จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญและคุณค่าของหนังตะลุง และต้องการอนุรักษ์สืบสานและเผยแพร่ศิลปะการทำหนังตะลุง

พิพิธภัณฑ์วีรไทยเฉลิมพระเกียรติพระชนมายุ 72 พรรษา นครศรีธรรมราช

ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงอาวุธปืนโบราณ เครื่องมือเครื่องใช้ของทหารสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา ประวัติความเป็นมาของพ่อจ่าดำ ประวัติสงครามมหาเอเชียบูรพา ประวัติความเป็นมาของอนุสาวรีย์วีรไทย

พิพิธภัณฑ์หาดทรายแก้ว นครศรีธรรมราช

พิพิธภัณฑ์หาดทรายแก้ว ตั้งอยู่บริเวณหาดทรายแก้ว อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เป็นสถานที่จัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาโบราณและเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากินรวมไปถึงเครื่องจักรสานเก่าแก่ ที่มีจำนวนมากกว่า 10,000 ชิ้น ซึ่งป้าเยิ้ม เรืองดิษฐ์ เจ้าของบ้านที่ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์นี้บอกว่า ชอบสะสมของเก่ามาตั้งแต่อายุ 16 ปี ก็ยังคงเก็บสะสมอยู่เรื่อย ๆ โดยของส่วนใหญ่จะรับซื้อจากพวกชาวประมงที่ไปงมมาจากซากเรืออับปางกลางทะเล และยังบอกอีกว่าเพราะวัตถุโบราณพวกนี้ที่ทำให้ป้าเยิ้มได้รับโชคลาภจากการเสี่ยงโชค จนมีเงินมาจัดแสดงพิพิธภัณฑ์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ตัวอาคารจัดแบบเรียบง่าย เป็นอาคารชั้นเดียวแต่ทำการแยกหมวดหมู่สิ่งของทุกอย่างไว้อย่างชัดเจน

พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ในสวนสาธารณะสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) ซึ่งเป็นส่วนสาธารณะขนาดใหญ่อยู่นอกตัวเมืองนครศรีธรรมราชออกไปทางทิศตะวันออกเล็กน้อย ภายในสวนสาธารณะแห่งนี้มีทั้งส่วนที่เป็นสวนออกกำลังกาย สระน้ำ สวนสัตว์และสวนนก สวนสาธารณะแห่งนี้เปิดในปี พ.ศ.2527 ในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เจริญพระชนมพรรษาครบ 84 ปี

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราช

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานครศรีธรรมราชเป็นสถานศึกษาที่ให้บริการด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยในรูปแบบที่หลากหลาย

หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นครศรีธรรมราช

สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างจำนวน 9 ล้านบาท โดยได้รับบริจาคจากประชาชนทั่วไป พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์ ได้เดินทางมาประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม 2529 และมาประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2531

มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ เอกสาร และประวัติศาสตร์วัตถุอันเป็นผลงานของ พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศไทย ไว้เป็นสาธารณสมบัติของชาติ เพื่อประโยชน์ของส่วนราชการและการศึกษาประวัติศาสตร์ชาติสืบไป

หอวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมในสามจังหวัดชายแดนใต้ เช่น ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา ประเพณีวัฒนธรรม ฯลฯ จำนวน 13 ส่วน

วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง

อุทยานเสริมสร้างปัญญาธรรมจากพันธุ์พืช ของวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ สถานที่รวบรวมพันธุ์ไม้ที่ปรากฏในปริศนา คำทายสำหรับเด็กๆ เป็นแหลางรวมพรรณไม้สมุนไพร รวมทั้งจัดแสดงผลงานปฎิมากรรมเชิงล้อเลียนหรือท่วงติงพฤติกรรมของสังคมเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้เกิดปัญญาธรรม

วังเจ้าเมืองพัทลุง

เดิมเป็นที่ว่าราชการและเป็นที่พักอาศัยของเจ้าเมืองพัทลุง ปัจจุบันกรมศิลปากรปรับปรุงเปิดให้เข้าเยี่ยมชม

