อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไสวะ มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นวัดมหายาน ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18 จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งพระนคร (พ.ศ. 1487-1511) ได้สถาปนาเทวสถานถวายพระศิวะที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิธรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน หนองบัวโคก

อาจารย์ทำนุ วรธงไชย เป็นอาจารย์สอนศิลปะพื้นบ้าน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และเป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคก จ.บุรีรัมย์ แรงบันดาลใจในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เริ่มมาปี 2531 สมัยที่อาจารย์ศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ที่เน้นศึกษาวิถีชีวิตชุมชนอีสาน ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ด้วยความสนใจในศิลปหัตถกรรมของชาวอีสาน จึงเลือกทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “เครื่องมือดักสัตว์ของชาวชนบท ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์”

ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้จังหวัดบุรีรัมย์

ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นแหล่งรวบรวมและแสดงตัวอย่างของหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในแถบอีสานใต้ โดยมีที่มาจากการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอีสานใต้” ปี พ.ศ. 2525 จากนั้นจึงมีการเสนอโครงการและแผนต่อจังหวัดเพื่อผลักดันโครงการสร้างหอวัฒนธรรมในแผนหลักของจังหวัด จนนำไปสู่การก่อตั้งเป็นศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ ภายในม.ราชภัฏบุรีรัมย์ ประกอบด้วยอาคารหลังแรกเป็นอาคารหอวัฒนธรรมสองชั้น ที่มีสถาปัตยกรรมแบบปราสาทหินเขาพนมรุ้งที่ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ หลังที่สองเป็นหอประชุม

พิพิธภัณฑ์อำเภอบ้านกรวด

ในอดีตอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาที่ใช้กันแพร่หลายในท้องถิ่น จนผลิตได้ทั้งปริมาณและคุณภาพส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏหลักฐาน คือ การพบเตาเครื่องเคลือบดินเผากระจายอยู่ในแทบทุกอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ และพบมากที่สุดมากกว่า 100 เตาคือ พบที่อำเภอบ้านกรวด เมื่อปี 2519 กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นแหล่งเตาเผาในอำเภอบ้านกรวดเป็นครั้งแรก พบว่า มีเครื่องเคลือบดินเผาหลายรูปแบบที่ช่างได้แสดงความเป็นตัวของตัวเอง จัดเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องเคลือบดินเผาที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่แพ้ที่ใด  

เครื่องเคลือบดินเผาโบราณที่บ้านกรวด เป็นอารยธรรมตั้งแต่สมัยขอมที่มีอายุมากกว่าพันปี ในปี พ.ศ. 2524 นางสุวรรณา บาลโสง และคณะ ร่วมกับชุมชน เริ่มทำการสำรวจและทำการรวบรวมเครื่องเคลือบดินเผาที่พบได้มากในเขตพื้นที่อย่างจริงจัง

หลังจากการค้นคว้า และคำนวณอายุของกรมศิลปากร ทำให้ชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัตถุโบราณ ประเภทเครื่องเคลือบซึ่งเป็นประโยชน์ยิ่งต่อการศึกษาอารยธรรมของชาติ จนกระทั่งวันที่ 30 กรกฎาคม 2530 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงได้จัดตั้งโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร เป็น “ศูนย์วัฒนธรรมของอำเภอบ้านกรวด” ต่อมาได้จัดตั้งเป็นศูนย์แหล่งเรียนรู้ “พิพิธภัณฑ์อำเภอบ้านกรวด” เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550

พิพิธภัณฑ์อำเภอบ้านกรวด

ในอดีตอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาที่ใช้กันแพร่หลายในท้องถิ่น จนผลิตได้ทั้งปริมาณและคุณภาพส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏหลักฐาน คือ การพบเตาเครื่องเคลือบดินเผากระจายอยู่ในแทบทุกอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ และพบมากที่สุดมากกว่า 100 เตาคือ พบที่อำเภอบ้านกรวด เมื่อปี 2519 กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นแหล่งเตาเผาในอำเภอบ้านกรวดเป็นครั้งแรก พบว่า มีเครื่องเคลือบดินเผาหลายรูปแบบที่ช่างได้แสดงความเป็นตัวของตัวเอง จัดเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องเคลือบดินเผาที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่แพ้ที่ใด  

เครื่องเคลือบดินเผาโบราณที่บ้านกรวด เป็นอารยธรรมตั้งแต่สมัยขอมที่มีอายุมากกว่าพันปี ในปี พ.ศ. 2524 นางสุวรรณา บาลโสง และคณะ ร่วมกับชุมชน เริ่มทำการสำรวจและทำการรวบรวมเครื่องเคลือบดินเผาที่พบได้มากในเขตพื้นที่อย่างจริงจัง

