คู่มือส่งเสริมการเล่นของเด็กในช่วงวิกฤต

การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าและการรับมือของภาครัฐส่งผลกระทบอย่างมากกับเด็กๆ ทั่วโลก ข้อมูลจากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้ระบุไว้ว่า สิทธิในการเล่นคือหนึ่งในความต้องการพื้นฐานของเด็กการส่งเสริมสิทธิในการเล่นของเด็กมีความสําคัญมากในช่วงเวลานี้ ด้วยเหตุนี้เราจึงพัฒนาคู่มือที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ดูแลเด็กๆ ได้นําไปใช้ส่งเสริมการเล่นของเด็กในช่วงเวลาวิกฤต

1. ความสําคัญของการเล่นในช่วงวิกฤต

การเล่นนันช่วยให้เด็กๆ มีร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็ง และเป็นส่วนหนึงในชีวิตประจําวันของการมีวัยเด็กที่มีความสุข แม้ในวิกฤตการณ์เช่นการระบาดของโคโรนาไวรัสทีเรากําลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ การเล่นก็ยังคงมีบทบาทสําคัญ ที่คอยช่วยให้เด็กๆ จัดการกับอารมณ์ของตนเองได้และช่วยพยุงความรู้สึกของพวกเขาว่าทุกอย่างเป็นปกติได้

2. การส่งเสริมการเล่นของเด็กๆในช่วงวิกฤต

เด็กๆ เล่นอยู่แล้วตามธรรมชาติ สิ่งสําคัญที่สุดที่เราสามารถส่งเสริมพวกเขาได้ก็คือ จัดให้มีพื้นที่และเวลาสําหรับเล่นได้ทุกวันและมีทัศนคติทีเปิดกว้างพร้อมที่จะเข้าใจ เพราะเมื่อเวลาที่เด็กๆ เห็นเรามีความสุขตอนเขาเล่น ความสนุกในการเล่นก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

ตัวอย่างของวิธีการส่งเสริมการเล่นของเด็ก โดยไม่ชี้นําหรือแทรกแซง

  • รอให้เด็กเป็นฝ่ายชวนเล่น ถ้าเด็กพอใจทีจะเล่นเองคนเดียว คุณก็สามารถปล่อยเขาเล่นเองได้เลย
  • ดูแลไม่ให้มีการรบกวนขณะเด็กๆ กําลังเล่น ถ้าเด็กกําลังเล่นอย่างเพลิดเพลิน พยายามอย่าเปิดโทรทัศน์ วีดิโอเกม อย่าตังคําถามพวกเขาขณะกําลังเล่น หรือให้หยุดเล่นเพื่อไปทํากิจกรรมอื่นๆ
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้สํารวจและเรียนรู้จากข้อผิดพลาด ให้เด็กได้ลองผิดลองถูกและใช้ความคิดตนเองในการแก้ปัญหาโดยไม่ไปตัดสิน หรือทําให้เด็กรู้สึกด้อยค่า
  • ให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะต่างๆ ตามขีดความสามารถตนเอง บางครังมันเป็นเรื่องยากที่จะหักห้ามใจ และ ไม่ยืนมือเข้าไปช่วยเหลือเมื่อเด็กเจออุปสรรค แต่นี่เป็นวิธีที่เด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุด
  • ให้เด็กได้เลือกเนือหาที่พวกเขาต้องการเล่นด้วยตัวเอง แม้ว่าเรื่องที่เล่นนั้นจะดูยากเกินไปหรือดูไม่น่าจะสนุกเลย ้แต่ก็เป็นการเล่นของเขาเอง

3. สังเกตการเล่นของเด็ก

การได้ลองสังเกตวิธีการเล่นของเด็ก ก็นับว่าเปนโอกาสสําคัญสําหรับครอบครัวที่ได้ใช้เวลาร่วมกันได้ ซึ่งจะช่วยให้พ่อแม่:

  • ได้รู้จักเด็กดีขึ้น
  • ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เด็กๆ สนใจหรือชอบที่ทํา
  • ได้รับรู้ถึงความรู้สึกของเด็ก
  • ปรับตัวให้คุ้นชินกับการมีเวลาที่สนุกสนานและผ่อนคลายร่วมกันในครอบครัว

4. พ่อแม่สามารถเล่นกับเด็กๆ ได้หลายวิธี

  • เตรียมพื้นที่ให้เขาเล่น ซึ่งอาจจะเป็นลังกระดาษใบเล็กๆ หรือมุมหนึ่งของโซฟา
  • ปรับอารมณ์ของตนเองให้เข้ากับการเล่นของเด็กชวนเด็กๆ คิดการเล่นสนุกๆ จากสิ่งของที่มีอยู่ในบ้าน
  • ร้องเพลง เล่นดนตรีหรือเล่าเรื่องสนุกๆ ให้เด็กฟัง
  • หาสิ่งของต่างๆ มาทําเป็นของเล่น เช่น หยิบผ้าปูที่นอนมาทําเป็นเต๊นท์ หรือเอาเครื่องครัวมาเล่นขายของ

5. ตัวอย่างการเล่นและกิจกรรมจากสิ่งของภาพในบ้าน

กิจกรรม

  • ทําโมเดล หุ่นมือ โล่ และเครื่องดนตรี
  • กอดหมอนแน่นๆ หรือเหยียบทับบนกล่องกระดาษจนกล่องแบน เพื่อระบายความคับข้องใจ
  • วาดรูปบนกระดาษการ์ดและตัดทําเป็นจิ๊กซอว์
  • จัดโซนในบ้านให้เป็นร้านค้า โรงเรียน ครัว ธนาคารที่ทําการไปรษณีย์ ร้านเสริมสวย โรงพยาบาลและคาเฟ่ สําหรับการเล่นบทบามสมมติ
  • หาของมาไว้สําหรับเล่นในนํ้า
  • สร้างถํ้า ที่พัก หรือห้องเล็กๆ
  • เล่นแต่งตัว แสดงโชว์ หรือแสดงละคร ละครเวทีต่างๆ
  • ทําสวนเล็กๆ ภายในบ้าน เพาะเมล็ดและคอยดูเมล็ดเหล่านี้เจริญเติบโต
  • สร้างเกมกระดานใหม่ๆ

6. ตัวอย่างการดึงธรรมชาติเข้าสู่ในบ้าน

ของที่หาได้จากธรรมชาติ

เช่น เมล็ด เปลือกหอย ใบไม้ กิงไม้ ก้อนกรวด หิน มักจะถูกนํามาใช้เล่นเสมอ คุณสามารถหสิ่งเหล่านี้ได้รอบๆ บ้าน

  • ออกไปเก็บของเหล่านี้มาเท่าที่จําเป็น
  • ไม่ทําลายต้นไม้ พืช ที่อยู่อาศัยของสัตว์ รังนก เป็นต้น
  • หลังจากเล่นเสร็จแล้ว ให้นําของที่เก็บมาไปคืนในที่ที่เก็บของเหล่านั้นมา ถ้าสามารถทำได้

ที่มา : คู่มือส่งเสริมการเล่นของเด็กในช่วงวิกฤต

#letsplaymore 
#เล่นเปลี่ยนโลก 
#30นาทีเล่นอิสระทุกวันสร้างพลังสุข

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า