10 กิจกรรมที่ส่งเสริมสมาธิเด็ก หยุดเด็กสมาธิสั้น ด้วยความรักยาวๆ ของพ่อแม่

ไม่ใช่เพียงปัญหาติดเกมส์ หรือภาวะอารมณ์รุนแรง เท่านั้นที่เป็นปัญหาสำคัญที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรร่วมมือกันแก้ แต่ปัญหาที่กำลังคุกคามการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก รวมไปถึงปิดกั้นการเรียนรู้และพัฒนาการที่ดีของเด็กที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ “สมาธิสั้น”

ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเด็กหลายคนถูกเลี้ยงดูตามเทคโนโลยีที่รวดเร็วเกินไปจนทำให้เด็กไม่มีโอกาสที่จะจดจ่อกับอะไรได้เป็นเวลานาน ซึ่งหากปล่อยให้ไว้จนกลายเป็นโรคสมาธิสั้นในเด็กแล้วนั้น ถึงแม้ว่าไม่ได้มีผลต่อระดับสติปัญญา และพฤติกรรมที่ซุกซนมากผิดปกติเกินกว่าเด็กในวัยเดียวกัน แต่เมื่อเป็นโรคสมาธิสั้นแล้ว อาจจะเป็นต้นเหตุให้โรคอื่นๆ ตามมา เช่น  โรควิตกกังวล, ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้, โรคซึมเศร้า, โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์, โรคดื้อ (Oppositional defiant disorder หรือ ODD) เป็นโรคที่ส่งผลให้มีอาการต่อต้านกฎระเบียบทุกรูปแบบ, โรคเกเร (Conduct disorder) ทำให้เกิดพฤติกรรมในแง่ลบ เช่น โกหก ขโมยของ ใช้กำลัง หรือล้อเลียนผู้อื่น, กลุ่มอาการทูเร็ตต์  (Tourette syndrome) เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติทางระบบประสาททำให้มีพฤติกรรมซ้ำๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ หรืออุทานคำหยาบเมื่อตกใจโดยไม่สามารถควบคุมได้, ปัญหาทางการนอนหลับ หรือพฤติกรรมปัสสาวะรดที่นอน เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันหรือแก้ไขในเบื้องต้น วันนี้เราจึงมีกิจกรรมที่จะทำให้เด็กสามารถมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่สำคัญให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน และมีพัฒนาการที่ดีต่อจิตใจและร่างกายด้วย โดยก่อนอื่นต้องให้เด็กๆ นั่งติดที่ ให้ได้เสียก่อน สามารถทำได้โดยการ เรียกร้องให้เด็กสนใจจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยมีการกำหนดช่วงเวลาและระหว่างนั้น ให้เปิดโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต และเครื่องมือสื่อสารทั้งหมด สิ่งที่ต้องเห็นอย่างเด่นชัดทั้งคุณลูกและผู้ปกครองก็คือ นาฬิกาและอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการเรียกสมาธิ ซึ่งตัวอย่างกิจกรรมง่ายๆ ที่ใช้เรียกสมาธิลูกมีดังนี้

เล่นทราย

ใช่แล้ว ทราย พื้นๆ บ้านๆ อันเป็นการเล่นที่เบสิกมากๆของเด็กๆ ทุกคนนี่แหละ ที่สามารถฟื้นฟูสมาธิให้เด็กๆ ได้ วิธีการง่ายๆ โดยการพาเด็กๆ ไปเล่นที่สวนสาธารณะหรือสร้างกระบะทรายขึ้นเองสำหรับเด็กๆ ที่บ้านก็ได้ โดยมีวิธีการเล่นทรายให้ได้ทั้งสมาธิและวิธีคิดสร้างสรรค์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น วาดรูปจากกองทราย, ก่อปราสาททราย, หรือจะเอาทรายมาผสมสีแล้วบรรจุลงในขวดให้เป็นทรายหลายสีหลายชั้นก็ได้ นี่เป็นแค่ตัวอย่างง่าย ที่เรานำมาฝากกัน และหากว่าคุณพ่อคุณแม่ หรือเด็กๆ คนไหน มีไอเดียเฉิดกว่านี้ ก็ไม่ได้ผิดกติกานะจ๊ะ

 

