พิพิธภัณฑ์นี้นำเสนอพระราชประวัติ พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีหรือสมเด็จย่า และการเสด็จฯ ในฐานะองค์ราชูปถัมภ์ในโอกาสต่าง ๆ ของโรงเรียนอันได้แก่ การเป็นประธานในงานฉลองครบครึ่งศตวรรษของโรงเรียน การวางศิลาฤกษ์อาคารเรียน การมอบรางวัลนักเรียนเรียนดี
ไปรสนียาคาร กรุงเทพฯ
ไปรษณียาคาร เดิมสะกดว่า ไปรสะนียาคาร เป็นอาคารที่ตั้งเดิมของกรมไปรษณีย์ และที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองโอ่งอ่าง ฝั่งพระนคร อยู่ทางทิศใต้ของสะพานพุทธ ตึกไปรสะนียาคาร สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2414 เดิมเป็นบ้านของพระปรีชากลการ (สำอางค์ อมาตยกุล) อดีตเจ้าเมืองปราจีนบุรี ซึ่งต้องคดีอาญา ข้อหากบฏ เนื่องจากคดีฉ้อราษฎร์บังหลวงในการดำเนินงานเหมืองแร่ทองคำ ที่เมืองกาญจนบุรี พระยาปรีชากลการถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2422 และถูกยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน
พิพิธภัณฑ์เรือจิ๋ว กรุงเทพฯ
พิพิธภัณฑ์เรือจิ๋วและอู่เรือจิ๋ว เป็นแหล่งความรู้สำหรับทุกท่านที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับเรือไทย มีห้องจัดแสดงเรือจำลองแบบต่าง ๆ และจำหน่ายเรือจำลอง รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ในการต่อเรือเป็นวิทยาทาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งหมดนี้คือผลงานของอาจารย์กมล วิบูลกิจธนากร ผู้ก่อตั้งอู่ต่อเรือจิ๋วแห่งนี้ให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ของชนรุ่นหลังต่อไป ภายในพิพิธภัณฑ์มีโชว์รูมเรือจำลองในแบบต่าง ๆ ที่ใช้ฝีมือหัตกรรมผลิตด้วยไม้อย่างประณีตสวยงาม นอกจากผู้เข้าชมจะรับชมแล้วยังสามารถเลือกซื้อสินค้าแบบจำลองเรือจิ๋วได้ด้วย
พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้โรคเขตร้อน กรุงเทพฯ
พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้โรคเขตร้อน แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้านโรคเขตร้อน จัดทำขึ้นในโอกาสเฉลิมฉลองการก่อตั้งคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ครบ 55 ปี ภายในมีเนื้อที่ประมาณ 163 ตารางเมตร จัดแสดงด้วยรูปแบบที่กระชับ ทันสมัย โดยใช้เทคโนโลยี 4 มิติทั้ง แสง เสียง ภาพ และสัมผัส
พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ กรุงเทพฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้ภาควิชาภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ ดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ (Museum of Imaging Technology) เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ และรัชมังคลาภิเษกสมโภช อีกทั้งเป็นวาระสำคัญที่การถ่ายภาพของโลกมีกำเนิดมาครบ 153 ปี ในการนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระกรุณาธิคุณในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ของพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ
สวนสัตว์เมืองไทยไม่ไปไม่รู้ ครบทุกภาค
มามุงกันเร็ว วันนี้ปิดเทอมสร้างสรรค์ได้ทำการรวบรวมสวนสัตว์ทั่วประเทศมาให้ทุกคนได้อ่านข้อมูลก่อนไปตะลุยของจริงกันค่ะ เรียกได้ว่าใครใกล้ตรงไหนไปตรงนั่นได้เลย!!!
