พระนครคีรีหรือเขาวัง เดิมเป็นพระราชวังในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ตั้งอยู่บนยอดเขา 3 ยอดติดต่อกัน ยอดสูงที่สุดสูง 95 เมตร ภูเขานี้เดิมนั้นเรียกว่า เขาสมน(สะ-หมน) บริเวณไหล่เขาทางด้านทิศตะวันออก มีวัดแห่งหนึ่งชื่อ วัดสมณ(สะ-มะ-นะ) ในหมายรับสั่งรัชกาลที่ 4 ปรากฏชื่อว่า เขามหาสมณ ในปี พ.ศ.2404 พระองค์ได้พระราชทานนามว่า “เขามหาสวรรค์” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “เขามไหสวรรย์”
อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
“หว้ากอ” เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างถูกต้อง ซึ่งคำนวณไว้ล่วงหน้าถึง 2 ปีว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411
ระหว่างที่ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ รอวันพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาที่หว้ากอ เมื่อใกล้ถึงวัน จึงทรงโปรดให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มาสร้างค่ายไว้ล่วงหน้า และพระองค์ได้ใช้ค่ายนี้เป็นห้องทดลองวิทยาศาสตร์กลางแจ้ง เพื่อเป็นที่ชุมนุมของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกและคณะฑูตานุทูตประเทศต่างๆ
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ เขื่อนภูมิพล ตาก
เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น จึงได้จัดทำโครงการ อาคารเอนกประสงค์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ เขื่อนภูมิพล เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ กาญจนบุรี
อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์มีเนื้อที่ไม่มาก แต่มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นและธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก หน้าผา และถ้ำธารลอด ที่นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดจากการยุบตัวของหินปูน ประกอบกับการกัดเซาะของน้ำทำให้เขาหินปูนกลายเป็นสะพานธรรมชาติขนาดมหึมา และมีหลักฐานแสดงถึงด้านประวัติ-ศาสตร์เป็นทางเดินทัพของพม่าและกองทัพญี่ปุ่น มีเนื้อที่ประมาณ 59 ตารางกิโลเมตร หรือ 36,875 ไร่
พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา (เหมืองแม่เมาะ) ลำปาง
พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา เหมืองแม่เมาะ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อตระหนักถึงความสําคัญของพลังงานจากถ่านหิน และความสําคัญของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ที่มีต่อความมั่นคง ด้านพลังงานของประเทศ เข้าใจถึงกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า และมาตรการในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน อย่างใส่ใจ เหมืองถ่านหินลิกไนต์ อ.แม่เมาะ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติถ่านหินขนาดใหญ่ ที่มีความสําคัญขับเคลื่อนพลังงาน โดยนํามาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าแจกจ่ายให้สู่ประชาชน ทั้งยังให้ความสําคัญต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน โดยมีมาตราการต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการดูแลและพัฒนาชุมชน เพื่อสามารถอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
พิพิธภัณฑ์อำเภอแม่ลาน้อย แม่ฮ่องสอน
พิพิธภัณฑ์อำเภอแม่ลาน้อยก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2550 ตั้งอยู่ในบริเวณวัดแม่ลาน้อย ถ.รุ่งโรจน์ ต.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ด้วยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 1,900,000 บาท เป็นตึก 2 ชั้น หลังคา 2 ชั้นทรงไทยใหญ่ประยุกต์ ในปี พ.ศ. 2552-2553 ได้งบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน้อยตกแต่งอาคารและตู้เก็บวัตถุต่างๆ ในปี พ.ศ. 2555 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
พิพิธภัณฑ์การศึกษาโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
พิพิธภัณฑ์การศึกษา โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ตั้งอยู่บริเวณชั้นล่างของอาคารน้ำเพชร ซึ่งเป็นอาคารไม้สูง 2 ชั้น แบบล้านนาประยุกต์ อาคารหลังนี้เป็นอาคารเกียรติยศ และเป็นที่ตั้งขององค์กรที่สนับสนุนการศึกษาของโรงเรียน
ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ (วัดหย่วน) พะเยา
ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ ตั้งอยู่ที่วัดหย่วน เริ่มก่อตั้งในปี 2536 ด้วยความประสงค์ของท่านพระครูสุภัทร พรหมคุณ เจ้าอาวาสวัดหย่วน ที่ต้องการให้กลุ่มทอผ้าในหมู่บ้านย้ายไปทอผ้าในวัดหย่วน เพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูการทอผ้า เนื่องจากการทอผ้าได้เริ่มสูญหายไปจากในหมู่บ้าน และในช่วงเวลานั้น ท่าน ส.ส. ลัดดาวรรณ วงศ์ศรีวงศ์ โฆษกของรัฐบาลนายก รัฐมนตรีอานันท์ ปัญญารชุน ซึ่งเป็นคนบ้านหย่วน ได้เข้ามาช่วยผลักดันการสร้างศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ และช่วยของบประมาณจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจำนวน 3 ล้าน ในการสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ วัตถุจัดแสดงส่วนใหญ่ได้มาจากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านที่บริจาคให้แก่ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดพะเยา
แรกเริ่มมีชื่อว่า “สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำ 2 กว๊านพะเยา” พื้นที่ก่อสร้างได้จากการเวนคืนโดย การจัดซื้อจากราษฎร ในปี พ.ศ. 2482-2484 พร้อมๆ กับการเวนคืนที่ดินในบริเวณกว๊านพะเยา การก่อสร้างสถานีฯ เริ่มดำเนินการ เมื่อ ก่อสร้างประตูน้ำแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2482 และเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 สถานีฯ แห่งนี้เป็นสถานีฯ แห่งที่ 2 ของประเทศไทย โดยมีนายสวัสดิ์ เทียมเมธ เป็นหัวหน้าสถานีฯ เป็นคนแรก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2496 เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีประมง (กว๊านพะเยา) เชียงราย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2520 จังหวัดพะเยาได้แยกออกมา จากจังหวัด เชียงรายทำให้สถานีฯ เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา และในปีงบประมาณ 2545 เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างระบบราชการใหม่ ทำให้สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา ปัจจุบันตั้งอยู่ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
พิพิธภัณฑ์ทหาร อำเภอทุ่งช้าง น่าน
ร่วมรำลึกถึงวีรกรรมแห่งวีรชนผู้สละชีพเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทย ณ ที่แห่งนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดและวางพวงมาลา เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2519 และได้ถือเอาวันนี้ของทุกปีเป็นวันวางพวงมาลาบำเพ็ญกุศลแก่วีรชนจนถึงปัจจุบัน ส่วนพิพิธภัณฑ์ทหารทุ่งช้างนั้นจัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาเรียนรู้เก็บเกี่ยวแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจในประวัติศาสตร์ของเมืองไทย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดน่าน ตั้งอยู่ในบริเวณคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 14 ไร่ 2 งาน 32 ตารางวา รายล้อมด้วยถนนที่สำคัญได้แก่ ถนนผากองด้านทิศตะวันออก ถนนสุริยพงษ์ด้านทิศใต้ และถนนมหาพรหมด้านทิศเหนือ อาคารพิพิธภัณฑ์เดิมเป็นหอคำที่พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้าน่านทรงสร้างขึ้นเป็นที่ประทับ เมื่อพุทธศักราช 2446 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น แบบตรีมุขหรือรูปตัวที รูปแบบผสมผสานระหว่างแบบศิลปะตะวันตกและศิลปะไทย โครงสร้างภายในเป็นไม้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีมุขออกด้านหน้า หลังคามุงด้วยไม้แป้นเกล็ด
หอศิลป์ริมน่าน
จัดตั้งโดยคุณวินัย ปราบริปู ศิลปินชาวน่าน ที่สร้างสรรค์งานศิลปะและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในแวดวงศิลปะ หลังจากสั่งสมประสบการณ์ทำงานด้านศิลปะมาหลายสิบปี คุณวินัยจึงกลับมา สร้างหอศิลป์ขึ้นที่บ้านเกิดของตนเอง เพื่อที่จะถ่ายทอดความงามของศิลปะให้แก่ผู้คนและเยาวชนในจังหวัดน่าน โดยใช้เวลาในการปรับปรุงพื้นที่และออกแบบก่อสร้างกว่า 7 ปี จึงเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2547 แบ่งส่วนจัดแสดงเป็น