วัดม่วงเป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งในชุมชนบ้างม่วงตั้งอยู่ริมแม่น้ำกลองฝั่งตะวันตกมีประวัติบอกไว้ในคัมภีร์ใบลานเขียนด้วยอักษรมอญว่าอยู่ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยามีอายุกว่า 300ปีมาแล้ว ด้วยความตระหนักในคุณค่าเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบรรพบุรุษและวัฒนธรรมของชาวบ้านม่วง เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือ พระครูวรธรรมพิทักษ์หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า อาจารย์ลม(ลม คชเสนีย์) และชาวบ้านทั้งหลายจึงได้พยายามเก็บรบรวมสิ่งของที่สะท้อนถึงความเป็นมาและขนบประเพณีของชุมชน เช่น คัมภีร์และผ้าห่อใบลานจำนวนหลายพันชิ้น เครื่องมือเครื่องใช้ ศิลปวัตถุที่พบในเขตลุ่มน้ำแม่กลอง เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และเครื่องใช้ในดารประกอบอาหารการกินที่สะท้อนวิถีชีวิตในอดีตที่ผูกพันกับประเพณีความเชื่อ และการทำมาหากินของชีวิตชาวนาจุดประกายให้เกิดความคิดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้นมา พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง เน้นความเรียบง่าย แต่มีความหมายต่อการศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชน จัดแสดงนิทรรศการวิถีชีวิตของชาวไทยรามัญ กลุ่มชนเผ่าของชาวไทยรามัญ วัฒนธรรมและประเพณี ของชาวเมืองอุบลราชธานีตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ มีการบรรยายถึงมอญในตำนานความเป็นมาของชนชาติมอญ มอญในทางประวัติศาสตร์ เรื่องราวของมอญในสมัยต่างๆ เช่น ยุครามัญประเทศ มอญยุคผู้ชนะสิบทิศ มอญอพยพ เส้นทางการอพยพของขาวมอญ โดยแสดงระลอกของการอพยพ สำคัญ 9 ครั้งตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งการอพยพทั้ง 9 ครั้งนี้ทำให้ประชากรชาวมอญเป็นประชากรส่วนสำคัญของประเทศไทย จัดแสดงสิ่งของและวัตถุสะสม เช่น เครื่องปั้นดินเผา โบราณวัตถุเอกสารโบราณ เครื่องไม้ เครื่องใช้ในการศาสนา อาวุธ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี จัดตั้งเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 โดยกรมศิลปากรได้ขออนุมัติใช้อาคารศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเดิม ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2465 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติตามโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองของกรมศิลปากร
ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 กรมศิลปากรได้ขอใช้อาคารกองบัญชาการรัฐบาลมณฑลราชบุรี ซึ่งสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2416 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อใช้เป็นจวนที่พักของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 และต่อมาได้ใช้เป็นกองบัญชาการรัฐบาลมณฑลราชบุรีในคราวแรกของการตั้งมณฑลราชบุรี เพื่อปรับปรุงให้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี โดยปัจจุบันใช้เป็นอาคารสำนักงาน คลังโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ และพื้นที่ส่วนจัดแสดงนิทรรศการพิเศษและจัดกิจกรรมต่างๆ
Infographic ปิดเทอมสร้างสรรค์
การใช้เวลาของเด็กเยาวชนในช่วงปิดเทอม จากผลสำรวจเรื่อง “ปิดเทอมนี้เด็กเยาวชนอยากทำอะไร” ในช่วงปิดเทอม 2561 กลุ่มตัวอย่างเด็กเยาวชนและผู้ปกครองระดับประถมศึกษา-อุดมศึกษา จำนวน 1,760 ตัวอย่าง พบสถานการณ์ที่น่าสนใจคือ