เริ่มที่สวนสัตว์ทางภาคเหนือ
สวนสัตว์เชียงใหม่
ตั้งอยู่แถวเชิงดอยสุเทพ สัตว์ที่เชิดหน้าชูตามากที่สุดคือ “หมีแพนด้า” จากประเทศจีน หรือใครอยากจะดูสัตว์อื่นก็มีเยอะแยะมากมาย แถมตอนนี้เปิดสวนน้ำด้านใน เรียกได้ว่าสนุกกันทั้งวันเลย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
สวนสัตว์แมลงสยามเชียงใหม่
เป็นพิพิธภัณฑ์เชิงเรียนรู้แบบบูรณาการที่สนุกสนานและน่าตื่นเต้นสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กๆ โดยมีคำจำกัดความว่า “พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้และฟาร์มแมลงมีชีวิต”ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2549 โดย อาจารย์พิสุทธิ์ เอกอำนวย ผู้ซึ่งสนใจและรักงานด้านแมลงมาก ได้รวบรวมตัวอย่างแมลงจากทั่วโลกมานานกว่า 40 ปี มีทั้งแมลงแปลก แมลงหายาก แมลงสวยงามที่น่าสนใจมากมาย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
มาต่อกันที่สวนสัตว์ทางภาคอีสาน
สวนสัตว์อุบลราชธานี
ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวนดงฟ้าห่วน อำเภอ เมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่จำนวน 1,217 ไร่ ดำเนินการใต้ความคิด Jungle Park คือการนำเอาสวนสัตว์เข้ามาผสมผสานกับความอุดมสมบูรณ์ของป่าภายในพื้นที่ โดยใช้การอนุรักษ์และหาผลประโยชน์จากสภาพพื้นที่ป่าแบบลดการทำลายสภาพพื้นที่เดิมให้มากที่สุด ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
สวนสัตว์ขอนแก่น
หรือที่เรียกว่า “อุทยานสัตว์ป่าอีสานตอนบน ขอนแก่น–อุดรธานี” ซึ่งห่างจากตัวเมืองจังหวัดขอนแก่นมาอำเภอเขาสวนกวาง ประมาณ 50 กิโลเมตร และห่างตัวเมืองจังหวัดอุดรธานีมาอำเภอเขาสวนกวาง ประมาณ 78 กิโลเมตร เราจะได้ชมวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์ป่าอย่างยั่งยืนและแนวความคิดคนกับป่า การวิจัย เป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่หายาก และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งเที่ยวชมสัตว์ป่าของจังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดใกล้เคียง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
สวนสัตว์เปิดป่าภูเขียว
(สวนสัตว์ธรรมชาติป่าภูเขียว) จ.ชัยภูมิ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์ผ่านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ซึ่งยังเป็นป่าผืนใหญ่ที่ยังเหลือไม่กี่แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และได้มีพระราชดำริขึ้นว่า “พื้นที่บนภูเขียวเป็นที่ราบสูง กว้างขวาง พื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าดังนั้นจึงควรจัดให้เป็นสวนสัตว์ป่าเปิด ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
สวนสัตว์นครราชสีมา
นครราชสีมาจัดเป็นสถานที่พักผ่อนเชิงนิเวศของประชาชน เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องสัตว์ป่าและธรรมชาติศึกษาของเยาวชนที่มีความทันสมัยตามมาตรฐานการสวนสัตว์ให้มีคุณภาพในระดับสากล ภายใต้นิยาม “ท่องเที่ยว เรียนรู้ สู่ธรรมชาติ” ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
มาที่ภาคกลาง
เรียลซู สวนสัตว์แปลก อยุธยา
พระนครศรีอยุธยาเป็นขุมทรัพย์ความรู้ ที่รวบรวมสัตว์แปลกหายากหลากหลายชนิดและสายพันธุ์จากทั่วทุกมุมโลกมาไว้ในที่เดียวกัน ผู้ข้าชมเข้าถึงข้อมูลได้หลากหลายช่องทาง อาทิ รูปภาพ วีดีโอ และเว็บไซต์ของสัตว์แต่ละชนิดผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่(Mobile devices) จอสัมผัส(Multitouches) และระบบแสดงผลทางจอ(Signage systems) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
สวนสัตว์ดุสิต กรุงเทพมหานคร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นสถานที่พักผ่อนส่วนพระองค์ โดยทรงนำกวางดาวจากชวา รวมทั้งสัตว์อื่นๆ หลายชนิด มาเลี้ยง
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่8 คณะรัฐบาลนำโดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานสวนสัตว์ดุสิต ให้เทศบาลนครกรุงเทพฯ ดำเนินการจัดสร้างเป็นสวนสัตว์และเป็นที่พักผ่อนของ ประชาชน และให้ชื่อว่า “สวนสัตว์ดุสิต” หรือที่ประชาชนทั่วไปเรียก “เขาดินวนา” ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ภาคตะวันออก
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ชลบุรี
สวนสัตว์เปิดเขาเขียวเป็นสวนสัตว์เปิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทั้งส่วนศึกษาอนุรักษ์และวิจัยด้านสัตว์ป่า ทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในภาคตะวันออก จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานด้านการเลี้ยงและสงวนพันธุ์สัตว์ รวมทั้งสร้างสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ตบท้ายที่ภาคใต้
สวนสัตว์สงขลา
เป็นสวนสัตว์แห่งแรกของภาคใต้และได้รับความนิยมจากประชาชนมาจนถึงปัจจุบัน ในพื้นที่ 878 ไร่ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่ออนุรักษ์ขยายพันธุ์และรวบรวมสัตว์ป่าของไทยให้เกิดการศึกษาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ท่ามกลางบรรยากาศร่มรื่นขุนเขาที่โอบล้อมด้วยทะเลสาบสงขลาใกล้แหลมสมิหลาและสามารถชมวิวสะพานติณสูลานนท์ได้อย่างชัดเจน รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
ก่อนเปิดเทอมนี้ไปเรียนรู้สัตว์หายากใกล้พื้นที่คุณกัน.
