หลักสูตรกิจกรรม Rally วิถีวัฒนธรรมชุมชน จังหวัดลำปาง

ที่มา

จากการระดมความร่วมมือกันของหน่วยงานหลายภาคส่วนในเทศบาลนครลำปาง จังหวัดลำปาง ทำให้เกิดกิจกรรม Rally วิถีวัฒนธรรมชุมชน จังหวัดลำปางขึ้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างทัศนคติในการสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้เด็กและเยาวชนในชุมชนใช้เวลาว่างในช่วงปิดภาคเรียนและวันว่างอย่างสร้างสรรค์ เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม และเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อคนสองช่วงวัย คือเยาวชนและผู้สูงวัย

กิจกรรม Rally วิถีวัฒนธรรมชุมชน จังหวัดลำปาง จะถูกจัดขึ้นทุกวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ โดยให้เด็กและเยาวชนปั่นจักรยานไปเรียนรู้ตามฐานกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ซึ่งแต่ละสัปดาห์จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนฐานกิจกรรมออกไปตามฐานทุนและทรัพยากรที่ทางพื้นที่มีอยู่แล้ว อาทิ ฐานร้อยกำไลลูกปัด ฐานจักสาน ฐานการทำขนมไทย ฐานวาดภาพ ฐานเต้นลีลาศ เป็นต้น โดยจะมุ่งเน้นทักษะที่เด็กและเยาวชนสามารถไปต่อยอดเป็นอาชีพหรือสร้างรายได้ต่อได้ วิทยากรแต่ละฐานคือบุคลากรในชุมชนที่มีองค์ความรู้และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็กและเยาวชน เป็นการสานสัมพันธ์ของคนในชุมชนรวมทั้งฝึกการมีจิตอาสา

วัตถุประสงค์หลัก

  1. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างทัศนคติในการสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
  2. เพื่อให้เยาวชนในชุมชนใช้เวลาว่างในช่วงปิดภาคเรียนและวันว่างอย่างสร้างสรรค์
  3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อคนสองรุ่น (เยาวชน และผู้สูงวัย)

ระยะเวลาในการทำกิจกรรม

ช่วงปิดภาคเรียน

ช่วงอายุผู้เข้าร่วมกิจกรรม

เด็ก 12 – 18 ปี, ผู้ปกครอง

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (ต่อครั้ง)  

50 คน

ขั้นตอนหลัก (ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมงานก่อนเกิดงานจนเสร็จสิ้นกิจกรรม)        

  1. ศึกษาพื้นที่ จำนวนประชากร    
  2. ทำความเข้าใจและวางแผนการจัดกิจกรรม       
  3. เกิดกิจกรรมและการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในของคนสองช่วงวัยในชุมชน   
  4. ประเมินผลการจัดกิจกรรม และพัฒนากิจกรรมในปีต่อไป

อุปกรณ์

  1. จักรยานในการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ในชุมชน
  2. วัสดุ/อุปกรณ์ตามกิจกรรม อาทิ แผนที่ สมุดสะสมกิจกรรม
  3. สถานที่ในการจัดกิจกรรม/โครงการ เช่น ลานกิจกรรมในชุมชน
  4. อุปกรณ์สำนักงาน เช่น กระดาษ, ปากกา เป็นต้น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างทัศนคติในการสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
  2. เยาวชนในชุมชนใช้เวลาว่างในช่วงปิดภาคเรียนและวันว่างอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์
  3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อคนสองช่วงวัย คือเยาวชนและผู้สูงวัย
  4. เพื่อขยายโครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ “อัศจรรย์วันว่าง” ออกสู่พื้นที่อื่นๆ

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า