พระราชวังรัตนรังสรรค์(จำลอง) ระนอง

พระราชวังรัตนรังสรรค์องค์แรก สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ครั้งเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ฝั่งตะวันตก (ระหว่างวันที่ 23  25 เมษายน พ.ศ.2433) นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จประพาสเมืองระนอง

ในการเสด็จครั้งนั้นโปรดฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสารทศุภกิจ กำหนดแผนที่ทำเรือนไม้พลับพลาที่ประทับ โดยพระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนอง เป็นผู้สร้างถวาย บนเนินเขากลางเมืองด้วยไม้จริงทั้งหลัง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทอดพระเนตร มีดำรัสว่า ทำงดงามมั่นคง สมควรจะเป็นวังยิ่งกว่าจะเป็นพลับพลา และ พระราชทานนามว่า พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ หมายถึง พระยารัตนเศรษฐีเป็นผู้สร้าง เพื่อเป็นเกียรติยศแก่เมืองระนองและสกุลของพระยารัตนเศรษฐี และพระราชทานนามเนินเขาที่ตั้งว่า นิเวศน์คีรี โดยในครั้งนั้นได้เสด็จประทับแรม ณ พระที่นั่งรัตนรังสรรค์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล (คฤหาสน์กูเด็น)

อาคารคฤหาสน์กูเด็น สร้างขึ้นโดยพระยาภูมินารถภักดีหรือตนกูบาฮารุดดิน บินตำมะหงง เจ้าเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสถาปัตยกรรมยุโรปแบบโคโรเนียล สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 5 คราวเสด็จปักษ์ใต้ แต่พระองค์มิได้ประทับแรม ต่อมาจึงใช้เป็นสถานที่สำคัญๆ อาทิเป็นบ้านพักและศาลาว่าการเมืองสตูล  ใช้เป็นกองบัญชาการทหารญี่ปุ่น  ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดสตูล  เป็นที่ว่าการอำเภอเมืองสตูล  เป็นโรงเรียนแล้ว  และเป็นสำนักงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(ก.อ.ร.ม.น. )

ด้วยความสำคัญทางประวัติศาสตร์และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่มีความงดงามโดดเด่น กรมศิลปากรจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนคฤหาสน์กูเด็นเป็นโบราณสถานแห่งชาติ และได้ดำเนินการปรับปรุงอาคาร เพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง เก็บรวบรวมข้อมูล และจัดแสดงประวัติศาสตร์เมืองตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตชาวสตูล

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา สตูล

เมื่อปี 2525 ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้เห็นว่า สภาพธรรมชาติที่เป็นเกาะแก่ง หาดทรายชายทะเล ในบริเวณชองแคบมะละกา เขตจังหวัดสตูล ยังมีความบริสุทธิ์สมบูรณ์อยู่มาก น่าจะได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสตูลด้วย กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่ให้เจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจหาข้อมูลบริเวณหมู่เกาะเภตรา ปรากฏว่า มีสภาพเป็นเกาะใหญ่น้อยหลายเกาะ โดยมีเกาะขนาดใหญ่อยู่ 2 เกาะ คือ เกาะเภตรา และเกาะเขาใหญ่ สภาพป่าสมบูรณ์ ทิวทัศน์ทางทะเลสวยงาม มีปะการัง หาดทรายขาวสะอาด มีโขดหิน หน้าผา ถ้ำ และเขาหินปูนรูปร่างแปลกตา ทั้งเป็นที่วางไข่และอยู่อาศัยของเต่าทะเลหลายชนิด เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้ กองอุทยานแห่งชาติได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2526 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเกาะเภตรา เกาะเขาใหญ่ และหมู่เกาะใกล้เคียงในพื้นที่ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ตำบลตำบลขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า ตำบลแหลมสน และตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 200 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2527 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 49 ของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ 494.38 ตารางกิโลเมตร

