ร.9 กรุงเทพฯ
หอรัชมงคล เป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดและสำคัญที่สุดในสวนหลวง ร.9 เพราะเป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในศุภมงคลสมัยทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 อาคารตั้งอยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่สวยงาม ด้านหน้าคืออุทยานมหาราช มีสระน้ำพุขนาดใหญ่สามสระต่อกัน ด้านหลังคือตระพังแก้วซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขุดขึ้นตามพระราชดำริเพื่อให้เป็นที่รับน้ำ บรรเทาปัญหาน้ำท่วม
พิพิธภัณฑ์วังวรดิศและหอภาพดิศวรกุมาร กรุงเทพฯ
พิพิธภัณฑ์วังวรดิศ ตั้งอยู่ที่ถนนหลานหลวง บริเวณวังวรดิศ พระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ “บิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย” ได้รับการยกย่องจากองค์การ UNESCO เมื่อ พ.ศ. 2505 ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก และมีผลงานหนังสือที่ทรงนิพนธ์ไว้ถึง 1,050 เรื่อง วังวรดิศสร้างแบบสถาปัตยกรรมเรเนสซองส์ ออกแบบโดยดร.คาร์ล ซิกฟรีด ดอห์ริง ผู้ออกแบบวังบางขุนพรหมและพระรามราชนิเวศน์ที่จังหวัดเพชรบุรี ภายในแสดงให้เห็นการดำเนินชีวิตของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภายในที่พักของพระองค์ การจัดวางข้าวของเครื่องใช้ยังคงสภาพสมัยที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพ ผู้เข้าชมจะได้เห็นห้องต่าง ๆ เช่น ห้องเสวย ห้อง Study ห้องจีน ห้องพระบรรทม ห้องทรงพระอักษรและห้องพระหรือห้องพระบรมอัฐิซึ่งประดิษฐานพระบรมอัฐิของรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 และพระอัฐิของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นอกจากนี้ยังมีบริการหอสมุดดำรงราชานุภาพ สำหรับค้นคว้าหนังสือส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งมีกว่า 7,000 เล่ม รวมทั้งหนังสือวารสาร หนังสือพิมพ์และหนังสือวิชาการเน้นด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ หกรอบ ร.9 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ตั้งอยู่ข้างพระบรมมหาราชวัง เป็นวัดประจำของรัชกาลที่หนึ่ง มีพระมหาเจดีย์สี่รัชกาลสีสันสวยงาม เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย มีโรงเรียนแพทย์แผนโบราณและนวดแผนโบราณ มีรูปปั้นยักษ์วัดโพธิ์ วัดโพธิ์มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว นั่นเป็นเพียงบางส่วนที่คนรู้จักวัดโพธิ์