ประกอบด้วย วังเก่า ผู้สร้างและเป็นเจ้าของวัง คือ พระยาอภัยบริรักษ์(น้อย จันทโรจวงศ์) เจ้าเมืองพัทลุง ได้สร้างที่พำนักซึ่งใช้เป็นที่ว่าราชการเมืองด้วย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในปีใด เมื่อพระยาอภับบริรักษ์ถึงอนิจกรรม วังเก่าจึงตกเป็นมรดกแก่บุตรชายของท่าน คือ หลวงศรีวรวัตร(พิณ จันทโรจวงศ์) และตกทอดเป็นมรดกของคุณประไพ มุตตามระ บุตรีของหลวงศรีวรวัตร ก่อนจะมอบวังเก่าให้แก่กรมศิลปากร

ใช้ปิดเทอมให้สร้างสรรค์ กับ “ครูพายุ” ครูสอนว่ายน้ำที่ปลุกความสามารถพิเศษ ให้เด็กพิเศษ

“โอกาส” เป็นคำพูดง่ายๆที่สอดแทรกมาพร้อมกับช่วงเวลา “ปิดเทอม”

นั่นจึงเป็นเรื่องต้องคิดให้หนักว่าจะทำอย่างไรที่ให้ โอกาสในช่วงเวลาทองสั้นๆนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ครูพายุ – ณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม ครูสอนว่ายน้ำประสบการณ์กว่าสิบปี มีข้อแนะนำดีๆ สำหรับการใช้เวลาช่วงนี้

และถึงแม้ว่าครูพายุ จะเป็นครูสอนว่ายน้ำที่มีความเก่งกล้าสามารถในด้านการสอนทักษะว่ายน้ำให้กับ เด็กพิเศษ  หรือเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่หุนหันพลันแล่น ไม่มีสมาธิ  ซนกว่าปกติ  และเด็กที่มีความพิการทางการได้ยิน แต่คนที่เขาต้องการจะปั้นให้กลายเป็นคนใหม่จริงๆนอกจากคนทั้งสองกลุ่มนี้แล้ว ก็คือคนธรรมดาอย่างเราๆนี่แหละ

ครูพายุเริ่มต้นรู้จักกับการว่ายน้ำตั้งแต่เด็ก เพราะตัวเองมีอาการคล้ายสมาธิสั้นคุณพ่อจึงพาไปเรียนว่ายน้ำตามคำแนะนำของแพทย์ จากนั้นเมื่อตอนเรียนชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็เริ่มสอนเด็กๆ เพื่อเป็นอาชีพเสริมระหว่างเรียน แล้วประสบการณ์ของทั้ง 2 ช่วงชีวิตก็ถูกนำมาใช้ควบคู่กันไป

“เคยมีผู้ปกครองของเด็กพิเศษคนหนึ่งมาให้สอนลูกเขาว่ายน้ำ เขามีปัญหาเรื่องสมาธิ จนผมคิดว่าผมไม่สามารถสอนได้แล้วล่ะ ก็เลยคุยกับคุณแม่ว่าขอคืนคอร์ส แต่แม่บอกว่าไม่เป็นไรให้ถือว่าลูกมาว่ายน้ำเล่น ผมจึงสอนจนจบ แล้วพบว่า เขาอาการดีขึ้น คือฟังคำสั่งได้ เลยเริ่มส่งสัยว่า หรือว่า การว่ายน้ำมันช่วยเรื่องนี้ได้จริงๆ”

หลังจากวันนั้นครูพายุจึงได้เข้าไปคุยกับนักกิจกรรมบำบัด และได้ข้อมูลมาว่า การใช้การว่ายน้ำเป็นกิจกรรมเพื่อบำบัดเด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้นั้นมีบนโลกนี้มากกว่า 50 ปีแล้ว และมีหลายคนที่ประสบความสำเร็จ ที่เห็นได้ชัดในระดับโลกก็คือ ไมเคิล เฟลฟ์ นักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติสหรับอเมริกา

“ความสำเร็จของการสอนว่ายน้ำให้กับเด็กพิเศษเหล่านี้มีหลายระดับขึ้นอยู่กับอาการป่วยของพวกเขา บางคนแค่มาสันทนาการ บางคนก็ฟังคำสั่งได้มากขึ้น อาจจะยังว่ายน้ำไม่เก่ง แค่ลอยตัวได้ แต่บางคนว่ายน้ำเก่งเลยก็มี”

จนล่าสุด ครูพายุไมได้หยุดตัวเองไว้แค่นั้น เมื่อรู้ว่าการว่ายน้ำช่วยเหลือชีวิตผู้คน หรืออย่างน้อยเขาก็จะดีขึ้นจากกิจกรรมนี้แน่นอน จึงได้คิดถามตัวเองอีกว่า ว่ายน้ำจะมีประโยชน์กับใครได้อีก

“วันหนึ่งผมตั้งคำถามกับตัวเองว่า โลกนี้มีใครบ้างที่เสี่ยงต่อการจมน้ำ ตอนนั้นสมองซ้ายขวาของผมก็เริ่มคุยกัน จนได้รับคำตอบว่า คนที่เสี่ยงต่อการจมน้ำคือคนที่พูดไม่ได้ เพราะไม่สามารถร้องขอความช่วยเหลืออะไรได้เลยหากเกิดอุบัติเหตุใดๆขึ้น และคนที่พูดไม่ได้ก็คือคนหูหนวกนั่นเอง”

จึงเริ่มลองเรียนภาษามือ แต่วิธีการเรียนก็ไม่เหมือนคนอื่นเลย

“วันหนึ่งผมเดินเที่ยวที่ถนนคนเดินท่าแพ มีสามีภรรยาคนหนึ่ง นั่งขายของ แต่ไม่ได้พูด นั่งใช้ภาษามือ ผมก็รู้สึกว่านี่ไงคนที่จะสอนน ตอนนั้นก็เริ่มจากการเขียนเพื่อสื่อสารกับเขา แล้วก็ค่อยๆศึกษาไปเรื่อยๆ ประสมประโยคไปเรื่อยๆ อยู่กับคนคู่นั้น 6 เดือน พอรู้สึกว่าผมเริ่มได้ ก็ยื่นเรื่องไป โรงเรียนสอนคนหูหนวก รวมทั้งได้มีการพูดคุยกับผู้ปกครองของเด็กพิเศษที่ผมเคยสอนก็ได้ทุนมาจำนวนหนึ่ง แล้วผมก็เปิดโครงการสอนเด็กหูหนวกว่ายน้ำครั้งแรกในปี 2552 จำนวน 40 คน”

และโครงการของครูพายุก็เริ่มออกเดินทางไปตามหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็น ยะลา ประจวบ น่าน เชียงใหม่ ขอนแก่น และอีกหลายจังหวัด เป็นเวลา 8 ปีมาแล้ว นับจากนั้น

“ผมจะเป็นห่วงเรื่องการจมน้ำตายมาก เคยเห็นสถิติ ของ กระทรวงสาธารณสุข เด็กจมน้ำเสียชิวต 1500 คนต่อปี 5 คนต่อวัน เยอะสุดคือ ฤดูรอ้น ผมว่าถ้ามีทักษะในการว่ายน้ำอยู่บ้างมันจะช่วยได้ และผมก็เริ่มคิดถึง Social Impact คือ ถ้าผมทำคนเดียว เด็กที่จะได้รับความรู้ตรงนี้อาจจะมีหลักร้อย แต่ถ้าผมสร้างทีมด้วย ก็จะมีคนมาร่วมสร้างสิ่งดีๆตรงนี้ให้มากขึ้นไปอีก ดังนั้นระหว่างที่ผมทำงาน ผมก็สร้างทีมด้วย การทำงานที่ดีต้องส่งผลกระทบต่อสังคมในเชิงบวกด้วย

เหมือน โทมัส อัลวา เอดิสัน ที่ช่วยสังคมได้ทั่วโลก สร้างความเปลีย่นแปลงได้ทั่วโลก แต่ผมก็ทำในสิ่งที่ผมถนัด ผมช่วยเชียงใหม่ได้ คนอื่นๆก็ช่วยพื้นที่ของเขาได้”