กิจกรรมที่เด็กเยาวชนตั้งใจจะทำในช่วงปิดเทอม อันดับแรก คือ 1. เล่นมือถือ อินเตอร์เน็ต 71%โดยเนื้อหาที่ชอบเข้าไปมากที่สุดคือ ขายของออนไลน์ และโซเซียลเน็ตเวิร์ค 2. ไปเที่ยวต่างจังหวัด53% 3. หางานพิเศษทำ 46% 4. เดินห้าง 44% และ 5. เรียนพิเศษ 43%
ส่วนกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เด็กเยาวชนอยากเข้าร่วม อันดับ 1 คือ ท่องเที่ยว 23% โดยสถานที่ที่อยากไปคือ แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติและเชิงวัฒนธรรม โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ 22% ตามด้วย2. กิจกรรมกีฬา 18% โดยกิจกรรมที่สนใจคือ ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล เทนนิส ชกมวย ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น 3. เรียนพิเศษ 15% เข้าค่าย โดยค่ายที่สนใจคือ ค่ายภาษาอังกฤษ ค่ายอนุรักษ์ ค่ายจิตอาสา 12% และหางานทำพิเศษ 11% เช่น งานในร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้าที่มีแอร์เย็นๆ ร้านกาแฟ ร้านฟาสต์ฟู๊ด
ขณะที่ผู้ปกครองกิจกรรมที่ปกติที่ทำร่วมกันในช่วงปิดเทอมที่ผ่านมา อันดับ 1 เดินทางไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด 43% ตามด้วย ออกกำลังกาย เล่นกีฬา 19% และ รับประทานอาหารร่วมกัน 16% ส่วนความกังวลใจของผู้ปกครองต่อเด็กเยาวชนในช่วงปิดเทอมมากที่สุดคือ ปัญหาการติดเกม 24% ตามด้วยการคบเพื่อน การมั่วสุม แวนซ์ 23% และยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด 17%
กิจกรรมที่ผู้ปกครองอยากให้เด็กเยาวชนเข้าร่วม อันดับ 1 เรียนพิเศษ 43% 2. กิจกรรมกีฬา 42% 3. กิจกรรมท่องเที่ยวตามธรรมชาติและวัฒนธรรม 24% อย่างไรก็ตามหากจำแนกตามฐานะทางครอบครัวพบว่า กลุ่มรายได้ยากจนและค่อนข้างน้อย สนใจกิจกรรมกีฬา เป็นอันดับ 1 ตามด้วยการเรียนพิเศษ ขณะที่กลุ่มมีฐานะและรายได้ปานกลาง กิจกรรมที่สนใจ เรียนพิเศษและการท่องเที่ยว สาเหตุที่ผู้ปกครองไม่สามารถให้บุตรหลานเข้าร่วมกิจกรรมที่สนใจได้ในช่วงปิดเทอม ครอบครัวฐานะยากจนและรายได้น้อย ปัญหาอันดับ 1 คือ ไม่มีเวลา ขณะที่ครอบครัวมีฐานะและรายได้ปานกลาง ปัญหาอันดับ 1 คือ ไม่มีกิจกรรมที่ต้องการ
ช่วงเวลา 3.5 เดือน จึงเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ทุกคนมองเห็นโอกาสสำคัญในการเปิดพื้นที่เรียนรู้ให้กับเด็กเยาวชน 13 ล้านคน ได้ส่วนเสริมทักษะและการเรียนรู้
ปิดเทอมสร้างสรรค์ชวนกันมาอ่าน สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้เด็กในชุมชน
ปิดเทอมสร้างสรรค์ ทำทุกวันให้ไม่ธรรมดา บนเว็บไซต์ Kapook
ปิดเทอมนี้ถ้ายังไม่มีไอเดียว่าจะทำกิจกรรมอะไร ที่ไหน และอย่างไร ลองเข้าไปที่ www.happyschoolbreak.com หรือ www.ปิดเทอมสร้างสรรค์.com เว็บไซต์ที่ได้ทำการรวบรวมกิจกรรมและแหล่งเรียนรู้มากกว่า 500 แห่งทั่วประเทศให้ทุกคนได้ทำกันช่วงปิดเทอม และเราจะทำการเพิ่มกิจกรรมไปเรื่อยๆ เพื่อให้ทุกคนทำให้ปิดเทอมนี้ไม่ธรรมดา
เป็ดยิ้ม เด็กยิ้ม
เป็ดยิ้ม เด็กยิ้ม
หลายโรงเรียนเปิดเทอมกันไปแล้ว แต่ทว่าก่อนเข้าสู่ฤดูการเรา เราขอนำภาพอีกหนึ่งกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ ที่จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมาฝาก
