พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา วัดหนัง

“วัดหนัง” หรือ “วัดหนังราชวรวิหาร” ในปัจจุบันนั้น มีอายุนับย้อนไปได้ร่วมสามร้อยปี ตามประวัติวัดนั้นสร้างเมื่อ พ.ศ. 2260 หรือประมาณรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ มีพระมหาพุทธิรักขิตกับหมื่นเพ็ชร์พิจิตรเป็นผู้สร้าง หลักฐานนี้ได้มาจาก จารึกที่ระฆังใบเก่าในวัด สมัยก่อนแถววัดหนังอยู่เขตอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี เมื่อรวมธนบุรีเข้ามาเป็นกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก วัดหนังก็ย้ายเข้ามาอยู่ในเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ยังปรากฏป้ายเก่าของวัดขณะที่ยังสังกัดจังหวัดธนบุรี

ใน “พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา” ที่จัดขึ้นภายในวัดโดย พระครูสมุห์ไพฑูรย์ สุภาฑโร และบรรดาลูกศิษย์ลูกหาในย่านวัดหนังช่วยกันประกอบสร้างขึ้น จัดขึ้นเพื่อการศึกษาให้ผู้เข้าชมได้มาศึกษามาเรียนรู้ สิ่งของจัดแสดงส่วนใหญ่เป็นสิ่งของที่ทางวัดมีอยู่แล้ว เก่าแก่ไปตามเวลาเก็บอยู่ในห้องเก็บของ ท่านพระครูฯ เห็นว่าเก็บไว้ก็เสียเปล่า น่าจะทำให้เกิดประโยชน์แก่คนทั่วไป

พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน

กระทรวงมหาดไทย ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ตำรวจเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2473 โดยให้ขึ้นกับ กรมตำรวจภูบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวม วัตถุของกลางที่คนร้ายใช้ในการกระทำความผิดทุกชนิด เพื่อให้ข้าราชการตำรวจทั่วไปหรือพนักงานสอบสวนใช้ศึกษาค้นคว้า ครั้นเมื่อเก็บรวบรวมวัตถุเพิ่มมากขึ้น จึงได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ตำรวจ

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชุมชนหลวงสิทธิ์

พิพิธภัณฑ์ชุมชนหลวงสิทธิ์ ตั้งอยู่ที่เรือนไม้สัก 2 ชั้น ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม (Colonial Architecture) ซึ่งสร้างอยู่ราวปลายรัชกาลที่ 5 – ต้นรัชกาลที่ 6 ในอดีตเป็นสถานที่ทำงานของเทพการอุตสาหกรรม มีกเรียกันติดปากว่า “ออฟฟิศสังคหะวังตาล” โดยใช้เป็นสำนักงานใหญ่เป็นที่ติดต่องานและรวบรวมข้อมูลธุรกิจต่างๆ ในกิจการของคุณหลวง (เสวกโทหลวงสิทธิ์ เทพการ) เป็นสถานที่เก็บเอกสารระบบงานธุรกิจการค้าของหลวงสิทธิ์เทพการ เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร โรงน้ำแข็ง โรงเลื่อย ฯลฯ และได้ใช้เป็นสำนักงานสังคหะวังตาลตลอดเรื่อยมา จวบจนกระทั่งกิจการต่างๆ ได้ปิดตัวลงไปตามกาลเวลา

ปัจจุบัน ทายาทของหลวงสิทธิ์เทพการได้ซ่อมแซมปรับปรุงเรือนไม้สักแห่งนี้ ให้มีสภาพที่มั่นคงแข็งแรงและให้อยู่ในสภาพเดิมมากที่สุด และจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ได้จัดแสดงเอกสารข้อมูลธุรกิจต่างๆ ที่มีอยู่เดิมภายในสำนักงานรวมทั้งข้างของเครื่องใช้ในอดีต บ้านหลังนี้เรียกชื่อว่า “บ้านคุณหลวง” เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่หลวงสิทธิ์เทพการ

ศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยทรงดำ ดอนคลัง

ศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยทรงดำดอนคลังแห่งนี้ มีประวัติการก่อตั้งที่ใกล้เคียงกับศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี และในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี อาจารย์โกศล แย้มกาญจนวัฒน์ เท้าความถึงเหตุการณ์สำคัญในช่วงปลายทศวรรษ 2530 ที่ชุมชนชาวลาวโซ่ง หรือไทยทรงดำ เริ่มฟื้นฟูประเพณี อิ๋นก่อน หรืองานรื่นเริงตามหมู่บ้านต่างๆ “พี่ลำไย กลีบฟัก เขาเป็นประธานศูนย์ฯ แล้วมีวงแคน แต่ได้เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งมักจะได้รับเชิญจากทางเพชรบุรี ให้ไปช่วยอยู่บ่อยๆ เอาวงแคนไปช่วย ไปร่วมงาน ที่นี้พี่ลำไยเองก็คิดว่า ดอนคลัง เป็นลาวโซ่งเช่นกัน เรามีวงแคนอยู่แล้ว ชาวบ้านก็พร้อมอยู่แล้ว ในปี 2538 พี่ลำไยเลยขอล็อควันที่ 25 เมษาฯ หลังจากที่ไปช่วยหมู่บ้านอื่นเขามาแล้ว ได้รับการตอบรับดีมาก คนมาร่วมงานสี่ห้าพันคน เต็มโรงเรียนไปหมด ลาวโซ่งนี่ดำไปหมด รวมทั้งคนไทยที่อยู่ละแวกใกล้เคียงก็มาร่วมงาน” เมื่อทำงานเทศกาลมาได้ระยะหนึ่ง คณะกรรมการและชาวบ้านก็เสนอให้มีการตั้งบ้านไทยทรงดำ

ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านหัวเขาจีน

ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ เป็นศูนย์ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ให้คนทั่วไปที่สนใจวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของชาวไทยทรงดำ สามารถมาศึกษาดูงานได้ นอกจากนั้นที่นี่ยังเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ กองทุนแม่ของแผ่นดิน กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์สัจจะและกลุ่มอาชีพเสริมสตรีทอผ้า ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาชุมชนก็ว่าได้ บ้านของชาวไทยทรงดำเป็นเรือนลาวทรงสูง ใต้ถุนโปร่งเป็นพื้นที่ใช้ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งใช้เป็นที่ทอผ้าของกลุ่มสตรี ส่วนหลังคาจะเป็นทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วมี ‘ขอกุด’ เป็นสัญลักษณ์ (ขอกุด คือ ไม้แกะสลักเป็นกิ่งคล้ายเขาควายไขว้กัน)

ชั้น 2 ของเรือนลาว จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาซึ่งเป็นเครื่องมือเครื่องใช้จำนวนมากวางเรียงรายอยู่ขวามือของทางเข้า พื้นที่กลางเรือนใช้วาง ผ้าแต่ละลวดลาย “เข็นด้าย” ซึ่งทำด้วยไม้ มีขนาดใหญ่มาก เข็นด้ายใช้สำหรับพันด้ายแยกสีเป็นหลอด ๆ ตามจำนวนที่ต้องใช้ในการทอ เครื่องมือไม้อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “อิ้ว” คือ เครื่องมือสำหรับแยกเมล็ดฝ้ายออกจากปุยฝ้าย มีเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งที่หน้าตาแปลก ๆ เรียกว่า “กระเดื่อง” ใช้สำหรับตำข้าวของคนสมัยก่อน  ส่วนสุดท้ายคือ “ห้องพิธี” ซึ่งชาวไทยทรงดำเป็นชนเผ่าที่ยังคงเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษ จึงเกิดพิธี “เสนเรือน” หรือ “เซ่นผี” นั่นเอง เวลาทำพิธีก็ต้องทำในห้องนี้เท่านั้น

 

พิพิธภัณฑ์ทหารช่าง

เหล่าทหารช่างถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วแต่ยังมิได้แยกออกเป็นเหล่าอิสระ จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5 ทรงตั้ง “กองทหารอินยิเนีย” ขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2418 เพื่อให้ออกไปปฏิบัติงาน ตรวจกรุยทางและปักเสาโทรเลขจากพระนคร ถึง สมุทรปราการ จากนั้นเป็นต้นมาทหารช่างได้รับการพัฒนามาตามลำดับ จนในปี พ.ศ. 2495 ก็ได้ตั้งเป็นกรมการทหารช่างขึ้นตรงต่อกองทัพบก จะเห็นได้ว่าเหล่าทหารช่างได้ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลานานแล้ว  ในขณะเดียวกันก็ได้รวบรวมข้อมูล ทางด้านประวัติศาสตร์และวัตถุอันเกี่ยวกับกิจกรรมทหารช่างในด้านต่างๆ ไว้ในหน่วยมิใช่น้อย จึงเป็นสมควรที่หน่วยทหารช่างพึงรวบรวมและเรียบเรียงเรื่องราวขึ้นเป็นประวัติศาสตร์ของหน่วยสืบต่อไป

หอศิลป์ร่วมสมัยเถ้า ฮง ไถ่ ดีคุ้น

Tao Hong Tai : d Kunst  หอศิลป์ร่วมสมัยแห่งแรกของจังหวัดราชบุรี จุดนัดพบของศิลปะร่วมสมัยแหล่งสร้างแรงบันดาลใจแก่คนรักศิลปะในจังหวัดราชบุรีด้วยหวังว่าราชบุรีจะเป็นเมืองแห่งศิลปะจึงกำเนิดหอศิลปแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นและสนับสนุนศิลปะร่วมสมัยของชุมชนราชบุรีให้เติบโตต่อไป

ภายในของหอศิลป์สถาปัตย์บ้านไทยทรงมะนิลา สมัยปลาย ร. 5  ได้รับการซ่อมแซมและ ตกแต่งใหม่ ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2548  ภายในแบ่งเป็นร้านกาแฟเครื่องดื่ม เบเกอรี่ ตกแต่งด้วยงานเซรามิกดีไซน์เฉพาะตัวจากโรงงานเถ้า ฮง ไถ่  และเป็นแกลอรี่แสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินที่สลับเปลี่ยนมาจัดแสดงให้ชมกัน  หอศิลปที่นี่ไม่ติดแอร์แต่ไม่ร้อน อาจเพราะการออกแบบที่ให้อากาศสามารถผ่านทะลุอาคารได้(ตรงกลางอาคารเปิดโล่ง)  ที่นี่ติดริมแม่น้ำแม่กลอง วิวสวยน่านั่งอีกที่หนึ่ง

