วัตถุประสงค์หลัก
- เพื่อปลูกจิตสำนึก ส่งเสริมการเท่าทันตนเองและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
- เพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนในด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน
- เพื่อพัฒนาทักษะในการใช้เวลาว่างของเด็กและเยาวชน
ระยะเวลาในการทำกิจกรรม
1 เดือน (ช่วงปิดเทอมใหญ่ เดือนเมษายน)
ช่วงอายุผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ประถมศึกษาตอนปลาย – มัธยมศึกษาตอนปลาย (แกนนำเด็กและเยาวชน), ผู้สูงอายุ (ภูมิปัญญา)
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (ต่อครั้ง)
แกนนำ 30 คน, ผู้เข้าร่วม 300 คน
ขั้นตอนหลัก (ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมงานก่อนเกิดงานจนเสร็จสิ้นกิจกรรม)
- พัฒนาศักยภาพ เพิ่มความมั่นใจ การทำงานเป็นทีม
- สำรวจภูมิปัญญาในชุมชน คัดเลือกภูมิปัญญาที่สนใจ
- เรียนรู้กับวิทยากรภูมิปัญญาเชิงลึก
- วัฒนธรรมพื้นที่สร้างสรรค์ อัศจรรย์ภูมิปัญญา
- จัดทำสื่อ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เด็กและเยาวชนได้รับการปลูกจิตสำนึกในการเท่าทันตนเองและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
- เด็กและเยาวชนมีศักยภาพในการสืบสาน ต่อยอดภูมิปัญญา
- เด็กและเยาวชนมีทักษะในการใช้เวลาว่าง
- เด็กและเยาวชนมีทักษะในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์และสื่อสร้างสรรค์