โดยชุมชนบ้านห้วยหลัว จ.สกลนคร ได้เชื่อมโยงความมีชื่อเสียงของปลาจากลุ่มน้ำสงครามที่ขึ้นชื่อว่ามีรสชาติอร่อยที่สุดในภาคอีสาน ไปคำถามว่าถ้าเราเอาดินจากแม่น้ำมาทำไข่เข็มแบบไข่เข็มไชยามันจะอร่อยเด็กแบบปลาหรือไม่ เป็นที่มาของการทดลองทำไข่เข็มห้วยหลัวที่สนุกสนานและบูรณาการได้หลายสาระวิชาเลยทีเดียว
ตั้งวงลงมือกันไข่กันสักหน่อย
ไข่เค็มด้วยดิน
เรียนถนอนไข่เค็ม 2 แบบกันไปเลย
ไข่เค็มห้วยหลัว ของดีบ้านเรา
ปั้นดินปั้นคน เรียนรู้แบบมีความสุข
จัดกันแล้วค่ะ สำหรับกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ ตอน ปั้นดินปั้นคน รร.บ้านนาสีนวล จ.สกลนคร ภายใต้โครงการฮักบ้านเกิด เด็กๆได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของชุมชนที่ผูกโยงกับลุ่มน้ำสงคราม โดยมีจุดเริ่มต้นจากการค้นพบเศษซากภาชนะเครื่องปั้นดินเผาโบราณในพื้นที่ของหมู่บ้าน ที่นำไปสู่โจทย์ในการเรียนรู้ที่น่าสนุกสนานของครูและเด็กๆ ที่ช่วยกันค้นหาคำตอบ ที่ตอบโจทย์การเรียนรู้อย่างมีความสุขควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิดไปพร้อมกัน
งานนี้เด็กได้เรียนรู้กันจริงๆ
รอยยิ้มเกิดเมื่อลงมือทำ
เอ๊ะ! กว่าจะเป็นดินให้ปั้น ดินพวกนี้ผ่านกระบวนการอะไรมา
ปั้นเสร็จแล้วหน้าตาจะประมาณนี้ครับ
โชว์อิฐผลงานของดีบ้านเราสักหน่อย
กิจกรรมเด็กได้ความสนุกกันมาก แต่ที่สำคัญได้ความรู้กระกวนการทำดินทำให้เป็นเครื่องปั้นดินเผาอีกด้วย ทั้งนี้ก่อนจะเสร็จสิ้นกิจกรรม เราได้จำลองตลาดให้เด็กๆได้ลองขายสินค้าฝีมือตัวเองด้วย เรียกได้ว่าถึงกับตลาดแตกกันเลยทีเดียว สำหรับบรรยากาศการเปิดตลาดนำเสนอและขายสินค้าของเด็กจาก รร.บ้านนาสีนวล หลังจากเสร็จสิ้นการปั้นขิ้นงาน
ใครสนใจกิจกรรมครั้งหน้า อย่าลืมติดตาม www.ปิดเทอมสร้างสรรค์.com กันนะ
สสส.ร่วม พม.เปิดค่ายเยาวชนสร้างคุณธรรม 4.0 | 13 พ.ค.61 |
กรมกิจการเด็กและเยาวชน ร่วมกับ สสส.นำเยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกจากทั่วประเทศ เข้าค่ายปิดเทอมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อปลูกฝังคุณธรรม 5 ประการ ติดตามได้จากรายงาน
สสส.-พม. ต่อยอดสร้างคนไทยยุค 4.0ดึงแกนนำสภาเด็กฯ 70 จังหวัด เข้าค่ายปิดเทอมสร้างสรรค์
สสส.-พม. ต่อยอดสร้างคนไทยยุค 4.0 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ดึงแกนนำสภาเด็กและเยาวชน 70 จังหวัด และแกนนำเยาวชนจาก 4 ภูมิภาค เข้าค่ายปิดเทอมสร้างสรรค์ ปลูกฝังคุณธรรม “พอเพียง-วินัย-สุจริต-จิตอาสา-มีความรับผิดชอบ” สู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่าง “ญี่ปุ่น-สิงคโปร์-มาเลเซีย” ดึงพลังคนรุ่นใหม่ นำชาติเจริญก้าวหน้า
เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ที่บ้านผู้หว่าน จ.นครปฐม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) และสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม “ค่ายเยาวชนปิดเทอมสร้างสรรค์ ตอน เปิดกล่องแห่งการเรียนรู้ ผู้นำคุณธรรม 4.0” โดยเลือกตัวแทนของสภาเด็กและเยาวชน 61 จังหวัด และแกนนำเยาวชนจาก 4 ภูมิภาค เพื่อส่งเสริมความเป็นผู้นำด้านคุณธรรม 4.0 อันได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และมีความรับผิดชอบ
