บ้านปลาบู่ ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
เป้าหมาย
ปลูกคนดี ให้มีปัญญา ทำมาหากินเป็น…สู่การเป็นต้นกล้าดีของแผ่นดิน
วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างคนต้นกล้าดีของแผ่นดิน ด้วยกระบวนการเรียนรู้ “ขุมทรัพย์ในตน” ผ่านกระบวนการเรียนรู้คุณค่าและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- เพื่อการพัฒนากระบวนทัศน์การพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม และส่งเสริมการประกอบการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แก่ผู้ประกอบการที่มีความสนใจ
- เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการเป็นผู้นำแก่เยาวชนคนรุ่นใหม่สู่ผู้ประกอบการสากล บนฐานของการเห็นคุณค่าและบูรณาการกับนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัย
- เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเครือข่ายผู้ประกอบการสากล
รายละเอียดของหลักสูตร
โมดูลที่ 1
กระบวนการเรียนรู้ “ขุมทรัพย์ในตน ผ่านกระบวนการเรียนรู้คุณค่าและภูมิปัญญาท้องถิ่น” ระยะเวลา 3 วัน
ช่วงอายุกลุ่มเป้าหมาย
ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (ต่อครั้ง)
จำนวน 30 – 35 คน
มีค่าใช้จ่าย
- จำนวน 700 – 1,000 บาทต่อวัน (นักเรียน นักศึกษา)
- จำนวน 1,200 – 1,500 บาทต่อวัน (ครูและผู้สนใจทั่วไป)
(ค่าใช้จ่ายอาหาร 3 มื้อ, อาหารว่าง 2 มื้อ, ที่พัก 1 คืน, วิทยากรหลัก และผู้ช่วย)
ขั้นตอนหลัก (กรณีทำกระบวนการกับนักเรียนมัธยมปลาย)
- ประสานงานกับครูผู้รับผิดชอบ
- ประชุมวางแผนกับทีมศูนย์เรียนรู้ (พ่อครู แม่ครู และ ทีมงาน)
- ประชุมเตรียมกระบวนการกับทีมครูผู้รับผิดชอบ
- จัดกิจกรรม (2 – 3 วัน)
- ประเมินกิจกรรมกับทีมครู
- ประเมินกิจกรรมกับทีมศูนย์เรียนรู้
- ติดตามไปที่โรงเรียน ขยายงานอื่น ๆ ร่วมกัน
อุปกรณ์
- ฐานเรียนรู้ (ฐานดิน, ฐานสีเปลือกไม้, ฐานผ้าฝ้าย, ฐานอาหาร, ฐานสมุนไพร)
- ฐานดิน ได้แก่ กองดิน, มูลสัตว์, แกลบดิบ, แกลบเผา, แปลงผักสำเร็จรูป, พื้นที่การทำงาน (จอบ พั่ว ฯลฯ )
- ฐานสีเปลือกไม้ ได้แก่ มีด, ตะกร้า, หมวก, ต้นไม้, ป่าไม้, พาหนะ, กาละมัง, เตาไฟ, ผ้า ฯลฯ
- ฐานผ้าฝ้าย ได้แก่ ต้นฝ้าย, ตะกร้า, อิ้ว, ไน, อุปกรณ์เข็นฝ้าย ฯลฯ
- ฐานอาหาร ได้แก่ เมนูอาหาร, วัตถุดิบการทำอาหาร, อุปกรณ์ในการทำอาหาร เป็นต้น
- ฐานสมุนไพร ได้แก่ สวนสมุนไพร, ชื่อสมุนไพร, สรรพคุณของสมุนไพร, การเก็บสมุนไพร, การเตรียมลูกประคบ, อุปกรณ์การทำลูกประคบ เป็นต้น
กระบวนการเรียนรู้ “ขุมทรัพย์ในตน ผ่านกระบวนการเรียนรู้คุณค่าและภูมิปัญญาท้องถิ่น” ระยะเวลา 3 วัน
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คุณค่าของแผ่นดิน ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คุณค่าของตนเอง ผ่านกิจกรรมด้านภูมิปัญญา
- เพื่อให้ผู้เรียนเกิดแรงบันดาลใจต่อการทำความดี และ มีเป้าหมายในการดำรงชีวิต