พ่อแม่กับการเป็นผู้ดูแลการเล่น

1. เปิดใจให้โอกาส ให้เวลา

เข้าใจธรรมชาติเด็กทุกคนต้องการเล่น   “ เล่นอิสระ ก็คือการเรียนรู้ของเด็ก  ไม่ใช่เรื่องไร้สาระ ”

2. สร้างบรรยากาศ อบอุ่น น่าเล่น

จัดหาของเล่นที่หลากหลายปลายเปิด วัสดุ   อุปกรณ์  ของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการของลูก  จัดมุมเล่นในบ้าน พัฒนาสิ่งแวดล้อมในบ้านให้น่าเล่น  พาไปเที่ยวเล่นเรียนรู้ในที่ต่างๆ   

3. สังเกต  เล่นด้วยกันเมื่อเด็กต้องการ  อยู่เคียงข้างเสมอ

ปล่อยให้เล่นอิสระตามใจโดยดูแลอยู่ห่างๆ   ให้ประสบการณ์ที่แตกต่าง  แต่ในกรณีที่เด็กต้องอยู่ในสถานกรณีที่ไม่คุ้นเคย เช่นเล่นอุปกรณ์ใหม่ๆ  สถานที่แปลกใหม่เพื่อนใหม่ หรือกลุ่มเพื่อนใหม่  ที่ก่อให้เกิดความกลัวความไม่มั่นใจ  ( อยู่เคียงข้างกระตุ้น เป็นแรงหนุนให้เกิดพัฒนาการ ไม่ใช่ตามใจทุกเรื่อง และไม่ชี้นำ )  

4. ให้กำลังใจ ไม่เร่งเร้ากดดัน ตีกรอบ ในขณะที่เด็กกำลังเล่น

บางครั้งเด็กต้องการเพียงพยักหน้า และรอยยิ้มของพ่อแม่ หันกลับไปมองมากที่สุด เพราะเสมือนเป็นการส่งสัญญาณว่าพ่อแม่สนับสนุนและเอาใจช่วยอยู่  เป็นแรงผลักดันให้เด็ก กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ที่เข้ามาในชีวิต นั้นคือ การเพิ่มพูนประสบการณ์ไปตามลำดับขั้นของพัฒนาการเด็ก

5. เป็นพ่อแม่อาสา เป็นตัวอย่างที่ดี

การสนับสนุนการเล่นอย่างเหมาะสม  พาลูกเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครมีส่วนร่วม และช่วยเหลือกิจกรรมการเล่นของชุมชน ทำสนามเด็กเล่น  รวมถึงพาลูกอาสาทำกิจกรรมอื่นๆด้วย

ที่มา : พ่อแม่กับการเป็นผู้ดูแลการเล่น

#letsplaymore 
#เล่นเปลี่ยนโลก 
#30นาทีเล่นอิสระทุกวันสร้างพลังสุข

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า