“เครียดโควิด” ช่วยลูกอย่างไร เมื่อที่ผ่านมาใจไม่ค่อยดี

โควิด19 ตัวการสำคัญที่ทำให้มนุษย์ทุกเพศทุกวัยทั่วโลกจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันแบบกะทันหัน เจอกับวิกฤติรูปแบบต่างๆ โดยไม่ได้เตรียมตัวกันไว้ก่อน ซึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภายนอกเท่านั้น แต่สุขภาพจิตอาทิ ความวิตกกังวล และความเครียดของทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ทุกคนในครอบครัวก็รับบทหนักจากวิกฤติการณ์นี้เช่นกัน  แล้วอะไรคือคำแนะนำที่ดีที่จะทำให้ทุกคนค่อยๆ ผ่านมันไปด้วยกันได้

ถึงแม้ว่าความวิตกกังวลในเด็ก จะมีส่วนช่วยให้เด็กเจริญเติบโตและเรียนรู้วิธีที่จะจัดการกับมันอันจะเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าและมีประสิทธิภาพที่สามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิต แต่หากมันยาวนานมากเกินไปเช่นในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ มันก็เริ่มจะก่อปัญหา

สถาบันไชด์ ไมด์ (Child Mind Institute)

กล่าวถึง ความวิตกกังวลของเด็กๆ เอาไว้ว่า

ความวิตกกังวลของเด็กจะแสดงออกมาหลายอย่าง ทั้งขี้อายมากเกินไปจนไม่สามารถมีความสุขกับสิ่งที่เด็กๆ คนอื่นชื่นชอบได้ มีอารมณ์ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราด แสวงหาความมั่นใจจากพ่อแม่ อาการทางกายภาพเช่น ปวดหัว หรือ ปวดท้อง และปัญหาการนอนหลับเป็นต้น ซึ่งหากเกิดอาการเหล่านี้แล้วรักษาทางกายภาพไม่หาย อาจจะต้องคิดถึงการเยียวยาทางจิตใจ หรือการเข้าพบจิตแพทย์ หรือ นักจิตวิทยา เพราะหากไม่รีบดูแลอาการทั้งหลายนี้อาจจะแย่ลงกว่าเดิมเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชีวิต อย่างเช่น การต้องไปโรงเรียนหลังจากปิดเทอมมายาวนาน

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO)

กล่าวถึงวิธีการดูแลเด็กๆ ในระหว่างการระบาดของไวรัสโคโรนา2019 ไว้ว่า

เด็กๆ จะมีการแสดงออกเมื่อมีความเครียดและเป็นกังวลที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ใหญ่ก็ควรจะตอบสนองต่ออาการนั้นๆ ต่างกันด้วย ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบประคับประคองและให้กำลังใจ ฟังเรื่องราวความกังวลของพวกเขา แสดงความรักและเอาใจใส่มากขึ้นกว่าปกติ เพราะเด็กต้องการความรักจากผู้ใหญ่มากขึ้นในช่วงเวลาน่าวิตกเช่นนี้ รวมไปถึงต้องจัดตารางเวลาในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนที่บ้าน อ่านหนังสือ เล่มเกม เล่นดนตรี ดูหนัง รวมทั้งการไปโรงเรียนและการเล่นที่ปลอดภัยลงในตารางนั้นด้วย และต้องคุยกันเรื่องข้อมูลต่างๆ ของโควิด19 และสถานการณ์ชีวิตที่ไม่เหมือนเดิม ให้เด็กๆ เข้าใจได้มากที่สุดเท่าที่วัยของเขาจะเอื้ออำนวย เพื่อลดความวิตกกังวลด้วย

นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว บางครั้งการได้แชร์ประสบการณ์ของผู้ใหญ่ให้เด็กได้รับรู้ก็ทำให้ความเครียดของทั้งคู่ลดลงได้พร้อมๆ กันอีกด้วย จึงเป็นการดีทีเดียวที่พ่อแม่ ผู้ปกครองจะแบ่งปันกับเด็กๆ ว่าคุณจัดการกับความเครียดของคุณเองอย่างไรเพื่อที่พวกเขาจะได้เรียนรู้วิธีรับมือไปด้วย และสำคัญมากว่า คุณต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการแก้ปัญหาและดูแลตัวเองทั้งดูแลร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ การอนุญาตให้เขาได้ติดต่อกับเพื่อนๆ หรือสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ ซึ่งนั่นจะทำให้เขาผ่อนคลายได้มากทีเดียว

และหากว่าเด็กๆ ของคุณเป็นเด็กวัยรุ่น ถึงวันนี้ก็หมดเวลาที่ผู้ใหญ่จะปิดกั้นพวกเขาจากโซเชียลมีเดียแล้ว เพราะในตอนนี้โซเชียลมีเดียจะเป็นตัวกลางในการที่ทำให้เขาได้พูดคุยสื่อสารและมีกิจกรรมต่างๆ กับเพื่อน ซึ่งเป็นอีกทางที่สร้างความสุขให้กับพวกเขาภายใต้เงื่อนไขการเว้นระยะห่างทางสังคมที่เราจะยังคงต้องรักษามาตรการนี้ไว้เพื่อความปลอดภัยที่ยั่งยืน

และเมื่อเปิดเทอมแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าหมดภาระของพ่อแม่แต่อย่างใด เพราะผู้ปกครองยังคงต้องจับตามองเด็กๆ ของท่านทั้งสุขภาพร่างกาย รวมไปถึงสัญญาณของความเครียดและความวิตกกังวล หากมีพฤติกรรมบ่งชี้ที่น่าสงสัยจะได้สามารถรับรู้และแก้ไขได้อย่างทันท่วงที

บทความจาก Weill Cornell Medicine

กล่าวว่า เด็กมีความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบากได้ดีกว่าที่คิด จากหลักฐานเกี่ยวกับการได้รับความเจ็บปวดทางในวัยเด็กทำให้พบว่าเด็ก ๆ จะประสบกับปัญหาความวิตกกังวลในระยะสั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีความเสียหายทางจิตใจที่ถาวร ผู้ใหญ่จะสามารถช่วยให้พวกเขาเข้าใจสุขภาพจิตของตนเองได้ดีขึ้น รวมถึงวิธีจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลในอนาคตด้วย

เพราะในภาวการณ์เช่นนี้ การดูแลสุขภาพทางใจนั้น สำคัญมากไม่ต่างจากสุขภาพทางกาย


ข้อมูลจาก

11 comments

  1. I do not know if it’s just me or if perhaps everybody else encountering issues with your site.

    It looks like some of the written text in your posts are
    running off the screen. Can someone else please provide feedback and let me know if this is
    happening to them as well? This might be a issue
    with my browser because I’ve had this happen before. Cheers

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า