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านละงู สตูล

ด้วยความชอบสะสมของเก่าเป็นทุนเดิมของคุณชัยวัฒน์ ไชยกุล ที่ได้เริ่มสะสมของเก่าเก็บมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2528 ปัจจุบันความมุ่งมั่นของเขาได้แปรมาสู่การเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์สีขาวกระทัดรัดสองชั้นที่ตั้งโดดเด่นอยู่ริมถนน ซึ่งเพียงสัมผัสแรกคุณจะค้นพบว่าภายในนั้นซุกซ่อนความทรงจำดี ๆ ของสตูลเอาไว้มากมาย ชั้นล่างจำหน่ายผลิตภัณฑ์งานฝีมือท้องถิ่นและขนมแสนอร่อย ส่วนชั้นบนจัดแสดงข้าวของต่าง ๆ เช่น เครื่องทองเหลือง เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเงิน เตารีด ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ กระเบื้องเคลือบ เครื่องแก้ว เครื่องเสียง เครื่องดนตรี เครื่องจักสาน นาฬิกาโบราณ เป็นต้น นอกจากนี้ที่นี่ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีกด้วย โดยมีการจัดแสดงรองเง็ง ซีลัต ลิเกบก สร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวได้มากมาย

PUEY TALKS #5 Food Democracy

ป๋วยทอล์คปีละครั้งแลกเปลี่ยนทัศนะเขย่าสังคม!!!

“เมื่ออยู่ในครรภ์ของแม่ ผมต้องการให้แม่ได้รับประทานอาหารที่เป็นคุณประโยชน์”

ความมั่นคงทางอาหาร เป็นอีกประเด็นปัญหาหนึ่งที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อคนในประเทศไทยและทั้งโลก นำไปสู่ความไม่ปลอดภัยของอาหาร ความไม่มั่นคงทางด้านการผลิตอาหาร ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพนำไปสู่การพึ่งพิงทางอาหาร การตลาด และการครอบงำทางเศรษฐกิจ และมีผลสืบเนื่องไปถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วย ปัญหาเหล่านี้ล้วนมีเหตุจากความล้มเหลวเชิงนโบบายและมาตรการของรัฐ ในการส่งเสริมบริหารจัดการอธิปไตย และความมั่งคง ยั่งยืน ด้านอาหารของชาติ ทำให้เกษตรกรต้องทำการผลิตเชิงเดี่ยวเพื่อการพาณิชย์แบบพึ่งพิงภาคส่วนอื่นๆ ตลอดเวลา รวมทั้งลดขีดความสามารถในการจัดการตนเองอีกด้วย

แหล่งประวัติศาสตร์อ่าวพันเตมะละกา

ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติตะรุเตา เป็นอ่าวที่มีพืนที่ราบมากที่สุดบนเกาะตะรุเตา สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าชายหาด มีทิวสนทะเลเรียบไปตามชายทะเล หาดทรายขาว สะอาด เหมาะแก่การเดินชายหาด เล่นน้ำทะเล และพักผ่อน ค้างแรมกางเต็นท์ อากาศเย็นสบาย แต่ถ้าเป็บช่วงอับลม อากศจะร้อน ทางอุทยานแห่งชาติได้พัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เป็นโซนบริการนักท่องเที่ยว มีบ้านพักทั้งบ้านเดี่ยวและบ้านเรือนแถว ค่ายพักแรม สถานที่กางเต็นท์ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ห้องน้ำ-ห้องสุขา ศาลาพักผ่อน ทางเดินเท้า ถนนเชื่อมต่อไปอ่าวตะโละวาว เป็นต้น

ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น ชุมชนตลาดล่าง ชุมพร

ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นฯ แห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของบ้านเลขที่ 173-175 ถนนวานิชบำรุง ต.นาโพธิ์ อ.สวี จ.ชุมพร พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นย่านที่อยู่อาศัยและศูนย์กลางเศรษฐกิจดั้งเดิมของ อ.สวี ที่เรียกรวมกันว่าย่านตลาดล่าง ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสวีที่อยู่ทางด้านตะวันตกอันเป็นเส้นทางสัญจรเพื่อการนำผลผลิตทางการเกษตรจากชาวสวนในเขต อ.สวีมาขึ้นยังท่าเรือที่ที่สุดปลายของถนนวานิชบำรุงเพื่อส่งขายผ่านยังตลาดล่าง ไปสู่สถานีรถไฟสวี ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกที่ปลายอีกด้านของ ถนนวานิชบำรุง