หลังจากการค้นคว้า และคำนวณอายุของกรมศิลปากร ทำให้ชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัตถุโบราณ ประเภทเครื่องเคลือบซึ่งเป็นประโยชน์ยิ่งต่อการศึกษาอารยธรรมของชาติ จนกระทั่งวันที่ 30 กรกฎาคม 2530 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงได้จัดตั้งโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร เป็น “ศูนย์วัฒนธรรมของอำเภอบ้านกรวด” ต่อมาได้จัดตั้งเป็นศูนย์แหล่งเรียนรู้ “พิพิธภัณฑ์อำเภอบ้านกรวด” เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอีสาน บ้านเกวียนมุก

บ้านเกวียนมุก ได้เริ่มดำเนินการก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2538 เป็นต้นมา และเริ่มเปิดแสดงอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2541 โดยจัดแสดงสิ่งของต่างๆ ดังนี้
บ้านพื้นบ้าน จัดแสดง ของเครื่องใช้ในครัวเรือนของชาวอีสาน เครื่องปั้นดินเผา สิ่งของเครื่องใช้ในการดำรงชีพ เครื่องมือทอผ้า เครื่องดักสัตว์ เครื่องดนตรี เครื่องหีบอ้อย และมูลมังไม้
บ้านของเก่า จัดแสดง เครื่องถ้วยโถโอชาม เครื่องแก้ว เครื่องเงินและโลหะ เงินตราโบราณ ตาชั่ง ตะเกียง เตารีด ขวานหิน และสิ่งของกลายเป็นหิน (ฟอสซิล)
โรงเกวียน จัดแสดง เกวียนและอุปกรณ์ต่างๆ ล้อเลื่อน เครื่องมือจับสัตว์น้ำ (มีเกวียนอีสาน 100 เล่ม)
โรงสีข้าว จัดแสดง เครื่องมือทำนา เช่น แอก ไถ คราดที่ทำด้วยไม้ เครื่องสีข้าวขนาดกลาง ครกกระเดื่อง (ครกมอง)

ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด

ใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ได้เสนอโครงการจัดตั้ง ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ที่อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
ใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นขอบให้สำนักบริหารงานการศึกษานอกระบบ เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบแผนบูรณาการเติมปัญญาให้สังคม ตามยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลกำหนด เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาประเทศในระยะยาว ยกระดับคุณภาพชีวิต การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยที่กรรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัด ๑๒ แห่ง ครบถ้วนแล้ว จึงเสนอโครงการระยะที่ ๒ เสนอจัดสร้างในชื่อ ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาประจำจังหวัดร้อยเอ็ด งบประมาณดำเนินโครงการ จำนวน ๗๕๐ ล้านบาท พื้นที่โครงการ ๑๑๕ ไร่ ที่อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พิธีวางศิลาฤกษ์ โดย ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วัน ที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษา ในชื่อศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด ในสังกัดสำนักบริหารการศึกษานอกโรงเรียน โดย ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วัน ที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ แต่งตั้งให้ นายวรวุฒิ โคตรพันธ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด โดย นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการ กศน.ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบัน ได้ก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ ๔ อาคาร ได้แก่ อาคารนิทรรศการหลัก อาคารหอประชุม อาคารท้องฟ้าจำลอง และอาคารปฏิบัติการสื่อ รวมทั้งภูมิสถาปัตย์ภายนอกอาคาร

พิพิธภัณฑ์สักทอง วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

เรือนไม้สักทองหลังนี้ มีลักษณะทรงปั้นหยาประยุกต์ 2 ชั้นกว้าง 16.75 เมตร ยาว 30.15 เมตร ชั้นบนจัดแสดงรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้ง (ไฟเบอร์กลาส) เท่าพระองค์จริง ของสมเด็จพระสังฆราช 18 พระองค์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา ให้ประชาชนได้สักการบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล ชั้นล่างจัดแสดงภาพพระประวัติของสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ นิทรรศการวัดเทวราชกุญชร และมูลนิธิ ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน บ้านสักทองหลังนี้ มีเสาไม้สักขนาด 2 คนโอบจำนวน 59 ต้นอายุไม้สักที่วิเคราะห์จากวงปีแล้ว มีอายุถึง 479 ปี หรือประมาณสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง และด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ยังมีรูปปั้นพระอินทร์ทรงช้าง 3 เศียร ผลงานออกแบบของพระเทพคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรองค์ปัจจุบัน เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกที่จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระสังฆราชทั้ง 19 พระองค์ของประเทศไทย เป็นเรือนทรงปั้นหยาที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง

พิพิธภัณฑ์สักทอง วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

เรือนไม้สักทองหลังนี้ มีลักษณะทรงปั้นหยาประยุกต์ 2 ชั้นกว้าง 16.75 เมตร ยาว 30.15 เมตร ชั้นบนจัดแสดงรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้ง (ไฟเบอร์กลาส) เท่าพระองค์จริง ของสมเด็จพระสังฆราช 18 พระองค์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา ให้ประชาชนได้สักการบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล ชั้นล่างจัดแสดงภาพพระประวัติของสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ นิทรรศการวัดเทวราชกุญชร และมูลนิธิ ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน บ้านสักทองหลังนี้ มีเสาไม้สักขนาด 2 คนโอบจำนวน 59 ต้นอายุไม้สักที่วิเคราะห์จากวงปีแล้ว มีอายุถึง 479 ปี หรือประมาณสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง และด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ยังมีรูปปั้นพระอินทร์ทรงช้าง 3 เศียร ผลงานออกแบบของพระเทพคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรองค์ปัจจุบัน เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกที่จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระสังฆราชทั้ง 19 พระองค์ของประเทศไทย เป็นเรือนทรงปั้นหยาที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง

พิพิธภัณฑ์ อาร์ท อิน พาราไดซ์

เป็นพิพิธภัณฑ์ภาพวาด 3 มิติแห่งแรกในกรุงเทพ เริ่มเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2557 ด้วยพื้นที่ 2,500 ตารางเมตร ซึ่งมีความแตกต่างจากพิพิธภัณฑ์ทั่วไป คือ ไม่ใช่แค่การแสดงภาพจิตรกรรมให้รับชมเพียงอย่างเดียว แต่จะเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมกับภาพวาดทุกภาพ และสามารถจินตนาการไปกับผลงานศิลปะได้ ประหนึ่งว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาพ

พิพิธภัณฑ์กุมารศัลยศาสตร์

พิพิธภัณฑ์กุมารศัลยศาสตร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการทางการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาด้วยตนเองในด้านศัลยศาสตร์และกุมารศัลยศาสตร์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นสถานที่จัดเก็บอุปกรณ์สำหรับแสดงประวัติความเป็นมาในด้านกุมารศัลยศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง เป็นสถานที่สำหรับจัดแสดงตัวอย่างพร้อมการบรรยายในเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ การตรวจโรค การวินิจฉัยโรคในระดับต้น และระดับใช้กล้องจุลทรรศน์ รวมทั้งการรักษาโรคด้วยส่วนที่สอง เป็นสถานที่สำหรับจัดแสดงอุปกรณ์ด้านการวิสัญญี โคมไฟ และเครื่องมือสำหรับการผ่าตัด เตียงผ่าตัด ซึ่งใช้มาเป็นระยะเวลานานกว่า 20 ปี ซึ่งในปัจจุบันได้มีอุปกรณ์ทางการแพทย์สมัยใหม่เข้ามาแทนที่ ดังนั้นอุปกรณ์เหล่านี้จึงถูกเก็บในพิพิธภัณฑ์ร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่นเครื่องกรองน้ำรุ่นแรกของโรงพยาบาล

พิพิธภัณฑ์ทองคำห้างทองตั้ง โต๊ะ กัง

ย่านเยาวราชนี้เป็นย่านที่มีร้านทองมากที่สุด คือ 132 ร้านด้วยกัน แต่มีร้านทองร้านหนึ่งที่น่าสนใจ และถือว่าเป็นร้านทองที่เก่าแก่ที่สุดในย่านนี้ โดยมีอายุถึงกว่า 140 ปีแล้ว นั่นก็คือ ห้างทองตั้งโต๊ะกัง เริ่มดำเนินกิจการมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เจ้าของคือนายโต๊ะกัง แซ่ตั้ง จึงตั้งชื่อว่าห้างทองตั้งโต๊ะกัง ด้วยความมีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน สมัยก่อนจึงมีร้านทองที่มารับทองจากที่นี่ไปจำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย จนเรียกติดปากกันว่าทองโต๊ะกัง ห้างทองตั้งโต๊ะกัง ตั้งอยู่ในซอยวานิช 1 มีอยู่ที่เยาวราชเพียงแห่งเดียว ไม่มีสาขาที่อื่น ตึกของห้างทองเป็นตึกเจ็ดชั้นที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฮอลันดา

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า