นายสุทธิ จันทรวงษ์ รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กล่าวว่า การขับเคลื่อนการพัฒนาคนสู่ไทยแลนด์ 4.0 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้กำหนดสมรรถนะคนไทยในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะคุณลักษณะของคนในประเทศที่มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม จะมีส่วนสำคัญที่จะฝ่าวงล้อมวิกฤติที่เกิดขึ้นได้ จึงวางเป้าหมายพัฒนาให้คนไทยมีคุณธรรมที่พึงประสงค์ 5 ประการคือ ความพอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา และรับผิดชอบ โดยเฉพาะเครือข่ายสภาเด็กและเยาวชน และแกนนำกลุ่มเยาวชนที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงคุณธรรม 4.0ให้เห็นผลในกลุ่มเครือข่ายเยาวชน เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชน และประเทศให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ
นายสุทธิ กล่าวต่อว่า ตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่น มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนโดยสร้างคุณลักษณะพึ่งประสงค์ เช่น คนญี่ปุ่นมีระเบียบวินัย และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ขณะที่ประเทศมาเลเซีย ได้กำหนดคุณลักษณะของคนในชาติไว้ใน “พิมพ์เขียวยุทธศาสตร์ชาติมาเลเซีย” หรือ Malaysia Blueprint ที่เน้นความสามัคคีของคนในชาติ โดยกำหนดวิสัยทัศน์ 2020 ไว้ว่า เสริมสร้างความสามัคคี และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงและเป็นระบบ เช่นเดียวกับสิงคโปร์ ที่กำหนดคุณลักษณะของคนในชาติในแผนการศึกษาชาติไว้ว่า “โรงเรียนนักคิด ชาติแห่งการเรียนรู้” ดังนั้นการสร้างคนของประเทศให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญที่จะช่วยพัฒนาให้ประเทศเจริญก้าวหน้า
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า จากการสำรวจความคิดเห็นสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย โดยศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ระหว่างวันที่ 1-20 สิงหาคม 2559 จำนวน 2,166 คน พบว่า ปัญหาวิกฤตด้านคุณธรรมที่มีความรุนแรงในสังคมไทย
อันดับ 1 คือ ปัญหาความซื่อสัตย์ สุจริต การทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 20.73
อันดับ 2 ปัญหาขาดความสามัคคี เกิดความขัดแย้งในสังคม ร้อยละ 19.3
อันดับ 3 ปัญหาจิตสำนึกสาธารณะ ขาดความรับผิดชอบต่อสังคมเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ร้อยละ 14.69
อันดับ 4 ปัญหาขาดระเบียบวินัย ไม่เคารพกติกา กฎหมาย ร้อยละ 12.51
สำหรับคุณธรรมที่เยาวชนไทยควรได้รับการปลูกฝัง 5 อันดับพบว่า
ร้อยละ 76.59 เป็นเรื่องระเบียบวินัยมากที่สุด
รองลงมาร้อยละ 75.35 ความซื่อสัตย์ สุจริต
ร้อยละ 57.94 น้ำใจ/เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ร้อยละ 52.82 ความกตัญญูกตเวที
และร้อยละ 47.51 ความขยันหมั่นเพียร
ผลการสำรวจสอดคล่องกับแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อสร้างกระบวนทัศน์และหลักคิดใหม่ของคนไทยโดยสร้างคุณลักษณะพึ่งประสงค์ 5 ข้อ รวมถึงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน การจัดกิจกรรมครั้งนี้ ถือเป็นการต่อยอดขับเคลื่อนการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมในการสร้างผู้นำในสภาเด็กและเยาวชนเพราะเชื่อในพลังของเด็กเยาวชนคนรุ่นใหม่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ หรือเป็น Change Agent ที่สำคัญ โดยนำแนวคิดและรูปแบบที่ได้จากค่ายจะเป็นตัวอย่างกิจกรรมในการขยายผลต่อเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่และเป็นการส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในช่วงปิดเทอมต่อไป