ครูพายุ

“โมเมนต์ที่ดีที่สุดในชีวิตผมก็คือ มีครูในพื้นที่ที่ผมไปเปิดคอร์สสอนว่ายน้ำ มาพูดคุยว่า เขาจะสอนเด็กพิเศษบ้าง เขาต้องทำยังไงบ้าง ผมรู้สึกดีที่มีคนตื่นตัวที่จะสอนว่ายน้ำเด็กพิเศษมากขึ้น ภูมิใจที่ได้เป็นตัวอย่างให้คนอื่นดู”

ครูพายุบอกว่า เด็กพิเศษเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กสมาธิสั้น หรือ เด็กหูหนวกเมื่อเทียบกับจำนวนในประเทศไทย ถือว่ายังคงต้องการครูผู้รู้มาสอนเรื่องนี้ให้เขาอีกมาก โครงการยังต้องการความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วน

“ผมเคยทำโครงการ “สระว่ายน้ำเดินได้เพื่อเด็กด้อยโอกาส” สร้างสระว่ายน้ำแบบถอดประกอบขนาด 5×10 เมตร ใช้รถขนน้ำประมาณ 11 คันรถเพื่อไปสอนเด็กที่ดอยอ่างขาง ถามว่าทำไมต้องสอนเด็กดอยว่ายน้ำ ก็เพราะบนดอยก็มีแหล่งน้ำ และเคยมีเด็กเสียชีวิต 3 คนใน 5 ปี นี่คือที่ผมบอกว่า เด็กทุกคนควรมีทักษะในการว่ายน้ำติดตัวบ้าง”

ครูพายุดังนั้นเขาจึงอยากจะฝากถึงน้องๆที่อาจจะกำลังมองหากิจกรรมที่มีประโยชน์กับสังคมในมุมใดมุมหนึ่ง

“ฝากถึงน้องๆ รุ่นใหม่ที่กำลังจะมีโอกาสเจอสังคมที่กว้างขึ้น เจอสังคมคนพิการเพิ่มขึ้น ผมจะบอกว่าเขาไม่ต้องการความช่วยเหลือเยอะ แต่สิ่งที่ผมให้ตลอดคือโอกาส คือว่ายน้ำ ให้เขาได้ใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้”

“ไม่ต้องเก่งนะครับ ไม่ต้องเริ่มต้นใหญ่ ผมบอกคุณครูคนหนึ่งที่ผมเคารพมาก ว่าผมอยากสอนว่ายน้ำให้เด็กทั่วประเทศเลย ครูบอวก่า ให้เริ่มต้นจากเล็กๆให้ดีก่อน คนเราไม่ต้องรอให้พร้อม เริ่มจากที่ถนัด ถ้าคุณเป็นโปรแกรมเมอร์ก็เอาโปรแกรมเมอร์ไปช่วยคนอื่น เราอาชีพที่เราถนัดไปทำ ไปแบ่งคนอื่นบ้าง

ถ้าปิดเทอม ก็ลองถามตัวเองดูว่าชอบอะไร ถ้าชอบพูดชอบสอนก็ไปสอนเด็กตาบอด ชอบร้องเพลงก็ไปอ่านหนังสือเสียง คือทุกอย่างมันเริ่มจากความถนัด ผมแนะนำว่าให้เริ่มจากถนัดครับ”

ขอให้มีปิดเทอมที่สดใสและสร้างสรรค์

ข้อมูลโรคสมาธิสั้น www.siamhealth.net

 

 

 

