เข้าสังคมไม่น่ากลัว แบบที่คิด?

ปัจจุบันมีปัจจัยหลายๆ ด้านมากมายทำให้ใครๆ หลายๆคนอาจจะไม่กล้าที่เข้าสังคม ไม่กล้าพูดคุยทั้งๆ ในใจอยากพูดคุย อยากมีเพื่อน หรือบางครั้งก็กล้าที่จะพูดแค่ในโลกออนไลน์ เพราะไม่มีใครเห็นหน้าจึงกล้าพูดได้อย่างชัดเจน หรือ บางครั้งอาจจะเจอปัญหาที่เมื่อพูดออกไปแล้ว แต่เจอสิ่งที่ทำให้เราไม่มั่นใจ แต่วันนี้ ทางปิดเทอมสร้างสรรค์ขอแนะเทคนิคดีๆในการเข้าสังคมมาฝากน้องๆ กัน มีอะไรบ้างไปดูกันเลย!!!!

1. ขอเเนะนำ พอดเเคสต์ให้น้องๆ ได้ฟังกันก่อน เริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับเปลี่ยนมุมมอง เเละปลดล็อคความกลัวในการเข้าสังคม เเน่นอนเลยว่าน้องๆจะไม่ได้เผชิญไปปัญหาไปคนเดียว

ขอเเนะนำ Youtube : Amazing Storytelling ตอน ปลดล็อคความกลัวในการเข้าสังคม | EP90

เมื่อเรากล้าที่จะปลดล็อคความกลัวของตนเองเเล้ว พี่ๆ เชื่อว่าน้องๆ อยากเริ่มปรับตัวเข้าสังคมเเล้วใช่มั้ยละ ไปฟังกันเลย กับ

2. พอดเเคสต์ ที่จะให้น้องได้เริ่มที่จะปรับตัวแก้ไขตนเอง ให้เข้ากับสังคมภายนอกได้แบบไม่ต้องระแวงเเละต้องกลัวว่าคนด้านนอกจะคิดกับเรายังไง หรือ ไม่ต้องกลัวว่าตนเองจะทำให้คนรอบข้างอึดอัด

มาฟังได้เลยกับ Youtube : Mission To The Moon

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับพอดแคสต์สองเรื่องที่ได้ฟังกันไป ทำให้น้องได้ปรับมุมมอง ปรับแนวคิดในการเข้าสังคมบ้างไหม แต่ถึงอย่างไร น้องๆบางคนอาจจะไม่สะดวกในการฟัง ทางพี่ๆปิดเทอมสร้างสรรค์นำแบบสรุปเทคนิคง่ายๆ ที่จะสามารถให้น้องเข้าสังคมได้อย่างไม่กลัวและมีความสุข

