เป็นอาคารรูปทรงเรือ จำนวน 3 ชั้น ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำตรัง ใกล้แพขนานยนต์เมืองกันตัง ซึ่งทางเทศบาลเมืองกันตัง ได้มีการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา เพื่อต้องการให้เป็นศูนย์กลางในการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์เมืองกันตัง เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีความตระหนักและเห็นคุณค่าของวัตถุทางวัฒนธรรม ที่เป็นส่วนหนึ่งในการแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่นคนชาวจังหวัดตรัง
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขุนละหาร นราธิวาส
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2552 โดยนายรัศมินทร์ นิติธรรม มีแนวคิดที่เพื่ออนุรักษ์ และสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ และนำเอาเอกลักษณ์หรือศิลปะดั้งเดิมทางด้านภูมิปัญญามาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ร่วมสมัย สู่การเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้ชุมชนอย่างยั่งยืน โดยใช้ชื่อขุนละหารเป็นแบรนด์ เนื่องจากเป็นชื่อพระราชทานสมัยรัชกาลที่ 5 และเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน
ศูนย์วัฒนธรรมชาวเลบ้านทุ่งหว้า
ในปี พ.ศ. 2550 หลังเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ ศูนย์วัฒนธรรมชาวเลบ้านทุ่งหว้า ได้จัดตั้งขึ้น โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ เพื่อบอกเล่าประวัติความเป็นมา ความเชื่อ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชนเผ่ามอแกน
ภายในอาคารจัดแสดงเรื่องราวของชาวมอแกนที่ใช้ชีวิตทะเล ทั้งตำนานความเชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่าง เรือ คน และ ทะเล รวมทั้งการจัดแสดงภาพถ่าย เรือจำลอง นอกจากนี้ยังมีบ้านจำลองชาวมอแกน ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ มีเสา 9 ต้น บันได 5 ขั้น หมายถึงความก้าวหน้าความเป็นสิริมงคล ส่วนเครื่องใช้ไม้สอยอื่นๆ เช่น กะลาใช้แทนจานชาม กากหมากใช้ใส่อาหาร หรือจะใช้ตักน้ำอาบ กระด้งใช้ฝัดข้าว รวมไปถึง ธนูที่ไว้ใช้ล่าสัตว์ เป็นต้น
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก–ลำรู่ พังงา
แต่เดิมเป็นเพียงวนอุทยานป่าชายทะเลเขาหลัก ซึ่งอยู่ในความดูแลของกองอุทยานแห่งชาติ ต่อมา ในปี 2527 ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลกะปง จังหวัดพังงา ได้มีหนังสือเรียนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า พื้นที่บริเวณ ตำบลกะปง จังหวัดพังงา น้ำตกลำรู่ เป็นน้ำตกที่สวยงาม ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเทือกเขากะได บริเวณรอบๆ ยังมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่านานาชนิด ควรอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าไว้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีบันทึกให้กรมป่าไม้พิจารณา กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือเสนอกรมป่าไม้ ให้มีคำสั่งให้ เจ้าหน้าที่ออกไปทำการสำรวจบริเวณดังกล่าว ปรากฏว่า พื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่ง เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
ศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรม และประเพณีแห่งอันดามัน พังงา
ศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามัน จังหวัดพังงา เป็นโครงการที่ริเริ่ม
โดย นายนิคม มูสิกะคามะ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2545 โดยกรมป่าไม้ได้อนุญาตให้กรมศิลปากรใช้เป็นที่ตั้งของศูนย์ศึกษาวิจัยฯ เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลความรู้ทุกด้านที่เกี่ยวกับดินแดนฝั่งชายทะเลอันดามัน ทั้งด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และธรรมชาติวิทยา อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และเสริมสร้างทรัพยากรท่องเที่ยวให้ยั่งยืน อันจักส่งผลให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ รายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในท้องถิ่นและประชาชนทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดฝั่งอันดามัน
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