ต่อภาพจิ๊กซอว์หรือปริศนาอักษรไขว้

คุณสามารถฝึกและเสริมสร้างสมาธิให้กับเด็กๆ รวมไปถึงการวางแผนและการบริหารความจำด้วยการเล่นเกมอย่าง ปริศนาอักษรไขว้หรือต่อจิ๊กซอว์ได้ หรือจะเป็นการเล่นเกมโฟโต้ฮันท์ที่ต้องฝึกการจับผิดภาพ เหล่านี้จะช่วยให้เด็กได้ฝึกสมาธิรวมทั้งได้ถึงเอาความสามารถต่างๆ ออกมาใช้ อย่างความจำ อีกด้วย

ฟรีซ!!

อารมณ์คล้ายเก้าอี้ดนตรี แต่แทนที่เมื่อเพลงจบทุกคนจะหาเก้าอี้ของตัวเองเพื่อนั่งลง ก็กลายเป็นว่าทุกคนต้องทำตัวนิ่งๆ ฟรีซตัวเองให้อยู่กับที่แทน โดยผู้ปกครองสามารถเลือกให้คละเคล้ากันได้ทั้งเพลงช้าและเพลงเร็ว รวมไปถึงเพลงเร็วมากกกกกก เพื่อให้เด็กๆ ได้เต้นให้เข้ากับจังหวะ หรือจะท้าทายสมาธิของเด็กๆ โดยการเต้นให้ตรงกันข้ามกับจังหวะเพลงก็ได้ อย่างให้เต้นช้าๆ เมื่ออยู่ในจังหวะเพลงเร็ว

อ่านหนังสือให้ฟัง

คิดตามแล้วอาจจะรู้สึกธรรมดา แต่ความธรรมดานั้นกลับแฝงมาด้วยคุณค่าที่มากมายเลยทีเดียวสำหรับกิจกรรมอย่างชวนลูกอ่านหนังสือ เพราะเมื่อเด็กๆ อ่านหนังสือ ความสนใจทั้งหมดจะมุ่งไปที่เรื่องราวในหนังสือโดยทิ้งโลกที่เหลือไว้เบื้องหลัง ดังนั้น ลองใช้เวลาสัก 15-20 นาทีก่อนไปโรงเรียน หรือก่อนนอนชวนคุณลูกอ่านหนังสือ ลูกของคุณจะมีสมาธิมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

ชวนดูทีวี

เงื่อนไขสำคัญอยู่ที่ว่า ทีวี หรือรายการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต จะต้องผ่านการคัดเลือกโดยพ่อแม่เพื่อให้เหมาะสมกับความรู้และวัยของเด็กๆ และต้องระวังเป็นอย่างยิ่งว่า เด็กที่มีอายุ 2 ขวบขึ้นไป สามารถเลียนแบบพฤติกรรมในรายการที่พวกเขาดูได้แล้ว เมื่อเลือกรายการที่ดีและกระตุ้นความสนใจของเด็กๆ เป็นที่เรียบร้อย ก็ให้ตั้งหัวข้อขึ้นมาจากนั้นให้พ่อแม่ลูกช่วยกันพูดคุยเกี่ยวกับรายการที่เพิ่งได้ดูจบไป ซึ่งนั่นหมายความว่า เด็กๆ จะต้องใช้มีสมาธิกับการดูรายการนั้นๆ มากทีเดียว

เลือกเล่นเกมส์สสร้างสมาธิจากแอปพลิเคชั่นหรือคอมพิวเตอร์

อย่างเพิ่งหันหลังให้กับอินเทอร์เน็ตเสียทีเดียว เมื่อมันยังมีประโยชน์ต่อการพัฒนาความสามารถหรือสมาธิของเด็กๆ อยู่บ้าง ลองเลือกเกมให้เด็กๆ ได้เล่นดูบ้าง ซึ่งในปัจจุบันก็มีมากมายหลายเว็บ และหลายแอปพลิเคชั่น ลองเข้าไปหาข้อมูลและลองเล่นเกมสนุกๆ ที่