ปิดเทอม ชวนชาวมหาวิทยาลัยไปออกค่ายกัน

มาค่ะ

ถ้าไม่อยากนั่งเบื่ออยู่บ้าน

อยากเจอเพื่อน เรียนรู้ สร้างประสบการณดี

ทาง สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา เตรียมกิจกรรมออกค่ายให้ครบทุกภูมิภาคกันไปเลย

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
สร้างขึ้นโดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพื่อเป็นที่ประทับระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานในช่วงฤดูร้อน
เนื่องจากในช่วงนั้นทรงพระประชวร แพทย์หลวงจึงถวายคำแนะนำให้เสด็จไปประทับ
ณ สถานที่ตากอากาศชายทะเล
ดังนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้นาย อี. ฟอร์โน (E. Forno)
และนายแอร์โกเล มันเฟรดี (Ercole Manfredi) สถาปนิกชาวอิตาลีออกแบบตามแนวความคิด
ของพระองค์ท่าน ซึ่งได้ทรงร่างแผนผังด้วยพระองค์เองพระราชทานให้สถาปนิกนำไปออกแบบ
รายละเอียด และได้ดำเนินการก่อสร้างในปี
พุทธศักราช ๒๔๖๖-๒๔๖๗

พิพิธภัณฑ์วชิรปราสาท วัดเพชรพลี

วัดเพชรพลี หรือ วัดพริบพรี ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยา  เป็นวัดที่สร้างขึ้นและมีชื่อตามชื่อเมืองนี้มาก่อน  ซึ่งแต่ก่อนนี้จังหวัดเพชรบุรี  มีชื่อว่า เมืองพริบพรี   ที่วัดเพชรพลีแห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดังเพราะว่ามีเสาชิงช้า และเทวสถานโบสถพราหณ์ ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่สำคัญของศาสนาพราหมณ์ภายในบริเวณวัด กล่าวได้ว่าบริเวณเมืองเพชรบุรีเป็นสถานที่สำคัญของทั้งสองศาสนาคือ ศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ด้วย ดั่งในนิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่ที่กล่าวถึงเสาชิงช้าและโบสถพราหมณ์ในบริเวณเมืองด้วย

ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี

ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่ที่วัดดอนไก่เตี้ย (เดิม) เมื่อโรงเรียนไปตั้งยังสถานที่แห่งใหม่ที่ดอนคาง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรีขอใช้พื้นที่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ส่วนการจัดสร้างศูนย์การเรียนรู้ฯ ได้รับการจัดตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2549 โดยมี “ศูนย์แสดงและสาธิตงานสกุลช่างเมืองเพชร” เป็นโครงการเริ่มต้น แต่ต่อมามีการพัฒนาให้ศูนย์แสดงและสาธิตฯ กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี และมีการเพิ่มเติมหอวรรณกรรมและจดหมายเหตุเมืองเพชร รวมทั้ง “ส่วนแสดงและเชิดชูเกียรติศิลปิน” โดยการจัดแสดงประวัติและผลงานของศิลปินเมืองเพชรสาขาทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ คีตศิลป์ และนาฏศิลป์

ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อย

ไทยทรงดำเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่พูดภาษาตระกูลไท เป็นชนชาติไทยสาขาหนึ่ง เรียกว่า พวกผู้ไท ซึ่งแบ่งออกตามลักษณะสีของเครื่องแต่งกาย เช่น ผู้ไทขาว, ผู้ไทแดง และผู้ไทดำ เป็นต้น

ผู้ไทดำ นิยมแต่งกายด้วยสีดำ จึงเรียกว่าไทยทรงดำ หรือ เรียกได้หลายชื่อเช่น โซ่ง, ซ่ง, ไทยโซ่ง, ไทยซ่ง, ลาวโซ่ง, ลาวซ่ง, ลาวทรงดำ และ ลาวพุงดำ คำว่า โซ่ง สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “ซ่วง” ซึ่งแปลว่า กางเกง เพราะเพราะชาวไทยทรงดำนิยมนุ่งกางเกงทั้งชายและหญิง คนไทยและลาวพวนจึงเรียกว่า ลาวซ่วง ซึ่งหมายถึงลาวนุ่งกางเกง ต่อมาเพี้ยนเป็น ลาวโซ่ง เหตุที่เรียกไทยทรงดำว่า ลาวโซ่ง เพราะคำว่า “ลาว” เป็นคำที่คนไทยทั่วไปใช้เรียกคนที่อพยพมาจากถิ่นอื่น แต่ชาวไทยทรงดำถือตนเองว่าเป็นชนชาติไทย จึงนิยมเรียกตนเองว่า ไทยโซ่ง หรือ ไทยทรงดำ

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า