เที่ยวตามรอย ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “กาฬสินธุ์”
เมื่อวันที ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรบ้านกุดสิม ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร สภาพภูมิประเทศลำพะยังที่บ้านกุดตอแก่น และที่บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยสายนาเวียง ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการ และก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน (ห้วยวังคำ) บ้านดงหมู ตำบลคุ้มเก่า บ้านนาวี ตำบลสงเปลือย อำเภอเขาวง เพื่อช่วยเหลือราษฎรในเขตพื้นที่ดังกล่าว ให้มีน้ำใช้ทำการเกษตรและอุปโภคบริโภคตลอดปี นอกจากนี้ยังสามารถบรรเทาอุทกภัย ในพื้นที่ตอนล่างได้อีกส่วนหนึ่ง และเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำพะยังตอนบน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่กรมชลประทานได้ก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดความจุ ๓.๕ ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมอาคารประกอบเสร็จ และในปี พ.ศ.๒๕๓๙ จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก ประมาณ ๒,๕๐๐ ไร่ ดังนี้
๑) ควรพิจารณาก่อสร้างขยายพื้นที่ส่งน้ำ พร้อมทั้งขุดสระเก็บน้ำประจำไร่นา สำหรับน้ำเพิ่มเติมจากระบบท่อส่งน้ำดังกล่าวตามแนวทฤษฎีใหม่ เพื่อให้สามารถขยายพื้นที่รับน้ำชลประทาน ช่วยเหลือการเพาะปลูกราษฎรหมู่บ้านต่างๆ ในเขตตำบลคุ้มเก่าและตำบลสงเปลือย รวมทั้งพื้นที่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งปัจจุบันมีสภาพแห้งแล้งขาดแคลนน้ำทำการเกษตร และอุปโภค และ บริโภคเป็นอย่างมาก
๒) ควรพิจารณาการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหารพร้อมทั้งก่อสร้างระบบผันน้ำเพิ่มเติมให้แก่อ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน ซึ่งมีปริมาณน้ำต้นทุนจำกัด แต่มีพื้นที่เพาะปลูกที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำทำการเกษตรเป็นจำนวนมาก เมื่อดำเนินการแล้ว จะสามารถมีน้ำส่งช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกของโครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน ได้เพิ่มมากขึ้น
๓) ควรพิจารณาขุดลอกลำห้วยต่าง ๆ พร้อมทั้งก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในลำห้วย เพื่อเก็บน้ำนอนคลองไว้ให้ราษฎรบริเวณริมสองฝั่งใช้ประโยชน์ได้ตลอดปี และสามารถรับน้ำเพิ่มเติมจากระบบท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบนได้ตามความเหมาะสม
๔) ควรพิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ ในลำพะยังเป็นช่วง ๆ ในลักษณะขั้นบันได ตามความเหมาะสม เพื่อกักเก็บน้ำให้ราษฎรบริเวณสองฝั่งใช้ทำการเกษตรและอุปโภค – บริโภค ได้ตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำเป็นอย่างมาก
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๒ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้อธิบดีกรมชลประทานและเลขาธิการ กปร. นำคณะเจ้าหน้าที่กรมชลประทานและกปร. เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทกราบบังคมทูลถวายรายงาน ความก้าวหน้าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ วังไกลกังวล หัวหิน ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำพะยังตอนบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้กรมชลประทานดำเนินการดังนี้
๑) ให้ก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร มาส่งให้กับพื้นที่เพาะปลูกในเขตอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ของกรมป่าไม้น้อยที่สุด และหากการก่อสร้างไปทำให้พื้นที่ของกรมป่าไม้เสียหาย ให้ทำการเพาะปลูกทดแทนให้กรมป่าไม้ด้วย
๒) ระบบส่งน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ที่จะส่งน้ำด้วยระบบท่อส่งน้ำให้กับพื้นที่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ ให้พิจารณารูปแบบใหม่ที่ประหยัดกว่านี้ เนื่องจากส่งน้ำให้พื้นที่ได้เป็นพื้นที่แคบ ๆ ขนาน ไปกับลำห้วยไผ่เท่านั้น เช่นทำเป็นฝายทดน้ำแบบถูก ๆ เป็นช่วง ๆ ในลำห้วยไผ่และปล่อยน้ำริน ๆ จากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ลงมาเติมหน้าฝายแทน
๓) ให้ยกระดับเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำลำพะยังตอนบน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เก็บน้ำได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากในบริเวณนี้ ไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่อยู่เลย เมื่อยกระดับเก็บกักขึ้นแล้วหากปริมาณน้ำไม่เต็มอ่างฯ ให้พิจารณาต่อท่อผันน้ำจากอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่มาเติมให้เต็ม ถ้าสามารถต่อท่อมาได้
โครงการพัฒนาโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพะยังตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมและศึกษาเรียนรู้ ใกล้ๆ กันยังมีเส้นทางเดินชมธรรมชาติ “ป่าดงหลวง” ป่าเต็งรังที่ยังสมบูรณ์บนเทือกเขาวง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดต่อดูงานได้ที่สำนักงาน กปร. โทรศัพท์ 0-2447-8500-6
พิพิธภัณฑ์สังคโลก จังหวัดสุโขทัย
พิพิธภัณฑ์สังคโลก เกิดจากความคิดและความตั้งใจของคุณดำรงค์ และ คุณกุศล สุวัฒนเมฆินทร์ ซึ่งเป็นชาวสุโขทัยโดยกำเนิด มุ่งหวังจะนำความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของเมืองสุโขทัยราชธานีแห่งแรกของไทย และผลงานศิลปะชั้นเอกสมัยสุโขทัย มานำเสนอให้คนไทยและชาวต่างชาติ ได้ร่วมกันประจักษ์ในความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของเมืองสุโขทัยโดยได้นำของสะสมที่เก็บรวบรวมมาเป็นเวลากว่า 50 ปี อันได้ แก่พระพุทธรูป เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัย มาจัดแสดงในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ที่ทันสมัย และได้มาตรฐานเช่นเดียวกับพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศ เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เห็นภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนสุโขทัยในสมัยโบราณ
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ของไทยสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่ ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็น “มรดกโลก” เนื่องจากในอดีตเมืองสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทยมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจ ภายในอุทยานประกอบด้วยสถานที่สำคัญ