สร้างกิจกรรมที่กำหนดเวลา

เพื่อให้เด็กมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้ามากที่สุด จำเป็นต้องมีการกำหนดเวลาสำหรับทำสิ่งต่างๆ โดยให้เวลานั้นสั้นเพื่อให้ดึงดูดพอที่เด็กจะไม่ละความสนใจออกจากกิจกรรมนั้นไปได้ ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมเขียนคำศัพท์ โดยให้ผู้ปกครองหรือครู เลือกตัวอักษรขึ้นมา 1 ตัว จากนั้นให้เด็กๆ เขียนคำศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรนั้นให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดเช่น 1 นาที โดยเกมนี้สามารถเล่นเดี่ยว คู่ หรือเล่นเป็นทีมเพื่อเพิ่มความสนุกสนานก็ได้

ทำขนมกันเถอะ

กิจกรรมอย่างทำขนมง่ายๆ สามารถทำให้เด็กๆ จดจ่ออยู่กับที่ได้นานกว่ากิจกรรมอื่นอีกหลายกิจกรรม เพราะพวกเขาต้องทั้งดูตำราอาหาร ต้องเตรียมส่วนผสม และยังต้องสร้างสรรค์หน้าตาของเจ้าอาหารที่พวกเขาทำขึ้นมาอีกด้วย ลองเลือกเมนูน่ารักๆ อย่าง คุกกี้ หรือ โดนัท ให้เด็กๆ ได้ครีเอทคุกกี้ หรือหน้าตาของโดนัทให้เป็นรูปต่างๆ แล้วคุณจะพบว่านอกจากสมาธิจะมากขึ้นแล้ว ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ ยังเจิดจ้าขึ้นอีกด้วย

 

 

เกมเหรียญฝาแฝด

เกมนี้นอกจากจะสร้างสมาธิแล้วยังเพิ่มความจำอีกด้วย โดยพ่อแม่หรือคุณครูต้องมีเหรียญสำหรับเล่นเกมมากสักหน่อย จากนั้นตัวเองก็จัดเรียงเหรียญตามลำดับความชอบต่อหน้าเด็กๆ โดยบอกให้พวกเขาตั้งใจดูกองเหรียญพวกนี้ให้ดี แล้วเอากระดาษหรือกล่องมาครอบไว้เพื่อกันไม่ให้ใครเห็น จากนั้นให้เด็กๆ จัดเรียงเหรียญให้เหมือนกับที่พ่อแม่เรียงไว้ทุกอย่าง ทั้งขนาดและจำนวนของเหรียญโดยมีการจับเวลา หากหมดเวลาแล้วให้จดเวลาที่ทำเสร็จเอาไว้ด้วย และหากที่เด็กๆ ทำออกมายังไม่ถูกต้อง ก็ให้พวกเขาลองใหม่จนกว่าจะถูกต้องครบสมบูรณ์ ด้วยวิธีการเล่นเกมนี้ สมาธิและสมองในส่วนความจำของเด็กจะเพิ่มขึ้นมาทีเดียว

งีบหลับ

ช่วงเวลาที่สมาธิของเด็กจะดีที่สุดคือช่วงเวลาหลังจากที่ได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ ดังนั้นการที่ได้ปล่อยให้เด็กๆ นอนหลับพักผ่อนเป็นเวลาสัก 20 นาทีหลังเลิกเรียน หรือช่วงบ่าย ก็เป็นตัวกระตุ้นสมาธิที่ดี นี่ยังไม่รวมถึงการให้เด็กๆ ได้อาบน้ำอย่างสะอาดและดูแลให้พวกเขาอิ่มท้องก่อนที่จะเริ่มเรียน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ด้วย เพราะความเหนียวเหนอะหนะ รวมไปถึงความหิว มันลดทอนสมาธิของเจ้าตัวเล็กได้มากทีเดียว

นอกจากการงีบหลับซึ่งเป็นการสร้างสมาธิแบบผ่อนคลายที่สุดแล้ว กิจกรรมที่ต้องการเรียกสมาธิเด็กๆ ได้ดีที่สุดคือกิจกรรมที่ต้องมีการกระตุ้นให้เด็ก ได้คิด ได้ฝึกความทรงจำ ระหว่างที่ทำกิจกรรมนั้นๆ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ เหล่าผู้ปกครองและคุณครูที่จะเลือกกิจกรรมที่ตรงกับวัยและความต้องการของตัวเด็กที่เรารักด้วยตัวเองเรา

ข้อมูลประกอบบทความ

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า