พิพิธภัณฑ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนสวีวิทยา ชุมพร

พิพิธภัณฑ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนสวีวิทยา จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น อำเภอสวี และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียน โดยได้ดำเนินการและเปิดบริการแล้วตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2548 ณ ห้องพิพิธภัณฑ์ ชั้น 1 อาคาร 3

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร

ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และความเหมาะสมหลายประการ สำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย จึงได้มีหนังสือเชิญชวนให้กรมป่าไม้ ร่วมเสนอข้อคิดเห็นในการจัดทำผังเมืองชุมพร เมื่อปี พ.ศ. 2529 และดำเนินการสำรวจสภาพทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดชุมพร ผลการสำรวจปรากฏว่า จังหวัดชุมพรมีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย เช่น ป่าชายเลน ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์ทะเล แนวปะการัง ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ และสภาพธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นชายหาดและเกาะทียังคงความงดงามสมควรจะได้มีการกำหนดพื้นที่บริเวณที่เหมาะสม เพื่อประกาศเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์และคุ้มครอง ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการนันทนาการของประชาชน และเป็นแหล่งความรู้เพื่อประโยชน์ในการวิจัยในเชิงวิชาการ และการเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร

จังหวัดชุมพร ได้มอบที่ดินจำนวน 7 ไร่ ให้กับกรมศิลปากร เพื่อให้ดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง เพื่อให้ท้องถิ่นเกิดความรัก ความภาคภูมิใจในความเป็นมาของตนเองและจะได้ร่วมกันรักษามรดกวัฒนธรรมที่มีค่าให้คงอยู่สืบไป

อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร เป็นอาคาร 2 ชั้น มีลักษณะการผสมผสานสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้และสถาปัตยกรรมร่วมสมัยเข้าด้วยกัน ทำให้มีลักษณะโดดเด่นและทันสมัย ภายในประกอบด้วย ห้องสมุด ห้องประชุม ห้องอเนกประสงค์ สำนักงาน คลังเก็บโบราณวัตถุศิลปวัตถุ ร้านจำหน่ายหนังสือและของที่ระลึก โดยห้องจัดนิทรรศการถาวร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช เป็นพิพิธภัณฑ์ทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีและชาติพันธุ์วิทยา นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ผ่านหัวข้อ “ห้องก่อนประวัติศาสตร์” จัดแสดงโบราณวัตถุที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ของคนในสมัยนั้น เช่น เครื่องมือหิน ลูกปัดแก้วและหิน ภาชนะดินเผา และกลองมโหระทึก เป็นต้น เครื่องใช้เหล่านี้แสดงให้เห็นว่ามีคนอยู่อาศัยในภาคใต้เป็นระยะเวลานานมาแล้ว ห้องจัดแสดงที่น่าสนใจอีกห้อง คือ “ห้องโบราณวัตถุที่พบในภาคใต้”  ได้จัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพุทธและพราหมณ์ ซึ่งเป็นศาสนาที่เป็นที่นับถือของชาวใต้ โบราณวัตถุที่จัดแสดง เช่น  ศิวลึงค์ พระศิวนาฏราช พระวิษณุ พระโพธิสัตว์ เศียรพระพุทธรูป และหน้าบันไม้จำหลัก เป็นต้น

หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองคอน นครศรีธรรมราช

หอศิลป์ร่วมสมัยเมืองคอน นครศรีธรรมราช เกิดจากแรงบันดาลใจของกลุ่มศิลปินนักคิดนักเขียนปักษ์ใต้ ที่ร่วมกันผลักดันให้เกิดพื้นที่ในการแสดงความคิดผ่านงานศิลปะแขนงต่าง ๆ เพื่อช่วยกันพัมนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง โดยได้รับการสนับสนุนการเทศบาลนครนครศรีธรรมราช

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า