ตั้งเเต่ลูกลืมตาดูโลก คนเเรกที่ลูกเห็นคือ “พ่อแม่” หรือแม้กระทั่งคนแรกที่ลูกได้เล่น ได้หัวเราะ ได้ร้องไห้ และอยู่กับลูกตลอดเวลาเมื่อลูกต้องการก็คือ “พ่อแม่” นั่นเอง ดังนั้นจึงไม่เเปลกที่ “การเล่น” เป็นสิ่งที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อเเม่และลูกได้เป็นอย่างดี และทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านทักษะ สุขภาวะ (Well-being) ที่สมบูรณ์ รวมถึงทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพราะเขาจะรู้สึกปลอดภัยเวลาเล่นร่วมกันกับพ่อแม่
.
ล่าสุดทาง Lego Foundation ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ 5 เหตุผลที่ทำไม “การเล่น” จึงเป็นวิธีที่สร้างสัมพันธ์ในครอบครัวที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในระยะยาว
เราจึงสรุปมาให้คุณพ่อคุณเเม่ได้อ่านเพื่อตระหนักถึงการใช้เวลาเล่นและทำกิจกรรมกับลูกเพื่อสร้างความสุข และความสัมพันธ์ร่วมกันให้มากยิ่งขึ้น
1. การเล่นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการเชื่อมความสัมพันธ์
ในระหว่างที่เล่น การกอด สัมผัส ยิ้ม ทำตาโต อ้าปากกว้าง หรือหัวเราะร่วมกันกับระหว่างพ่อเเม่เเละลูกถือเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะทำให้ลูกรู้สึกเชื่อใจ และเป็นการสร้างสภาวะแวดล้อมของการเล่นที่ “ปลอดภัย” ที่เด็กจะสามารถสำรวจโลกของเขาได้ผ่านการเล่นได้
2. การเล่นทำให้สมองพร้อมที่จะเรียนรู้
เด็กและ “นักเทนนิส” มีอะไรที่คล้ายกัน เมื่อนักเทนนิสเสิร์ฟ พวกเขารู้ว่าฝ่ายตรงข้ามพร้อมที่จะตีบอลกลับมา เช่นกันกับเด็กๆ ที่คาดหวังว่าพ่อเเม่จะตอบสนองการเล่นของเขาเช่นกัน
ถ้าลูกเอามือมาปิดหน้า เเปลว่าเขาอยากเล่นซ่อนหา หน้าที่ของ “Playful Parent” คือการที่พ่อเเม่ต้องเข้าใจลูกเเละตอบสนองเขาตามหลัก “Serve and Return” ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบประสาทสมองได้ดีที่สุด
สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “Serve and Return” ได้ที่: https://www.facebook.com/leeway.th/posts/926196397953250
3. การเล่นช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ทักษะที่จำเป็น
อย่างที่รู้ ๆ กัน ไม่ว่าเด็กจะเล่นอะไรก็ถือเป็นการฝึกฝนทักษะพื้นฐานทุกประเภท ตั้งแต่ทักษะการเคลื่อนไหว ไปจนถึงการใช้เหตุผลและการเรียนรู้ภาษา
ตัวอย่างเช่น การเล่น “ตัวต่อ” ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะรักษาสมดุลและฝึกสมาธิ หรือแม้กระทั้งตอนที่ตัวต่อพังลงมา เด็กก็จะเรียนรู้หลักเหตุและผล (Cause -Effect) และเพราะการเล่นคือสิ่งที่เด็กสนุกและคือธรรมชาติของเขา การเล่นซ้ำ ๆ ทุก ๆ วัน จึงทำให้เขาได้ฝึกฝน พัฒนา ทักษะสำคัญ 5 ประการที่จำเป็น ได้แก่ ทักษะทางสังคม อารมณ์ ร่างกาย ความรู้ความเข้าใจ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งล้วนแล้วเป็นสิ่งที่จำเป็นเมื่อเขาเติบโตขึ้น
4. การเล่นช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความสัมพันธ์
ทักษะและประสบการณ์จากการเล่นทำให้เด็กมีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ใหม่ๆ ที่เจอ ตัวอย่างเช่น วันแรกของการไปโรงเรียน เด็กที่พ่อเเม่สนับสนุนการเล่นแบบสมมุติ (Pretend Play) จะสามารถปรับตัวกับสถานการณ์ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อนได้เป็นอย่างดี เพราะเด็กจะแบ่งปันความรู้สึก ความสุข และความกลัวกับพ่อแม่ในระหว่าางการเล่น นอกจากนี้ยังช่วยให้พวกเขามองเห็นสิ่งต่าง ๆ จากอีกมุมอมองหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นในขณะที่พวกเขาเติบโตขึ้น
5. การเล่นส่งผลทางเชิงบวกทั้งครอบครัว
จากรายงาน Play Well ที่ทาง Lego ได้เก็บข้อมูลจากเด็กและผู้ปกครองกว่า 13,000 คนที่เล่นที่บ้าน (Play at home) พบว่าพ่อเเม่ 9 ใน 10 ครอบครัวรู้สึกดีที่ได้ใช้เวลาเล่นกับลูก
เพราะฉะนั้น “การเล่น” จึงสร้าง “ความสุข” ภายในครอบครัว รวมทั้งยังมีการศึกษาหนึ่งพบว่าคุณแม่ที่ได้ใช้เเนวทาง “การเรียนรู้ผ่านการเล่น” ในครอบครัวเป็นเวลา 10 สัปดาห์ มีอาการซึมเศร้าน้อยกว่าคุณแม่ที่ไม่ได้ใช้เเนวทางนี้ และหลังจากติดตามมา 6 เดือน นักวิจัยยังคงเห็นการพัฒนาการที่แสดงว่าการเล่นสามารถสนับสนุนสุขภาพจิตของทั้งครอบครัวได้นั้นเอง
ที่มา : ทำไม “การเล่น” ถึงเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อเเม่และลูกได้ดีที่สุด?
#letsplaymore
#เล่นเปลี่ยนโลก
#30นาทีเล่นอิสระทุกวันสร้างพลังสุข