พิพิธภัณฑ์สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ
อาคารเก่าแก่ที่ดูสวยงามแห่งนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นในปี พ.ศ.2530 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บอกเล่าความเป็นมาและรวบรวมประวัติศาสตร์ของการรักษาผู้ป่วยทางจิตของประเทศไทยไว้ให้ผู้สนใจได้ศึกษาอย่างมากมาย เริ่มจากห้องจัดแสดงห้องแรก เป็นห้องเก็บเครื่องไม้เครื่องมือการรักษาแบบเก่าไว้ เช่น เครื่องช็อตกระแสไฟฟ้าที่ใช้กับผู้ป่วยซึ่งยังต้องใช้แบตเตอรี่ชาร์จไฟอยู่ และภาพผู้อำนวยการโรงพยาบาลตลอดจนรายชื่อของผู้อำนวยการแต่ละท่านไว้ ห้องที่สองเป็นห้องที่ดูสวยงาม อุปกรณ์ตกแต่งเช่นโต๊ะเครื่องแป้ง โต๊ะเขียนหนังสือเหล่านี้เป็นของผู้ป่วยในสมัยก่อนที่เป็นผู้ดี จะมีข้าวของเครื่องใช้ดี ๆ ส่วนตัวมาใช้แต่เมื่อเสียชีวิตลงญาติพี่น้องก็ไม่ได้นำกลับจึงกลายเป็นสมบัติของโรงพยาบาลไป โต๊ะบางตัวเป็นโต๊ะทำงานของผู้อำนวยการโรงพยาบาล ที่ฝาผนังมีรูปของท่านเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เจ้าของเดิมของบ้านหลังนี้ก่อนที่จะบริจาคมาเป็นของโรงพยาบาล และรูปของคณะแพทย์จิตเวชยุคแรก ๆ โดยมีศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้วเป็นผู้สอน
พิพิธภัณฑ์เหรียญ กรุงเทพฯ
พิพิธภัณฑ์เหรียญ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเป็นแหล่งข้อมูล เพื่อค้นคว้าศึกษาและเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม เศรษฐกิจสังคมของประเทศไทยและนานาชาติ ในแต่ละยุคสมัย เชื่อมโยงถึงปัจจุบัน ผ่านเรื่องราวที่ปรากฏบนเหรียญ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางสำหรับนักสะสมเหรียญ ผู้สนใจทั่วไปในการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูลและกิจกรรมด้านเหรียญกษาปณ์และศิลปวัฒนธรรม โดยอาคารแห่งนี้อยู่ภายใต้ความดูแลของสำนักทรัพย์มีค่าของแผ่นดิน กรมธนารักษ์ สังกัดกระทรวงการคลัง
สยามเจมส์ เฮอริเทจ กรุงเทพฯ
ประติมากรรมช้างทองคำ (คุณทับทิม และพลายน้อย)ประติมากรรมช้างทองคำสองพ่อลูก เป็นช้างทรงเครื่องสมัยอยุธยาตอนต้นซึ่งเป็นศิลปะเครื่องทองโบราณตามแบบกรุวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีรูปทรงงามสง่า ตัวช้างหุ้มด้วยทองคำ 99.99% และฝังด้วยนพรัตน์ต่างๆ มากมายบนเครื่องทรง เยื้องย่างอยู่ท่ามกลางสายน้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของไทย อันหมายถึงศุภโชคโภคทรัพย์และความรุ่งเรืองตลอดไป
พระราชวังพญาไท กรุงเทพฯ
พระราชวังพญาไท มีประวัติอันยาวนานกว่าหนึ่งศตวรรษ เคยเป็นที่ประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มจากเป็นโรงนาหลวงอันเป็นที่ทดลองทำนาทำสวน เป็นพระตำหนักสมเด็จพระพันปีหลวง เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้า เป็นโรงแรมชั้นหนึ่ง และต่อมาได้เป็นที่ทำการของกองทัพบกด้านการรักษาพยาบาล จนเป็นจุดเริ่มต้นของโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ปัจจุบันพระราชวังพญาไทได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับให้เข้าชม
หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กรุงเทพฯ
หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เกิดจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการของศิลปินไทย โดยเฉพาะศิลปินรุ่นใหม่ที่มีผลงานดีเด่นแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ตลอดจนศิลปินอาวุโสที่ได้รับการยกย่อง สลับสับเปลี่ยนจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนตลอดปี
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ ซึ่งนายชาตรี โสภณพานิช ประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพและผู้มีจิตศรัทธา ทูลเกล้าฯถวายในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัล “จิตรกรรมบัวหลวงต้นแบบภาพปักเพื่อมูลนิธิศิลปาชีพ” ณ ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่สีลม เพื่อใช้เป็นทุนประเดิมในการก่อตั้ง โดยใช้ที่ทำการของธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า และศูนย์สังคีตศิลป์เดิม ปรับปรุงใหม่เป็นหอศิลป์ที่ทันสมัย โดยได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยเป็นมงคลนามว่า “หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ”
3 ศิลป์รัตนโกสินทร์และพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
จากราชสำนักฝ่ายใน แหล่งสั่งสมศิลปวิทยาการของสตรีชาววัง สู่โรงเรียนหญิงล้วนชั้นนำของประเทศ พัฒนากลายเป็นสถานฝึกหัดครู จนกระทั่งถูกรวมเป็นสถาบันราชภัฏ และยกระดับขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยในที่สุด “สวนสุนันทา” แม้จะเปลี่ยนสถานะหลายครั้ง หากแต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง คือ การเป็นแหล่งเรียนรู้คู่สังคมไทยมาโดยตลอด