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

สวนสัตว์เป็นสถานที่ที่มีความผูกพันกับคนไทยมานานกว่า 60 ปี แล้ว หากจะแตกต่างไปบ้าง ก็คือ จำนวนของสวนสัตว์ที่มีเพิ่มขึ้นในภูมิภาคของประเทศและการนำเสนองานบริการที่มีการ ผสมผสานความรู้ หลักวิชาการและศาสตร์ต่างๆ จนทำให้สวนสัตว์มีขีด ความสามารถในการใช้ ประโยชน์จากสังคมมากกว่าแต่ก่อนสวนสัตว์ของรัฐให้เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและจิตใจของประชาชน ในด้านการนันทนาการและการเป็นแหล่งเรียนรู้แบบตลอดชีวิตและในความเป็นเลิศของ การเป็นมืออาชีพที่พัฒนาความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศจนสามารถนำมาซึ่ง รายได้จากนักท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาประเทศชาติ อย่างมีเกียรติเป็นที่ชื่นชมของคนทั่วไปการพัฒนาสวนสัตว์แบบบูรณาการ โดยยึดผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ สวนสัตว์ที่สวยงาม ร่มรื่น มีสัตว์ที่หลากหลายชนิด สามารถสื่อความหมายของธรรมชาติและชีวิต สัตว์ป่า เมื่อได้มาเยี่ยมชม จนเป็นที่ชื่นชอบและมาเที่ยวกัน ต้องใช้ทั้งเวลาและงบประมาณ จำนวนมาก บางครั้งอาจถึงชั่วอายุคนเราก็ว่าได้

ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับสวนสัตว์และมีการสร้างสวนสัตว์ใหม่ๆขึ้นมามากกว่า 1,000 แห่ง ในเอเซีย ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย โดยในปีหนึ่งๆ มีคนมาเที่ยวสวนสัตว์กันมากว่า 1 หน จนกล่าวได้ว่าสวนสัตว์กำลังจะเป็นปัจจัยสำคัญของชีวิตคนเราไปแล้วการดำเนินงานให้บริการสังคมของสวนสัตว์กำลังผ่านเข้าสู่รอยต่อของวิวัฒนาการของสวนสัตว์ สมัยใหม่อีกช่วงหนึ่งโดยสามารถสัมผัสได้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจากการหล่อหลอมเข้ากันไว้ด้วยวัฒนธรรมใหม่และการเปลี่ยน แปลงของวิถีการดำเนินชีวิตของสังคม ทั้งทางด้านพฤติกรรม ค่านิยมระบบการปฏิรูปการศึกษา เทคโนโลยี และความต้องการที่จะปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมใน แบบยั่งยืนการดำเนินงานของสวนสัตว์เปิดเขาเขียวยังคงดำเนินการตามนโยบายหลัก 4 ประการ คือ การอนุรักษ์สัตว์ป่า การให้การศึกษา การค้นคว้าวิจัยและการเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มาโดยตลอด ในปัจจุบันงานทุกด้านเป็นกลไกสำคัญสนับสนุนซึ่งกันและกัน กล่าวได้ว่ามีการพัฒนา เป็นรูปธรรม ชัดเจนมากขึ้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางสังคมและทำให้สวนสัตว์มีคุณค่าจนเป็นที่ยอมรับ

พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผ้าไทย และประวัติศาสตร์เครื่องแต่งกายของคนไทย พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ จึงเป็นสถานที่รวบรวมจัดเก็บรักษาผ้าไทยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดแสดงงานหัตถศิลป์จากผ้าอันทรงคุณค่าของราชสำนักและผ้าพื้นเมืองต่างๆ เพื่อสืบสานพระราชปณิธานในการอนุรักษ์การทอผ้าของไทย ให้คงอยู่เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ

การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตั้งอยู่ ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ริมกาแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศเหนือ ปรากฏหลักฐานการใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีการบูรณะปรับปรุง และก่อสร้างเพิ่มเติมหลายครั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างอาคาร 2 ชั้นเป็นแถวยาวเมื่อ พุทธศักราช 2413 และพระราชทานนาม หอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อเป็นที่ทาการกรมพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่บริหารงานด้านการจัดเก็บระเบียบภาษีอากร ต่อมาอาคารนี้ได้กลายเป็นที่ทาการของหน่วยงานอย่างน้อย 4 หน่วยงาน ได้แก่ สานักงานธนาคารชาติไทย กรมธนารักษ์ ราชบัณฑิตยสถาน กองพระราชพิธี จากนั้นจึงว่างเว้นจากการใช้งาน ในพุทธศักราช 2546 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใช้อาคารหอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า