8 วิธีสร้างความมั่นใจให้ตนเองเพื่อกล้าที่จะเข้าสังคม

  1. ฝึก ฝึก ฝึก การฝึกฝนทักษะทางสังคม การฝึกปฏิบัตินั้นจะทำให้ความมั่นใจทางสังคมของคุณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จำไว้ว่า ‘Practice make perfect’ การฝึกฝนจะทำให้คุณสมบูรณ์แบบ คุณสามารถหาโอกาสในการฝึกได้มากมายจากการพาตัวเองเข้าไปอยู่ท่ามกลางผู้คน แค่นี้คุณก็มีโอกาสมหาศาลในการฝึกสังเกตผู้คนและฝึกการเข้าสังคม เช่น การเริ่มไปเรียนรู้จากสถานที่ต่างๆที่มีการตัดแบบกลุ่ม ที่มีผู้คนหมู่มากเพื่อให้เราได้ทำความรู้จักกับคนอื่นๆ
  2. คิดในแง่บวก คนที่รู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองเวลาจะติดต่อกับใครเขาจะต้องจดจ่ออยู่กับการที่จะต้องพิสูจน์ตัวเองหรือทำให้ตัวเองน่าสนใจมากพอ บางครั้งก็มองโลกในแง่ร้ายว่าทุกอย่างจะออกมาแย่ จะไม่มีใครอยากคุยด้วย เเต่ให้บอกกับตัวเองไว้เสมอว่า เรามั่นใจ เราอยากเป็นเพื่อน อยากทำความรู้จัก เเละคิดไว้เสมอว่าเค้าก็อยากจะรู้จักเราเหมือนกัน
  3. รู้จักสังเกต ความสามารถทางสังคม คือ การมีทักษะในการรวบรวมข้อมูล สแกนดูรายละเอียดที่สำคัญของคู่สนทนาเพื่อใช้เป็นหัวข้อในการชวนคุย คุณควรเรียนรู้ที่จะปรับตัวเองให้เข้ากับคนอื่น มีสติและการรับรู้ว่าข้อมูลหรือหัวข้อแบบไหนที่เป็นสิ่งที่ผู้อื่นต้องการหรือสนใจนักสนทนาที่ดีได้ให้ความคิดเห็นว่าคุณต้องพูดเชื่อมโยงกับสิ่งที่คนอื่นพูดหรือสนใจอยู่ คุณไม่จำเป็นต้องทำตัวน่าสนใจ คุณเพียงแค่ต้องเป็นฝ่ายสนใจคนอื่นบ้างนั่นเอง ควรดูจังหวะเสมอว่าเราควรพูกตรงไหน หรือ ไม่ควรพูดจุดไหน เป็นทั้งผู้พูดเเละผู้ฟังที่ดี
  4. เริ่มบทสนทนาอย่างชาญฉลาด หลังจากการฟังและสังเกตการณ์การสนทนาของกลุ่มที่คุณต้องการจะมีส่วนร่วมด้วยแล้ว คุณต้องปรับบทสนทนาหรือกิจกรรมที่ผู้อื่นสามารถมีส่วนร่วมในการถามคำถาม หรือพูดถึงรายละเอียดในสิ่งที่เขาพร้อมจะพูด พร้อมที่จะให้ข้อมูล เมื่ออยู่เป็นกลุ่ม หรือ อยู่เเค่ 2 คน ควรหาคำถามปลายเปิด เพื่อที่จะให้คู่สนทนาของเรา หรือ เพื่อนๆ ในกลุ่มของเราสามารถตอบได้ เพื่อที่จะต่อยอดการสนทนาไปได้ไกลเเละจะได้ละลายพฤติกรรมต่อกันอีกด้วย
  5. เป็นมิตรกับความล้มเหลว ทุกคนล้วนเคยถูกปฏิเสธ คนที่มีความมั่นใจในการเข้าสังคมนั้นจะไม่เก็บการถูกปฏิเสธนั้นมาใส่ใจ จำไว้ว่าการถูกปฏิเสธนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพราะตัวคุณเอง แต่ควรจะคิดว่าการถูกปฏิเสธอาจเกิดจากปัจจัยอื่นหลายปัจจัย เช่น การเข้ากันไม่ได้ ความเข้าใจผิด หรืออีกฝ่ายกำลังอารมณ์ไม่ดี คนที่มั่นใจในตัวเองจะมีความยืดหยุ่น นำ feedback ที่ได้รับมาสร้างสิ่งอื่นเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น เมื่อเผชิญกับความล้มเหลว หรือการถูกปฏิเสธ พวกเขาจะมีข้อเสนออื่นมาแลกเปลี่ยน เช่น การกล่าวว่า “อืมม งั้นเราเลื่อนนัดเป็นสัปดาห์หน้าแทนได้ไหม?” หรือย้ายไปกลุ่มอื่นๆ ที่เขาหวังว่าเขาจะไม่เป็นคนที่เข้าไปทำให้การสนทนาจบลง
  6. จัดการกับอารมณ์ของคุณ สถานการณ์ในสังคมมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การแสดงออกทางคำพูดหรือไม่ใช้คำพูดมักมีความหมายเสมอ เช่น การแสดงออกทางสีหน้าและน้ำเสียง ซึ่งทำให้ต้องคิดก่อนที่จะตัดสินใจแสดงท่าทีออกไป โดยเฉพาะอารมณ์ในเชิงลบ เช่น ตอนกำลังโกรธ กลัว หรือวิตกกังวล ที่มักเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่เกิดความขัดแย้งหรือความไม่แน่นอน เคล็ดลับคือ การเปลี่ยนความสนใจออกจากสิ่งที่ทำให้กังวลหรือเรื่องที่ทำให้โกรธ ไปสู่เรื่องด้านบวกของสถานการณ์นั้นแทน หรือสนใจเรื่องอื่นไปเลย
  7. ลดความขัดแย้ง ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง การรับมือกับการเผชิญหน้าเป็นทักษะทางสังคมที่สำคัญ แทนที่จะต่อสู้ คนที่มีความมั่นใจทางสังคมจะหยุดความขัดแย้งนั้น พวกเขาจะขอโทษ เจรจาต่อรอง หรือยื่นข้อเสนอ เพื่อให้เกิดความสงบ หรือบางครั้งอาจเปลี่ยนเรื่อง
    การจัดการความขัดแย้งโดยไม่ให้มีการทะเลาะกันต้องมีการฟัง การสื่อสาร การมองในมุมมองของผู้อื่น การควบคุมอารมณ์ด้านลบ และการแก้ปัญหา แม้เพียงแค่อธิบายมุมมองของคุณด้วยเหตุผล ก็สามารถช่วยให้เกิดประโยชน์ขึ้นได้
  8. การหัวเราะ การมีอารมณ์ขันเป็นทักษะทางสังคมที่มีค่าที่สุดมันเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วเมื่อเราถูกใจกับอะไร การสร้างอารมณ์ขันนั้นไม่มีสูตรตายตัว แต่ในช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดของคุณ คุณควรพยายามที่จะมองให้เห็นในด้านสว่างของสถานการณ์นั้นให้ได้ และเปลี่ยนมันให้เป็นมุขตลกหรือเรื่องขำขันแล้วรับประกันได้เลยว่า ใครๆ ก็อยากจะเข้ามาคุยกับคุณ

นอกเหนือจาก 8 ข้อเบื้องต้นแล้ว อยากให้น้องๆทุกคนนึกบุคคลิกภาพ จังหวะในการพูดคุย และมารยาทในการพูดและฟัง เมื่อเข้าสังคมแล้วสิ่งนี้ควรมีให้ได้มากที่สุด เพราะเรายังไม่สนิทกับคนที่เราจะเข้าไปทำความรู้จักด้วย และควรให้เกียรติและเคารพความเป้นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันอีกด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า