ตามตำนานเรื่องเล่าในท้องถิ่นที่เล่าต่อกันมาของเขาตะปู ถูกเรียกชื่อมาจากความโกรธของชาวประมงผู้หนึ่งที่พยายามจับปลาทุกวันเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปขายที่ตลาด จนมาวันหนึ่งชาวประมงผู้นั้นได้หาปลามาตลอดทั้งวันก็ยังไม่สามารถหาได้แต่ด้วยความอดทนของเขาก็พยายามหาต่อไป แต่ก็ยังไม่สามารถจับปลาได้ซักตัว จนในที่สุดเขาก็ลองโยนแหหว่านลงไปอีกครั้งหนึ่งโดยหวังว่าครั้งนี้คงจะเป็นปลาอย่างที่ต้องการ เมื่อเหวี่ยงแหลงไปและดึงขึ้นมาเหมือนเดิมแต่ครั้งนี้แหหนักมากจึงดึงขึ้นมาด้วยความระมัดระวังแต่ก็ได้ตะปูเหมือนเดิมชาวประมงผู้นั้นจึงหยิบขึ้นมาแล้วเหวี่ยงทิ้งลงในน้ำและทอดแหต่อไปกี่ครั้งก็ติดตะปูตัวเดิม จึงเกิดโทสะขึ้นมาใช้มีดฟันตะปูขาดกระเด็นไปปักที่กลางทะเลกลายเป็นเขาตะปูนับตั้งแต่นั้นมา พื้นที่รอบๆ อ่าวพังงามีประวัติอันยาวนานและมีชื่อเสียงในเรื่องของความงามธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกาะตะปู เกาะปันหยี ถ้ำลอดและเขาพิงกัน รูปเขียนบนผนังหินในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาก็เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
สถานแสดงพันธุ์สัตว์นํ้าภูเก็ต
สถานแสดงพันธุ์สัตว์นํ้า ภูเก็ต มีภารกิจหลักคือ ส่งเสริมและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับคุณค่าและความส้าคัญ รวมถึงแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่สร้างชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตมากว่า 30 ปี โดยการจัดแสดงพันธุ์สัตว์นํ้าที่หลากหลาย สวยงาม และหาดูยาก กว่า 130 ชนิด เพลิดเพลินกับการรับชมสัตว์น้าและนิทรรศการอันตระการตาด้วยระบบมัลติมีเดียแบบ Fog Screen ภาพยนตร์ 180 องศา เยี่ยมชมเส้นทางศึกษาธรรมชาติและงานวิจัย โรงเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า บ่อเต่าทะเล ให้คุณสนุกสนานไปกับการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน เชิญมา “สำรวจโลกใต้ทะเล
พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ภูเก็ต
พิพิธภัณฑ์ฯ แห่งนี้เป็นที่ระลึกถึงประวัติและที่มาของชาวจีนที่อพยพและย้ายถิ่นมาอยู่ที่ภูเก็ต ให้คนไทยในยุคปัจจุบันไดรู้จักบรรพชนอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้ตระหนักตัวตนที่แท้จริง พร้อมกันนั้นก็เพื่อให้นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างประเทศที่อพยพมาทำงานได้มีโอกาสศึกษาและเข้าใจความเป็นอยู่ พฤติกรรม และอุปนิสัยของชาวภูเก็ต รวมทั้งเพื่อเป็นศูนย์รวมของการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต
พิพิธภัณฑ์เพอรานากัน ภูเก็ต
พิพิธภัณฑ์ เพอรานากัน ภูเก็ต” เป็นการจัดแสดงนิทรรศการจำลองประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ เพอรานากัน ผ่านเทคโนโลยีการนำเสนอที่ทันสมัย เข้าใจง่าย ได้ทั้งความรู้ และความสนุกสนาน อีกทั้งภัตตาคาร “ครัวย่าหยา” รวบรวมอาหาร และขนมท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อหลากหลายเมนู ให้ได้ลิ้มลอง
พิพิธภัณฑ์นี้รวบรวมสิ่งของ โบราณวัตถุ เครื่องใช้เก่าแก่ที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน เช่น ตราชั่งจดหมายโบราณ เครื่องพิมพ์โทรเลขโบราณ หนังสือเรียบเรียงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จัดแสดงภาพถ่ายในสมัยโบราณ ตึกสถาปัตยกรรมแบบภูเก็ตดั้งเดิมที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวภูเก็ตและชาวปีนัง ที่เดินทางติดต่อกันเพื่อค้าขายแร่ดีบุก อาหาร และ สินค้าต่างๆ จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนด้านอื่นๆ ตามมา
พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรภูเก็ต
อาคารที่ทำการไปรษณีย์ภูเก็ตหลังเก่า เป็นอาคารเก่าแก่อีกแห่งในจังหวัดภูเก็ตที่มีความงดงามในด้านสถาปัตยกรรมและทรงคุณค่า ด้วยมีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นจังหวัดชายทะเลตะวันตก อาคารสีขาวโดดเด่นงามสง่า ตั้งประจักษ์แก่สายตาบุคคลทั่วไปมาหลายยุคสมัย จากหลักฐานที่ปรากฏในจดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ของรัชกาลที่ 6 ทำให้ทราบว่า อาคารแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2473 แต่เดิมเคยเป็นเรือนที่พักอาศัยของพระอนุรักษ์โยธา(นุด) ข้าหลวงรักษาราชการหัวเมืองฝ่ายตะวันตก ภายหลังไม่นาน อาคารแห่งนี้ถูกนำมาใช้ในส่วนของราชการ นอกจากอาคารที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแล้ว ยังมีสำนักงานการไฟฟ้า สุขาภิบาลเมืองภูเก็ต และธนาคารออมสิน อยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกันด้วย
สํานักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม เป็นส่วนราชการหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มีหน้าที่ในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งเป็นศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ตในการศึกษาค้นคว้า วิจัย อนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่งานด้านวัฒนธรรม
ศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวบูรณาเอกลักษณ์ท้องถิ่น ภูเก็ต
ศึกษา เรียนรู้วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา